กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

โรคไตจากเบาหวาน (Diabetic Kidney Disease)

เผยแพร่ครั้งแรก 11 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

โรคไตจากเบาหวานคืออะไร

โรคไตจากเบาหวาน เป็นโรคไตชนิดหนึ่งที่มีสาเหตุจากโรคเบาหวาน  โรคเบาหวานสามารถทำให้เกิดโรคไตได้ ประมาณ 1 ใน 4 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานผู้ใหญ่เป็นโรคไตร่วมด้วย

หน้าที่หลักของไต คือ การกรองของเสียและน้ำส่วนเกินออกจากเลือดเพื่อผลิตเป็นปัสสาวะ ไตจะทำหน้าที่ควบคุมความดันโลหิตและสร้างฮอร์โมนที่จำเป็นสำหรับการมีสุขภาพที่ดี  เมื่อไตถูกทำลาย จะไม่สามารถกรองเลือดได้อย่างที่ควรจะเป็น ทำให้เกิดการสะสมของของเสียภายในร่างกาย หากไตถูกทำลายจะส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมาด้วย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ไตถูกทำลายจากโรคเบาหวานจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ใช้เวลาหลายปี ดังนั้นคุณสามารถปฏิบัติตนเพื่อปกป้องไตของคุณ และป้องกันหรือชะลอการทำลายไตได้

มีชื่อเรียกอื่นของโรคไตจากเบาหวานหรือไม่

โรคไตจากเบาหวาน (diabetic kidney disease) ย่อว่า DKA อาจเรียกเป็นอย่างอื่น คือ โรคไตเรื้อรัง (chronic kidney disease, CDK) หรือ diabetic nephropathy

โรคเบาหวานเป็นสาเหตุของโรคไตได้อย่างไร

ระดับน้ำตาลกลูโคสที่สูง จะทำให้เกิดอันตรายต่อหลอดเลือดที่อยู่ในไตของคุณ เมื่อหลอดเลือดถูกทำลายแล้ว ไตจะไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิม ผู้ป่วยเบาหวานจำนวนมากจะมีความดันโลหิตสูงร่วมด้วย ซึ่งส่งผลเสียทำให้เกิดความเสียหายต่อไตเช่นเดียวกัน

อะไรที่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตจากเบาหวาน

การเป็นโรคเบาหวานเป็นระยะเวลานาน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายต่อไต ถ้าคุณเป็นโรคเบาหวาน คุณจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตเพิ่มขึ้น ถ้าคุณ

  • มีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงเกินไป
  • มีระดับความดันโลหิตสูงเกินไป

ปัจจัยเสี่ยงในผู้ป่วยเบาหวานที่จะเพิ่มโอกาสเป็นโรคไต มีดังนี้

  • สูบบุหรี่
  • ไม่ปฏิบัติตามแผนการรับประทานอาหาร
  • รับประทานอาหารที่มีเกลือสูง
  • ไม่ค่อยออกกำลังกาย เฉื่อยชา
  • น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน
  • เป็นโรคหัวใจ
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไต

จะบอกได้อย่างไรว่าฉันเป็นโรคไตจากเบาหวาน

ผู้ป่วยทั่วไปที่เป็นโรคไตจากเบาหวานมักไม่มีอาการ วิธีเดียวที่จะรู้ว่ากำลังเป็นโรคไตจากเบาหวานคือจะต้องเข้ารับการตรวจการทำงานของไต

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

บุคลากรทางการแพทย์จะใช้เลือด และ ปัสสาวะ เพื่อนำมาตรวจการทำงานของไต เพื่อค้นหาว่าคุณเป็นโรคไตหรือไม่ โดยจะนำปัสสาวะมาตรวจหาสารอัลบูมีน (albumin) และนำเลือดมาตรวจค่าการทำงานของไต ว่ายังสามารถกรองเลือดได้ตามปกติหรือไม่

คุณควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคไตทุกปี ถ้าคุณ

  • เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 มาเป็นระยะเวลานานกว่า 5 ปี

วิธีในการทำให้ไตมีสุขภาพดีในผู้ป่วยเบาหวาน

วิธีที่ดีที่สุดในการชะลอหรือป้องกันการเกิดโรคไตจากเบาหวาน คือ การพยายามควบคุมระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด และระดับความดันโลหิตให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ส่งผลให้มีสุขภาพดี และการรับประทานยา หรือใช้ยาฉีดตามแพทย์สั่ง จะช่วยให้คุณควบคุมโรคให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด และช่วยทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นด้วย

การควบคุมให้ระดับน้ำตาลกลูโคสได้ตามเป้าหมาย

แพทย์จะตรวจค่าระดับน้ำตาลสะสม (A1C) ซึ่งเป็นการตรวจเลือดที่แสดงให้เห็นถึงค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดตลอดช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งค่านี้จะแตกต่างจากระดับน้ำตาลกลูโคสที่ตรวจทุกวันด้วยตนเอง หากค่าระดับน้ำตาลสะสมมีปริมาณสูง หมายถึงตลอดช่วงเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา คุณมีระดับน้ำตาลกลูโคสสูงมากตลอด

สำหรับเป้าหมายในการควบคุมระดับน้ำตาลสะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานโดยทั่วไป คือ น้อยกว่า 7% แต่อย่างไรก็ตามทีมแพทย์ที่ดูแลคุณจะเป็นผู้บอกว่าเป้าหมายที่เหมาะสมสำหรับคุณคือเท่าใด การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดจะช่วยปกป้องไตของคุณได้

ในการควบคุมระดับน้ำตาลสะสมให้ได้ตามเป้าหมาย แพทย์อาจให้คุณตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด อย่าลืมที่จะวางแผนการรักษาร่วมกับทีมแพทย์ เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดี โดยการปฏิบัติตามคำแนะนำด้านอาหาร การออกกำลังกาย และยา โดยให้ปรึกษาแพทย์ที่ดูแลคุณว่า คุณควรตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดบ่อยเพียงใด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ควบคุมระดับความดันโลหิต

ความดันโลหิต คือความดันของเลือดที่กระทำกับผนังของหลอดเลือด การที่มีความดันโลหิตสูงจะทำให้หัวใจทำงานหนักเกินไป ทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไต ได้

แพทย์ที่ดูแลคุณจะทำงานร่วมกับคุณในการตั้งค่าเป้าหมายของการควบคุมระดับความดันโลหิตที่เหมาะสมกับคุณ โดยทั่วไปแล้วความดันโลหิตเป้าหมายสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน คือ น้อยกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท (mmHg) ดังนั้นให้ปรึกษาแพทย์ว่าเป้าหมายที่เหมาะสมสำหรับคุณคือเท่าใด

ยาที่ช่วยลดความดันโลหิตจะช่วยชะลอการเกิดความเสียหายต่อไตของคุณได้ ยาลดความดันโลหิต 2 ชนิด ได้แก่ ยากลุ่ม เอจ อินฮิบิเตอร์ (ACE inhibitors) และ ยากลุ่มเออาร์บี (ARBs) เป็นยาที่มีกลไกพิเศษในการปกป้องไตของคุณ เพราะว่ายานี้จะชะลอการเกิดความเสียหายต่อไตในผู้ป่วยเบาหวานที่มีความดันโลหิตสูงและเป็นโรคไตจากเบาหวาน ชื่อของยาในกลุ่มนี้จะลงท้ายด้วยคำว่า -พริล (-pril) หรือ –ซาร์ทาน (-sartan) ยาในกลุ่ม เอจ อินฮิบิเตอร์ และ เออาร์บี นั้น เป็นยาที่ไม่ปลอดภัยในหญิงตั้งครรภ์

การสร้างหรือรักษาพฤติกรรมการมีสุขภาพดี

พฤติกรรมที่ส่งเสริมให้มีสุขภาพดี จะช่วยให้คุณควบคุมระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดและระดับความดันโลหิตได้ตามเป้าหมาย การปฏิบัติตามขั้นตอนด้านล่างนี้จะช่วยให้ไตของคุณมีสุขภาพดี

  • งดสูบบุหรี่
  • วางแผนการรับประทานอาหารร่วมกับนักกำหนดอาหาร หรือนักโภชนาการ โดยอาหารจะต้องจำกัดปริมาณเกลือและโซเดียม (sodium)
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ คือ ประมาณ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน

ใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง

ยาถือเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการรักษาโรคเบาหวาน แพทย์จะสั่งยาโดยขึ้นกับความจำเป็นของคุณ ยาจะช่วยให้คุณควบคุมระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดและระดับความดันโลหิตให้ได้ตามเป้าหมาย คุณอาจจำเป็นต้องใช้ยามากกว่า 1 ชนิด เพื่อควบคุมระดับความดันโลหิต

วิธีในการจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นขณะดูแลรักษาโรคเบาหวาน

เป็นที่ทราบดีอยู่แล้วว่า การดูแลรักษาโรคเบาหวานไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งอาจทำให้เกิดความเครียด เสียใจ หรือโกรธ ขึ้นได้ขณะเป็นโรคเบาหวาน แม้ว่าคุณจะรู้ดีอยู่แล้วว่าการมีสุขภาพดีขณะเป็นโรคเบาหวานคือต้องควบคุมและปรับพฤติกรรม แต่เมื่อทำเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดความเครียดและอึดอัดได้ ซึ่งความเครียดจะทำให้ระดับน้ำตาลกลูโคสและระดับความดันโลหิตสูงขึ้น  อย่างไรก็ตามคุณสามารถเรียนรู้วิธีในการจัดการกับความเครียดได้ เช่น หายใจเข้าออกลึก การทำสวน การเดิน เล่นโยคะ นั่งสมาธิ ทำงานอดิเรก หรือฟังเพลงที่ชื่นชอบ

โรคไตจากเบาหวานจะแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไปหรือไม่?

ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับไตสามารถแย่ลงได้เมื่อเวลาผ่านไป อย่างไรก็ตาม คุณสามารถปฏิบัติตนตามขั้นตอนต่างๆ เพื่อปกป้องไตของคุณให้ยังมีสุขภาพดี และชะลอการเกิดความเสียหายต่อไต หรือชะลอการเกิดภาวะไตวายได้ ไตวาย หมายถึง ไตของคุณหมดความสามารถในการทำหน้าที่ต่างๆ ซึ่งก็คือ เหลือความสามารถในการทำงานได้น้อยกว่า 15% เมื่อเทียบกับไตปกติ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นโรคไตจำนวนมากไม่ได้เป็นโรคถึงขั้นไตวาย

หากไตของคุณถูกทำลายจากโรคเบาหวาน อย่าลืมที่จะจัดการดูแลโรคไตที่เกิดขึ้น


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เราป่วยเป็นโรคความดัน และเบาหวานรับยาต่อเนื่อง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มึนๆงงๆตาลายหูอื้อค่ะเมื่อก่อนไม่เคยเป็นเกียวกับอะไรค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
พ่อเป็นต้อกระจก ตอนนี้บอดไปแล้ว ถ้าไปผ่าจะหายไหมคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
นอนกรนเสียงดัง ตื่นเช้ามีอาการง่วง เป็นเบาหวาน ควรไปตรวจที่ไหนดีคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มีอาการเหมือนคนเป็นโรคเบาหวาน แต่ตรวจแล้วไม่เป็น มีข้อบงชี้ว่าจะเป็นโรคอะไรไหมคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)