March 14, 2017 19:44
ตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
รักษาโดยการผ่าตัดเท่านั้นค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)
ต้อกระจก (Cataract) หมายถึงภาวะที่เลนส์แก้วตา (crystalline lens) มีความขุ่นมัว เป็นสาเหตุสำคัญของภาวะตาบอด สาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดต้อกระจกได้แก่ ยา (เช่น สเตียรอยด์) โรคทางร่างกาย การสูบบุหรี่ อุบัติเหตุที่ตา ภาวะทุพโภชนาการ และการได้รับรังสีเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะตาบอด
การป้องกัน
ในปัจจุบัน ยังไม่มีการรักษาด้วยยาซึ่งมีข้อพิสูจน์แน่นอนว่าสามารถป้องกันหรือชะลอการเกิดต้อกระจกได้ มีข้อมูลว่าการได้รับรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตบีเป็นเวลานานมีความสัมพันธ์กับการเกิดต้อกระจก การแนะนำให้สวมแว่นกันแดดอาจเป็นคำแนะนำที่เหมาะสม
การรักษา
การรักษาแบบไม่ผ่าตัด ได้แก่การให้สุขศึกษาแก่ผู้ป่วย ให้ความมั่นใจเกี่ยวกับสาเหตุของการมองเห็นที่ลดลง สำหรับผู้ป่วยที่เป็นต้อกระจกชนิด nuclear sclerosis มักจะเกิดภาวะสายตาสั้น การให้แว่นหรือเลนส์ที่เหมาะสมมักช่วยให้ผู้ป่วยมีการมองเห็นที่ดีขึ้นได้ ควรแจ้งให้ผู้ป่วยทราบถึงผลดีจากการใช้เลนส์ ตลอดจนค่าใช้จ่ายเปรียบเทียบกับการผ่าตัดเพื่อประกอบการตัดสินใจ ส่วนการใช้ยาหยอดตาอาจจะช่วยชะลอต้อกระจกได้แต่ได้ผลไม่ดี การใช้วิตามินโดยเฉพาะอย่างยิ่ง riboflavin, niacin อาจลดการเกิดต้อกระจก
การรักษาโดยการผ่าตัด
ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดต้อกระจก
1. กรณีที่การมองเห็นลดลงจากต้อกระจกทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถดำรงชีพได้โดยคำนึงถึงระดับสายตา ชนิดของต้อกระจก คุณภาพชีวิต
2. ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากต้อกระจก ได้แก่ phakomorphic glaucoma, phakolytic glaucoma เป็นต้น
3. มีความจำเป็นที่จะตรวจรักษารอยโรคในจอประสาทตา และต้อกระจกบดบังทำให้ไม่สามารถตรวจและให้การรักษาได้
ควรหลีกเลี่ยงการผ่าตัดต้อกระจกในกรณีดังต่อไปนี้
1. ผู้ป่วยไม่ต้องการผ่าตัด
2. สามารถช่วยการมองเห็นโดยใช้แว่นตาหรือเครื่องช่วยสายตา (visual aids) จนผู้ป่วยพอใจ
3. คาดว่าการผ่าตัดจะไม่ช่วยให้การมองเห็นดีขึ้น หรือไม่ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น
4. ผู้ป่วยไม่รู้สึกว่าคุณภาพชีวิตลดลงจนเป็นปัญหา
5. ผู้ป่วยมีสภาพทางร่างกายหรือพยาธิสภาพทางตาซึ่งแพทย์ประเมินแล้วว่าไม่เหมาะสมที่จะทำการผ่าตัด
6. ผู้ป่วยไม่ได้เซ็นยินยอมรับการผ่าตัด
ส่วนเทคนิคและวิธีการผ่าตัดนั้นขึ้นอยู่กับสภาพของผู้ป่วย ระยะโรค ซึ่งเป็นการตัดสินใจของแพทย์จักษุต่อไปครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
โรคต้อกระจก ไม่ผ่าตัดได้มั้ยค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)