กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Hyaluronic Acid (กรดไฮยาลูรอน)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 14 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

กรดไฮยาลูรอน (Hyaluronic acid (HA)) คือสารที่อยู่ในร่างกายของมนุษย์ตามธรรมชาติ พบว่ามีความเข้มข้นสูงสุดในน้ำหล่อเลี้ยงตาและข้อต่อ ไฮยาลูรอนที่ใช้ทำยานั้นสกัดมาจากขนของไก่หรือผลิตจากแบคทีเรียที่เลี้ยงอยู่ในห้องปฏิบัติการ

Hyaluronic acid ใช้กับภาวะข้อต่อหลายชนิด รวมไปถึงโรคกระดูกพรุน (Osteoarthritis) ซึ่งกรดนี้สามารถเป็นยารับประทานหรือยาฉีดเข้าข้อต่อที่มีอาการก็ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ทาง FDA หรือองค์การอาหารและยาสหรัฐได้อนุมัติให้มีการใช้กรดไฮยาลูรอนระหว่างการผ่าตัดดวงตาบางประเภท อย่างเช่น การผ่าตัดกำจัดต้อกระจก การปลูกถ่ายกระจกตา การซ่อมแซมจอประสาทตาถลอก และการบาดเจ็บที่ดวงตาอื่นๆ อีกทั้งยังใช้ฉีดเข้าดวงตาระหว่างหัตถกรรมเพื่อช่วยชดเชยน้ำในดวงตาได้ด้วย

Hyaluronic acid ยังใช้เป็นฟิลเลอร์ริมฝีปากระหว่างการผ่าตัดเสริมความงาม บางคนใช้วิธีทากรดไฮยาลูรอนบนผิวหนังเพื่อสมานบาดแผล ผิวไหม้ แผลเปิด และสำหรับเพิ่มความชุ่มชื่นแก่ผิวหนัง

กรดไฮยาลูรอนเป็นสารช่วยหล่อลื่นให้ผิว ผม ดวงตา และข้อต่อ ไฮยาลูรอนทำให้ผิวอิ่มน้ำและผมแข็งแรงเต็มสมบูรณ์ โดยกรดไฮยาลูรอนในร่างกายจะลดลงถึงครึ่งหนึ่งเมื่ออายุ 40 ปี อย่างไรก็ตาม กรดไฮยาลูรอนในผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม ทำได้เพียงชะลอการเกิดผมหงอก

อีกทั้งยังใช้ชะลอวัย อ่อนโยนต่อผิวแพ้ง่าย และบางเบาต่อผิวที่มีแนวโน้มเป็นสิวง่าย ซึ่งในความเป็นจริงนั้นกรดไฮยาลูรอนจัดว่าเป็น “น้ำพุแห่งความอ่อนเยาว์” แม้จะไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ว่าการรับประทานหรือทากรดไฮยาลูรอนนั้นจะช่วยป้องกันความแก่เฒ่าได้จริง

กรดไฮยาลูรอนทำงานอย่างไร?

กรดไฮยาลูรอนทำหน้าที่เป็นหมอนรองและสารหล่อลื่นแก่ข้อต่อและเนื้อเยื่อต่างๆ นอกจากนี้กรดชนิดนี้ยังส่งผลต่อกระบวนการที่ร่างกายตอบสนองต่อการบาดเจ็บอีกด้วย

ภาวะที่ใช้กรดไฮยาลูรอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ต้อกระจก (Cataracts) การฉีด Hyaluronic acid เข้าดวงตาระหว่างการผ่าตัดต้อกระจกนั้นนับว่ามีประสิทธิภาพ
  • แผลในปาก Hyaluronic acid สามารถรักษาแผลในปากได้ด้วยการทาในรูปของเจล

ภาวะที่อาจใช้กรดไฮยาลูรอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ผิวหนังใบหน้า (Juvéderm Ultra Plus, Allergan) การฉีด Hyaluronic acid ทำให้ร่องแก้มลึกดูเต็มมากขึ้น ลดริ้วรอยบนใบหน้าและลำคอ
  • กระดูกพรุน (Osteoarthritis) กรดไฮยาลูรอนอาจช่วยลดอาการตึงและปวดข้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าจะมีรายงานผลจากการรักษาด้วยกรดชนิดนี้ผันแปรอย่างมากก็ตาม บางรายงานกล่าวว่าอาการทั้งหลายดีขึ้นหลังการรักษาด้วยการฉีดกรดไฮยาลูรอน แต่ก็มีบ้างที่ไม่ได้ผล ซึ่งยังไม่มีข้อสรุปว่ากรดไฮยาลูรอนช่วยชะลอหรือลดการลุกลามของความเสียหายที่ข้อต่อ และข้อมูลของผลการใช้ในระยะยาวยังไม่ชัดเจนอีกด้วยเช่นกัน

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานและยังไม่มีข้อสรุปว่าใช้กรดไฮยาลูรอนรักษาได้หรือไม่

  • ตาแห้ง งานวิจัยแสดงให้เห็นว่ายาหยอดตาที่ประกอบด้วยกรดไฮยาลูรอน (Hyalistil) อาจบรรเทาอาการตาแห้ง
  • อุบัติเหตุที่เกิดกับดวงตา งานวิจัยกล่าวว่าการฉีดกรดไฮยาลูรอนเข้าดวงตาอาจรักษาประสาทตาถลอกและอาการบาดเจ็บอื่นๆ
  • สมานบาดแผลและรักษาแผลไหม้ งานวิจัยกล่าวว่าการทากรดไฮยาลูรอนที่ผิวหนังอาจรักษาแผลไฟไหม้หรือแผลฉีก

ผลข้างเคียงและหลักการใช้กรดไฮยาลูรอนให้ปลอดภัย

กรดไฮยาลูรอนจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยเมื่อรับประทาน ทาบนผิวหนัง หรือฉีดเข้าร่างกายในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งกรดชนิดนี้จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาอื่นๆ ได้ เช่น บวมและช้ำบริเวณที่ฉีด ปฏิกิริยาแพ้นั้นเป็นกรณีที่หายากมาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ

สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร Hyaluronic acid อาจปลอดภัยเมื่อฉีดเข้าร่างกายระหว่างตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อมูลสรุปเรื่องความปลอดภัยของการใช้ Hyaluronic acid แบบรับประทานหรือทาบนผิวหนังระหว่างตั้งครรภ์ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยควรงดใช้ไปก่อนจะดีที่สุด

สำหรับสตรีที่ให้นมบุตร Hyaluronic acid แบบฉีดจัดว่าอาจจะไม่ปลอดภัยเนื่องจากนักวิจัยไม่ทราบว่ากรดจะส่งผลอย่างไรกับน้ำนมและส่งผลไปถึงเด็กบ้างหรือไม่ ยังไม่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับการรับประทานหรือทา Hyaluronic acid บนผิวหนัง ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยควรงดใช้กรดชนิดนี้ไปก่อนจะดีที่สุด

การใช้กรดไฮยาลูรอนร่วมกับยาชนิดอื่น

ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการส่งผลซึ่งกันและกันของกรดไฮยาลูรอนกับยาชนิดอื่น

ปริมาณการใช้กรดไฮยาลูรอน

  • สำหรับรักษากระดูกพรุน การฉีดกรดไฮยาลูรอนสำหรับภาวะนี้ต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Hyaluronic Acid Supplement: Benefits, Uses, Side Effects, Dosage & Interactions. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/hyaluronic_acid/supplements-vitamins.htm)
Hyaluronic acid: Uses, side effects, and risks. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/326385)
Hyaluronic Acid: Uses, Side Effects, Interactions, Dosage, and Warning. WebMD. (https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-1062/hyaluronic-acid)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)