กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.นันทิดา สาลักษณ
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.นันทิดา สาลักษณ

รู้จักแผลร้อนใน โรคที่เป็นได้ทุกวัย

แผลร้อนในในปาก หนึ่งในสัญญาณเตือนว่า ร่างกายกำลังอ่อนแอและทรุดโทรม
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 8 ต.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
รู้จักแผลร้อนใน โรคที่เป็นได้ทุกวัย

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • แผลร้อนในที่ปาก หรือแผลร้อนใน (Aphthous ulcer) เป็นภาวะที่พบบ่อยในทุกๆ วัย นักวิทยาศาสตร์พบว่า 1 ใน 5 คนจะเคยมีแผลร้อนในในปาก บางคนเป็นแผลร้อนในในปาก 2-3 ครั้งต่อปี บางคนอาจเป็นบ่อยถึง 2-3 เดือนครั้ง
  • ตำแหน่งแผลร้อนในที่พบบ่อยได้แก่ ริมฝีปากด้านใน กระพุ้งแก้ม บริเวณลิ้น ใต้ลิ้น เพดานปาก เหงือก แม้ว่าแผลร้อนในจะไม่อันตรายแต่ก็ก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วย และรำคาญได้
  • สาเหตุการเกิดแผลร้อนในที่พบบ่อย เช่น การขาดสารอาหารบางชนิด พักผ่อนน้อย อดนอน นอนดึก ความเครียดทางร่างกายและจิตใจ ความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และฮอร์โมน ภาวะผิดปกติและโรคบางชนิดที่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  • การดูแลตนเองเมื่อมีแผลร้อนในเลี่ยงอาหารรสจัด เช่น เผ็ดจัด เค็มจัด อาหารที่มีกรด
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิงและผู้ชายทุกวัย

เชื่อว่า ใครที่เคยเป็นแผลร้อนในในปากคงจำความรู้สึกในตอนนั้นได้เป็นอย่างดี เมื่อเป็นขึ้นมาแต่ละครั้งจะรับประทานอะไรก็ทรมานไปหมด ไม่ว่ารสเผ็ด เปรี้ยว หรือร้อน 

บางครั้งถ้าแผลใหญ่ก็อาจส่งผลกระทบต่อการพูดและการออกเสียงได้ แม้ว่าแผลในปากส่วนใหญ่จะไม่อันตราย แต่ก็มีบางชนิดที่แฝงไว้ซึ่งอันตรายเช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แผลร้อนใน

แผลร้อนในที่ปาก หรือแผลร้อนใน (Aphthous ulcer) เป็นภาวะที่พบบ่อยในทุกๆ วัย นักวิทยาศาสตร์พบว่า 1 ใน 5 คนจะเคยมีแผลร้อนในในปาก บางคนเป็นแผลร้อนในในปาก 2-3 ครั้งต่อปี และมักเกิดอย่างต่อเนื่อง บางคนอาจเป็นบ่อยถึง 2-3 เดือนครั้ง 

ตำแหน่งแผลร้อนในที่พบบ่อยได้แก่ ริมฝีปากด้านใน กระพุ้งแก้ม บริเวณลิ้น ใต้ลิ้น เพดานปาก เหงือก แม้ว่าแผลร้อนในจะไม่อันตรายแต่ก็ก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วย และรำคาญได้ 

แผลร้อนในแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 

  • แผลร้อนในเล็ก โดยมักพบได้มากที่สุด รูปร่างกลม หรือรี ขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-5 มิลลิเมตร ตรงกลางจะมีเนื้อเยื่อสีขาว ขอบสีแดง มักหายถายใน 1-2 สัปดาห์โดยไม่มีแผลเป็น
  • แผลร้อนในใหญ่ พบรองลงมา แผลมีขนาดใหญ่มากกว่า 10 มิลลิเมตร มีความลึกมากกว่า ขอบไม่เรียบ มักอยู่นานได้ถึงประมาณ 6 สัปดาห์ และเมื่อหายแล้วอาจทำให้เกิดแผลเป็น
  • แผลร้อนในคล้ายเริม หรือแผลเฮอร์ปิติฟอร์ม แผลมีขนาดเล็กมักเกิดเป็นกลุ่ม รูปร่างไม่แน่นอน แต่ชนิดนี้พบได้ไม่บ่อย

สาเหตุ

  • ขาดสารอาหารบางชนิด เช่น วิตามินบี12 โฟเลต หรือธาตุเหล็ก
  • พักผ่อนน้อย อดนอน นอนดึก
  • ความเครียดทางร่างกายและจิตใจ
  • ความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์
  • ฮอร์โมนเปลี่ยน มักจะพบในผู้หญิงวัยรุ่นช่วงก่อนมีประจำเดือน
  • ภาวะผิดปกติและโรคบางชนิดที่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เช่น ลำไส้อักเสบ เอสแอลอี การติดเชื้อเอชไอวี 
  • ได้รับบาดเจ็บในช่องปาก เช่น กัดลิ้น กัดกระพุ้งแก้ม การกระแทกอย่างแรง

แผลร้อนในมักเป็นสัญญาณเตือนว่า ระบบภูมิคุ้มกันกำลังแปรปรวนเนื่องจากความเครียดทางร่างกาย หรือจิตใจ การพักผ่อนน้อย นอกนี้ยังพบว่า แผลร้อนในมักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายและยังสัมพันธ์กับอาชีพและระดับความวิตกกังวลรายบุคคลอีกด้วย

บางคนอาจไม่รู้ตัวว่า ตนเองกำลังเครียด หรือมีภาวะเครียด มีความวิตกกังวลรบกวนจิตใจอย่างหนัก ซึ่งหากปล่อยไว้เรื้อรัง ไม่ได้รับการแก้ไข อาจลุกลามจนกลายเป็นภาวะผิดปกติ หรือโรคต่างๆ ได้ 

ปัจจุบันโรงพยาบาลหลายแห่งมีบริการตรวจวิเคราะห์ความเครียด ที่จะช่วยให้คุณรู้ว่า "ร่างกายกำลังเครียดแค่ไหน" และ "ต้องแก้ไขอย่างไร" หรือหากยังไม่ต้องการตรวจ หลายโรงพยาบาลก็มีบริการปรึกษาจิตแพทย์เรื่องปัญหาความเครียดด้วยเช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการ

เมื่อมีแผลจะเริ่มรู้สึกเจ็บในปากอย่างมากในช่วง 2-3 วันแรก ยิ่งถ้ารับประทานอาหารรสจัด อาหารร้อน จะยิ่งแสบทรมานมากมาก ระยะแรกแผลตรงกลางจะมีเนื้อเยื่อสีขาว ขอบสีแดง ต่อมาบริเวณนี้จะกลายเป็นสีเหลืองและเจ็บปวดมากยิ่งขึ้น บางรายหากเป็นมากอาจเป็นไข้ได้

การดูแลตนเอง

  • หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด เช่น เผ็ดจัด เค็มจัด อาหารที่มีกรด เช่น ส้ม มะนาว มะเขือเทศ
  • หลีกเลี่ยงอาหารร้อน
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกฮอล์
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะผักผลไม้
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ผ่อนคลายความเครียด 
  • บ้วนปากด้วยน้ำเกลือวันละ 2-3 ครั้ง หลีกเลี่ยงยาสีฟันที่มีส่วนผสมของ sodium lauryl sulfate
  • ใช้ยาป้ายเพื่อลดอาการอักเสบและระคายเคือง
  • รับประทานยาแก้ปวด หากมีอาการปวด  
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

โดยทั่วไปแผลร้อนในจะมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ และหายสนิทภายใน 2 สัปดาห์ แต่ถ้ายังไม่หาย หรือแผลกลับมีขนาดใหญ่ขึ้น ลึกขึ้น หรือมีแผลใหม่เกิดขึ้นเพิ่มอีก ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาต่อไป 

ควรดูแลตนเองตามข้อแนะนำข้างต้น หมั่นรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อไม่ให้แผลร้อนในมาเยือน

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิงและผู้ชายทุกวัย จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sewon Kang, Masayuki Amagai, Anna L. Bruckner, Alexander H. Enk, David J. Margolis, Amy J. McMichael, Jeffrey S. Orringer, Fitzpatrick's Dermatology, 9th edition, McGraw-Hill Education, 2019.
Dermnetnz.org, Aphthous ulcer (https://dermnetnz.org/topics/aphthous-ulcer/), 30 August 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)