วิธีรับมือกับแผลไหม้ ภัยที่ใกล้ตัวมากกว่าที่คิด

เผยแพร่ครั้งแรก 4 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
วิธีรับมือกับแผลไหม้ ภัยที่ใกล้ตัวมากกว่าที่คิด

เป็นเรื่องปกติที่ร่างกายของเราอาจถูกไฟไหม้เมื่ออยู่บ้าน ซึ่งแผลไหม้สามารถเป็นได้ตั้งแต่ระดับเบาไปจนถึงระดับรุนแรง และสามารถทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราควรมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการรักษาแผลไหม้แต่ละประเภท และสิ่งที่ต้องทำเมื่อคุณเผชิญกับสถานการณ์ดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม แผลไหม้มี 3 ประเภท ซึ่งจำแนกตามความรุนแรงได้ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

1. ระดับแรก (First degree)

แผลไหม้ระดับนี้จะอยู่แค่บริเวณผิวชั้นต้นๆ หรือผิวชั้นหนังกำพร้า ซึ่งมันจะทำให้เรารู้สึกเจ็บมาก

การรักษา

  • ล้างบริเวณที่ถูกไฟไหม้ทันทีโดยใช้น้ำเย็นเป็นเวลาประมาณ 5 – 10 นาที
  • ห้ามบีบแผลพุพองที่อาจเกิดขึ้น และทำการฆ่าเชื้อบริเวณที่มีปัญหา รวมถึงทายาขี้ผึ้งที่ใช้รักษาแผลไหม้
  • ใช้ผ้าก๊อซที่สะอาด และแห้งห่อบนผิวที่ไหม้อย่างอ่อนโยน

2.ระดับที่สอง (Second degree)

แผลมีความลึก และเกิดขึ้นที่ผิวชั้นแรกและผิวชั้นที่สอง บริเวณที่ไหม้จะมีสีแดงสว่าง และอาจมีตุ่มพุพองปรากฏขึ้นมาให้เห็น

การรักษา

  • ล้างผิวโดยใช้น้ำเย็นประมาณ 10 – 30 นาที การทำเช่นนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้อาการแย่ลง และลดผลกระทบที่มีต่อผิวชั้นอื่น
  • ใช้ผ้าก๊อซพัน หรือใช้ผ้าพันแผลห่อแบบหลวมๆ ที่ผิว ซึ่งมันจะช่วยให้อากาศออกไปจากบริเวณที่ไหม้ และช่วยลดการอักเสบและความปวด
  • อย่าใช้น้ำแข็งหรือน้ำเย็น หรืออาบน้ำเพื่อบรรเทาอาการ
  • ถ้าเจ็บแผล ให้คุณทานยาแก้ปวดอย่างไอบูโพรเฟน เพื่อบรรเทาอาการปวด
  • อย่าจับแผลไหม้ หรืออย่าพยายามบีบตุ่มพุพอง เพราะมันอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ
  • ในกรณีที่แผลไหม้มีความรุนแรงอยู่ในระดับสาม คุณควรไปพบแพทย์ในทันที
  • ไม่ควรวางน้ำแข็งที่ผิวโดยตรง เพราะมันสามารถทำให้เนื้อเยื่อถูกทำลายเพราะความเย็นจัด
  • หลีกเลี่ยงการใช้ขี้ผึ้ง หรือออยล์ที่ไปขัดขวางกระบวนการเยียวยาบาดแผลตามธรรมชาติ
  • ไม่บีบตุ่มพุพอง หรือทำให้ตุ่มแตก เพราะมันสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อ
  • อย่าใช้เทปคอตตอนหรือเทปที่แนบติดกับผิว เพื่อให้ผิวได้หายใจ และป้องกันการติดเชื้อ
  • หลีกเลี่ยงการดึงเสื้อผ้าที่ไหม้และติดอยู่บนผิว และปล่อยให้แพทย์เป็นคนจัดการ
  • อย่าสัมผัสกับแผลไหม้ที่มีความรุนแรง การไปพบแพทย์เป็นวิธีที่ดีที่สุด
  • ไม่ทายาสีฟัน เนย แป้งทัลคัม หรือโลชั่น เพราะมันจะทำให้บาดแผลมีสภาพแย่กว่าเดิม

 3.ระดับที่สาม (Third degree)

ระดับนี้ถือว่ามีความรุนแรงมากที่สุด ซึ่งมันจะทำลายผิวทุกชั้น และทำให้เนื้อเยื่อเสียหายถาวร

การรักษา

  •  ไฟไหม้ลำตัวที่มีเสื้อผ้าปกคลุม สิ่งที่ควรทำอันดับแรกคือ ให้คนที่โดนไฟไหม้นอนกับพื้น และกลิ้งตัวหลายครั้งเพื่อให้ไฟดับ และถอดเสื้อผ้าออกเว้นเสียแต่ว่าเสื้อไหม้จนติดผิว จากนั้นให้ไปพบแพทย์ในทันที
  • แผลไหม้ที่เกิดจากกระแสไฟฟ้า ให้คุณล้างแผลไหม้ด้วยน้ำอุ่นเป็นเวลา 5 นาที และอย่าเพิ่งถอดเสื้อผ้าออกก่อน แต่ให้ทำไปพร้อมกับตอนที่ล้างแผลไหม้ จากนั้นให้ใช้ผ้าก๊อซหรือผ้าพันแผลพันบริเวณที่ไหม้ และไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
  • แผลไหม้ที่เกิดจากสารเคมี ถ้าสารเคมีโดนริมฝีปากหรือดวงตา ให้คุณล้างอวัยวะดังกล่าวด้วยน้ำเปล่าสะอาดให้ทั่วและรีบไปพบแพทย์

สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อถูกไฟไหม้

วัตถุดิบจากธรรมชาติที่ช่วยรักษาแผลไหม้ระดับที่ไม่ต้องไปพบแพทย์

  1. ว่านหางจระเข้
    ว่านหางจระเข้เป็นสมุนไพรที่สามารถนำมาใช้รักษาแผลไหม้ได้เป็นอย่างดี เพราะมันอุดมไปด้วยสารต้านการอักเสบที่ช่วยเร่งกระบวนการเยียวยาบาดแผล ทั้งนี้คุณสามารถทาเจลว่านหางจระเข้ได้ที่ผิวโดยตรงเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดและรักษาบาดแผล
  2. น้ำผึ้งดิบ
    น้ำผึ้งมีสารต้านแบคทีเรีย เป็นยาปฏิชีวนะตามธรรมชาติ และมีสารต้านการอักเสบ ที่ล้วนแต่ช่วยเอื้อต่อการรักษาและเยียวยาบาดแผล อย่างไรก็ดี คุณสามารถทาน้ำผึ้งได้ที่บาดแผลโดยตรง
  3. ดอกดาวเรือง
    น้ำมันดอกดาวเรืองมีสารฆ่าเชื้อ และสารช่วยบรรเทาความเจ็บปวดที่จะช่วยลดการอักเสบ และช่วยเยียวยาบาดแผล อย่างไรก็ตาม ดอกดาวเรืองแบบสกัดมีทั้งในรูปแบบของครีม เจล โลชั่น หรือออยล์ ซึ่งคุณสามารถเลือกได้ตามที่ใจต้องการ

อุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ซึ่งบางคนอาจตกใจเมื่อร่างกายถูกไฟไหม้โดยไม่ทันตั้งตัว และไม่รู้วิธีการดูแลบาดแผลเบื้องต้น ซึ่งหากทำไม่ถูกวิธี มันก็อาจทำให้คุณมีอาการแย่ลงกว่าเดิม ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณควรรู้วิธีรับมือกับแผลไหม้เบื้องต้น และควรรีบไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดเมื่อแผลไหม้มีความรุนแรง

ที่มา : https://steptohealth.com/what-...


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
nhs.uk, How to deal with burns (https://www.nhs.uk/conditions/burns-and-scalds/)
healthline.com, How to deal with burns (https://www.healthline.com/health/home-remedies-for-burns), December 2, 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป