โรคน้ำกัดเท้า โรคผิวหนัง ที่เกิดจากการที่เท้าแช่อยู่ในน้ำ เป็นระยะเวลานาน

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
โรคน้ำกัดเท้า โรคผิวหนัง ที่เกิดจากการที่เท้าแช่อยู่ในน้ำ เป็นระยะเวลานาน

สภาพอากาศปีนี้เปลี่ยนแปลงไปจากปีกลายมาก ในปีนี้บ้านเรามีฝนตกชุกตั้งแต่ฤดูหนาวที่ผ่านมา โดยตลอดและมีทีท่าว่าจะตกชุกตลอดฤดูฝนนี้ ฝนที่ตกหนักหรือตกติดต่อกันโดยไม่หยุดหลาย ๆ วัน ทำให้พื้นที่บางแห่งเกิดภาวะน้ำท่วม หรือน้ำขังขึ้นมาอย่างฉับพลัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพมหานครหรือเมืองใหญ่ ๆ ซึ่งบางท้องที่เป็นที่ลุ่มหรือต่ำ มีการอุดตันของท่อระบายน้ำหรือระบายน้ำลงสู่แม่น้ำลำคลองไม่ทัน ทำให้เกิดน้ำท่วมขังได้นาน ๆ ตามท้องถนนหรือบ้านเรือนราษฎร บางท้องที่ก็มีน้ำขังอยู่เป็นเดือน ๆ ทำให้ชาวบ้านที่อยู่ในละแวกนั้น ต้องประสบกับความเดือดร้อน คือต้องลุยน้ำหรือเท้าแช่อยู่น้ำอยู่เป็นเวลานาน ๆ ซึ่งจะทำให้เกิดโรคเท้าเปื่อยหรือที่เรียกว่าน้ำกัดเท้าหรือฮ่องกงฟุต หรือสมัยหนึ่งเคยเรียกตามชื่อผู้ว่า กทม. ว่า ธรรมนูญฟุต ขึ้นมาได้

โรคน้ำกัดเท้าคืออะไร

โรคน้ำกัดเท้า คือ โรคผิวหนังที่เกิดจากการที่เท้าแช่อยู่ในน้ำเป็นระยะเวลานาน ๆ เช่น หลายชั่วโมง หรือเป็นวัน ยกตัวอย่างเช่น ชาวบ้านที่อยู่ในเขตน้ำท่วมขังในหน้าฝนที่เท้าต้องเปียก เนื่องจากต้องลุยน้ำเป็นเวลานาน ๆ หรือต้องลุยน้ำขณะออกไปทำงานและต้องสวมถุงเท้ารองเท้า ที่อับชื้นตลอดเวลา ทำให้เท้าปียกชื้นทั้งวัน หรือทหารที่ออกสู่สมรภูมิรบที่ต้องสวมรองเท้าบูท และเท้าต้องแช่อยู่ในน้ำในพื้นที่ที่กำลังรบอยู่เป็นเวลาหลาย ๆ ชั่วโมงหรือเป็นวัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

a6.gif หลังจากที่เท้าแช่อยู่ในน้ำหลาย ๆ ชั่วโมง ผิวหนังชั้น Keratin (ชั้นขี้ไคล) ของหนังกำพร้าจะบวมพอง ทำให้เห็นผิวหนังว่ามีลักษณะซีดขาว ย่น และแตกเป็นร่อง ๆ ที่บริเวณฝ่าเท้า 2 ข้าง ง่ามนิ้วเท้าและหลังเท้าลักษณะแบบนี้เรียกว่าเท้าเปื่อย ผู้ป่วยจะมีอาการแสบ ๆ คัน ๆ หรือปวดที่ฝ่าเท้า เวลาเดินลงน้ำหนักง่ามนิ้วเท้าก็จะมีลักษณะเป็นแผล ถลอด แดง และเปื่อย


a6.gif ถ้าเท้าจุ่มอยู่น้ำไม่นานอาการก็จะหายเร็วภายใน 24 ชั่วโมง ถ้าเป็นมากอาการก็จะเป็นอยู่อีกหลายวัน หลังจากที่เท้าไม่ต้องแช่อยู่ในน้ำต่อไปอีกแล้ว

โรคน้ำกัดเท้า อาจมีเชื้อโรคแทรกซ้อนได้ โดยเฉพาะพวกเชื้อรา เช่น เชื้อยีสต์ (Candida) จะทำให้เกิดอาการแดงถลอก และอักเสบ มักเป็นแถวง่ามนิ้วเท้าและพวกเชื้อราอื่น ๆ ได้แก่ พวกกลาก ก็จะทำให้มีอาการอักเสบเป็นผื่นแดง มีตุ่มน้ำหรือขุยลอกบริเวณง่ามนิ้วเท้า ฝ่าเท้า และข้าง ๆ เท้าได้



 

a6.gif นอกจากนี้อาจเกิดการอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้ โดยเข้าไปทางร่องหรือรอยแตกที่ผิวหนังเกิดเป็นฝีหนองหรือการติดเชื้อบวมแดงร้อน และปวดของผิวหนังแบบที่เรียกว่า ไฟลามทุ่งได้

ข้อพึงปฏิบัติ

ควรหลีกเลี่ยงที่จะไม่ให้เท้าต้องจุ่มอยู่ในน้ำนาน ๆ หลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีน้ำท่วมขัง ย้ายไปอยู่บริเวณที่น้ำไม่ท่วม (คงยากมาก) สวมรองเท้าที่โปร่ง เช่น รองเท้าแตะ ไม่ให้มีการอบหรือน้ำขังในรองเท้าที่จะต้องสวมต่อไปทั้งวัน ล้างเท้าด้วยน้ำสะอาดหลังจากต้องย่ำน้ำมาแล้วนาน ๆ แล้วเช็ดหรือซับให้แห้ง โดยเฉพาะแถวง่ามนิ้วเท้าและไม่ควรใช้สบู่ยาหรือสบู่แรง ๆ ฟอกเท้าเพราะจะยิ่งทำให้เท้าเปื่อยมากขึ้น เพราะสารเหล่านั้นมีฤทธิ์ระคายผิวหนัง หลังจากซับให้แห้งแล้วให้โรยด้วยแป้งฝุ่น

a6.gif ถ้ามีอาการเท้าเปื่อยเนื่องจากน้ำกัดเท้าระยะแรก มักไม่ได้เกิดจากเชื้อรา ไม่ควรใช้ยารักษาเชื้อราที่มีฤทธิ์ระคายเคืองผิวหนังมาทา เพราะจะทำให้เป็นมากขึ้นได้ ยกเว้นในระยะหลังที่มีเชื้อราแทรกซ้อนแล้ว ถึงจะใช้ยารักษาโรคเชื้อราทาได้

a6.gif การป้องกัน กรณีที่จำเป็นต้องย่ำน้ำ อาจใช้ขี้ผึ้ง เช่น พวก White petrolatum (White Vasline) ทาฉาบผิวหนังที่เท้าให้ทั่วทั้งง่ามนิ้วเท้า ฝ่าเท้า จะช่วยป้องกันไม่ให้น้ำซึมไปกัดเท้าได้ แต่ข้อเสียคือเหนอะหนะ น่ารำคาญ

กรณีที่มีการอักเสบหลาย ๆ วัน ไม่ยอมหาย หลังจากการปฏิบัติดูแลเท้าอย่างดีแล้วหรือมีอาการบวมแดง ปวด มีหนองที่เท้าควรพบแพทย์เพื่อให้ตรวจรักษาที่ถูกต้องต่อไป เพราะอาจมีเชื้อราหรือ เชื้อแบคทีเรียเข้าแทรกซ้อนดังกล่าว


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Athlete's Foot (for Teens). Nemours KidsHealth. (https://kidshealth.org/en/teens/athletes-foot.html)
Athlete's foot. DermNet NZ. (https://dermnetnz.org/topics/athletes-foot/)
Athlete's Foot Treatment, Causes & Symptoms (https://www.medicinenet.com/athletes_foot/article.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)