กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ตาพร่ามัว เป็นสัญญาณของโรคอะไรได้บ้าง?

ไม่ต้องรอให้ "แก่" ก็มีโอกาสตาพร่ามัวได้ สำคัญที่ต้องหมั่นสังเกตตัวเอง
เผยแพร่ครั้งแรก 22 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 28 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 17 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ตาพร่ามัว เป็นสัญญาณของโรคอะไรได้บ้าง?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการตาพร่ามัว (Blurred Vision) คือ การที่ดวงตามองเห็นได้ไม่ชัดเจน หรือเห็นสิ่งต่างๆ เป็นภาพเบลอๆ มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีความผิดปกติทางสายตา แต่ก็สามารถพบในคนทั่วไปเช่นกัน
  • อาการตาพร่ามัว มักเกิดจากกลุ่มโรคหลักๆ 4 กลุ่ม ได้แก่ สายตาผิดปกติ มีสิ่งขัดขวางทางเดินแสงสู่จอรับภาพ การส่งสัญญาณประสาทผิดปกติ และตรวจไม่พบความผิดปกติใดๆ
  • อาการตาพร่ามัว มักจะค่อยๆ ดีขึ้น หลังจากได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ แต่หากอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบจักษุแพทย์โดยด่วน โดยเฉพาะหากเกิดอาการเจ็บตามาก ตาแดง หรือมีเลือดไหลออกจากตาร่วมด้วย
  • วิธีการรักษาอาการตาพร่ามัวจะรักษาจากสาเหตุ เช่น หากเกิดจากสายตาสั้น แก้ไขได้ด้วยการสวมแว่นสายตา หากเกิดจากตาแห้ง ให้ใช้ยาหยอดตาเพิ่มความชุ่มชื้น หรือหากเกิดจากต้อกระจก อาจต้องผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์
  • ดวงตา เป็นอวัยวะสำคัญ ควรถนอมสายตาด้วยการใช้สายตาอย่างเหมาะสม ไม่จ้องมองวัตถุที่มีแสงสว่างจ้า หลีกเลี่ยงการขยี้ตา และรับประทานอาหารบำรุงสายตาเป็นประจำ (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพตาได้ที่นี่)

อาการตาพร่ามัว (Blurred Vision) คือ การที่ดวงตามองเห็นได้ไม่ชัดเจน หรือเห็นสิ่งต่างๆ เป็นภาพเบลอๆ มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ และผู้ที่มีความผิดปกติทางสายตา 

แต่บางครั้งอาการตาพร่ามัวก็เกิดขึ้นกับคนหนุ่มสาวได้เหมือนกัน นอกจากจะมองเห็นได้ไม่ชัดแล้วยังอาจมีอาการอื่นๆ เกิดร่วมด้วย เช่น มีน้ำตาและขี้ตามาก ตาแห้งจนเจ็บ หรือแสบตา ตาไม่สู้แสง เห็นจุด หรือเส้นบางๆ คั่นอยู่กลางตา เป็นต้น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการตาพร่ามัวแม้จะดูธรรมดา แต่จริงๆ แล้วเป็นอาการที่ไม่ควรมองข้าม เพราะนอกจากการมองเห็นไม่ชัดเจนจะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุและเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตแล้ว อาการนี้ก็อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคต่างๆ ได้เช่นกัน

อาการตาพร่ามัว บ่งบอกความผิดปกติอะไรบ้าง?

อาการตาพร่ามัวเกิดจากกลุ่มโรคหลักๆ 4 กลุ่ม คือ

  1. สายตาผิดปกติ (Refractive error) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด
  2. ความผิดปกติของการส่งสัญญาณประสาท (Sensory pathway abnormalities)
  3. มีอะไรมาขัดขวางทางเดินของแสงเข้าสู่จอรับภาพ (Cloudy of ocular media)
  4. ตรวจไม่พบความผิดปกติที่เป็นสาเหตุใดๆ (Functional visual loss)

ตัวอย่างสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการตาพร่ามัว

อาการตาพร่ามัวอาจเกิดได้ปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง หรืออาจเกิดร่วมกันหลายปัจจัยก็ได้ ควรลองสังเกตตัวเองจากข้อดังต่อไปนี้

  • ดวงตาแห้ง เนื่องจากขาดน้ำตามาหล่อเลี้ยงซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติของต่อมน้ำตาโดยตรง หรือเกิดจากร่างกายขาดน้ำก็ได้

  • มีแผล หรือเกิดการบาดเจ็บที่ดวงตา
  • สวมคอนแทคเลนส์ที่ไม่สะอาด

  • เส้นเลือดฝอยในตาแตก

  • กระจกตามีบาดแผล หรือเกิดรอยถลอก

  • โรคเส้นประสาทตาอักเสบ
  • โรคต้อกระจก ซึ่งเกิดจากโปรตีนในเลนส์แก้วตาสะสม ทำให้เลนส์ขุ่นมัวและเบลอ

  • จอประสาทตามีการติดเชื้อ

  • โรคจอประสาทตาเสื่อม ทำให้จุดรับภาพส่วนกลางผิดปกติ เกิดขึ้นได้บ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งจะทำให้อาการตาพร่ามัวรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงขั้นตาบอดได้

  • มีความผิดปกติของสายตา ได้แก่ สายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง ซึ่งเกิดขึ้นจากการใช้สายตาไม่เหมาะสม พันธุกรรม และอายุที่เพิ่มขึ้น

  • โรคต้อหิน ซึ่งเกิดจากในลูกตามีแรงดันมากกว่าปกติจนทำให้เส้นประสาทตาเสียหายได้

  • โรคหลอดเลือดสมอง หรือมีไขมันอุดตันในเส้นเลือด

  • โรคไมเกรน ซึ่งอาการตาพร่ามัวจะมาพร้อมอาการปวดศีรษะด้วย

  • จอประสาทตาถูกทำลายจากโรคเบาหวาน หากปล่อยไว้โดยไม่รักษาและไม่ควบคุมน้ำตาลในเลือด อาจถึงขั้นตาบอดได้

เมื่อไหร่จึงควรไปหาหมอ?

อาการตาพร่ามัวอาจเกิดพร้อมกับอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ หากได้พักผ่อนเพียงพอ อาการจะค่อยๆ ดีขึ้น แต่หากยังมีอาการตาพร่ามัวอยู่ ควรรีบไปพบจักษุแพทย์โดยด่วน โดยเฉพาะหากเกิดอาการดังต่อไปนี้ร่วมด้วย 

  • เจ็บตามาก 
  • ตาแดง 
  • มีเลือดไหลออกจากตา 
  • ปวดศีรษะมากซึ่งอาจมีอาการคลื่นไส้ 
  • อาเจียนด้วย 
  • ควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้าไม่ได้ 
  • พูดติดขัด 
  • ใบหน้าเบี้ยวสูญเสียการมองเห็นชั่วขณะ

อาการดังกล่าวเป็นสัญญาณความผิดปกติที่ค่อนข้างรุนแรง แม้จะเกิดอาการขึ้นเพียงอย่างเดียวก็ไม่ควรปล่อยไว้ต้องรีบไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโดยเร็วที่สุด

การรักษาอาการตาพร่ามัว

อาการตาพร่ามัวสามารถรักษาได้โดยการหาสาเหตุและแก้ไขให้ตรงจุด ยกตัวอย่างเช่น

  • หากสาเหตุมาจากตาแห้ง ขาดน้ำตาหล่อเลี้ยง ให้ใช้ยาหยอดตาเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น และดื่มน้ำสะอาดมากๆ เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ
  • หากอาการตาพร่า มองเห็นไม่ชัดเจน เกิดจากความผิดปกติของสายตา สามารถแก้ไขได้ด้วยการสวมแว่นสายตา โดยการวัดสายตาและตัดแว่นควรได้รับการประเมินและแนะนำโดยจักษุแพทย์

  • หากอาการมีสาเหตุมาจากต้อกระจก อาจต้องทำการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตาเพื่อให้ดวงตากลับมามองเห็นชัดเจนเช่นเดิม

การป้องกันอาการตาพร่ามัว

ทางที่ดีที่สุดสำหรับอาการทางตาก็คือ การป้องกัน เพราะฉะนั้นควรทำตามข้อดังต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงการขยี้ตา
  • ระวังการใส่คอนแทคเลนส์ที่ไม่สะอาด
  • ใช้สายตาให้เหมาะสม ไม่จ้องมองวัตถุในที่มีแสงสว่างจ้า หรือมืดเกินไป 
     
  • รับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงสายตา เช่น ผักใบเขียว ผักผลไม้ที่มีสีเหลืองด้วย

หมั่นสังเกตสุขภาพของดวงตาอยู่เสมอ หากพบว่ามีความผิดปกติควรรีบแก้ไขอย่าชะล่าใจว่า เดี๋ยวก็หาย คุณควรเริ่มจากการพบจักษุแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดเพื่อหาวิธีแก้ไขอย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไป 

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพตา เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ภฤศ หาญอุตสาหะ, ตามัว (BLURRED VISION) (https://med.mahidol.ac.th/eye/sites/default/files/public/blur%20vision.doc), 15 April 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ผ่าตัดเสริมเลนส์ Phakic IOL รักษาสายตาสั้น ยาว เอียง คืออะไร อันตรายไหม?
ผ่าตัดเสริมเลนส์ Phakic IOL รักษาสายตาสั้น ยาว เอียง คืออะไร อันตรายไหม?

ผ่าตัดเสริมเลนส์ Phakic IOL คือนวัตกรรมที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการรักษาสายตาสั้น ยาว เอียง แต่ไม่สามารถทำเลสิกได้

อ่านเพิ่ม
ผ่าตัดเสริมเลนส์ Phakic ICL คืออะไร อันตรายไหม?
ผ่าตัดเสริมเลนส์ Phakic ICL คืออะไร อันตรายไหม?

ผ่าตัดเสริมเลนส์ Phakic ICL คือการแก้ไขปัญหาสายตาสั้น ยาว เอียงที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถทำเลสิกได้

อ่านเพิ่ม