แนะนำ 7 สุดยอดวิธีดูแลดวงตา สำหรับคนเล่นมือถือบ่อยๆ

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
แนะนำ 7 สุดยอดวิธีดูแลดวงตา สำหรับคนเล่นมือถือบ่อยๆ

วันนี้ไม่ว่าจะไปทางไหน ก็มีแต่คนก้มหน้า จ้องแต่โทรศัพท์มือถือของตน บางคนบรรจงใช้นิ้วลากจอ ขึ้น ๆ ลง ๆ ในขณะที่บางคนก็เอาแต่เพ่ง แล้วยิ้มแสดงอารมณ์ออกมาอย่าง รู้ไหมว่าพฤติกรรมเหล่านี้จะทำให้สายตาคุณแย่ เรามีวิธีป้องกัน

1. จำกัดเวลาในการใช้ให้สั้นลง

เรื่องนี้อาจไม่ง่ายนักสำหรับนักสังคมโซเซียลมีเดีย ที่เสพติดโทรศัพท์มือถือ อย่างขาดไม่ได้ เพราะการแชทการใช้งานแอบพลิเคชั่น รวมทั้งสังคมกลุ่มในเฟสบุคส์มันคึกคักสนุกสนานขึ้นทุกวัน เพียงแค่เราใช้สายตาน้อยลงเท่านั้นเอง โดยพักการใช้แล้วเดินไปเข้าห้องน้ำหรือพูดคุยกับคนรอบข้างเป็นการใส่ใจพวกเขาบ้าง ก่อนพักก็ปิดการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต พักจอไว้เป็นการประหยัดแบตเตอรี่ลงได้อีก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตา รักษาโรคตาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 437 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

2. ลดความสว่าง ปรับแสงจากจอ

ปรับความเข้มแห่งการส่องสว่างลง ใช้ความสว่างจากแสงไฟภายนอก เป็นการรักษาดวงตา

3. เลือกหน้าจอโทรศัพท์มือถือที่ใหญ่ขึ้น

สำหรับคนที่มีโทรศัพท์มือถือเป็นส่วนหนึ่งของรูปแบบการใช้ชีวิต ควรเลือกใช้หน้าจอที่มีเส้นทะแยงมุมใหญ่ขึ้นเพราะจะลดการเพ่งของสายตา ปัจจุบันมีทัพเล็ต ไอแพท ให้เลือกใช้มากมาย

4. ใส่ใจงานอดิเรก และการออกไปเดินเล่นบ้าง

การทำงานอดิเรกจะเป็นการพักผ่อน อย่างดีที่สุดสำหรับนักเสพติดโทรศัพท์มือถือทั้งหลาย เพราะเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจ บำบัดทางจิตได้อย่างดี มองไปไกล ๆ ไม้จ้องสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อีกอย่างการเดินเล่นชมสีธรรมชาติ อย่างสีเขียวจะบรรเทาอาการเมื่อยล้าดวงตาได้เช่นกัน

5. ใช้แว่นตากันแดด

ปัจจุบันมีแว่นตากันแดด ที่ออกแบบหรู ราคาประหยัดใส่ป้องกันแสงจากโทรศัพท์มือถือได้ และเลือกให้เหมาะสมกับสายตาเพราะความผิดปกติของสายตาเป็นเรื่องส่วนบุคคล กล่าวคือสั้นยาวเอียงไม่เท่ากัน

6. ใช้แว่นตา หรือสวมคอนแทคเลนส์

เป็นการลดการเพ่ง อันเนื่องมาจากสายตาสั้น ยาว เอียง แต่คนที่สายตาปกติก็ไม่จำเป็นต้องใช้

7. ควรปรึกษาจักษุแพทย์

เพื่อตรวจและรักษาความผิดปกติของดวงตาอยู่สม่ำเสมอ ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้ามีการใช้อินเตอร์เน็ตหาข้อมูลข่าวสาร รูปแบบการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ เปลี่ยนไป ควรเพิ่มจำนวนครั้งที่ไปพบให้มากขึ้นในแต่ละปี  จักษุแพทย์จะให้คำแนะนำปรึกษาเรื่องของการใช้สายตาของแต่ละคนได้เป็นอย่างดี เพราะอาการผิดปกติของสายตาแต่ละคนไม่เท่ากัน กล่าวคือบางรายอาจจะต้องรักษาอย่างเร่งด่วนขณะที่บางรายแค่รับคำแนะนำ 

ปัจจุบันรูปแบบการสื่อสาร และดำเนินชีวิตของคนไทยเปลี่ยนไปจากเดิม การใช้โทรศัพท์มือถือมีมากขึ้น การติดต่อสื่อสารง่าย แชท ไลน์ ไม่ให้ตกยุคข่าวสาร แต่ก็อย่าใช้ให้มากเกินไปจะส่งผลเสียแก่สุขภาพตา และละทิ้งความรู้สึกของคนใกล้ตัว อย่าลืมห่วงใยพวกเขาบ้าง


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Blurry Vision or Headaches? It Could Be Computer Vision Syndrome. Health Essentials from Cleveland Clinic. (https://health.clevelandclinic.org/computers-and-blurry-vision-5-fixes-for-your-tech-induced-eyestrain/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ผ่าตัดเสริมเลนส์ Phakic IOL รักษาสายตาสั้น ยาว เอียง คืออะไร อันตรายไหม?
ผ่าตัดเสริมเลนส์ Phakic IOL รักษาสายตาสั้น ยาว เอียง คืออะไร อันตรายไหม?

ผ่าตัดเสริมเลนส์ Phakic IOL คือนวัตกรรมที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการรักษาสายตาสั้น ยาว เอียง แต่ไม่สามารถทำเลสิกได้

อ่านเพิ่ม
ผ่าตัดเสริมเลนส์ Phakic ICL คืออะไร อันตรายไหม?
ผ่าตัดเสริมเลนส์ Phakic ICL คืออะไร อันตรายไหม?

ผ่าตัดเสริมเลนส์ Phakic ICL คือการแก้ไขปัญหาสายตาสั้น ยาว เอียงที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถทำเลสิกได้

อ่านเพิ่ม