10 สิ่งที่ต้องทำและห้ามทำสำหรับการดูแลคอนแทคเลนส์

เผยแพร่ครั้งแรก 22 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
10 สิ่งที่ต้องทำและห้ามทำสำหรับการดูแลคอนแทคเลนส์

คุณใส่คอนแทคเลนส์อยู่หรือเปล่า ถ้าใช่ บทความนี้จำเป็นสำหรับคุณ 10 สิ่งที่ต้องทำและห้ามทำขณะที่คุณใช้คอนแทคเลนส์

การใส่คอนแทคเลนส์เป็นเรื่องปกติสำหรับนำมาใส่ทดแทนแว่นตา แต่การใส่วัสดุที่มีเทคโนโลยี่ทางการแพทย์เช่นนี้ก็อาจนำไปสู่อาการแทรกซ้อนได้เช่นกัน ผลงานวิจัยล่าสุดจากนักวิทยาศาสตร์พบว่า แบคทีเรียมีความสามารถในการต้านทานน้ำยาทำความสะอาดเลนส์ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้กับโรคกระจกตาอักเสบ ดังนั้นนี่คือข้อควรปฏิบัติเบื้องต้นสำหรับผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์จำเป็นต้องรู้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคกระจกตาอักเสบคืออะไร? โรคกระจกตาอักเสบในทางการแพทย์นั้น คือการอักเสบของกระจกตา กระจกตามีรูปทรงเป็นแบบรูปโดมอยู่ด้านหน้าของดวงตา อาการของกระจกตาอักเสบก็คือ อาการแดงของลูกตา,อาการปวด,การมองภาพไม่ชัด และมีน้ำตาและน้ำเมือกขาวไหลออกจากดวงตา การระคายเคืองดวงตาชนิดต่างๆถือได้ว่าเป็นอาการที่เราควรจะหยุดใส่คอนแทคเลนส์และควรเข้าปรึกษาแพทย์โดยทันที

สิ่งที่ควรทำเมื่อใส่คอนแทคเลนส์

เคล็ดลับที่ 1. การทำความสะอาดถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการใช้คอนแทคเลนส์ ก่อนที่จะจับคอนแทคเลนส์ทุกครั้งต้องล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำยาล้างมือ และควรอ่านคู่มือที่เกี่ยวกับวิธีการล้างมือที่ถูกต้อง

เคล็ดลับที่ 2. ต้องมั่นใจว่าทุกสิ่งที่สัมผัสกับคอนแทคเลนส์นั้นสะอาด รวมถึงนิ้วมือ น้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ และตลับใส่คอนแทคเลนส์

เคล็ดลับที่ 3. ขึ้นอยู่กับชนิดของคอนแทคเลนส์ที่คุณใช้คุณควรเปลี่ยนคอนแทคเลนส์เมื่อถึงเวลาที่กำหนด เช่นหากคุณใช้แบบรายวัน รายเดือน หรือรายปี คุณต้องแน่ใจว่าคุณได้เปลี่ยนคอนแทคเลนส์ภายในเวลาที่ถูกต้อง

เคล็ดลับที่ 4. เปลี่ยนตลับใส่คอนแทคเลนส์ทุกๆ 2-3 เดือน

เคล็ดลับที่ 5. ให้ถอดคอนแทคเลนส์ออกเมื่อเกิดอาการระคายเคือง เมื่อระคายเคืองไม่ควรที่จะใส่คอนแทคเลนส์ต่อ เนื่องจากเป็นอาการเบื้องต้นของอาการติดเชื้อหรือปัญหาอื่นๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เคล็ดลับที่ 6. เช็ดคอนแทคเลนส์เบาๆด้วยน้ำยาทำความสะอาด ก่อนและหลังใส่ ซึ่งจะทำให้เลนส์คงความสะอาดปราศจากการปนเปื้อนของโปรตีน (โปรตีนเป็นแหล่งอาหารของแบคทีเรีย การที่เลนส์มีโปรตีนอยู่มากอาจทำให้มีการติดเชื้อได้)

เคล็ดลับที่ 7. การใส่คอนแทคเลนส์ครั้งแรกควรที่จะปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใส่และถอดเลนส์อย่างถูกวิธี ซึ่งจะช่วยป้องกันอาการบาดเจ็บของดวงตาจากการติดเชื้อจากนิ้วและเล็บมือ

ข้อห้ามปฏิบัติเมื่อสวมคอนแทคเลนส์

เคล็ดลับที่ 1. ห้ามใส่คอนแทคเลนส์ขณะนอนหลับ ไม่ว่าจะนอนในระยะสั้นหรือระยะยาว เพราะเมื่อคุณหลับตาลงคอนแทคเลนส์จะทำให้ออกซิเจนเข้าไปในดวงตาได้น้อยลง ซึ่งทำให้พื้นผิวของดวงตามีโอกาสต่อการติดเชื้อ และเพิ่มโอกาส

เคล็ดลับที่ 2. ห้ามใส่คอนแทคเลนส์ขณะอาบน้ำหรือว่ายน้ำ น้ำในทะเลสาบ,แม่น้ำ,น้ำทะเล,น้ำในสระว่ายน้ำ หรือแม้กระทั่งน้ำปะปา อาจมีสารที่เรียกว่า อแคนธามีบา ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการติดเชื้อที่ดวงตา การใส่คอนแทคเลนส์ขณะว่ายน้ำหรืออาบน้ำ หรือการกระทำใดก็ตามที่เกี่ยวข้องกับน้ำ อาจนำไปสู่การติดเชื้อของดวงตา

เคล็ดลับที่ 3. ห้ามนำน้ำยาทำความสะอาดเลนส์กลับมาใช้ซ้ำ มันเป็นสิ่งที่จำเป็นมากในการใช้น้ำยาทำความสะอาดเลนส์ใหม่ทุกครั้ง เพื่อที่จะเก็บเลนส์ไว้ในตลับ เพื่อที่จะคงการรักษาความสะอาดและการปลอดไวรัสและแบคทีเรีย

 


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Caring for Your Contact Lenses and Your Eyes. WebMD. (https://www.webmd.com/eye-health/caring-contact-lens)
How to Care for Soft Contact Lenses. All About Vision. (https://www.allaboutvision.com/contacts/caresoftlens.htm)
Keeping Contact Lens Patients Problem Free. American Academy of Ophthalmology. (https://www.aao.org/eyenet/article/keeping-contact-lens-patients-problem-free)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ตาพร่ามัว เป็นสัญญาณของโรคอะไรได้บ้าง?
ตาพร่ามัว เป็นสัญญาณของโรคอะไรได้บ้าง?

ไม่ต้องรอให้ "แก่" ก็มีโอกาสตาพร่ามัวได้ สำคัญที่ต้องหมั่นสังเกตตัวเอง

อ่านเพิ่ม
ผ่าตัดเสริมเลนส์ Phakic IOL รักษาสายตาสั้น ยาว เอียง คืออะไร อันตรายไหม?
ผ่าตัดเสริมเลนส์ Phakic IOL รักษาสายตาสั้น ยาว เอียง คืออะไร อันตรายไหม?

ผ่าตัดเสริมเลนส์ Phakic IOL คือนวัตกรรมที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการรักษาสายตาสั้น ยาว เอียง แต่ไม่สามารถทำเลสิกได้

อ่านเพิ่ม