วิธีการเลือกน้ำยาล้างและแช่คอนแทคเลนส์ ประเภท วิธีการดูแลอย่างถูกวิธีเพื่อลดอาการระคายเคืองและลดอาการตาแห้ง

เผยแพร่ครั้งแรก 9 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
วิธีการเลือกน้ำยาล้างและแช่คอนแทคเลนส์ ประเภท วิธีการดูแลอย่างถูกวิธีเพื่อลดอาการระคายเคืองและลดอาการตาแห้ง

คอนแทคเลนส์เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างหนึ่งที่ช่วยในการแก้ปัญหาสายตาสั้น ซึ่งเหมาะกับผู้ที่ไม่สะดวกกับการสวมแว่นตา จึงช่วยเสริมและเปลี่ยนบุคลิกภาพให้กับผู้ที่มีปัญหาสายตาได้เป็นอย่างดี แต่ทั้งนี้ก็ใช่ว่าจะมีประโยชน์กับผู้ใส่เพียงอย่างเดียว เพราะถ้าเลือกน้ำยาล้างและแช่คอนแทคเลนส์กระทำไม่ถูกวิธี อาจส่งผลให้เกิดอาการระคายเคืองตา ตาแห้ง หรือเกิดปัญหาร้ายแรงแก่ดวงตาได้

วิธีการเลือกน้ำยาล้างและแช่คอนแทคเลนส์

น้ำยาล้างและแช่คอนแทคเลนส์มี 3 ประเภท แต่ละประเภทก็มีสรรพคุณต่างกันอีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตา รักษาโรคตาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 437 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ชนิดล้าง แช่ และกำจัดโปรตีนในขวดเดียว น้ำยาชนิดนี้เหมาะสำหรับคอนแทคเลนส์ชนิดใส่แล้วทิ้ง เพราะน้ำยาชนิดนี้เมื่อล้างแล้วมักจะเหลือคราบสกปรก และอาจทำให้เกิดอาการแพ้สารกันเชื้อโรค อีกทั้งยังใช้ล้างคราบโปรตีนติดแน่นไม่ค่อยออก ดังนั้นขณะล้างจึงควรต้องใช้นิ้วมือถูช่วยอีกทางหนึ่ง
  • ชนิดล้าง แช่ และกำจัดโปรตีนแบบแยกขวด เหมาะกับคอนแทคเลนส์ที่ใช้เป็นประจำ เนื่องจากสามารถล้างโปรตีนและฆ่าเชื้อโรคได้ดี แต่ก่อนใส่คอนแทคเลนส์จะต้องล้างน้ำยาออกให้หมด เนื่องจากหากล้างไม่หมดจะทำให้ตาเจ็บ เกิดการระคายเคืองและมีอาการแสบตาได้
  • ชนิด Hydrogen Peroxide จะมีการแยกน้ำยาออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ก่อนการฆ่าเชื้อ ส่วนที่สองจะเป็นน้ำยาเฉพาะ โดยน้ำยาชนิดนี้ไม่ค่อยสะดวกเพราะใช้เวลานานและต้องแช่ตามเวลาที่กำหนดจึงจะนำมาใช้ได้ ถ้าแช่ไม่ครบกำหนดแล้วนำออกมาใช้ทันทีจะทำให้เกิดการระคายเคือง เจ็บตา และแสบตาได้เช่นกัน

วิธีการดูแลคอนแทคเลนส์อย่างถูกวิธี

การดูแลคอนแทคเลนส์จำเป็นจะต้องใส่ใจและพิถีพิถัน โดยให้ความสำคัญตั้งแต่ตลับใส่จนถึงตัวคอนแทคเลนส์ด้วยวิธีที่ถูกต้อง เพื่อให้การนำมาใช้ไม่เกิดอาการระคายเคืองตาและลดอาการตาแห้งจากแนวปฏิบัติดังนี้

1.การดูแลตลับใส่คอนแทคเลนส์

  • ควรทำความสะอาดตลับใส่คอนแทคเลนส์อย่างสม่ำเสมอ ถ้าเริ่มมีคราบสกปรกฝังแน่นจะต้องเปลี่ยนทิ้งทุก 1 – 3 เดือน เพื่อป้องกันการเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค
  • การทำความสะอาดตลับใส่คอนแทคเลนส์ หลังการใช้ทุกครั้งให้นำน้ำยาคอนแทคเลนส์เก่าเทออกให้หมด ล้างด้วยน้ำเปล่าให้สะอาดแล้วล้างด้วยน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ ใช้นิ้วมือที่ผ่านการล้างอย่างสะอาดและเช็ดให้แห้งมาถูข้างในตลับใส่คอนแทคเลนส์ จากนั้นให้ล้างด้วยน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์อีกครั้ง เสร็จแล้วควรคว่ำหรือตากให้แห้งสนิท อีกทั้งควรนำตลับใส่คอนแทคเลนส์นี้มาต้มบ้างเป็นครั้งคราว เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรคอีกด้วย

2.การดูแลและวิธีทำความสะอาดคอนแทคเลนส์ที่ถูกต้อง

  • การทำความสะอาด ล้างมือให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง เมื่อถอดคอนแทคเลนส์ออกมาแล้วก็นำมาวางกลางฝ่ามือ จากนั้นหยดน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์บนตัวเลนส์เพียง 2 – 3 หยด ใช้นิ้วมือถูทั้ง 2 ด้านด้วยปลายนิ้วเบาๆ เพื่อให้สิ่งสกปรกหลุดออก
  • การล้างสิ่งสกปรก เทน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ให้ผ่านตัวเลนส์ลงไป ขั้นตอนนี้อาจใช้เป็นน้ำเกลือนอร์มอลซาไลน์แทนน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ก็ได้
  • การฆ่าเชื้อ นำคอนแทคเลนส์มาแช่ด้วยน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ในตลับเก็บคอนแทคเลนส์ ทิ้งไว้ประมาณ 4 – 6 ชั่วโมง หากต้องการนำมาใช้ก็ให้เทน้ำยาล้างเลนส์หรือน้ำเกลือนอร์มอลซาไลน์ผ่านตัวคอนแทคเลนส์เลนส์อีกครั้ง แล้วจึงค่อยนำมาใส่ที่ดวงตา

การใช้คอนแทคเลนส์จะต้องรักษาความสะอาดอย่างเคร่งครัด เพราะหากเกิดความสกปรกอาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อดวงตาได้ ต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน โดยไม่ใช้น้ำยาที่เก่าเก็บหรือเปิดขวดทิ้งไว้นานๆ และใช้น้ำยาที่ยังไม่หมดอายุเท่านั้น หากใส่คอนแทคเลนส์แล้วเกิดอาการเจ็บ ระคายเคืองตา หรือตาแห้งผิดปกติ ต้องนำคอนแทคเลนส์ออกทันที และถ้าอาการไม่ดีขึ้นต้องรีบไปพบจักษุแพทย์โดยเร็วที่สุด


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Caring for Your Contact Lenses and Your Eyes. WebMD. (https://www.webmd.com/eye-health/caring-contact-lens)
Contact lens case care. American Optometric Association. (https://www.aoa.org/patients-and-public/caring-for-your-vision/contact-lenses/case-care)
Contact Lens Cleaning Solution Basics. American Academy of Ophthalmology. (https://www.aao.org/eye-health/glasses-contacts/contact-lens-cleaning-solution-basics)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ผ่าตัดเสริมเลนส์ Phakic ICL คืออะไร อันตรายไหม?
ผ่าตัดเสริมเลนส์ Phakic ICL คืออะไร อันตรายไหม?

ผ่าตัดเสริมเลนส์ Phakic ICL คือการแก้ไขปัญหาสายตาสั้น ยาว เอียงที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถทำเลสิกได้

อ่านเพิ่ม