วิธีป้องกันรังสียูวีจากแสงแดด

รู้ทันและป้องกันอันตรายจากรังสียูวี หมดปัญหาผิวคล้ำและโรคร้ายที่อาจตามมา
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
วิธีป้องกันรังสียูวีจากแสงแดด

แสงแดดอ่อนๆ ในยามเช้านั้นมีประโยชน์กับมนุษย์ นั่นเพราะมันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยวิตามินอีที่ช่วยเสริมสร้างแคลเซียม (Calcium) อันเป็นแร่ธาตุสำคัญของกระดูก แต่เมื่อถึงเวลาสาย แสงแดดจะเริ่มแรงขึ้น และรังสีอัตราไวโอเลต (Ultraviolet Radiation: UV) หรือเรียกสั้นๆ ว่า "รังสียูวี" จากดวงอาทิตย์ก็จะสาดส่องลงมายังผิวโลก แล้วทำลายผิวหนังอันบอบบางของเราได้

รังสียูวี มี 3 ประเภท และจะมีความยาวคลื่นมากและน้อยต่างกันตามลำดับ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

1. รังสียูวีเอ 

รังสียูวีเอ (Ultraviolet A: UVA) เป็นรังสีที่มีคลื่นยาวที่สุดกว่ารังสีอื่น เมื่อรังสียูวีเอส่องผ่านก้อนเมฆเข้าสู่ผิวหนังของมนุษย์ซึ่งได้แก่ ชั้นผิวหนังกำพร้าและชั้นหนังแท้ ก็จะทำให้เกิดอาการผิวคล้ำแดด ขาดความสดใส ชาวตะวันตกมักเรียกผิวคล้ำแดดแบบนี้ว่า "ผิวสีแทน" แต่ในทางตรงกันข้าม รังสีชนิดนี้ก็ทำให้เกิดรอยเหี่ยวย่นได้ แต่ไม่ได้ทำให้เกิดอันตรายแต่อย่างใด ยกเว้นแต่หากคุณรับรังสีมากจนเกินไป ก็จะทำให้เกิดอนุมูลอิสระในผิวหนังได้ ซึ่งจะส่งผลต่อความยืดหยุ่นของเซลล์ผิวที่ลดลง

2. รังสียูวีบี 

รังสียูวีบี (Ultraviolet B: UVB) รังสียูวีบีจัดว่าเป็นรังสีร้าย ถึงแม้จะถูกชั้นบรรยากาศของโลกกั้นและเข้าถึงผิวหนังได้ไม่ลึกเท่ากับรังสียูวีเอ แต่รังสียูวีบีก็สามารถทำให้เกิดฝ้า ผิวไหม้เกรียม และขาดความชุ่มชื้นได้ จนอาจลุกลามเป็นมะเร็งผิวหนังได้ในเวลาต่อมา โดยช่วงเวลาที่รังสียูวีบีรุนแรงที่สุดคือ เวลาประมาณ 10.00-14.00 น.

3. รังสียูวีซี

รังสียูวีซี (Ultraviolet C: UVC) มีความยาวคลื่นน้อยที่สุดแต่มีพลังงานสูงที่สุด และยังเป็นอันตรายต่อดวงตาและผิวของมนุษย์ที่สุดด้วย ในอดีต รังสียูวีซีไม่สามารถผ่านชั้นบรรยากาศโลกเข้ามาได้ แต่ในปัจจุบัน ด้วยมลภาวะที่เป็นพิษซึ่งมนุษย์ก่อขึ้น ทำให้รังสียูวีซีสามารถทะลุเข้ามาถึงพื้นโลกได้มากขึ้น 

รังสียูวีประเภทต่างๆ มีผลกระทบต่อร่างกายของมนุษย์ทั้งนั้น ถึงแม้บางวันท้องฟ้าจะมีเมฆมาก หรือในวันที่ฝนตกหรืออยู่ในฤดูหนาวที่แสงแดดดูจะไม่ส่องแรงนัก แต่ความจริงแล้วรังสียูวีก็ยังคงส่องผ่านมาถึงชั้นผิวหนังของเราได้เหมือนกัน ดังนั้น เราจึงควรหาวิธีป้องกันรังสียูวีจากดวงอาทิตย์ ด้วยวิธีดังนี้

สวมแว่นตากันแดด

เพราะหากดวงตาของเราได้รับแสงยูวีเป็นเวลานาน จะทำให้ตามีอาการกลัวแสง มีน้ำตาคลอ อาจมีอาการกระตุกตามขอบตาและเยื่อบุตาอักเสบได้ นอกจากนี้อาจมีอาการมึนงงและเกิดความอ่อนเพลียได้ มีโรคแทรกซ้อนเกี่ยวกับตาจำนวนมากที่มีต้นเหตุมาจากการรับรังสียูวีมากเกินไป เช่น โรคต้อกระจก โรคต้อเนื้อ กระจกตาอักเสบ 

ดังนั้นการเลือกแว่นตากันแดดสักอัน เพื่อใส่ป้องกันดวงตาจากรังสียูวีจึงเป็นเรื่องที่ต้องทำ เพราะนอกจากโรคร้ายที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว รังสียูวียังสามารถทำลายเยื่อบุตาขาว ทำให้เลนส์ตาเกิดอาการระคายเคืองและเจ็บตาได้ด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

นอกจากนี้ แว่นตากันแดดที่คุณเลือกซื้อ ควรเป็นแว่นตากันแดดที่มีเลนส์กันรังสียูวีได้ และอย่าเข้าใจผิดว่ายิ่งสีของเลนส์แว่นเข้มหรือดำมากเท่าไรก็ยิ่งป้องกันรังสีได้มากเท่านั้น เพราะความจริงแล้ว การป้องกันรังสียูวีด้วยแว่นตากันแดดต้องใช้เลนส์ที่ผลิตออกมาเพื่อป้องกันรังสียูวีโดยเฉพาะ และหากคุณสวมแว่นตากันแดดที่มีเลนส์สีเข้มแต่ไม่ได้ป้องกันรังสียูวี อาจมีโอกาสที่ม่านตาของคุณจะขยาย และได้รับรังสียูวีมากกว่าเดิมด้วย

ครีมกันแดด

การทาครีมกันแดดเป็นการป้องกันผิวจากรังสียูวีอีกรูปแบบหนึ่ง เพราะโดยปกติแล้วผิวหนังของมนุษย์จะมีความทนทานต่อรังสียูวีได้ไม่เกิน 20 นาที ดังนั้นครีมกันแดดก็จะมีค่าการปกป้องจากแสงแดด (Sun Protection Factor: SPF) กำกับเป็นตัวเลขไว้ ถ้าคุณเจอครีมกันแดดที่มีตัวเลขเขียนกำกับไว้ว่า SPF 15 หมายความว่า ครีมดังกล่าวจะป้องกันผิวได้นานขึ้นอีก 15 เท่าของระยะเวลาที่ผิวของมนุษย์จะทนทานรังสียูวีได้ (15×20 = 300 นาที) หากไลฟ์สไตล์ชีวิตของคุณจำเป็นต้องอยู่กลางแดดเป็นเวลานาน คุณควรเลือกครีมกันแดดที่มีค่า SPF มากขึ้น เพื่อช่วยป้องกันอาการแสบร้อนจากรังสียูวี

ร่มกันแดด เสื้อผ้ามิดชิด หมวกปีกกว้าง

อุปกรณ์ง่ายๆ เหล่านี้จะช่วยลดรังสียูวีได้ในระดับหนึ่ง แต่ป้องกันได้ในระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น แต่ในปัจจุบันได้มีการผลิตเสื้อกันแดดหรือกันลมออกมาหลากหลายแบบ และสามารถนำมาใส่ร่วมกับเสื้อผ้าในชีวิตประจำวันของเราได้ด้วย อาจเป็นไอเดียที่ไม่เลว หากคุณจะหาซื้อเสื้อแบบนี้ไวัสักตัว

หลีกเลี่ยงการออกไปในที่กลางแจ้ง

ให้หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่กลางแจ้งหรือถูกแสงแดดจ้าๆ เป็นเวลานานๆ โดยเฉพาะช่วงเวลาประมาณ 10.00-16.00 น. เพราะเป็นช่วงที่รังสียูวีส่องลงมาอย่างรุนแรงเกือบ 80% แต่หากคุณจำเป็นต้องออกไปในที่กลางแจ้งหรือเผชิญแสงแดดจ้าๆ ให้สวมแว่นตากันแดด สวมหมวกและใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด รวมทั้งทาครีมกันแดดในบริเวณที่เสื้อผ้าไม่สามารถป้องกันได้ด้วย

รับประทานอาหารที่ช่วยป้องกันรังสียูวี

ผักผลไม้บางชนิด เช่น มะเขือเทศ มะพร้าว มีสารอาหารเอนไซม์ (Enzyme) ที่ช่วยบำรุงให้ผิวพรรณ และป้องกันการทำลายผิวหนังจากรังสียูวีได้ ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ อาหารและผักผลไม้อื่นๆ เช่น ชาเขียว แครอท แตงโม ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น มะนาวและส้ม ก็มีสารอาหารที่ช่วยป้องกันผลกระทบจากรังสียูวีได้เช่นเดียวกัน หรือกรดไขมันโอเมกา-3 (Omega-3) จากน้ำมันปลาก็สามารถช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันของผิวหนังและป้องกันการเกิดมะเร็งได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม แสงแดดไม่ได้มีแต่โทษเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์แฝงอยู่ด้วยเช่นกัน เช่น ช่วยเสริมสร้างกระดูก ช่วยให้เกิดการหลั่งของสารเอนดอร์ฟิน (Endorphin) ซึ่งเป็นสารสร้างความสุขและช่วยต้านอาการซึมเศร้า ช่วยให้ร่างกายสดชื่น ช่วยลดความดันโลหิต รวมทั้งช่วยป้องกันโรคเรื้อนได้อีกด้วย


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป