กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Actinic Keratosis (โรคแอกทินิกเคอราโทซิส)

เผยแพร่ครั้งแรก 10 เม.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

โรคแอกทินิกเคอราโทซิส (Actinic Keratosis) คือการโตของแผ่นผิวหนังหยาบเป็นเกล็ดๆ ที่สามารถพัฒนาเป็นมะเร็งผิวหนังได้หากปล่อยทิ้งไว้และไม่ได้รับการรักษา

อาการแสดงของ Actinic Keratosis

Actinic Keratosis มักเกิดบริเวณที่ผิวหนังโดนแสงบ่อยๆ เช่น ศีรษะ หน้า มือ ต้นแขน หัวไหล่ และคอ โรคจะเริ่มจากบริเวณเล็กๆ โดยอาจสัมผัสได้ถึงความผิดปกติก่อนจะเห็นเป็นแผ่นผิวหนัง เนื่องจากจะมีผิวสัมผัสที่หยาบกว่าบริเวณผิวหนังรอบๆ อย่างมาก 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผิวที่เป็นโรคจะค่อยๆ ขยายขนาดจนมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 0.25 นิ้ว และมีสีแดง แทน น้ำตาล หรือชมพู อาจมีอาการคันร่วมด้วย ไปจนถึงเจ็บหรือรู้สึกแปลบๆ แถมอาจอักเสบหรือมีเลือดออกได้ด้วย ปัจจุบันการศึกษาพบว่าประมาณ 10% ของคนที่เป็นโรค Actinic keratosis จะกลายเป็นมะเร็งผิวหนังชนิดที่เรียกว่ามะเร็งเซลล์สความมอส (Squamous cell carcinoma) โดยมะเร็งผิวหนังชนิดนี้จะต่างจากมะเร็งเบซาลเซลล์ (Basal cell carcinoma) ตรงที่จะมีการกระจายอย่างรวดเร็วและยังสามารถรุกล้ำเนื้อเยื่อข้างเคียงได้ ในบางกรณีที่พบได้ยากอาจกระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรค Actinic Keratosis

Actinic keratosis เกิดจากการโดยแสงแดดเป็นเวลานานเป็นปีๆ โดยรังสีอัลตร้าไวโอเลตจากแสงแดดจะไปทำลายเซลล์ผิวหนัง (Keratinocyte) ที่ประกอบเป็น 90% ของผิวหนังชั้นนอกสุด (Epidermis)

บุคคลต่อไปนี้อาจมีความเสี่ยงเป็น Actinic keratosis ได้มากกว่าปกติ

  • ผู้สูงอายุ การโดนแสงแดดสะสมมาทั้งชีวิต ทำให้มีโอกาสเกิดโรค Actinic keratosis มากขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้น โดยมักจะพบในคนที่อายุ 50 ปีขึ้นไป และทุกคนที่อายุมากกว่า 80 ปีมีโอกาสเกิดโรคนี้ขึ้นสักที่หนึ่งบนร่างกายเป็นอย่างต่ำ
  • คนที่มีเม็ดสีในผิวหนังน้อย คนที่มีผิวขาวมีความเสี่ยงเกิดโรคมากกว่า เนื่องจากการมีเม็ดสีที่ช่วยป้องกันน้อยกว่า และมีโอกาสไหม้แดดมากกว่า หากคุณมีผมทองหรือผมแดง หรือตาฟ้า เขียวหรือเทาจะมีความเสี่ยงสูง
  • คนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หากระบบภูมิคุ้มกันโดนกดการทำงานจากการเป็นโรคหรือการใช้ยารักษา ร่างกายจะซ่อมแซมการทำลายจากแสงแดดได้น้อยลง ผู้ที่ทำเคมีบำบัดรักษามะเร็ง ผู้ที่รับประทานยากดภูมิเพื่อการปลูกถ่ายอวัยวะ หรือผู้ติดไวรัสเอชไอวีจึงมักมีความเสี่ยงสูง

การรักษาโรค Actinic Keratosis

การรักษาโรค Actinic keratosis มีหลายวิธี ดังนี้

  • การผ่าตัดด้วยความเย็น (Cryosurgery) แพทย์จะยับยั้งการโตของโรคด้วยการแช่แข็งด้วยไนโตรเจนเหลวหรือสารที่ให้ความเย็นจัดอื่นๆ แผ่นผิวหนังที่ถูกแช่แข็งจะตายและค่อยๆ หลุดลอกออกมา จากนั้นจะนำผิวหนังดีมาทดแทน การรักษาด้วยวิธีนี้เป็นที่นิยมมากที่สุด
  • การผ่าตัดด้วยเลเซอร์ (Laser surgery) แพทย์จะใช้ลำแสงเลเซอร์เพื่อยั้บยั้งการโตของโรค เทคนิคนี้ต้องใช้ความแม่นยำ และมีประโยชน์สำหรับรอยโรคที่อยู่ในบริเวณแคบๆ โดยเฉพาะบนใบหน้า
  • การลอกผิวด้วยสารเคมี คือการใช้กรดช่วยให้แผลแข็งๆ หลุดลอกออกและทดแทนด้วยผิวหนังใหม่
  • ยาทา ครีมทาผิวเฉพาะที่จะจัดการกับการโตของโรคด้วยการกำจัดเซลล์ที่ถูกทำลายหรือกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายให้มากำจัด ยาส่วนใหญ่มักต้องใช้เป็นเวลานาน มีผลข้างเคียงทำให้ผิวแดงและสร้างความไม่สบายเล็กน้อย แต่ถือเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการรักษามาก
  • การบำบัดด้วยแสง (Photodynamic therapy) จะมีการใช้สารละลายที่ตอบสนองกับแสงแดดทาบนแผล เมื่อผิวหนังโดนแสงแดดแรงๆ สารนี้จะถูกกระตุ้นให้ทำลายรอยโรค
  • การผ่าตัดกำจัดรอยโรค แพทย์จะใช้มีดผ่าตัดผ่ารอยโรคออกไป 

ในการรักษา แพทย์มักใช้หลายวิธีร่วมกัน เพื่อให้แน่ใจว่ารอยโรค Actinic keratosis ถูกกำจัดออกจนหมด

วิธีป้องกันโรค Actinic keratosis

การป้องกันโรค Actinic keratosis ทำได้เช่นเดียวกับมะเร็งผิวหนัง โดยเน้นลดการโดนแสงแดด มีคำแนะนำดังนี้

  • อยู่ในที่ร่มหรือใต้ร่มเงาในช่วงเวลาที่แสงแดดแรงที่สุด ซึ่งมักเป็นช่วงระหว่าง 10.00-16.00 น.
  • ป้องกันผิวด้วยการสวมเสื้อแขนยาวขายาว และหมวกปีกกว้าง
  • ทาครีมกันแดดเมื่อออกไปข้างนอกแม้ในวันที่มีเมฆมาก เลือกครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 เป็นอย่างต่ำ และควรทาซ้ำทุกๆ 2-3 ชั่วโมง

11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Actinic keratoses (solar keratoses). NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/actinic-keratoses/)
Actinic Keratosis (Solar Keratosis) Picture Image. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/image-collection/actinic_keratosis_solar_keratosis_picture/picture.htm)
Actinic keratosis: Pictures, causes, and prevention. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/318466)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ถ้าเราโดดแดดเป็นเวลานานๆจะมีผลต่อการทำลายเซลล์ผิวหนังได้มากน้อยแค่ไหนครับ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ไฝธรรมดาสามารถคันได้มั้ยคะ แบบนานๆคันที
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
สอบถามค่าใช่จ่ายผ่ามะเร็งผิวหนังชนิด Basal cell carcinoma ค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มันขยายใหญ่เรื่อยๆครับ คิดว่าน่าจะเป็นมะเร็งผิวหนังครับ
คำถามนี้ได้การตอบจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ