กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

รวมสาเหตุทำให้เกิดโรคผมร่วง

โรคผมร่วงมีปัจจัยมาจากอะไร พันธุกรรม เคมี ฮอร์โมน อะไรเป็นสาเหตุทำให้ผมร่วงบ้าง
เผยแพร่ครั้งแรก 5 พ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 7 ธ.ค. 2022 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
รวมสาเหตุทำให้เกิดโรคผมร่วง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคผมร่วงมีสาเหตุหลักมาจากพันธุกรรม โดยสามารถพบได้ทั้งในผู้หญิง และผู้ชาย นอกจากนี้ความเครียดก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการผมร่วง หรือมีพฤติกรรมดึงทึ้งผมขณะเครียดได้
  • การรับประทานอาหารไม่เหมาะสม เช่น รับประทานโปรตีนน้อย รับประทานวิตามินเอมากเกินไป การเสพติดการบริโภครเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคผมร่วง
  • การเสริมสวยเกี่ยวกับผม ไม่ว่าจะเป็นทรงผมที่ดึงหนังศีรษะมากเกินไป การสระผมบ่อยเกินความจำเป็น การใช้เคมี และความร้อนกับในการทำผม ก็มีส่วนทำให้เกิดโรคผมร่วงได้ ทางที่ดีควรเว้นระยะการทำผมกับความร้อน หรือเคมีให้ผมได้พักบ้าง และสระผมสัปดาห์ละ 1-2 ครั้งก็พอ
  • ความผิดปกติของฮอร์โมนระหว่างตั้งครรภ์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ที่ผิดปกติของผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับไทรอยด์ ก็เป็นอีกสาเหตุของโรคผมร่วงเช่นกัน
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปลูกผม รักษาผมร่วง

โรคผมร่วง เป็นโรคที่ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ทั้งผู้หญิง และผู้ชายหลายคนต้องเผชิญกับอาการผมร่วง หรือศีรษะล้าน ซึ่งจะทำให้สูญเสียความมั่นใจในภาพลักษณ์ และรู้สึกเสียบุคลิกภาพอีกด้วย เรามาดูสาเหตุพร้อมๆ กันว่า โรคผมร่วงเกิดจากอะไรกันบ้าง

ความหมายของโรคผมร่วง

โรคผมร่วง (Alopecia หรือ Hair loss) หมายถึง โรคที่ผู้ป่วยจะมีอาการผมหลุดร่วงจนเห็นหนังศีรษะชัดขึ้นเรื่อยๆ ก่อนวัยอันสมควร สามารถแบ่งออกได้ 2 กลุ่ม ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  1. กลุ่มผมร่วงทั่วศีรษะ (Alopecia Totalis: AT)
  2. กลุ่มผมร่วงเฉพาะที่ (Alopecia Areata: AA)
  3. กลุ่มผมร่วง และขนตามร่างกายร่วงทั้งหมด (Alopecia Universalis: AU)

นอกจากการแบ่งประเภทผมร่วงตามบริเวณที่ร่วง เราก็สามารถจำแนกโรคผมร่วงได้จากแผลบนหนังศีรษะด้วย โดยสามารถจำแนกได้ดังนี้

  1. กลุ่มผมร่วงแบบมีแผลเป็นบนหนังศีรษะ (Scarring or Cicatricial alopecias)
  2. กลุ่มผมร่วงแบบไม่มีแผลเป็นบนหนังศีรษะ (Non-Scarring or Non-cicatricial alopecias)

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการผมร่วง

สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เกิดปัญหาผมร่วง ได้แก่

1. พันธุกรรม

โรคผมบางทางพันธุกรรม (Androgenetic alopecia) เป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุดในกลุ่มผู้ที่เกิดโรคผมร่วงขึ้น โดยเป็นโรคที่สามารถเกิดได้ทั้งในผู้หญิง และผู้ชาย ใครที่มีผู้ใกล้ชิดทางสายเลือดที่ผมร่วง หรือศีรษะล้าน ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ไปด้วยเช่นกัน

ผู้ที่เป็นโรคผมบางทางพันธุกรรมสามารถเกิดอาการผมร่วงได้ตั้งแต่ยังวัยรุ่น โดยผู้ชายมักจะเริ่มผมร่วงที่บริเวณขมับกับยอดศีรษะก่อน จากนั้นผมบริเวณโดยรอบก็จะค่อยๆ ร่วงลงตามไปด้วย ส่วนผู้หญิงมักจะมีอาการผมร่วงหลังเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน

2. ความเครียด

ในขณะที่คุณเกิดภาวะเครียด การหลั่งของฮอร์โมนคอร์ดิซอล (Cortisol) ก็จะเปลี่ยนไป จนส่งผลต่อการงอก รวมถึงความแข็งแรงของเส้นผม และรูขุมขนบนหนังศีรษะ จนทำให้ผมร่วงได้

นอกจากนี้ผู้ที่มีภาวะเครียดบางรายยังมีพฤติกรรมชอบดึงเส้นผมตัวเองเมื่อรู้สึกตึงเครียด หรือวิตกกังวล เมื่อดึงจนติดเป็นนิสัย ผมก็จะค่อยๆ ร่วง และบางลง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

3. การรับประทานโปรตีนไม่เพียงพอ

สารอาหารโปรตีนถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับเส้นผมของเราทุกคน การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนอย่างเพียงพอ จึงช่วยให้คุณมีเส้นผมที่แข็งแรง ไม่หลุดร่วงได้ง่าย

อย่างไรก็ตาม มีหลายคนที่ไม่ได้รับประทานอาหารประเภทที่มีสารอาหารโปรตีนเพียงพอ เช่น เนื้อสัตว์ นม ถั่ว โยเกิร์ต จนทำให้เกิดอาการผมร่วงตามมาในภายหลัง

4. การรับวิตามินเอมากเกินไป

วิตามินเอถือเป็นวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายของเราก็จริง แต่การรับประทานในปริมาณมากเกินขนาดก็สามารถส่งผลให้ผมร่วงได้ แต่สาเหตุนี้ไม่ได้ร้ายแรงมากนัก เพียงลดปริมาณการรับประทานวิตามินเอลง ผมก็จะกลับมางอกใหม่ได้อีกครั้ง

5. การรับประทานยา

ยาเคมีบำบัด ยาป้องกันเลือดแข็งตัว (Anticoagulants) ยารักษาโรคมะเร็งหลายชนิดมีส่วนทำให้เกิดอาการผมร่วงได้ หลายคนคงเห็นผ่านสื่อละคร หรือภาพยนตร์ที่ตัวละครซึ่งกำลังรักษาโรคมะเร็งจะต้องมีลักษณะผมร่วง

อย่างไรก็ตามหลังจากคุณหยุดการรับยาเคมีบำบัด หรือยาอื่นๆ ที่ทำให้ผมร่วงแล้ว ผมก็จะค่อยๆ กลับมางอกใหม่อีกครั้ง

6. การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่

ผู้ที่มีพฤติกรรมชอบดื่มสุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่เป็นประจำมีโอกาสที่ผมจะร่วงก่อนวัยอันควรได้ เพราะในเครื่องดื่มหลายชนิด และสารพิษในบุหรี่มีฤทธิ์สามารถฆ่าเซลล์ต่างๆ ในร่างกายได้ และยังทำให้ระบบไหลเวียนเลือดแย่ลงด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เมื่อเลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงรากผม และเซลล์ผิวหนังได้อย่างสมบูรณ์ จึงทำให้รากผมกับรูขุมขนอ่อนแอ และเส้นผมหลุดร่วงได้

7. การใช้ความร้อน และสารเคมีบ่อยๆ

ผมที่ผ่านการดัด ไดร์ หรือเสริมสวยด้วยความร้อน น้ำยา สารเคมีต่างๆ มีโอกาสที่จะเสีย และหลุดร่วงง่ายกว่าผมธรรมชาติที่ไม่ค่อยผ่านการเสริมแต่ง หากคุณเป็นผู้ที่ชื่นชอบการทำสีผม การดัดผม การใช้ความร้อนทำผมเป็นประจำ ก็ควรเว้นระยะเวลาในการทำให้ผมได้พักบ้าง

นอกจากนี้อย่าลืมหาเซรั่ม หรือน้ำมันสำหรับบุำรุงมานวดผมบ้าง เพื่อให้สุขภาพผมได้รับการบำรุงมากขึ้น

และอีกการเสริมสวยที่ทำร้ายผมโดยที่คุณไม่รู้ตัว คือ การถักเปีย การมัดผมหางม้า หรือการทำผมทรงที่ต้องมีการดึงรั้งหนังศีรษะมากเกินไป (Traction alopecia) ซึ่งเมื่อทำผมทรงนี้อย่างต่อเนื่อง ก็จะทำให้หนังศีรษะล้า และทำให้ผมร่วงเป็นหย่อมๆ จนหนังศีรษะบางได้

8. การสระผมบ่อยเกินไป

การสระผมบ่อยเกินไปอาจทำให้คุณคิดว่า หนังศีรษะของตนเองสะอาด แต่ในทางกลับกัน มันก็เป็นสาเหตุที่ทำให้หนังศีรษะของคุณคันระคายเคืองได้ จนเป็นที่มาของโรคผมร่วงในภายหลัง

ทางที่ดีคุณควรสระผมสัปดาห์ละ 1-2 ครั้งก็พอ หรือหากเป็นคนหนังศีรษะมันง่าย ก็อาจเพิ่มเป็นสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง แต่ไม่ควรสระผมทุกวัน หรือสระทุกเช้าเย็น

9. การตั้งครรภ์

ในระหว่างตั้งครรภ์ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ของหญิงตั้งครรภ์จะมีการแปรปรวนมากกว่าปกติ และส่งผลให้ผมหลุดร่วงได้ โดยเฉพาะในช่วงหลังคลอดบุตรแล้ว แต่โดยปกติภายใน 1 ปีหลังจากคลอด ผมจะค่อยๆ งอกขึ้นใหม่อีกครั้งแทนที่ผมที่หลุดร่วงไป

แต่หากคุณแม่มือใหม่คนใดไม่มั่นใจ ก็ควรเข้ารับการปรึกษากับแพทย์เกี่ยวกับโรคผมร่วงหลังคลอดบุตร หรือเข้ารับการตรวจก่อนแต่งงาน หรือก่อนวางแผนจะมีบุตร เพื่อจะได้รู้ความพร้อมของสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ และปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับภาวะ หรือโรคต่างๆ ที่อาจตามมาในภายหลังคลอด

10. ความผิดปกติของฮอร์โมนไทรอยด์

ผู้ป่วยภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) และภาวะพร่องไทรอยด์ (Hypothyroidism) มักมีอาการผมร่วง เพราะเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone)

นอกจากนี้ต่อมไทรอยด์ยังเป็นต่อมที่ควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย เมื่อเกิดความผิดปกติของต่อมนี้ จึงมีโอกาสที่ผมจะหลุดร่วงได้

11. โรคภูมิแพ้รากผม

ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้รากผม (Alopecia Areata) จะมีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายที่รวน ไม่สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพ จึงทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวไปรบกวนรากผม จนเซลล์รากผมหยุดทำงาน และหลังจากนั้น ผมจะเริ่มร่วงเป็นหย่อมๆ และหายไปโดยไม่เหลือตอผมไว้เลย

12. ได้รับอุบัติเหตุ หรือโรคบนหนังศีรษะ

ผู้ที่เคยได้รับอุบัติเหตุต่อหนังศีรษะอย่างน้ำร้อนลวก เป็นแผลฉกรรจ์ลึก แผลผ่าตัดขนาดใหญ่ หรือเป็นโรคฝีหนองบนหนังศีรษะ โรคกลากบนหนังศีรษะ อาจมีอาการผมร่วง หรือหนังศีรษะบริเวณดังกล่าวไม่มีรากผมอีกต่อไป และไม่สามารถสร้างเส้นผมทดแทนได้

เพื่อไม่ให้ปัญหาผมหลุดร่วงส่งผลต่อความมั่นใจของคุณ หากไม่แน่ใจว่า โรคผมร่วงของตนมีสาเหตุมาจากอะไร คุณควรไปพบแพทย์เพื่อขอรับการวินิจฉัย เพื่อจะได้รับการรักษาต่อไป และยังทำให้เส้นผมบนหนังศีรษะหนา สุขภาพผมแข็งแรงอยู่กับคุณต่อไปได้อีกนาน

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปลูกผม FUE คืออะไร เจ็บมั้ย น่ากลัวรึเปล่า ตอบทุกคำถามโดยแพทย์เฉพาะทาง | HDmall
รีวิว ปลูกผมแบบ Hair stem micro transplant ที่ APEX Medical Center | HDmall
รีวิวปลูกผมด้วยเทคนิค FUE ที่ Grow & Glow Clinic | HDmall

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปลูกผม รักษาผมร่วง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Cynthia Cobb, Causes and treatments for hair loss (https://www.medicalnewstoday.com/articles/327005), 12 November 2020.
รศ.นพ.ป่วน สุทธิพินิจธรรม, หัวจ๋า...ผมลาก่อน (https://www.si.mahidol.ac.th/Th/healthdetail.asp?aid=405), 12 พฤศจิกายน 2563.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป