แบคทีเรีย

ทำความรู้จักกับแบคทีเรียแต่ละชนิด แบ่งประเภทอย่างไร และก่อให้เกิดโรคอะไรได้บ้าง
เผยแพร่ครั้งแรก 24 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 4 ก.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
แบคทีเรีย

แบคทีเรียคืออะไร

แบคทีเรียเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง เพราะสามารถสร้างอาหาร และสลายอาหารเป็นพลังงานเพื่อใช้ในเซลล์ได้ แบคทีเรียขยายพันธุ์ด้วยการแบ่งตัวทวีคูณ จากหนึ่งเซลล์เป็นสองเซลล์ จากสองเป็นสี่ จากสี่เป็นแปด เป็นอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่จำเป็นต้องมีเพศผู้ เพศเมีย

โครงสร้างของแบคทีเรีย

แบคทีเรียเป็นจุลชีพเซลล์เดียวจัดอยู่ในกลุ่มโพรคาริโอต (Prokaryote) ที่มีส่วนประกอบเช่นเดียวกับเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอื่นทั่วไปแต่ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส โดยมีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วน คือ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ส่วนผนังเซลล์และเยื่อหุ้มเซลล์ ผนังเซลล์จะเป็นผนังที่อยู่ชั้นนอกสุด มีความแข็งแรง และเปรียบเสมือนโครงกระดูกของแบคทีเรีย มีหน้าที่รักษาลักษณะและรูปร่างของแบคทีเรียเอาไว้ให้คงที่ ซึ่งโครงสร้างของผนังเซลล์นั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละสปีชีส์ของแบคทีเรีย
    ถัดจากผนังเซลล์เข้าไปจะเป็นเยื่อหุ้มบางๆ เรียกว่า เยื่อหุ้มเซลล์ ทำหน้าที่คาบคุมการแลกเปลี่ยนสารอาหารต่างๆ และน้ำที่อยู่ภายในเซลล์ และภายนอกเซลล์ของแบคทีเรียให้เหมาะสมในการดำรงชีวิต
  • ส่วนไซโทพลาซึม เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไป ภายในไซโทพลาซึม ประกอบไปด้วยโปรตีน สารอาหารต่างๆ เช่น แป้ง ไขมัน และเอนไซม์ต่างๆ ที่ใช้ในการดำรงชีวิต นอกจากนั้นยังมีกรดนิวคลีอิก หรือดีเอ็นเอ ซึ่งบรรจุรหัสพันธุกรรมสำหรับควบคุมการดำรงชีวิต และการสืบพันธุ์ของแบคทีเรียแต่ละสายพันธุ์ไว้ด้วย

แบคทีเรียบางสายพันธุ์มีความสามารถในการสร้างผนังเซลล์ที่มีความหนากว่าปกติล้อมรอบตัว เรียกผนังที่หนาเป็นพิเศษนี้ว่า สปอร์ หรือแคปซูล ซึ่งสปอร์จะทนความร้อน ความเย็น ความชื้น และมีชีวิตอยู่ได้นานหลายปี แม้ว่าจะไม่มีอาหารเลยก็ตาม 

การขยายพันธุ์ของแบคทีเรีย

แบคทีเรียขยายพันธุ์โดยไม่ต้องมีเพศผู้เพศเมีย เมื่อมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีอาหารสมบูรณ์ ก็จะสร้างส่วนต่างๆ ที่ใช้ในการดำรงชีวิตขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง หลังจากนั้นก็จะสร้างผนังเซลล์ขึ้นมาล้อมรอบส่วนประกอบต่างๆ แต่ละชุด กลายเป็นสองเซลล์ จากสองเซลล์เป็นสี่เซลล์ จากสี่เซลล์เป็นแปดเซลล์ ไปเรื่อยๆ 

แบคทีเรียจะสังเคราะห์สารสำคัญไว้ในเซลล์ และแบ่งเป็นสองส่วนที่เหมือนกัน จากนั้นแต่ละส่วนจะถูกแยกออกจากกัน และมีผนังเซลล์มาห่อหุ้มไว้ในแต่ละส่วน จนกลายเป็นสองเซลล์ ซึ่งอาจจะแยกจากกันโดยเด็ดขาด หรือยังคงเชื่อมอยู่ด้วยกันก็ได้ เซลล์ที่แบ่งตัวแล้วจะมีลักษณะการจัดเรียงของโครงสร้างสารต่างๆ เหมือนกันทั้งสองเซลล์

กล่าวกันว่า ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมของแบคทีเรียแต่ละชนิด สามารถแบ่งตัวทุกๆ 20–30 นาที ในขณะที่บางชนิดใช้เวลา 12-16 ชั่วโมงในการแบ่งตัวแต่ละครั้ง

อย่างไรก็ตาม อัตราการแบ่งตัว อาจถูกยับยั้งหรือช้าลง หากอยู่ในสภาพขาดสารอาหาร มีสารพิษ ของเสียที่เป็นอันตรายต่อแบคทีเรีย หรืออยู่ในอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม เช่น ไม่มีอากาศ หรือมีอากาศที่ไม่เหมาะสม และถ้ายังคงอยู่ในสภาพดังกล่าวเป็นเวลานาน แบคทีเรียจะหยุดเจริญเติบโต หยุดแบ่งตัว และตายในที่สุด 

การเรียกชื่อแบคทีเรีย

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของแบคทีเรียแต่ละชนิดมีสองคำ โดยชื่อแรกเป็นชื่อ วงศ์ (Genus) เขียนขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่ ชื่อหลังเป็นชื่อสปีชีส์ (Species) ของแบคทีเรียในสกุลนั้น ส่วนหลักการเขียนชื่อแบคทีเรียยังคงเป็นแบบการเขียนชื่อทางวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต กล่าวคือ ใช้ตัวเอียงทั้งหมด หรือ ตัวตรงแต่ขีดเส้นใต้ ดังตัวอย่าง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ตัวอย่าง: Staphylococcus aureus หรือ Staphylococcus aureus

คำว่า Staphylococcus เป็นสกุล ส่วนคำว่า aureus เป็นสปีชีส์ของแบคทีเรียในสกุล Staphylococcus 

เราสามารถเขียนชื่อสกุลแบบย่อโดยใช้เฉพาะอักษรตัวแรกของชื่อสกุลเป็นตัวใหญ่ แล้วใส่จุดต่อท้าย เช่น S.aureus

กรณีต้องการระบุถึงแบคทีเรียทุกชนิดในสกุลนี้จะเขียนเฉพาะชื่อสกุลแล้วต่อท้ายด้วย spp. (อ่านว่า Species) เช่น Staphylococcus spp. หมายความถึงแบคทีเรียสกุลนี้ทุกชนิด เช่น Staphylococcus aureus และ Staphylococcus epidermidis เป็นต้น

ประเภทของแบคทีเรีย

แบคทีเรียแบ่งออกโดยใช้เกณฑ์ 3 ประเภท ดังนี้

1. แบ่งตามการย้อมติดสี

นิยมใช้การย้อมติดสีแบบแกรม (Gram staining) เป็นการแบ่งแบคทีเรียออกเป็นแกรมบวก (Gram positive) และแกรมลบ (Gram negative) มาจากนำสีแกรมซึ่งเป็นสีน้ำชนิดหนึ่งหยดลงไปบนแบคทีเรีย จะทำให้ผนังเซลล์ของแบคทีเรียมีสีแตกต่างกัน ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • แบคทีเรียที่ผนังเซลล์ติดสีแดง จัดเป็นแบคทีเรียประเภทแกรมลบ
  • แบคทีเรียที่ผนังเซลล์ติดสีน้ำเงิน จัดเป็นแบคทีเรียประเภทแกรมบวก

นอกจากสีแกรม ยังมีการใช้สีทดกรด (Acid fast staining หรือ Ziehl-Neelsen staining) ในการแบ่งชนิด ซึ่งในทางการแพทย์ แบคทีเรียที่นิยมใช้การย้อมสีทนกรดคือ Mycobacterium tuberculosis หรือ เชื้อวัณโรค นั่นเอง

2. แบ่งตามรูปร่าง

เป็นการแบ่งประเภทของแบคทีเรียตามลักษณะรูปร่าง ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

  • รูปร่างกลม (Coccus) แบคทีเรียชนิดนี้มีรูปร่างกลมและอาจเกาะกันเป็นกลุ่ม เช่น สแต็ปฟิโลคอกคัส (Staphylococus spp.) หรือกลมและต่อกันเป็นสาย เช่น สเตร็ปโตคอกคัส (Streptococcus spp.) 
  • รูปร่างเป็นแท่ง (Bacillus) เป็นแบคทีเรียที่มีรูปร่างเป็นแท่งยาวและหนา เรียงตัวกันเป็นเส้นตรงยาว เช่น เชื้อแอนแทรก (Bacillus anthracis)
  • รูปร่างเป็นเกลียว (spirochete) เป็นแบคทีเรียบางชนิดที่มีรูปร่างเป็นเส้นยาว หนา และบิดเป็นเกลียว เช่น เชื้อเลปโตสไปโรซิส (Leptospria interrogans)

3. แบ่งตามการใช้ออกซิเจน

เป็นการแบ่งแบคทีเรียโดยใช้เกณฑ์เรื่องการใช้อากาศ หรือไม่ใช้อากาศในการดำรงชีวิต โดยจะแบ่งแบคทีเรียเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

  • กลุ่มแอโรบส์ (Aerobe) แบคทีเรียชนิดนี้ต้องใช้อากาศในการเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงานเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต ซึ่งถ้ามันอยู่ในสภาพไม่มีอากาศ ก็จะตายหรือไม่เจริญเติบโต แบคทีเรียส่วนใหญ่เป็นพวกแอโรบส์แบคทีเรียนั่นเอง
  • กลุ่มแอนแอโรบส์ (Anaerobe) แบคทีเรียชนิดนี้มีชีวิตอยู่ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีอากาศ และจะตายในเวลาไม่นานถ้าถูกอากาศ พวกมันอาศัยอยู่ในช่องท้อง ในปาก หรือในร่างกาย ตามบริเวณที่มีอากาศน้อย หรือที่อับทึบต่างๆ และเป็นปัญหามากในด้านโรคติดเชื้อ เพราะเป็นชนิดที่มีการเจริญเติบโตเร็วมาก และยาต้านจุลชีพส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยมีผลต่อแบคทีเรียกลุ่มนี้
  • กลุ่มฟาคัลเททีพ (Facultative) เป็นแบคทีเรียที่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ทั้งในสภาพที่มีอากาศ และในสภาพที่ไม่มีอากาศ เช่น Escherichia coli หรือ เรียกกันว่า อีโคไล (E. coli) พบในลำไส้ใหญ่ของมนุษย์

แบคทีเรียสำคัญที่เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อตามระบบต่างๆ ของร่างกาย

ระบบทางเดินหายใจ

  • Streptococcus pneumoniae แกรม+ มีรูปร่างลักษณะกลม
  • Streptococcus pyogenes (Group A Streptococcus) แกรม+ มีรูปร่างกลม
  • Haemophillus influenzae แกรม- มีรูปร่างเป็นแท่ง
  • Moraxella catarrhalis แกรม- มีรูปร่างกลม
  • Mycoplasma pneumoniae แกรม+ มีรูปร่างเป็นแท่ง
  • Mycobacterium tuberculosis แกรม- มีรูปร่างเป็นแท่ง
  • Corynebacterium diphtheriae แกรม+ มีรูปร่างเป็นแท่ง
  • Chlamydia trachomatis แกรม- มีรูปร่างเป็นแท่ง
  • Pseudomonas aeruginosa แกรม- มีรูปร่างเป็นแท่ง

ระบบทางเดินอาหาร

  • Shigella spp. แกรม- มีรูปร่างเป็นแท่ง
  • Salmonella spp. แกรม- มีรูปร่างเป็นแท่ง
  • Vibrio cholera แกรม- มีรูปร่างเป็นแท่ง
  • Escherichia coli แกรม- มีรูปร่างเป็นแท่ง
  • Helicobacter pyroli แกรม- มีรูปร่างเป็นแท่ง

ระบบปัสสาวะ

  • Escherichia coli แกรม- มีรูปร่างเป็นแท่ง
  • Proteus spp. แกรม- มีรูปร่างเป็นแท่ง
  • Klebsiella pneumoniae แกรม- มีรูปร่างเป็นแท่ง

ระบบผิวหนัง (แผล ฝี หนอง)

  • Staphylococcus aureus แกรม+ มีรูปร่างกลมกลม
  • Streptococcus pyogenes แกรม+ มีรูปร่างกลม
  • Clostridium tetani (เชื้อบาดทะยัก) แกรม+ มีรูปร่างเป็นแท่ง

ระบบสืบพันธุ์


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Greenwood, D. et al. Medical Microbiology. 18th ed. Churchill Livingstone; 2012. ภัทรชัย กีรติสิน. ตำราวิทยาแบคทีเรียทางการแพทย์. 2549.
Murray, P. et al. Medical Microbiology. 8th ed. Elsevier; 2015.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป