โรคหนองใน เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่หลายคนน่าจะเคยได้ยินคุ้นหูกันมาก่อน และเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้มากเป็นอันดับ 2 รองจากโรคซิฟิลิส (Syphilis)
ทำความรู้จักโรคหนองในแบบกระชับ
โรคหนองใน คือ โรคร้ายที่ติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ โดยเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า "ไนซ์ซีเรีย โกโนร์เรีย (Neisseria gonorrhoeae)" ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่พบได้ในสารคัดหลั่งในช่องคลอดของผู้หญิง และน้ำอสุจิของผู้ชาย
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
นอกจากนี้ เชื้อหนองในยังสามารถพบได้ในทวารหนัก ปากมดลูก และท่อปัสสาวะ ซึ่งเชื้อสามารถลุกลามจากทวารหนักไปที่ช่องคลอดได้ โดยไม่ต้องมีเพศสัมพันธ์ด้วย อีกทั้งเชื้อหนองในยังสามารถติดจากแม่สู่ทารกในครรภ์ได้ผ่านการคลอดทางช่องคลอดได้ด้วย
ประเภทของโรคหนองใน
โรคหนองในแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดได้แก่ โรคหนองในแท้ และโรคหนองในเทียม
1. โรคหนองในแท้ (Gonorrhoea)
เป็นโรคหนองในที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า “ไนซ์ซีเรีย โกโนร์เรีย (Neisseria gonorrhea)” สามารถติดต่อได้ทั้งผู้ชายผู้หญิง รวมถึงทารกแรกเกิด มีระยะฟักตัวของเชื้อค่อนข้างสั้นคือประมาณ 1-10 วัน แต่โดยส่วนมากจะมีการฟักตัวภายใน 5 และเป็นโรคภายใน 7 วัน
โรคหนองในสามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น การตั้งครรภ์นอกมดลูก เป็นหมัน อาการอักเสบในอุ้งเชิงกราน
อาการของโรคหนองในแท้
อาการของโรคหนองในแท้ สามารถจำแนกตามเพศชาย เพศหญิง และทารกได้ดังนี้
อาการโรคหนองในแท้ในผู้ชาย
อาการหนองในแท้ในผู้ชายอาจมีดังต่อไปนี้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- เริ่มเห็นอาการหลังจากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันประมาณ 1 สัปดาห์
- ปัสสาวะแสบขัด
- มีหนองสีขาวขุ่นล้นออกมาจากท่อปัสสาวะ
- ท่อปัสสาวะตีบตัน
- สามารถทำให้โรคติดต่อไปถึงคู่นอนได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก และหากคู่นอนมีเชื้อในลำคออยู่แล้ว ก็สามารถส่งต่อเชื้อมาที่คู่นอนอีกคนได้เช่นกัน
อาการหนองในแท้ในผู้ชายหากไม่ได้รับการรักษาทันเวลา ก็จะเกิดการลุกลามอักเสบไปยังบริเวณใกล้เคียงแทน จนทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา เช่น ต่อมลูกหมากอักเสบ อัณฑะอักเสบและเป็นหมันในที่สุด
อาการโรคหนองในแท้ในผู้หญิง
อาการหนองในแท้ในผู้หญิง อาจมีดังต่อไปนี้
- ปัสสาวะแสบขัด
- มีตกขาวปริมาณมากและมีกลิ่นเหม็นรุนแรง
- เกิดอาการอักเสบที่ปากมดลูก ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ และทวารหนัก
อาการหนองในแท้ในผู้หญิง หากไม่รับการรักษาทันเวลา ก็จะทำให้โรคลุกลามจนก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา เช่น ปีกมดลูกอักเสบ ต่อมบาร์โธลินอักเสบ อุ้งเชิงกรานอักเสบ เป็นฝี เป็นหนอง ท่อนำไข่ตีบตัน และส่งผลให้เป็นหมัน หรือตั้งครรภ์นอกมดลูกในเวลาต่อมาได้
อาการโรคหนองในแท้ในทารกแรกเกิด
ทารกแรกเกิดสามารถติดเชื้อโรคหนองในจากมารดาได้ โดยเชื้อโรคชนิดนี้จะเข้าทางตาของเด็กในขณะคลอดออกมาทางช่องคลอด ทำให้เด็กเกิดการติดเชื้อ ตาอักเสบ รู้สึกระคายเคือง มีหนอง ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาทันเวลา ทารกอาจเสี่ยงตาบอดได้
2. โรคหนองในเทียม (Non Gonococcal Urethritis: NSU)
เป็นโรคหนองในที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย “คลามัยเดีย ทราโคมาทิส (Chlamydia trachomatis)” สามารถติดต่อได้ทั้งผู้ชาย และผู้หญิงเช่นกัน มักมีระยะฟักตัวนานกว่าโรคหนองในแท้ นั่นคือ มากกว่า 10 วันขึ้นไป
อาการของโรคหนองในเทียมสามารถลุกลามได้ถึงขั้นเป็นโรคอัณฑะอักเสบในผู้ชายได้ และที่ร้ายแรงที่สุดก็คือ ทำให้ผู้ป่วยกลายเป็นหมัน ส่วนในผู้หญิงนั้น อาการอาจลุกลายจนเกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ หรือเป็นหมันได้ และบางรายอาจตั้งครรภ์นอกมดลูกได้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
อาการของโรคหนองในเทียม
อาการของโรคหนองในเทียมสามารถจำแนกออกได้เป็นหนองในเพศเทียมเพศชายและหนองในเทียมเพศหญิง ดังนี้
อาการโรคหนองในเทียมในผู้ชาย
- มีอาการช้ากว่าโรคหนองในแท้ คือ ประมาณ 1-3 สัปดาห์หลังจากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน หรือได้สัมผัสกับเชื้อโรคชนิดนี้
- ในระยะแรกจะมีอาการแค่คันที่ท่อปัสสาวะ มีน้ำใสๆ ไหลออกมา
- ระยะหลังจากนั้น น้ำจะมีความเหนียวข้น และมีหนองไหลออกมาทางท่อปัสาวะ
หนองของโรคหนองในเทียมจะไม่ข้นกับเท่ากับหนองของโรคหนองในแท้ แต่ส่วนมากโรคหนองในทั้ง 2 ประเภทนี้มักเกิดขึ้นพร้อมกัน โดยผู้ป่วยหนองในแท้กว่า 20% จะมีอาการหนองในเทียมร่วมด้วย
อาการโรคหนองในเทียมในผู้หญิง
อาการของโรคหนองในเทียมในผู้หญิงมักไม่ได้แสดงออกมาอย่างชัดเจนมาก แต่จะมีแค่อาการคัน มีตกขาวมาก รู้สึกแสบร้อนขณะปัสสาวะร่วมด้วย ซึ่งอาจยากต่อการวินิจฉัย และรักษามากกว่าโรคหนองในแท้
การตรวจหารอยโรคหนองใน
โรคหนองในทั้งแท้ และเทียมจะมีวิธีตรวจเหมือนกัน โดยผู้ชายจะใช้วิธีป้ายหนองจากท่อปัสสาวะ ส่วนผู้หญิงจะป้ายสารน้ำจากช่องคลอด เพื่อนำไปส่งตรวจผ่านการย้อมสี และเพาะหาเชื้อแบคทีเรียต่อไป
หลังจากส่งตรวจเพื่อหาเชื้อแล้ว หากเชื้อที่พบไม่ใช่เชื้อหนองในแท้ ทางแพทย์ก็อาจตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น โรคเอดส์ โรคซิฟิลิส
การรักษาโรคหนองใน
การรักษาโรคหนองในแท้ และหนองในเทียมนั้นแตกต่างกันออกไป ดังนี้
1. การรักษาโรคหนองในแท้
ในอดีต แพทย์จะใช้วิธีรักษาโดยการฉีดยาเพนนิซิลิน (Penicillin) หรือยากลุ่มเซฟาโลปสอริน (Cephalosporins) เข้ากล้ามเนื้อ แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็นใช้ยาเซฟาโลสปอริน และยาปฏิชีวนะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้แทน โดยให้รับประทานเพียงครั้งเดียวก็พอ
- เซฟิซีม (Cefixime) 400 มิลลิกรัม
- ซีฟาคลอร์ (Cefaclor) ขนาด 1 กรัม
- เอซิโธรมัยชิน (Azithromycin) 1 กรัม
- ไซโปรฟล็อกซาชิน (Ciprofloxacin) 500 มิลลิกรัม
- โอฟล็อกซาชิน (Ofloxacin) 400 มิลลิกรัม
- ลีโวฟล็อกซาชิน (Levofloxacin) 250 มิลลิกรัม
2. การรักษาโรคหนองในเทียม
โรคหนองในแท้ และหนองในเทียมมักจะเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน แต่ยาที่ใช้รักษาโรคหนองในแท้บางตัวนั้นก็ไม่สามารถรักษาโรคหนองในเทียมได้
ดังนั้นผู้ป่วยโรคหนองในเทียมจึงต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะกลุ่มด็อกซีไซคลิน (Doxycycline) กลุ่มเอซิโธรมัยซิน (Azithromycin) และยากลุ่มควิโนโลน (Quinolone) และอาจต้องใช้ระยะเวลารักษาค่อนข้างนาน โดยเฉพาะหากเชื้อหนองในเกิดดื้อยา หรือลุกลามไปต่อมลูกหมาก บริเวณอัณฑะ
ผู้ป่วยควรใช้ยาเบื้องต้นโดยเลือกยาชนิดใดชนิดหนึ่ง และแนะนำให้ไปพบแพทย์เป็นลำดับต่อไป
- อิริโธรมัยซิน (Erythromycin) 500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้งติดต่อกัน 10 วัน (ได้ผลน้อยกว่าเอซิโธรมัยซิน และด็อกชิไซคลิน)
- ด็อกซิไซคลิน ครั้งละ 10 มิลลิหรัม วันละ 2 ครั้ง เช้า และเย็น ติดต่อกันนาน 10 วัน
- เอซิโธรมัยซิน 1 กรัม รับประทานเพียงครั้ง ผลการรักษาด้วยยานี้มักมีประสิทธิภาพถึง 95%
- โอฟล็อกซาซิน (Ofloxacin) 400 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 7 วัน
การป้องกันโรคหนองใน
วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคหนองในทั้ง 2 ชนิด คือ การงดมีเพศสัมพันธ์ หรือควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่ใช่คู่นอน หรือคู่รักของคุณเอง
นอกจากนี้ พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์อย่างถูกวิธี และถูกสุขลักษณะยังเป็นตัวป้องกันโรคหนองในได้ดีอีกทางหนึ่ง ได้แก่
- ใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ทางอวัยวะเพศ หรือทางทวารหนัก
- ใช้ถุงยางอนามัยสำหรับผู้ชาย หรือถุงครอบปาก (Dental dam) ซึ่งมีลักษณะเป็นยางบางๆ รูปสี่เหลี่ยมสำหรับผู้หญิงเมื่อมีเพศสัมพันธ์ทางปาก
- ตรวจให้ละเอียดว่า ได้ล้างเซ็กส์ทอย (Sextoy) หรือเปลี่ยนถุงยางอนามัยที่ใช้กับเซ็กส์ทอยเรียบร้อยแล้ว
- ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรีย
- หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก
- ทำความสะอาดอวัยวะเพศหลังจากขับถ่ายให้ดี โดยผู้หญิงควรใช้กระดาษชำระเช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลังเท่านั้น
- หากพบว่า ตนเองเสี่ยง หรือมีอาการคล้ายเป็นโรคหนองใน ให้งดมีเพศสัมพันธ์ในทันที และให้คู่นอนเข้ารับการตรวจโรคควบคู่ไปด้วย
- รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด หากได้รับการวินิจฉัยแล้วว่า เป็นโรคหนองในแล้ว
โรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหนองใน
คนส่วนมากมักเชื่อว่า โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สามารถติดต่อได้ที่อวัยวะเพศอย่างเดียว แต่ความจริงแล้ว โรคหนองในสามารถติดต่อไปทางอวัยวะอื่นด้วย เช่น
1. โรคหนองในในคอ
เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก พบได้ทั้งในคู่รักชายหญิง และคู่รักชาย-ชาย โดยเมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อจากทางปากแล้ว เชื้อก็แพร่ลงสู่ลำคอ
โรคหนองในในคอในผู้ชายและผู้หญิงจะมีอาการแตกต่างกันไป ดังนี้
- โรคหนองในในคอในผู้ชาย: เริ่มมีอาการ 4-6 วันหลังรับเชื้อ มีอาการปวดแสบปวดร้อน ปัสสาวะขัด มีหนองไหลออกมา มีอาการเจ็บคอ
- โรคหนองในในคอในผู้หญิง: จะไม่มีอาการแสดงในระยะแรก ในเมื่อเวลาผ่านไปอาจมีตกขาวเป็นปริมาณมาก หรือมีตกขาวเป็นสีเหลือง หรือสีเขียว
มีกลิ่นเหม็น ไม่มีอาการคัน แต่จะมีอาการปวดในอุ้งเชิงกราน และท้องน้อยแทน บางรายอาจมีไข้สูงด้วย
นอกจากนี้ เชื้อหนองในยังสามารถลุกลามขึ้นไปสู่ตาได้ โดยผู้ป่วยจะพบว่าดวงตามีหนองไหลออกมา และหากปล่อยปละละเลยไม่ยอมรักษา เชื้อก็อาจแพร่กระจายไปส่วนอื่นๆ ซึ่งจะมีผลต่อข้อ และลิ้นหัวใจด้วย รวมถึงอาจทำให้อุ้งเชิงกรานอักเสบ และเกิดภาวะมีบุตรยากได้
2. โรคเริม
โรคเริมเป็นโรคที่เกิดได้จากเชื้อหนองในได้เช่นกัน โดยเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งเมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อแล้ว เชื้อก็จะลุกลามเข้าไปในระบบประสาท และทำให้อาการของโรคแสดงออกมาทางผิวหนัง หรือเกิดโรคผิดหนังซ้ำ
สำหรับอาการของโรคเริมที่เกิดจากเชื้อหนองใน จะมีดังต่อไปนี้
- มีไข้ ร่วมกับปวดข้อ ข้อบวมแดง อาจเป็นไข้สูงหรือไข้ต่ำ และข้อจะค่อยๆ ทยอยปวดทีละข้อไปเรื่อย ๆ แต่บางครั้งอาจปวดบวมเพียงข้อเดียว
- ปวดท้องน้อย มักร่วมกับอาการทางปัสสาวะ เช่น รู้สึกปวด หรือแสบเมื่อเบางปัสสาวะ
- มีแผล หรือหนองบริเวณอวัยวะเพศภายนอก
- มีผื่นแดงขึ้นตามตัว
หากคุณรู้สึกว่า ตนเองมีโอกาสที่จะเป็นโรคเริมที่เกิดจากเชื้อหนองใน ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยด่วน เพราะผลข้างเคียงของโรคดังกล่าวนั้นร้ายแรงมาก และอาจลุกลามไปถึงปัญหาอื่นๆ ของระบบสืบพันธุ์ในร่างกายด้วย เช่น
- เป็นโรคข้อเสื่อม
- เกิดการติดเชื้อในช่องท้องน้อยเรื้อรัง ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะมีบุตรยาก ปวดหลังเรื้อรัง และปวดประจำเดือนรุนแรง
- ช่องคลอก ปากมดลูก ท่อนำไข่เกิดการติดเชื้อ
- ดวงตาอักเสบ
การติดเชื้อโรคหนองในหลักๆ มาจากการมีเพศสัมพันธ์ แต่ไม่สามารถติดต่อกันได้ผ่านการกอด จูบ การใช้ผ้าเช็ดตัว ห้องน้ำ แก้ม ช้อนร่วมกัน อย่างไรก็ตาม คุณไม่ควรมีพฤติกรรมทางเพศที่ผิดสุขลักษณะ เพราจะทำให้เสี่ยงติดโรคติดทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เพิ่มเติมได้
ดูแพ็กเกจตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัพเดทแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android