กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การดูแลสุขภาพช่องคลอด

เผยแพร่ครั้งแรก 17 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การดูแลสุขภาพช่องคลอด

ช่องคลอด (Vagina) คือ ช่องชั้นกล้ามเนื้อที่ยื่นออกมาจากบริเวณอวัยวะเพศของผู้หญิงในส่วนของปากมดลูก ซึ่งอยู่ในส่วนล่างของมดลูก ปากช่องคลอดของผู้หญิงจะถูกล้อมรอบไปด้วยเยื่อบุพรหมจรรย์ (Hymen) ซึ่งเป็นแผ่นเนื้อเยื่อบางๆ ที่ขาดออกจากกันได้เมื่อมีเพศสัมพันธ์หรือการออกกำลังกายบางชนิด เช่น ขี่ม้า 

ช่องคลอดของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความยาวประมาณ 3-5 นิ้ว และถูกคลุมด้วยเยื่อเมือกบุผิว ผนังของช่องคลอดจะเรียงตัวกันเป็นแผ่นพับที่มีความเรียบเนียน ในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ผู้ชายจะสอดใส่องคชาต (Penis) เข้าสู่ช่องคลอด ซึ่งเป็นช่องทางรองรับอสุจิของฝ่ายชายที่จะเดินทางไปยังไข่ของฝ่ายหญิงและทำให้เกิดการตั้งครรภ์ โดยในระหว่างนี้ช่องคลอดจะขยายและหลั่งสารหล่อลื่นเพื่อลดแรงเสียดสีที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ ช่องคลอดยังเป็นทางผ่านที่ให้กำเนิดบุตรและยังเป็นทางออกของเลือดประจำเดือนอีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ประจำเดือนหมด มีอาการวัยทอง ร้อนวูบวาบ หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ…Hervita อาจช่วยได้!!!

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับช่องคลอด

ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับช่องคลอดดังต่อไปนี้ อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัยของผู้หญิงได้

  • ช่องคลอดมีกลิ่น (Vaginal odor) หากพบช่องคลอดมีกลิ่นเหม็นร่วมกับมีอาการอื่นๆ อาจแสดงถึงความผิดปกติบางอย่าง
  • ตกขาวจากช่องคลอด (Vaginal discharge) เป็นเรื่องปกติที่ผู้หญิงจะตกขาว เนื่องจากเป็นวิธีการกำจัดของเหลวหรือเซลล์ที่มีอายุมากแล้ว แต่การที่มีตกขาวผิดปกตินั้นอาจเป็นอาการแสดงถึงปัญหาบางอย่างได้ เช่น เกิดการอักเสบภายใน
  • คันบริเวณช่องคลอด (Vaginal itching) การที่มีอาการคันบริเวณช่องคลอดแสดงถึงมีการอักเสบของช่องคลอด (Vaginitis) ซึ่งเกิดจากความไม่สมดุลของแบคทีเรียส่งผลให้เกิดการติดเชื้อ ส่วนจากเกิดจากการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
  • ช่องคลอดแห้ง (Vaginal dryness) เกิดจากการที่เนื้อเยื่อบริเวณช่องคลอดนั้นไม่แข็งแรงและไม่มีสารหล่อลื่นเพียงพอ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อตามมา
  • ปวดบริเวณปากช่องคลอดและแคมใหญ่เรื้อรัง (Vulvodynia) เป็นอาการปวดเรื้อรังรอบบริเวณปากช่องคลอด 
  • ภาวะ Imperforate hymen ความผิดปกติแต่กำเนิดที่ทำให้เยื่อพรหมจรรย์ปิดและอุดกั้นช่องคลอด
  • ภาวะ Vaginal prolapse ภาวะที่มดลูก กระเพาะปัสสาวะ ไส้ตรง ท่อปัสสาวะ ลำไส้เล็ก หรือช่องคลอดหลุดออกมาจากตำแหน่งเดิม 
  • การติดเชื้อแบคทีเรียที่ช่องคลอด (Bacterial vaginosis) การติดเชื้อบริเวณช่องคลอดที่พบได้บ่อยมักเกิดจากติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์หรือเกิดจากการที่แบคทีเรียในร่างกายไม่สมดุล
  • การติดเชื้อรา (Yeast infection) การติดเชื้อราที่ช่องคลอดพบได้บ่อย คือการติดเชื้อชนิด Candida albicans
  • ภาวะ Vaginal flatulence ภาวะที่มีลมติดอยู่ในช่องคลอดและลมนั้นจะถูกปล่อยออกมาระหว่างการทำกิจกรรม เช่น การมีเพศสัมพันธ์หรือการออกกำลังกาย
  • ภาวะถุงน้ำที่ช่องคลอด (Vaginal cysts) อาจพบถุงน้ำอยู่ด้านบนหรือด้านล่างผนังเยื่อบุช่องคลอด และอาจพบถุงน้ำที่มีหนอง ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อ
  • มะเร็งช่องคลอด (Vaginal cancer) อาจมีอาการเลือดออกจากช่องคลอดผิดปกติหรือตกขาวผิดปกติ
  • การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) เช่น หนองในเทียม (Chlamydia) หนองในแท้ (Gonorrhea) พยาธิในช่องคลอด (Trichomoniasis) เริม (Herpes) เชื้อ Human papillomavirus: HPV, ซิฟิลิส (Syphilis) ซึ่งการติดเชื้อดังกล่าวส่งผลต่อช่องคลอดหลายอย่าง
  • การเกร็งตัวของปากช่องคลอด (Vaginismus) การที่กล้ามเนื้อบริเวณช่องคลอดเกิดการแข็งตัวขึ้นเองโดยไม่รู้ตัว ซึ่งภาวะดังกล่าวอาจทำให้เกิดอาการปวดและรบกวนการมีเพศสัมพันธ์

การดูแลรักษาช่องคลอดให้มีสุขภาพดี

มีหลายวิธีที่ช่วยทำให้ช่องคลอดแข็งแรงและมีสุขภาพดี เช่น

  • ออกกำลังกายโดยวิธีคีเกล (Kegel) การขมิบกล้ามเนื้อขณะปัสสาวะ การออกกำลังกายนี้จะช่วยควบคุมความตึงตัวของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
  • ใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ เพื่อลดโอกาสติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ และปัญหาอื่นๆ ที่เกิดกับช่องคลอด
  • ฉีดวัคซีน: การฉีดวัคซีนสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อต่างๆ ได้ เช่น วัคซีน HPV และวัคซีนตับอักเสบบี (Hepatitis B)
  • หลีกเลี่ยงการล้างช่องคลอดหรือสวนล้างช่องคลอด การทำเช่นนี้จะรบกวนค่าความเป็นกรดด่างในช่องคลอด ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียตามมา 

16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What You Need to Know About Vaginal Health at Every Age. Healthline. (https://www.healthline.com/health/vaginal-health/what-you-need-to-know-about-vaginal-health-at-every-age)
Your Vagina Health: 8 Tips to Stay in Tip-Top Shape. Healthline. (https://www.healthline.com/health/8-vagina-health-tips)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
Anti-Müllerian hormone
Anti-Müllerian hormone

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการตรวจ Anti-Müllerian hormone ทางเลือด เพื่อช่วยวินิจฉัยการทำงานของรังไข่ในผู้หญิง และช่วยระบุเพศของทารกที่มีอวัยวะเพศไม่ชัดเจน

อ่านเพิ่ม