การภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อในกระเพาะปัสสาวะที่ควบคุมการไหลของปัสสาวะเกร็ง หรือคลายตัวโดยไม่ตั้งใจ ส่งผลให้ปัสสาวะเล็ด หรือควบคุมการปัสสาวะไม่ได้
อาการนี้เกิดกับเกือบ 1 ใน 10 ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่นี้มีตั้งแต่ระดับอ่อนๆ คือ ปัสสาวะเล็ดบ้างเป็นครั้งคราวจนถึงไม่สามารถควบคุมการปัสสาวะได้เลยอย่างถาวร
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
สาเหตุของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่อาจสร้างปัญหาให้แค่ชั่วครั้งชั่วคราว โดยมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อที่ช่องคลอด หรือทางเดินปัสสาวะ (UTI) อาการท้องผูก การใช้ยาบางชนิด หรืออาจเป็นปัญหาเรื้อรัง
สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่เรื้อรัง ได้แก่
- กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะทำงานมากไป
- กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแอ
- สำหรับผู้ชายบางคน ต่อมลูกหมากอาจขยายใหญ่ขึ้น หรือเป็นโรคต่อมลูกหมากโต (BPH)
- การทำลายเส้นประสาทที่มีผลต่อการควบคุมกระเพาะปัสสาวะ
- กระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือ Interstitial cystitis (เป็นการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะเรื้อรัง) หรือภาวะกระเพาะปัสสาวะอื่นๆ
- ความพิการ หรือข้อจำกัดที่ทำให้ไม่สามารถไปเข้าห้องน้ำได้อย่างทันท่วงที
- ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดที่ผ่านมา
อาการปัสสาวะเล็ดขณะไอ หรือจาม (Stress Incontinence)
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่มีอยู่หลายประเภท ประเภทที่พบมากที่สุดคือ อาการปัสสาวะเล็ดขณะไอหรือจาม (Stress Incontinence) และภาวะที่กระเพาะปัสสาวะทำงานมากเกินไป หรือที่เรียกว่า อาการปัสสาวะราด (Urge Incontinence)
อาการปัสสาวะเล็ดขณะไอ หรือจาม เป็นการปัสสาวะเล็ดออกโดยไม่ได้ตั้งใจ สาเหตุมาจากแรงดัน หรือการหดตัวอย่างฉับพลันของกล้ามเนื้อในกระเพาะปัสสาวะ ภาวะนี้มักเกิดขึ้นขณะออกกำลังกาย การยกของหนัก ไอ จาม หรือหัวเราะ
การปัสสาวะเล็ดนี้เป็นปัญหาการควบคุมกระเพาะปัสสาวะที่พบมากในหญิงวัยสาวและวัยกลางคน ในผู้หญิงที่อายุยังน้อย ภาวะนี้อาจเกิดจากการที่มีกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่อ่อนแออยู่แล้ว หรือเป็นผลจากแรงบีบจากการคลอดบุตร
ในหญิงวัยกลางคน ภาวะปัสสาวะเล็ดนี้อาจเริ่มเป็นปัญหาในช่วงหมดประจำเดือน
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
อาการปัสสาวะราด (Urge Incontinence)
อาการปัสสาวะราดบางครั้งก็เรียกว่า ภาวะกระเพาะปัสสาวะทำงานมากเกินไป หรือ OAB ภาวะนี้จะเกิดขึ้นเมื่อรู้สึกปวดปัสสาวะแต่กลั้นได้ไม่นานพอที่จะไปปัสสาวะที่ห้องน้ำได้
ภาวะปัสสาวะราดนี้บางครั้งก็เกิดกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง หรือมีโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน หรือโรคปลอกประสาทอักเสบ ( Multiple sclerosis)
ในผู้ป่วยบางราย การปัสสาวะราดอาจเป็นสัญญาณของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะในระยะแรกๆ
ประเภทของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่อื่นๆ
- ปัสสาวะเล็ดโดยไม่รู้ตัว (Overflow incontinence) ภาวะนี้จะเกิดขึ้นเมื่อคุณไม่สามารถปัสสาวะได้หมดและปัสสาวะก็เล็ดออกมาอีก เนื่องจากร่างกายผลิตปัสสาวะระลอกใหม่ออกมาด้วย การปัสสาวะเล็ดบางครั้งก็เกิดกับผู้ชายที่มีต่อมลูกหมากโตและอาจพบในผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือมีไขสันหลังอักเสบ
- ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่เนื่องจากข้อจำกัดของร่างกาย (Functional Incontinence) การกลั้นปัสสาวะไม่ได้ประเภทนี้ไม่ค่อยจะเกี่ยวกับความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะแต่จะเกี่ยวกับการลุกไปเข้าห้องน้ำไม่ทันมากกว่า มักพบในคนสูงวัย หรือผู้พิการที่สามารถควบคุมกระเพาะปัสสาวะได้ปกติ หรือเกือบจะปกติ ที่เคลื่อนไหวลำบาก หรือมีข้อจำกัดในการเคลื่อไหวนั่นเอง
- ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้เลย (Gross total incontinence) หมายถึง การที่มีปัสสาวะไหลออกจากกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่องเพราะกระเพาะปัสสาวะไม่ทำหน้าที่ในการกักเก็บปัสสาวะ ภาวะนี้อาจเป็นผลมาจากความบกพร่องทางด้านกายภาพ (anatomical defect) การบาดเจ็บที่ไขสันหลัง กระเพาะปัสสาวะทะลุ (fistula) หรือผลกระทบหลังการผ่าตัดทางเดินปัสสาวะ
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
- เพศหญิง ผู้หญิงมักจะประสบกับการปัสสาวะเล็ดขณะไอ หรือจามเป็นสองเท่าของผู้ชาย ในทางกลับกันผู้ชายนั้นเสี่ยงที่จะปัสสาวะราดและปัสสาวะเล็ดโดยไม่รู้ตัวมากกว่า
- สูงวัย เมื่อมีอายุมากขึ้น กระเพาะปัสสาวะและกล้ามเนื้อหูรูดปัสสาวะจะอ่อนแอลง ซึ่งจะทำให้ปัสสาวะเล็ดโดยไม่รู้ตัวบ่อยขึ้น
- มีไขมันส่วนเกินในร่างกาย ไขมันจำนวนมากในร่างกายจะไปเพิ่มความดันในกระเพาะปัสสาวะและนำไปสู่การปัสสาวะเล็ดขณะออกกำลังกาย หรือเวลาไอ หรือจาม
- เป็นโรคเรื้อรังอื่นๆ โรคหลอดเลือด โรคไต โรคเบาหวาน มะเร็งต่อมลูกหมาก โรคอัลไซเมอร์ โรคปลอกประสาทอักเสบ (Multiple sclerosis) โรคพาร์กินสัน และโรคอื่นๆ อาจเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้
- สูบบุหรี่ อาการไอเรื้อรังของผู้สูบบุหรี่สามารถกระตุ้น หรือทำให้ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้รุนแรงขึ้นได้ โดยจะไปเพิ่มแรงดันที่กล้ามเนื้อหูรูดปัสสาวะนั่นเอง
- เล่นกีฬาที่มีการปะทะสูง การเล่นกีฬาต่างๆ อาจไม่ทำให้เราปัสสาวะเล็ด หรือราดได้ แต่การวิ่ง กระโดด และการทำกิจกรรมอื่นๆ ที่สร้างแรงดันให้กับกระเพาะปัสสาวะในทันทีทันใดสามารถนำไปสู่อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ขณะเล่นกีฬาได้เป็นครั้งคราว
การวินิจฉัยภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่จะดูออกได้ง่าย อาการแรกเริ่มที่คนส่วนใหญ่เป็นกันคือ การปัสสาวะออกโดยไม่ได้ตั้งใจ อย่างไรก็ตาม การกำหนดประเภทและสาเหตุของอาการดังกล่าวอาจเป็นเรื่องยากและจำเป็นต้องใช้การตรวจและทดสอบที่หลากหลาย
แพทย์ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการดังต่อไปนี้
- การจดบันทึกการปัสสาวะ (A bladder diary) แพทย์อาจให้คุณสังเกตการณ์และติดตามการดื่มของเหลวและการปัสสาวะในช่วงหลายๆวัน วิธีนี้อาจรวมถึงการติดตามว่า มีช่วงของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือการปัสสาวะที่ฉุกเฉินหรือไม่ เพื่อช่วยในการวัดปริมาณปัสสาวะอาจต้องใช้อุปกรณ์ชื่อ "calibrated container" ซึ่งจะวางไว้เหนือชักโครกได้พอดีเพื่อกักเก็บน้ำปัสสาวะของคุณ
- การตรวจปัสสาวะ (Urinalysis) ตัวอย่างปัสสาวะสามารถตรวจหาการติดเชื้อ ร่องรอยของเลือด หรือความผิดปกติอื่นๆ เช่น การปรากฏตัวของเซลล์มะเร็ง การเพาะเชื้อจากปัสสาวะ (urine culture) จะช่วยตรวจหาสัญญาณของการติดเชื้อ ส่วนการตรวจเซลล์กระเพาะปัสสาวะ (urine cytology) จะช่วยตรวจหาเซลล์มะเร็ง
- การตรวจเลือด (Blood tests) การตรวจเลือดสามารถตรวจหาสารเคมีและสารต่างๆ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับสภาวะต่างๆ ที่เป็นสาเหตุให้กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้
- Pelvic ultrasound เป็นการตรวจจากการอัลตราซาวน์กระเพาะปัสสาวะ หรือส่วนอื่นๆ ของทางเดินปัสสาวะ เพื่อตรวจหาปัญหาที่เกิดขึ้น
- การตรวจวัดปริมาณปัสสาวะที่ตกค้าง (Postvoid residual (PVR) measurement) ผู้ป่วยจะต้องถูกล้างกระเพาะปัสสาวะออกจนหมด แล้วแพทย์จะตรวจวัดปริมาณปัสสาวะที่หลงเหลืออยู่ หากมีจำนวนมากแสดงให้เห็นว่า มีภาวะปัสสาวะเล็ดโดยไม่รู้ตัว
- การทดสอบภาวะวิกฤต (Stress Test) ในการทดสอบนี้ ผู้ป่วยจะต้องไอ หรือเกร็งช่วงล่างอย่างแรง ขณะที่แพทย์ทำการตรวจเช็คปัสสาวะที่ไหลออกในช่วงนั้น
- การตรวจพลศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ (Urodynamic testing) การทดสอบนี้จะวัดแรงดันที่กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะและกล้ามเนื้อหูรูดปัสสาวะว่า สามารถทนต่อการหยุดพักและระหว่างการใส่ของเหลว หรือไม่
- การถ่ายภาพรังสีที่กระเพาะปัสสาวะ (Cystogram หรือ Cystography) การเอ็กซเรย์กระเพาะปัสสาวะวิธีนี้ สีย้อมจะถูกฉีดเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะและเมื่อผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะ สีย้อมจะปรากฏในการเอ็กซเรย์และจะแสดงภาพความผิดปกติภายในทางเดินปัสสาวะ
- การส่องกล้องดูกระเพาะปัสสาวะ(cystoscopy) กระบวนการนี้จะใช้อุปกรณ์ที่เป็นท่อบางๆ ที่มีเลนส์กับไฟฉายเล็กๆ อยู่ที่ปลายท่อ เรียกว่า "Cystoscope" จะถูกสอดเข้าไปในท่อปัสสาวะ แพทย์จะส่องตรวจเยื่อบุกระเพาะปัสสาวะและท่อกระเพาะปัสสาวะด้วยสายตา
การรักษาอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่เองที่บ้าน
การรักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสาเหตุ ส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะลองใช้วิธีรักษาที่ง่ายที่สุดก่อนจะใช้ยา หรือการผ่าตัดรักษา
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- การฝึกนิสัยการขับถ่ายของกระเพาะปัสสาวะ เป็นแนวทางแรกที่ใช้รักษาอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เป้าหมายของการรักษาคือ เพื่อกำหนดตารางการปัสสาวะให้เป็นปกติ สม่ำเสมอ พร้อมทั้งกำหนดช่วงพักช่องว่างระหว่างช่วงที่ปัสสาวะด้วย แพทย์มักจะแนะนำให้เริ่มฝึกทุกๆ หนึ่งชั่วโมง และค่อยๆ เพิ่มระยะห่างในการปัสสาวะเมื่อเวลาผ่านไป
- การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (Pelvic muscle exercises) หรือการฝึกกระชับช่องคลอด (kegel exercise) การฝึกเป็นประจำจะช่วยให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานแข็งแรงขึ้นและจะช่วยให้ควบคุมกระเพาะปัสสาวะได้ดีขึ้น
วิธีบริsารเริ่มด้วย การเกร็งกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกักเก็บปัสสาวะและหดเกร็งไว้ประมาณ 4-10 วินาที จากนั้นผ่อนคลายกล้ามเนื้อโดยใช้ระยะเวลาเท่ากันในการผ่อนคลาย อาจใช้เวลาฝึกเป็นสัปดาห์ หรือเดือน ในการฝึกจึงจะเห็นถึงความเปลี่ยนแปลง
ส่วนวิธีอื่นๆ ที่จะฝึกกระชับช่องคลอดคือ การหยุดชะงักการหลั่งปัสสาวะเป็นเวลาหลายๆ วินาทีระหว่างที่กำลังปัสสาวะ
ยารักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
แพทย์จะสั่งยาเพื่อจัดการกับภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ยาจะออกฤทธิ์ผ่อนคลายกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะเพื่อหยุดยั้งการหดเกร็งที่ไม่เป็นปกติและมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการปัสสาวะราด
ยาที่ใช้รักษาประกอบด้วย
- Bentyl (dicyclomine)
- Cystospaz (hyoscyamine)
- Detrol หรือ Detrol LA (tolterodine)
- Ditropan หรือ Ditropan XL (oxybutynin)
- Levbid (hyoscyamine)
- Oxytrol (oxybutynin)
- ProBanthine (propantheline)
- Sanctura (trospium)
- Urispas (flavoxate)
- Urotrol (oxybutynin)
ยาอื่นๆที่ใช้รักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ได้แก่
- M3 selective receptor antagonists ยากลุ่ม anticholinergic จะมุ่งเข้าที่ตัวรับของเส้นประสาทที่ทำให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะกระตุกโดยไม่ตั้งใจโดยเฉพาะ ยาประเภทนี้มีอยู่ 2 ตัวยาที่ได้รับการรับรองแล้วว่า สามารถใช้รักษาอาการปัสสาวะราด ได้แก่ Enablex (darifenacin), VESIcare (solifenacin)
- Alpha-adrenergic antagonists หรือ alpha-blockers ยาประเภทนี้จะทำงานโดยเข้าไปผ่อนคลายกล้ามเนื้อเรียบ จะช่วยให้ปัสสาวะได้ดีขึ้น ซึ่งยาประเภทนี้ใช้ได้ผลดีในผู้ชายที่เป็นโรคต่อมลูกหมากโต (BPH) และมีอาการปัสสาวะราด
ยากลุ่ม Alpha-adrenergic antagonists ได้แก่ Cardura หรือ Cardura XL (doxazosin), Flomax (tamsulosin), Hytrin (terazosin), Uroxatral (alfuzosin)
- Alpha-adrenergic agonists ยากลุ่มนี้ เช่น ยาเอฟีดรีน (pseudoephedrine' target='_blank'>Ephedrine) และยาซูโดเอฟีดรีน (pseudoephedrine) อาจได้ผลกับผู้ป่วยที่มีอาการปัสสาวะเล็ดขณะไอ หรือจามอ่อนๆ เนื่องจากยาจะไปช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเปิดและปิดหูรูดปัสสาวะให้แข็งแรงขึ้น ผลข้างเคียงของยาประเภทนี้ เช่น นอนไม่หลับ กระสับกระส่ายและวิตกกังวลยาประเภท Alpha-adrenergic agonists ไม่ควรใช้กับคนที่หัวใจมีปัญหา เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคต้อหิน หรือภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism)
- ยารักษาอาการซึมเศร้า กลุ่ม Tricyclic Antidepressants (TCAs) คือ สารสื่อประสาท เซโรโทนิน (serotonin) และนอร์แอดรีนาลี (Noradrenaline) เชื่อว่า ทั้ง 2 สารนี้มีบทบาทในการปัสสาวะและเกี่ยวข้องกับอาการปัสสาวะราดและปัสสาวะเล็ดขณะไอ หรือจาม
ยาที่ใช้ในการปรับสารสื่อประสาท ได้แก่ Janimine (imipramine), Norpramin (desipramine), Pamelor (nortriptyline), Sinequan (doxepin), Tofranil (imipramine)
การผ่าตัดฝังอุปกรณ์ เพื่อรักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (Implants for Incontinence)
บางครั้งผู้ป่วยก็ต้องผ่าตัดเพื่อกำจัดสิ่งอุดตันในกระเพาะปัสสาวะ หรือท่อปัสสาวะอันเป็นสาเหตุของอาการปัสสาวะเล็ดไม่รู้ตัว หรืออาจต้องเปลี่ยนตำแหน่งของกระเพาะปัสสาวะเพื่อกำจัดความดันในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเป็นสาเหตุของการปัสสาวะเล็ดขณะไอ หรือจาม
กระบวนการผ่าตัดที่ใช้ในการรักษาอาการปัสสาวะเล็ดขณะไอ หรือจามมากที่สุด มีอยู่ 2 วิธี ได้แก่
- การผ่าตัดที่เรียกว่า Sling procedure
- วิธี Bladder neck suspension บางครั้งจะใช้ไฟฟ้ากระตุ้นที่เส้นประสาทซาคราล (Sacral nerve stimulation) เพื่อรักษากระเพาะปัสสาวะที่ไวเกิน
การรักษานี้จะเป็นกระบวนการผ่าตัดเพื่อฝังอุปกรณ์ขนาดเล็กไว้ใต้ผิวหนังที่ก้น อุปกรณ์นี้จะกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ ไปที่เส้นประสาท sacral เป็นระยะๆ ส่งผลให้เพิ่มความตึงเครียดขึ้นในกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ กล้ามเนื้อหูรูด และกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยจัดการกับภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
- ผ้าอ้อมและชุดชั้นในผู้ใหญ่ เป็นแผ่นอนามัยที่ไม่ใหญ่มากและชั้นในที่สวมใส่สบายๆภายใต้เสื้อผ้า มีหลายขนาดทั้งของผู้ชายและผู้หญิง สำหรับผู้ที่มีอาการปัสสาวะเล็ดระดับอ่อนๆ ถึงปานกลาง อาจใช้แค่แผ่นอนามัย (panty liners) แบบบางก็พอ
- Patches and plugs ผู้หญิงหลายคนสามารถจัดการกับการรั่วซึมจากภาวะปัสสาวะเล็ดขณะไอจามได้โดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยป้องกันการไหลของปัสสาวะ เช่น แผ่นอุดกั้นปากมดลูก (แผ่นอนามัยที่มีกาวติดแน่นแต่สามารถถ่ายเทอากาศได้ขนาดเล็กๆ มีขนาดพอดีกับปากมดลูก) ผ้าอนามัยแบบสอด (tampon) หรืออุปกรณ์ที่ใช้สอดในช่องคลอด ที่ชื่อ pessary
- หลอดสวนปัสสาวะ (Catheters) สำหรับผู้ที่กลั้นปัสสาวะไม่อยู่จริงๆ แบบควบคุมไม่ได้เลย แพทย์จะใส่หลอดสวนปัสสาวะ (catheter) ในท่อปัสสาวะเพื่อระบายปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากวิธีนี้เสี่ยงต่อการติดเชื้อและเป็นนิ่วในไตสูง หลอดสวนปัสสาวะจึงมักเป็นทางเลือกสุดท้ายและจะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหนักจริงๆเท่านั้น
แม้ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่อาจไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ก็ทำให้สูญเสียความมั่นใจลงไปได้มาก บางคนถึงขั้นทำให้คุณภาพชีวิตต่ำลงได้ หากคุณ หรือคนใกล้ชิดมีปัญหานี้ควรพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ รีบคำแนะนำ และทำการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับผู้หญิงและผู้ชาย จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android
มีอาการฉี่บ่อย และหนาวง่าย อยากทราบว่ามีโอกาสเป็นโรคอะไร และมีวิธีดูแลรักษาเบื้องต้นอย่างไรบ้างคะ