กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ช่องคลอดแห้ง (Vaginal Dryness)

เผยแพร่ครั้งแรก 1 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 14 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

ภาวะช่องคลอดแห้ง สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้หญิงทุกช่วงวัย เมื่อมีภาวะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน แต่ส่วนใหญ่มักเกิดในผู้สูงอายุเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนไปแล้ว

ภาวะช่องคลอดแห้ง เกิดจากการที่ช่องคลอดไม่ยืดหยุ่น มีน้ำหล่อลื่นออกมาไม่เพียงพอ ทำให้เกิดความเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ และมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ การมีภาวะช่องคลอดแห้งอาจทำให้บางคนเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบซ้ำๆ บ้างก็มีอาการแสบร้อนและคันในช่องคลอดแม้ไม่ได้มีเพศสัมพันธ์ก็ตาม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการแสดงของภาวะช่องคลอดแห้ง

ภาวะช่องคลอดแห้งเกิดจากอะไร?

ปกติในช่องคลอดของผู้หญิงจะมีน้ำหล่อลื่นที่มีลักษณะเป็นมูกเมือกใส ซึ่งมักเกิดจากการกระตุ้นของฮอร์โมนเอสโทรเจนที่สร้างจากรังไข่ มีหน้าที่ช่วยให้ความชุ่มชื้นแก่เยื่อบุผิวช่องคลอด ลดการเสียดสี ทำให้เกิดความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของช่องคลอด น้ำหล่อลื่นช่องคลอดจะหลั่งออกมามากเมื่อมีฮอร์โมนมากระตุ้นมากๆ หรือเมื่อมีการปลุกเร้าอารมณ์ทางเพศ

มีปัจจัยหลายอย่างที่อาจส่งผลให้เกิดภาวะช่องคลอดแห้งได้ ดังนี้

1. ฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ
เป็นสาเหตุหลักของการเกิดภาวะช่องคลอดแห้ง เพราะฮอร์โมนเอสโทรเจนเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เยื่อบุภายในช่องคลอดมีการหลั่งเมือกออกมาหล่อลื่น และทำให้ช่องคลอดมีสุขภาพดี
ปัจจัยที่สามารถทำให้ระดับเอสโตรเจนลดต่ำลง มีดังนี้

  • วัยหมดประจำเดือน หรือวัยใกล้หมดประจำเดือน
  • การคลอดบุตร
  • การให้นมบุตร
  • การสูบบุหรี่
  • การผ่าตัดรังไข่
  • การผ่าตัดมดลูก
  • ความผิดปกติทางภูมิคุ้มกันบางอย่าง
  • การรักษามะเร็ง
  • การใช้ยากล่อมประสาท
  • การใช้ยาต้านเอสโทรเจน
  • การอักเสบของต่อมบาร์โทลิน ซึ่งทำหน้าที่ผลิตน้ำหล่อลื่น
  • การคุมกำเนิดด้วยการฉีดหรือกินยา

2. การสวนล้างช่องคลอด
การใช้สบู่ โลชั่น และน้ำหอมสวนล้างช่องคลอดบ่อยๆ สามารถทำให้เกิดความระคายเคืองต่อความเป็นกรดด่างในช่องคลอด และทำลายเชื้อแบคทีเรียประจำถิ่น ส่งผลให้ช่องคลอดมีอาการแห้งและเกิดการติดเชื้อได้ง่าย 

3. ยารักษาโรคบางประเภท
การใช้ยาบางชนิดอาจมีผลข้างเคียงทำให้ช่องคลอดแห้งได้ เช่น ยาแก้แพ้ มีผลข้างเคียงทำให้ตัวแห้งและลดการหลั่งเมือกหล่อลื่นช่องคลอด ยารักษาโรคซึมเศร้าบางตัวอาจทำให้สารคัดหลั่งในช่องคลอดลดลง เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

4. ความวิตกกังวล
ความเครียดและความวิตกกังวลสามารถส่งผลกระทบต่อความต้องการทางเพศและอาจนำไปสู่ภาวะช่องคลอดแห้ง

5. โรคเบาหวาน
โรคเบาหวานเป็นอีกโรคที่อาจส่งผลให้ช่องคลอดแห้งเนื่องจากน้ำหล่อลื่นในช่องคลอดลดลง การติดเชื้อที่ช่องคลอด และมีความต้องการทางเพศต่ำจากระดับของน้ำตาลและฮอร์โมนที่ผันผวน

6. Sjogren’s Syndrome
เป็นโรคที่มีภูมิต้านทานตนเองผิดปกติ พบได้ไม่บ่อย โรคนี้สามารถก่อให้เกิดอาการตาแห้ง ปากแห้ง และช่องคลอดแห้งได้

7. ความต้องการทางเพศต่ำ
ความต้องการเพศต่ำหรือปัญหาทางเพศอื่นๆ อาจทำให้ทำเกิดภาวะช่องคลอดแห้ง และในทางกลับกัน ภาวะช่องคลอดแห้งก็อาจทำให้ความต้องการทางเพศต่ำลงด้วย

ภาวะช่องคลอดแห้งระหว่างตั้งครรภ์

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเป็นสาเหตุของภาวะช่องคลอดแห้งระหว่างตั้งครรภ์ได้ และคุณแม่ที่ให้นมลูกเองจะมีสิทธิ์พบอาการนี้ได้มากกว่า รวมถึงภาวะฮอร์โมนเพศหญิงต่ำก็มีสิทธิ์ทำให้เกิดภาวะช่องคลอดแห้งระหว่างตั้งครรภ์ได้เช่นกัน

การวินิจฉัยภาวะช่องคลอดแห้ง

หากคุณมีภาวะช่องคลอดแห้ง แพทย์จะทำการตรวจภายในเพื่อตรวจดูว่าผนังในช่องคลอดของคุณมีอาการบาง ซีด แดงหรือไม่ นอกจากนี้คุณอาจจะต้องตรวจระดับฮอร์โมนว่าคุณเข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือนแล้วหรือไม่ หรือแพทย์อาจเก็บตัวอย่างตกขาวมาตรวจเพื่อหาสาเหตุของอาการช่องคลอดแห้งอย่างรุนแรง 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การรักษาภาวะช่องคลอดแห้ง

การรักษาภาวะช่องคลอดแห้งในผู้ป่วยแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสภาวะของแต่ละบุคคล มีแนวทางการรักษา ดังนี้

1. การใช้เจลหล่อลื่นและครีมทา 
ผลิตภัณฑ์เหล่านี้สามารถช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้บริเวณช่องคลอดเป็นระยะเวลาหลายชั่วโมงหรือเกือบทั้งวัน คุณสามารถใช้เจลหล่อลื่นช่องคลอดละลายน้ำระหว่างมีเพศสัมพันธ์ เพื่อช่วยบรรเทาภาวะช่องคลอดแห้งได้

2. การใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน 

ฮอร์โมนเอสโตรเจนในรูปแบบครีมทาสามารถช่วยบรรเทาอาการของภาวะช่องคลอดแห้งได้ โดยฮอร์โมนชนิดนี้มีทั้งในรูปแบบยาเม็ด ครีมทา ยาเหน็บ หรือวงแหวน ซึ่งสามารถสอดเข้าไปในช่องคลอดได้เลย

3. ลดการสูบบุหรี่ และหมั่นผ่อนคลายจากความเครียด
บุหรี่และความเครียดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะช่องคลอดแห้งได้ ควรลดหรือเลิกบุหรี่ และหมั่นทำกิจกรรมเพื่อความเพลิดเพลินเมื่อเกิดความเครียด เช่น เล่นเกม ดูหนัง ไปเที่ยว เป็นต้น

4. การมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ
มีการศึกษาพบว่าสตรีที่มีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอจะมีอาการที่สัมพันธ์กับช่องคลอดแห้งน้อยกว่า เนื่องจากมีการเพิ่มเลือดไปเลี้ยงยังบริเวณอุ้งเชิงกราน และช่วยคงความยืดหยุ่นของช่องคลอด อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดว่าความถี่เท่าใดถึงจะช่วยได้ดีที่สุด

5. การใช้เลเซอร์ชนิด Fractional CO2
ปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้เลเซอร์ในการรักษาแบบฟื้นฟู โดยเครื่องจะปล่อยแสงเลเซอร์ออกมาแบบ 360 องศา เพื่อไปกระตุ้นเซลล์ไฟโบรบลาสท์ ทำให้ผลิตและจัดเรียงเส้นใยคอลลาเจนได้ดียิ่งขึ้น เซลล์ช่องคลอดผลิตสารคัดหลั่งเพิ่มขึ้น และเกิดความชุ่มชื้นขึ้นตามมา การทำเลเซอร์ชนิดนี้ไม่เจ็บ ไม่ต้องดมยาสลบ และใช้เวลาไม่นาน หลังทำสามารถทำกิจกรรมประจำวันได้ตามปกติ 

สมุนไพรทางเลือกช่วยรักษาภาวะช่องคลอดแห้ง

  • กวาวเครือขาว มีการศึกษาพบว่ากวาวเครือขาวมีคุณสมบัตินำมาใช้เป็นฮอร์โมนทดแทนได้ โดยสามารถลดอาการของวัยหมดประจำเดือน เช่น อาการร้อนวูบวาบ ช่องคลอดแห้ง ทั้งยังช่วยลดระดับไขมันในเลือดได้อีกด้วย
  • ถั่วเหลือง มีสารที่ชื่อว่า Phytoestrogens ออกฤทธิ์เหมือนฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย ผู้หญิงบางคนจึงบริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยถั่วเหลือง เช่น ถั่วเหลือง เต้าหู้ และน้ำเต้าหู้ เพื่อบรรเทาอาการของภาวะช่องคลอดแห้ง แต่การวิจัยถึงผลข้างเคียงของถั่วเหลืองก็ยังคงดำเนินต่อไป เพื่อหาบทสรุปว่าถั่วชนิดนี้ช่วยลดอาการช่องคลอดแห้งได้จริงหรือไม่
  • มันเทศป่า มีการบอกเล่าถึงการใช้ครีมที่มีส่วนผสมของมันเทศป่า ว่าสามารถช่วยลดอาการของภาวะช่องคลอดแห้งได้ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เพียงพอในการยืนยันว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีประสิทธิภาพ
  • สมุนไพร Black Cohosh เป็นที่นิยมในการใช้เป็นอาหารเสริมเพื่อบรรเทาอาการของภาวะหมดประจำเดือน แต่ก็มีบางคนรับประทานเพื่อบรรเทาอาการของภาวะช่องคลอดแห้งเช่นกัน แต่ยังไม่มีรายงานการศึกษาที่ยืนยันถึงประสิทธิภาพของสมุนไพรตัวนี้ได้

7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Vaginal dryness: Causes, treatments, and natural remedies. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321615)
Vaginal Dryness: Menopause, Symptoms, Treatment, Causes. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/vaginal_dryness_and_vaginal_atrophy/article.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ตอนนนี้ท้อง7เดือนกว่าค่ะแต่เจ็บตรงจิมิเปนไรป่าวค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ตอนนี้ตังครรภ์ได้ 35 วีคค่ะ น้ำหนักเด็กตอนนี้ 2,249 กรัม แม่สูง 142 ถ้าจะคลอดธรรมชาติสามารถคลอดเองได้ไหมค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อาการคันในช่องคลอดเกิดจากสาเหตุใดบ้าง และมีวิธีรักษาอย่างไร
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
หลังคลอดบุตรตอนนี้ผ่านมา3ปีกว่าแล้วค่ะแต่บางทีเวลาเดินจะมีลมออกทางช่องคลอดพยายามขมิบแต่ก็ไม่หายต้องทำยังไงค่ะกังวลมากค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ตอนนี้ตั้งครรภ์อยู่ค่ะ จะสอบถามวิธีรักษสุขภาพและเตรียมตัวก่อนคลอดต้องทำอย่างไรบ้าง?
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)