ทีมเภสัชกร HD
เขียนโดย
ทีมเภสัชกร HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ยารักษาโรคซึมเศร้าคืออะไร? (Antidepressants)

ยารักษาโรคซึมเศร้ามีอะไรบ้าง ใช้อย่างไร ต้องใช้นานแค่ไหนถึงจะเห็นผล?
เผยแพร่ครั้งแรก 24 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 8 ธ.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 27 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ยารักษาโรคซึมเศร้าคืออะไร? (Antidepressants)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคซึมเศร้า เป็นโรคทางจิตเวชที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ เพราะจะมีอาการเศร้า นอนไม่หลับ มองโลกในแง่ร้าย ไม่มีสมาธิ วิตกกังวล ไม่อยากอาหาร และที่ร้ายแรงที่สุด คือ อยากฆ่าตัวตาย
  • โดยปกติผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะต้องรับประทานยามากกว่า 6 เดือนเพื่อปรับสมดุลสารสื่อประสาท และเพื่อไม่ให้โรคกลับมาเป็นซ้ำ ผู้ป่วยบางรายอาจต้องรับประทายยามากกว่า 1 ปี
  • ยารักษาโรคซึมเศร้าจะแบ่งเป็นกลุ่มแรก และกลุ่มใหม่ แต่มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ ดูดซึมสารที่ทำให้เกิดอาการซึมเศร้า เช่น สารนอร์อิพิเนฟริน สารโดปามีน สารเซโรโทนิน
  • ยาที่แพทย์จะเลือกใช้กับผู้ป่วยแต่ละราย ต้องสอดคล้องกับอาการแสดงซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ อาการภาวะอารมณ์ทางบวกลดลง และอาการภาวะอารมณ์ทางลบเพิ่มขึ้น
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจรปรึกษาสุขภาพจิต

โรคซึมเศร้า (Depression) เป็นโรคทางจิตเวชที่พบได้เป็นอันดับต้นๆ และปัจจุบันก็มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยโรคนี้เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้โลกต้องสูญเสียทรัพยากรบุคคลไปมากมาย

เพราะผู้ป่วยโรคนี้ เมื่อเผชิญกับอาการของโรคซึมเศร้า หลายก็จะไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ ไม่สามารถทำงาน เรียนหนังสือ หรือทำกิจวัตรประจำวันเป็นปกติได้ และบางรายก็เลือกที่จะจบชีวิตตัวเองด้วยการฆ่าตัวตาย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ดังนั้นผู้ที่คิดว่า ตนเองเป็นภาวะซึมเศร้า หรือโรคซึมเศร้าก็ควรรีบเข้ารับการรักษากับจิตแพทย์ โดยกระบวนการรักษาโรคนี้จะแบ่งออกได้หลายวิธี ทั้งการทำจิตบำบัด หรือการรับประทานยารักษาโรคซึมเศร้า

การรักษาโรคซึมเศร้าด้วยยา

การใช้ยารักษาโรคซึมเศร้า (Antidepressant) เป็นวิธีการรักษาโรคซึมเศร้าที่แพทย์นิยมใช้กับผู้ป่วยเช่นกัน โดยตัวยาจะเข้าไปปรับสมดุลสารสื่อประสาทในสมองในส่วนที่ควบคุมอารมณ์ความรู้สึก และส่งผลให้อาการซึมเศร้าค่อยๆ บรรเทาลง

โดยตัวสารที่ยาจะเข้าไปปรับสมดุลนั้นแบ่งเป็น 3 สารด้วยกัน ได้แก่

  • สารนอร์อิพิเนฟริน (Noradrenaline) เป็นสารทำหน้าที่เกี่ยวกับการตื่นตัว สร้างความกระตือรือร้น ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
  • สารโดปามีน (Dopamine) เป็นสารควบคุมึความรู้สึก ช่วยกระตุ้นกระบวนการรู้สึกนึกคิด และการเคลื่อนไหวร่างกาย
  • สารเซโรโทนิน (Serotonin) สารช่วยให้การนอนหลับเป็นปกติ ควบคุมระบบย่อยอาหาร ความรู้สึกอยาก และเบื่ออาหาร รวมถึงอารมณ์ทางเพศ ช่วยควบคุมความโกรธ และความก้าวร้าว

นอกจากนี้ ยาในกลุ่มใช้รักษาโรคซึมเศร้า ยังสามารถนำไปรักษาโรค หรืออาการที่เกี่ยวข้องกับจิตเวชได้อีกด้วย เช่น

  • อาการวิตกกังวล หรือโรควิตกกังวล
  • อาการตื่นเต้น กระสับกระส่าย อยู่ไม่นิ่ง
  • โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-Compulsive Disorder: OCD)
  • โรคกลัวการเข้าสังคม
  • โรคอารมณ์ 2 ขั้น หรือโรคไบโพลาร์
  • โรคเครียดหลังเกิดเหตุสะเทือนใจ (PTSD)
  • โรคสมาธิสั้น (ADHD)
  • โรคกินผิดปกติ
  • อาการปัสสาวะรดที่นอน
  • อาการปวดประสทจากความผิดปกติของระบบประสาท
  • อาการปวดกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ และเนื้อเยื่ออ่อน
  • อาการร้อนวูบวายตามร่างกาย
  • อาการก่อนมีประจำเดือน
  • อาการลมพิษเรื้อรัง

กลุ่มยารักษาโรคซึมเศร้าจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

ยารักษาโรคซึมเศร้ารุ่นแรก

  • ยากลุ่ม Monoamine Oxidase Inhibitors (MAOIs) เป็นยาช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์โมโนเอมีน ออกซิเดส (Monoamine oxidase) เพื่อให้สารสื่อประสาทในสมองสามารถทำงานเพื่อยับยั้งอาการซึมเศร้าได้

  • ยากลุ่ม Tricyclic Antidepressants (TCAs) เป็นยาช่วยดูดซึมสารสื่อประสาทนอร์อีพิเนฟริน และสารเซโรโทนินให้กลับเข้าสู่เซลล์ประสาท แบ่งตามโครงสร้างเคมีของยาได้เป็น

    1. ยาชนิดเอมีนตติยภูมิ (Tertiary amine)
    ได้แก่ ยาอะมิทริปไทลีน (Amitriptyline) ยามิพรามีน (Imipramine) โคลมิพรามีน (Clomipramine) ด็อกเซปิน (Doxepin) และไทรมิพรามีน (Trimipramine)

    2. ยาชนิดเอมีนทุติยภูมิ (Secondary amine)
    ได้แก่ นอร์ทริปไทลีน (Nortriptyline) และเดซิพรามีน (Desipramine)

ยารักษาโรคซึมเศร้ารุ่นใหม่

  • ยากลุ่ม Selective Serotonin Reuptake Inhibitors (SSRIs) ออกฤทธิ์ช่วยยับยั้งการดูดซึมของสารสื่อประสาทเซโรโทนินเป็นหลัก รองลงมา คือ สารนอร์พิเนฟริน และสารโดปามีน เช่น

    ยาฟลูออกซิทีน (Fluoxetine) ยาพาร็อกซีทีน (Paroxetine) ยาเซอร์ทราลีน (Sertraline) ยาไซตาโลแพรม (Citalopram) ยาเอสซิตาโลแพรม (Escitalopram)

  • ยากลุ่ม Selective Serotonin-Norepinephrine Reuptake Inhibitors (SNRIs) ออกฤทธิ์ช่วยยับยั้งการดูดซึมของสารสื่อประสาทเซโรโทนิน และสารนอร์พิเนฟรินไม่ให้ไหลกลับสู่สมอง เช่น ยาเวนลาฟาซีน (Venlafaxine) ยาเดสเวนลาฟาซีน (Desvenlafaxine)

  • ยากลุ่ม Noradrenergic Dopaminergic Reuptake Inhibitors (NDRIs) เป็นยาเสริมในกรณีผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่มอื่น โดยยาในกลุ่มนี้มีชนิดเดียว คือ บูโพรพิออน (Bupropion)

  • ยากลุ่ม Noradrenergic Reuptake Inhibitors (NaRI) เช่น ยารีบ็อกเซทิน (Reboxetine) ยาอะโทม็อกซีทีน (Atomoxetine) ออกฤทธิ์ช่วยการดูดซึมกลับเข้าสู่เซลล์ประสาทของสารนอร์พิเนฟริน

    แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
    ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

    จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ยากลุ่ม Noradrenergic and Specific Serotonergic Antagonist (NaSSA) เป็นยาช่วยให้ผู้ป่วยนอนหลับได้ง่ายขึ้น แต่อาจมีผลข้างเคียง คือ ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เช่น ยาเมอร์ทาซาปีน (Mirtazapine) ยาไมแอนเซอริน (Mianserin)

  • ยากลุ่ม Serotonin Antagonist/Receptor Inhibitor (SARI) การออกฤทธิ์จะเช่นเดียวกับยากลุ่ม SSRI แต่จะมีผลข้างเคียง คือ ทำให้ง่วงนอน แพทย์จึงมักช่วยเพื่อเป็นยานอนหลับให้ผู้ป่วยด้วย เช่น ยาทราโซเดน (Trazadone)

  • ยากลุ่ม Melatonergics เป็นยาที่นิยมใช้ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าแถบยุโรป ออกฤทธิ์ผ่านการเลียนแบบสารเมลาโทนินในร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยที่นอนไม่หลับสามารถหลับได้ง่ายขึ้น

การเลือกใช้ยารักษาโรคซึมเศร้าอย่างเหมาะสม

เมื่อเป็นโรคซึมเศร้า นั่นไม่ได้หมายความว่า ผู้ป่วยจะรับประทานยาตัวใดก็ได้เพื่อบรรเทาอาการของโรค แต่ต้องพิจารณาเงื่อนไขด้านสุขภาพ โรคประจำตัว อาการของโรคว่า เหมาะจะรับประทานยาตัวใด

  • อายุ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่สูงอายุจำเป็นจะต้องรับประทานยาในปริมาณที่แพทย์สั่งเท่านั้น เพื่อลดผลข้างเคียง และการรับสารยาเกินขนาด เนื่องจากร่างกายของผู้ที่สูงอายุแล้วย่อมเสื่อมสภาพ และย่อยสารยาได้ไม่ดีเท่ากับวัยที่เด็กกว่า

  • โรคประจำตัว ผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้วจะต้องแจ้งแพทย์เพื่อให้จัดยาที่ออกฤทธิ์ไม่กระทบกับยารักษาโรคประจำตัว และในขณะรับการรักษาโรคซึมเศร้า ก็ยังต้องเข้าตรวจสุขภาพ หรือตรวจอาการของโรคประจำตัวอยู่เป็นระยะๆ ด้วย

  • ผลข้างเคียง ยารักษาโรคเกือบทุกชนิดมักมีผลข้างเคียงเป็นอาการอื่นๆ ออกมา ยารักษาโรคซึมเศร้าก็เช่นกัน ผู้ป่วยอาจสอบถามแพทย์ว่า ยาที่ต้องรับประทานมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง เช่น สมรรถภาพทางเพศลดลง น้ำหนักขึ้น

  • การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือยาเสพติด หากผู้ป่วยมีพฤติกรรมเสพติดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเสพยาเสพติดอยู่ แพทย์อาจพิจารณาให้เข้าการบำบัดเพื่อลดพฤติกรรมเหล่านี้ก่อน แล้วค่อยรับยารักษาโรคซึมเศร้าไปรับประทาน

    เพราะทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และยาเสพติดล้วนส่งผลทำให้ยารักษาโรคซึมเศร้าออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่ทั้งนั้น ทั้งยังทำให้อาการซึมเศร้ารุนแรงกว่าเดิมด้วย

  • ประวัติการเจ็บป่วยของคนในครอบครัว หากมีผู้ใกล้ชิดทางสายเลือดที่เคยเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อน และหายดี หรือาการดีขึ้นกว่าเดิม ถือเป็นข้อมูลชั้นดีที่แพทย์จะสามารถจ่ายยาที่ร่างกายผู้ป่วยตอบสนองได้ดี และยังรู้ข้อมูลอีกด้านด้วยว่า ยากลุ่มใดที่ไม่ช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้า

  • การใช้ชีวิตประจำวัน ถึงแม้จะจ่ายยาดีขนาดไหน แต่หากทางผู้ป่วยไม่ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวันใหม่ หรือหลีกหนีจากปัจจัยทำให้เกิดโรคซึมเศร้า การรักษาโรคนี้ก็ยากที่จะยาหายได้ แพทย์จึงมักจ่ายยาร่วมกับให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตผู้ป่วย

นอกจากนี้การเลือกใช้ยารักษาโรคซึมเศร้ายังสามารถแบ่งออกตามอาการของโรคได้ด้วย โดยจะแบ่งออกได้ 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

1. อาการเมื่อภาวะอารมณ์ทางบวกลดลง

ลักษณะผู้ป่วยภาวะนี้จะดูไม่มีความสุข เฉื่อยชา ไม่มีแรงจูงใจในการใช้ชีวิต อ่อนเพลีย เหมือนไม่มีแรง ไม่กระตือรือร้น เคลื่อนไหวร่างกายเชื่องช้า ซึ่งเป็นผลมาจากสารสื่อประสาทโดปามีน และนอร์อีพิเนฟรินหลั่งน้อยลง

กลุ่มยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยภาวะนี้มักจะเป็นกลุ่ม NDRI, SNRIs และ NaRI เพื่อให้กระตุ้นการหลั่งเพิ่มของสารสื่อประสาททั้ง 2 ตัว ทำให้อารมณ์ทางบวกค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น

  • ยาเวนลาฟาซีน (Venlafaxine)
  • ยาดูล็อกซีทีน (Duloxetine)
  • ยารีบ็อกเซทิน (Reboxetine)
  • ยาบูโพรพิออน (Bupropion)

2. อาการเมื่อภาวะอารมณ์ทางลบเพิ่มขึ้น

ผู้ป่วยที่เกิดภาวะนี้จะมีอาการเศร้า รู้สึกว่า ตนเองโดดเดี่ยวไม่มีค่า คิดในแง่ลบ เอาแต่ตำหนิตนเอง ไม่มีความมั่นใจ มองโลกในแง่ร้าย อยากฆ่าตัวตาย รู้สึกกลัว และวิตกกังวล มีอารมณ์โกรธง่าย หงุดหงิด ไม่มีสมาธิ และฉุนเฉียวผิดปกติ

อาการที่กล่าวมาข้างต้น เป็นอาการที่เกิดจากสารสื่อประสาทเซโรโทนิน และนอร์พิเนฟรินหลั่งลดลง กลุ่มยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยภาวะนี้ คือ ยากลุ่ม SNRIs, SSRIs, NaRI เช่น

  • ฟลูออกซิทีน (Fluoxetine)
  • เซอร์ทราลีน (Sertraline)
  • เอสซิตาโลแพรม (Escitalopram)
  • เดสเวนลาฟาซีน (Desvenlafaxine)

โดยปกติยารักษาโรคซึมเศร้าจะต้องใช้เวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์จึงจะเริ่มเห็นผล โดยผู้ป่วยจะเริ่มมีความรู้สึกด้านบวกมากขึ้น นอนหลับได้ดีขึ้น และยาวนานขึ้น

แต่สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ยารักษาโรคซึมเศร้าช่วยบรรเทาอาการโรคนี้ได้ คือ การรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดยา หรือเพิ่มปริมาณยาเอง หากรู้สึกว่า รับประทานยาแล้วไม่ได้ผล หรือรู้สึกว่า อาการของโรคแย่ลง ก็ควรรีบไปพบจิตแพทย์เพื่อขอรับการรักษาเพิ่มเติม

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาสุขภาพจิต จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Harvard Health Publishing, Medications for depression: Which is best? (https://www.health.harvard.edu/mind-and-mood/medications-for-depression-which-is-best), 08 December 2020.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, รู้จัก "ยารักษาโรคซึมเศร้า" (https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=28186), 08 ธันวาคม 2563.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ซึมเศร้าตอนกลางคืน…รับมืออย่างไรดี?
ซึมเศร้าตอนกลางคืน…รับมืออย่างไรดี?

วิธีรับมือภาวะซึมเศร้าตอนกลางคืน ทำอย่างไรให้นอนหลับได้ปกติ

อ่านเพิ่ม