กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

อะไรคือภาวะผิดปกติทางอารมณ์จากการใช้สาร

เมื่อแอลกอฮอล์ สารเสพติดและยาทำให้คุณรู้สึกแย่กว่าเดิม
เผยแพร่ครั้งแรก 30 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อะไรคือภาวะผิดปกติทางอารมณ์จากการใช้สาร

ภาวะผิดปกติทางอารมณ์จากการใช้สาร เป็นประเภทหนึ่งของโรคซึมเศร้าที่เกิดจากการใช้แอลกอฮอล์, สารเสพติด หรือยา โดยเมื่อเกิดภาวะนี้นั้นจะทำให้เกิดอาการที่รุนแรงและยาวนานกว่าอารมณ์ซึมเศร้าทั่วไป หรืออาการเมาค้างจากแอลกอฮอล์ และสำหรับบางคน ภาวะนี้อาจรวมถึงการสูญเสียความสนใจหรือความสนุกสนานทั้งหมดของชีวิตเลยทีเดียว

คนส่วนมากใช้ยาเพื่อให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น แต่สารตัวเดียวกันนี้กลับสามารถกระตุ้นให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ จึงมีคนที่ไม่คิดว่าภาวะซึมเศร้าดังกล่าวเกิดจากการใช้แอลกอฮอล์ สารเสพติด หรือยาต่าง ๆ เพราะพวกเขาคุ้นเคยแต่กับผลลัพธ์ในแง่บวกของสารเหล่านี้เท่านั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ก่อนที่แพทย์หรือนักจิตวิทยาจะทำการวินิจฉัยว่ามีภาวะซึมเศร้าจากการใช้สารนั้น แพทย์จะต้องตรวจสอบว่าภาวะซึมเศร้านี้ไม่ได้เกิดขึ้นก่อนการใช้แอลกอฮอล์ ยา หรือสารเสพติดที่สงสัยว่าจะทำให้เกิดภาวะนี้ได้ เนื่องจากภาวะซึมเศร้ามีหลายประเภท ดังนั้น หากอาการนี้เกิดก่อนการใช้สารดังกล่าวแสดงว่าไม่น่าจะเกิดจากการใช้สารนั้น

ต้องใช้ยานานเท่าไหร่ถึงจะสามารถทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้?

ในบางกรณี อาจเกิดขึ้นได้ในทันที ถึงขนาดว่ามีการจัดกลุ่มอาการซึมเศร้าที่เกิดขึ้นขณะใช้ยาออกมาเป็น 1 กลุ่ม นอกจากนั้นยังสามารถเกิดได้ในช่วงของการหยุดใช้ยา ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พบได้บ่อย อย่างไรก็ตามหากเกิดอาการในช่วงดังกล่าว อารมณ์ของผู้ป่วยมักจะดีขึ้นภายหลังจากหยุดใช้ยาไม่กี่วัน ในขณะที่ภาวะซึมเศร้าที่เกิดจากการใช้ยานั้นสามารถเริ่มต้นขณะหยุดยา เป็นอยู่ต่อเนื่องหรือแย่ลงเรื่อย ๆ ขณะที่ผู้ป่วยเข้าสู่ช่วงกำจัดสารพิษ

โดยทั่วไปการวินิจฉัยภาวะนี้จะไม่สามารถทำได้หากผู้ป่วยมีประวัติซึมเศร้า แม้ไม่ได้ใช้สาร หรือถ้าอาการซึมเศร้านี้คงอยู่นานกว่า 1 เดือนหลังจากการหยุดใช้สารดังกล่าว

การวินิจฉัยมักจะทำเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วยอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการทำให้เกิดความเครียด หรือการทำให้ประสิทธิภาพของผู้ป่วยในด้านต่าง ๆ ลดลงเช่นชีวิตส่วนตัว การทำงานหรือด้านอื่นที่สำคัญต่อผู้ป่วย

สารประเภทใดที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้บ้าง?

มีสารที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทหลายประเภทที่สามารถทำให้เกิดภาวะดังกล่าวได้ โดยมีรายงานถึงภาวะดังต่อไปนี้

  • Alcohol-induced depressive disorder
  • Phencylidine-induced depressive disorder
  • Other hallucinogien-induced depressive disorder
  • Inhalant-induced depressive disorder
  • Opioid-induced depressive disorder
  • Sedative-induced depressive disorder
  • Hypnotic-induced depressive disorder
  • Anxiolytic-induced depressive disorder
  • Amphetamine-induced depressive disorder
  • Other stimulant-induced depressive disorder
  • Cocaine-induced depressive disorder
  • Other substance-induced depressive disorder
  • Unknown substance-induced depressive disorder

นอกจากสารดังกล่าวแล้วยังมีรายงานว่ามียาบางประเภทที่สามารถกระตุ้นให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้เช่นกัน ดังรายชื่อภาวะต่อไปนี้

  • Steroid-induced depressive disorder
  • L-dopa-induced depressive disorder
  • Antibiotic-induced depressive disorder
  • Central nervous system drug-induced depressive disorder
  • Dermatological agent-induced depressive disorder
  • Chemotherapeutic drug-induced depressive disorder
  • Immunological agent-induced depressive disorder

มีงานวิจัยหลายประเภทที่ระบุว่ายาบางประเภทอาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ ซึ่งอาจทำให้หาสาเหตุที่แท้จริงของโรคได้ยากขึ้น เช่น ยาต้านไวรัส (เช่น efavirenz), ยารักษาโรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ (เช่น clonidine, guanethidine, methyldopa, reserpine) ยาในกลุ่มวิตามินเอ (เช่น isotretinoin), ยาลดอาการซึมเศร้า (antidepressants), ยากันชัก, ยารักษาโรคไมเกรน (กลุ่ม Triptans), ยารักษาโรคจิตเภท, ยากลุ่มที่เป็นฮอร์โมน (corticosteroids, ยาคุมกำเนิด, gonadotropin-releasing hormone agonists, tamoxifen), ยาช่วยเลิกบุหรี่ (varenicline) และสารที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน (interferon)


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Timothy J. Legg, PhD, PsyD, Affective Disorders (https://www.healthline.com/health/affective-disorders), April 23, 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)