กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด คืออะไร มีวิธีรับมืออย่างไร

คุณพ่อ คุณแม่มือใหม่ เสี่ยงเป็นภาวะซึมเศร้าหลังคลอด สังเกตอาการ และเรียนรู้วิธีรับมืออย่างถูกวิธี
เผยแพร่ครั้งแรก 4 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 26 ต.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด คืออะไร มีวิธีรับมืออย่างไร

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • “ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Baby Blues)” เป็นหนึ่งในอาการของโรคซึมเศร้าที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคุณพ่อและคุณแม่มือใหม่ทุกคน และส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวว่า ตนเองกำลังตกอยู่ในภาวะนั้น จึงจำเป็นต้องอาศัยคนรอบข้างสังเกตอาการ
  • ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด สันนิษฐานว่า อาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศในร่างกาย ความเครียดและวิตกกังวลกับภาระที่เพิ่มขึ้น
  • อาการภาวะซึมเศร้าหลังคลอดจะแสดงภายใน 1 ปีแรกหลังคลอด เนื่องจากเป็นช่วงที่ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงกลับสู่ปกติ และความเครียดระหว่างการปรับวิถีชีวิตให้เข้ากับการเลี้ยงลูกที่ไม่แน่นอน
  • ปกติแล้วอาการมักจะหายไปเองภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่มีอาการต่อไปนี้ เช่น อ่อนเพลีย วิตกกังวล อารมมณ์ขึ้นๆ ลงๆ เปลี่ยนแปลงง่าย หงุดหงิดง่าย ร้องไห้ง่าย รู้สึกเศร้า หรือเซื่องซึม ควรไปปรึกษาจิตแพทย์ทันที 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต 

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Baby Blues)” เป็นหนึ่งในอาการของโรคซึมเศร้าที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคุณพ่อและคุณแม่มือใหม่ทุกคน และส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวว่า ตนเองกำลังตกอยู่ในภาวะนั้น จึงจำเป็นต้องอาศัยคนรอบข้างสังเกตอาการ

อย่าละเลย เมื่อคุณมีอาการภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ควรดูแลรักษาให้ดี เพราะอาจนำไปสู่โรคซึมเศร้าที่เกิดหลังจากการคลอดบุตร (Postpartum depression) ที่มีอาการรุนแรงกว่าได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หากพบว่า ตนเองมีอารมณ์แปลกไป หรือเปลี่ยนไปหลังคลอดลูก เช่น อารมณ์แปรปรวน เบื่อหน่าย อาจเข้าข่ายลักษณะอาการของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ซึ่งมีระดับความรุนแรงแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล 

คุณพ่อและคุณแม่มือใหม่จึงจำเป็นต้องรู้วิธีรับมือกับภาวะนี้

สาเหตุของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด สันนิษฐานว่า อาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้

  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศในร่างกาย เช่น เอสโตรเจน (estrogen) โปรเจสเตอโรน (Progesterone)
  • ความเครียดและวิตกกังวลกับภาระที่เพิ่มขึ้น เช่น การเลี้ยงดูบุตร ค่าใช้จ่าย การเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิต จนส่งผลต่อสภาวะทางอารมณ์และร่างกาย

ลักษณะอาการภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

อาการภาวะซึมเศร้าหลังคลอดจะแสดงภายใน 1 ปีแรกหลังคลอด เนื่องจากเป็นช่วงที่ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงกลับสู่ปกติ และความเครียดระหว่างการปรับวิถีชีวิตให้เข้ากับการเลี้ยงลูกที่ไม่แน่นอน 

ปกติแล้วอาการมักจะหายไปเองภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่หากมากกว่านั้น ควรไปปรึกษาจิตแพทย์ทันที โดยมีลักษณะอาการ ดังนี้

  • อาการอ่อนเพลีย
  • วิตกกังวล
  • อารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ เปลี่ยนแปลงง่าย
  • หงุดหงิดง่าย
  • ร้องไห้ง่าย
  • รู้สึกเศร้า หรือเซื่องซึม

วิธีรับมือเมื่อเกิดอาการภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

  • เมื่อรู้สึกว่า ตนเองมีอาการภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ควรระบายปัญหากับคนใกล้ชิด
  • ขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง เพื่อลดภาระในการเลี้ยงลูก
  • หากิจกรรม หรือออกกำลังกาย เพื่อบำบัดอาการเศร้า
  • หากความรู้สึกเศร้ายาวนานมากกว่า 1 สัปดาห์ขึ้นไป ควรปรึกษาจิตแพทย์

หากรู้สึกเครียด เศร้าซึม หดหู่ แนะนำให้โทรศัพท์ปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต โทร.1323 หรือปรึกษาผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งให้บริการโดยกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

นอกจากนี้ยังมีผู้ให้บริการเอกชนที่เปิดให้บริการปรึกษาแพทย์แบบออนไลน์ (วีดีโอคอล) หรือจะเลือกโทรศัพท์ปรึกษาแพทย์แบบไม่เปิดกล้องก็ได้ เรียกว่า สะดวกสบายมากๆ อยู่ที่บ้าน หรืออยู่ที่ไหนก็สามารถปรึกษาแพทย์ได้ตลอดเวลา

มีลูกแฝด เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอดมากกว่า

การดูแลทารก โดยเฉพาะจำนวนสองคนขึ้นไปเป็นงานยาก ความกดดันจากการที่ต้องดูแลทารกมากกว่าหนึ่งคน สามารถทำให้คุณพ่อและคุณแม่มือใหม่ มีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอดได้มากกว่า 

ดังนั้นจึงต้องสังเกตอาการของตนเองมากเป็นพิเศษ เพื่อเตรียมรับมือได้ทันท่วงที

สาเหตุพื้นฐานที่ทำให้ผู้ปกครองที่มีลูกหลายคนเป็นโรคซึมเศร้า

  • การดูแลทารกหลายคนเป็นงานยาก เพราะคุณจำเป็นต้องแบ่งเวลา และความสนใจให้พวกเขาอย่างสม่ำเสมอ
  • การต้องดูแลเด็กทารกที่ตื่นบ่อยๆ ทำให้คุณพ่อคุณแม่นอนไม่พอ ยิ่งมีลูกแฝดก็ยิ่งต้องดูแลเด็กๆ พร้อมกันเพิ่มขึ้นอีก
  • ฝาแฝดมีแนวโน้มที่จะต้องอยู่ในแผนกบำบัดพิเศษทารกแรกเกิด ส่งผลให้คุณพ่อคุณแม่เกิดอาการเครียดได้
  • การตั้งครรภ์แฝดมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น และการคลอดก็จะเป็นไปได้ยากกว่าคุณแม่ทั่วไป
  • ความรู้สึกอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น
    • อิจฉาคุณแม่ที่ไม่ได้มีลูกแฝด
    • รู้สึกโดดเดี่ยวเพราะเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ที่จะออกไปนอกบ้าน
    • รู้สึกว่าไม่มีคนคอยช่วยเหลือ  

สัญญาณของโรคซึมเศร้าหลังคลอด

การตระหนักถึงสัญญาณของโรคซึมเศร้าหลังคลอดเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะยิ่งคุณได้รับการวินิจฉัยโรคเร็วมากเท่าใด การรักษาก็จะเป็นไปได้ง่ายมากขึ้นเท่านั้น สัญญาณของโรคซึมเศร้าหลังคลอดมีดังต่อไปนี้

  • ร้องไห้มาก
  • นอนหลับยาก
  • คิดว่า ตนเองเป็นพ่อแม่ที่ไม่ดี
  • ไม่สามารถรับมือกับเรื่องต่างๆ ได้ และคิดโทษตัวเอง
  • วิตกกังวล ตื่นตระหนก และรู้สึกผิด
  • รู้สึกว่า งานที่เคยทำได้ง่าย กลายเป็นเรื่องหนักหนา
  • เครียดและหงุดหงิด
  • ไม่มีสมาธิ และตัดสินใจเรื่องต่างๆ ลำบาก

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดไม่ใช่เรื่องน่ากลัว เพียงแค่คุณพ่อ คุณแม่ และคนรอบตัว ช่วยกันสังเกตอาการ หากพบความผิดปกติ ไม่ละเลยกับโรคที่เกิดขึ้น รีบไปพบแพทย์ หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก็จะสามารถผ่านภาวะนี้ไปได้โดยง่าย

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
WebMD, Postpartum Depression: Symptoms, Risk Factors, What to Do (https://www.webmd.com/depression/postpartum-depression/what-to-know), 27 March 2020.
Stewart DE, Vigod SN (January 2019). "Postpartum Depression: Pathophysiology, Treatment, and Emerging Therapeutics". Annual Review of Medicine. 70 (1): 183–196. doi:10.1146/annurev-med-041217-011106. PMID 30691372.
Pearlstein T, Howard M, Salisbury A, Zlotnick C (April 2009). "Postpartum depression". American Journal of Obstetrics and Gynecology. 200 (4): 357–64. doi:10.1016/j.ajog.2008.11.033. PMC 3918890. PMID 19318144.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โรคซึมเศร้า (Depression)
โรคซึมเศร้า (Depression)

โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวช สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โรคนี้มักมาจากมรสุมชีวิตและการสูญเสีย มีอาการคล้ายที่เห็นใกล้เคียงกับอาการเศร้าหรือเสียใจทั่วไป

อ่านเพิ่ม