กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

ซึมเศร้าตอนกลางคืน…รับมืออย่างไรดี?

วิธีรับมือภาวะซึมเศร้าตอนกลางคืน ทำอย่างไรให้นอนหลับได้ปกติ
เผยแพร่ครั้งแรก 26 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 26 ต.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ซึมเศร้าตอนกลางคืน…รับมืออย่างไรดี?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคซึมเศร้า (Depression) เป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการทางจิตและทางกาย ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน คนเป็นโรคซึมเศร้านั้นจะมีอาการแตกต่างกันไป และมีระดับความรุนแรงของอาการซึมเศร้าแตกต่างกัน
  • บางคนอาจมีอาการซึมเศร้ามากขึ้นในตอนกลางคืน อาจคิดมากหลายเรื่อง กระสับกระส่าย กังวลใจ ทำให้นอนไม่หลับ หรือนอนหลับได้ยากขึ้น หรือบางรายอาจนอนไม่หลับก็มี
  • งานวิจัยหนึ่งพบว่า แสงสว่างโดยเฉพาะแสงสีน้ำเงินและแสงสีขาวในช่วงกลางคืน ไม่เพียงแต่ทำให้รู้สึกตื่นเท่านั้น แต่ยังทำให้อาการซึมเศร้ารุนแรงขึ้นอีกด้วย ยังเชื่อกันอีกว่า หากนาฬิกาชีวิตถูกรบกวน จะกระตุ้นให้เกิดภาวะซึมเศร้ารุนแรงมากขึ้น
  • ผู้ป่วยควรรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง แม้ว่าตอนนั้นจะรู้สึกสบายดีอยู่ก็ตามควรผ่อนคลายอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน ช่วยให้ร่างกายทำงานช้าลงและพร้อมสำหรับการนอน รวมทั้งทำให้ไฟในห้องสลัวมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต

โรคซึมเศร้า (Depression) เป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการทางจิตและทางกาย ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน คนเป็นโรคซึมเศร้านั้นจะมีอาการแตกต่างกันไป และมีระดับความรุนแรงของอาการซึมเศร้าแตกต่างกัน

บางคนอาจมีอาการซึมเศร้ามากขึ้นในตอนกลางคืน ทำให้นอนไม่หลับ หรือนอนหลับได้ยากขึ้น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ลักษณะอาการซึมเศร้าตอนกลางคืน

อาการซึมเศร้าตอนกลางคืนของแต่ละคนจะแตกต่างกัน บางคนอาจมีอาการซึมเศร้ารุนแรงมากขึ้น ในขณะที่บางคนอาจรู้สึกโดดเดี่ยวมากขึ้น สิ้นหวัง และรู้สึกว่างเปล่า 

นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจคิดมากหลายเรื่อง และกระสับกระส่าย กังวลใจ ซึ่งทำให้นอนหลับได้ยากขึ้น หรือบางรายอาจนอนไม่หลับก็มี

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าตอนกลางคืน

มีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าตอนกลางคืน หนึ่งในสาเหตุทั่วไปคือ การขาดสิ่งที่มาดึงความสนใจ เนื่องจากในระหว่างวันผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าระดับเบาไปจนถึงปานกลางจะสามารถทำตัวเองให้ยุ่งได้ง่ายกว่า โดยเฉพาะการทำงาน การเรียน หรือการทำกิจกรรมต่างๆ 

แต่เมื่อถึงช่วงเวลากลางคืนก่อนเข้านอน จะเหลือเพียงแค่ตัวคุณ และความคิดของคุณเท่านั้น ดังนั้นจึงมีโอกาสซึมเศร้าช่วงกลางคืนได้ง่าย

นอกจากนี้นักวิจัยได้ลองหาสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้อาการซึมเศร้าช่วงกลางคืนเพิ่มขึ้น มีงานวิจัยที่ทำกับสัตว์ของศูนย์การแพทย์ Wexner มหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา ค.ศ.2013 พบว่า 

แสงสว่างโดยเฉพาะแสงสีน้ำเงินและแสงสีขาวในช่วงกลางคืน ไม่เพียงแต่ทำให้รู้สึกตื่นเท่านั้น แต่ยังทำให้อาการซึมเศร้ารุนแรงขึ้นอีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในงานวิจัยชิ้นนี้ แม้แต่การเปิดโทรทัศน์ในห้องมืดก็สามารถทำให้ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลในสัตว์เพิ่มขึ้นได้ และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสมองส่วนฮิปโปแคมปัส ซึ่งล้วนแต่ทำให้อาการซึมเศร้าแย่ลง 

ยังเชื่อกันอีกว่า หากนาฬิกาชีวิต หรือ Circadian rhythm ถูกรบกวน จะกระตุ้นให้เกิดภาวะซึมเศร้ารุนแรงมากขึ้น 

โดยมีงานวิจัยเมื่อ ค.ศ.2009 พบว่า การเพิ่มแสงสังเคราะห์สามารถรบกวนนาฬิกาชีวิต ทำให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับอารมณ์อย่างโรคซึมเศร้า หรือทำให้อาการแย่ลงได้

พบว่า ความสามารถในการแก้ปัญหาเป็นปัจจัยที่สำคัญในการลดการเกิดภาวะซึมเศร้า นอกจากนี้การใช้ยาบางอย่าง การดื่มเครื่องดื่แอลกอฮอล์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตล้วนแล้วแต่มีผลต่อโรคซึมเศร้าได้

วิธีรับมือภาวะซึมเศร้ากลางคืน

มีหลายวิธีที่ช่วยให้คุณรับมือกับโรคซึมเศร้าที่เกิดขึ้น หรือมีอาการรุนแรงขึ้นในช่วงกลางคืน แต่ก็อาจมีบางอาการของโรคที่เกิดขึ้นได้ทุกช่วงเวลาของวัน ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจึงควรรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง แม้ว่าตอนนั้นจะรู้สึกสบายดีอยู่ก็ตาม 

หากเพิ่งมีอาการ หรือยังไม่ได้เข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย และหาวิธีรักษาที่เหมาะกับแต่ละบุคคล 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หรือหากไม่แน่ใจว่า อาการของตนเอง หรือคนใกล้ชิด เข้าข่ายโรคซึมเศร้าหรือไม่ นอกจากโทรศัพท์ปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต โทร.1323 หรือปรึกษาผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งให้บริการโดยกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข แล้ว

ยังมีผู้ให้บริการเอกชนที่เปิดให้บริการปรึกษาแพทย์แบบออนไลน์ (วีดีโอคอล) หรือจะเลือกโทรศัพท์ปรึกษาแพทย์แบบไม่เปิดกล้องก็ได้ เรียกว่า สะดวกสบายมากๆ อยู่ที่บ้าน หรืออยู่ที่ไหนก็สามารถปรึกษาแพทย์ได้ตลอดเวลา 

สำหรับวิธีอื่นๆ ที่ช่วยให้รับมือกับอาการซึมเศร้าช่วงกลางคืน มีดังนี้

  • ผ่อนคลายอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน ช่วยให้ร่างกายทำงานช้าลงและพร้อมสำหรับการนอน ซึ่งการนอนหลับได้เพียงพอถือเป็นเรื่องสำคัญต่อสุขภาพโดยรวม
  • นำงาน หรือสิ่งใดก็ตามที่ทำให้คุณเครียดไว้นอกห้องนอน ช่วยให้ห้องดูสงบ และมีสภาพที่น่านอนมากยิ่งขึ้น หากไม่นำทีวีหรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่มีหน้าจอมาไว้ในห้องนอนก็จะยิ่งดี
  • หากิจกรรมที่ช่วยคลายเครียด รู้สึกสงบ เช่น การวาดรูป ฝึกโยคะ หรือทำสมาธิ
  • หลีกเลี่ยงการมองหน้าจอที่สว่างอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน และทำให้ไฟในห้องสลัวมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
  • จำกัดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน เพราะจะยิ่งทำให้อาการแย่ลง ทั้งนี้การรับประทานอาหารที่มีคาเฟอีนในช่วงสายของวัน สามารถรบกวนการนอนได้

อย่างไรก็ตาม แนะนำให้พบจิตแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยจะดีที่สุด ยิ่งรักษาได้ถูกต้องและรวดเร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสควบคุมอาการซึมเศร้าได้ดีขึ้นเท่านั้นรวมทั้งมีโอกาสหายเป็นปกติได้

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, Fifth Edition (DSM-5). American Psychiatric Association. 201.
De Zwart PL, Jeronimus BF, de Jonge P, et al. (October 2019). "Empirical evidence for definitions of episode, remission, recovery, relapse and recurrence in depression: a systematic review". Epidemiology and Psychiatric Sciences. 28 (5): 544–562. doi:10.1017/S2045796018000227. PMID 29769159.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โรคซึมเศร้า (Depression)
โรคซึมเศร้า (Depression)

โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวช สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โรคนี้มักมาจากมรสุมชีวิตและการสูญเสีย มีอาการคล้ายที่เห็นใกล้เคียงกับอาการเศร้าหรือเสียใจทั่วไป

อ่านเพิ่ม