โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อยที่สุด โดยข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าในปี 2561 มีตัวเลขผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 1.5 ล้านคน และทุกๆ 2 ชั่วโมง จะมีคนฆ่าตัวตายสำเร็จเฉลี่ย 1 คน
การรักษาโรคซึมเศร้านั้นมักใช้วิธีผสมผสานระหว่างการทำจิตบำบัดและการรับประทานยา หากคุณหรือคนรอบข้างกำลังทรมานกับโรคซึมเศร้า นอกจากการเข้ารับการรักษาจากแพทย์แล้ว การเรียนรู้เกี่ยวกับผลข้างเคียงจากการรับประทานยารักษาโรคซึมเศร้าก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะยารักษาโรคซึมเศร้าบางตัวก็อาจไม่เหมาะกับผู้ป่วยบางราย และทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี โดยคุณอาจต้องลองเปลี่ยนไปใช้ยาตัวอื่นจนกว่าจะพบยาที่เหมาะกับตัวเองที่สุด
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ผลข้างเคียงจากยารักษาต้านเศร้ามีอะไรบ้าง?
ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ที่สามารถเกิดขึ้นในขณะที่คุณรับประทานยารักษาโรคซึมเศร้า มีดังนี้
1. คลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย และท้องไส้ปั่นป่วน
ผู้ป่วยกว่า 40% ที่รับประทานยารักษาโรคซึมเศร้าชนิด SSRIs พบว่าตัวเองได้รับผลข้างเคียงหลังจากการรับประทานยา โดยมีอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย อาเจียน และกระวนกระวาย นอกจากนี้ การรับประทานยาชนิด SSRIs และ SNRIs ยังทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร เช่น อาการปวดท้อง แน่นท้อง ท้องเสีย หรือท้องผูก รวมถึงอาจรู้สึกเบื่ออาหาร ในขณะที่การรับประทานยากลุ่ม TCAs ก็อาจทำให้มีอาการท้องผูก แต่โชคดีที่ผลกระทบเหล่านี้อยู่ในระดับเบา เกิดขึ้นชั่วคราว และมีแนวโน้มที่ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นหลังจากนั้นภายในไม่กี่วัน
ข้อเด่นของยากลุ่ม SSRI คือไม่มีฤทธิ์ anticholinergic ฤทธิ์ง่วงซึมต่ำ สามารถใช้กับผู้ป่วยโรคทางร่างกาย เช่น โรคหัวใจ และผู้สูงอายุได้อย่างปลอดภัย พบการเสียชีวิตจากการกินยาเกินขนาดน้อยมาก
2. น้ำหนักเพิ่ม
ยาต้านซึมเศร้าที่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะน้ำหนักเกินและมีแนวโน้มทำให้เกิดความอยากอาหารมากขึ้น ได้แก่ monoamine oxidase inhibitors (MAOIs) และ TCAs ซึ่งทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ 0.59-1.32 กิโลกรัมต่อเดือน ในขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่ม SSRIs สามารถทำให้เกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน แต่เมื่อใช้ไปในระยะยาวจะทำให้น้ำหนักกลับเป็นปกติ แพทย์อาจแนะนำให้คุณปรับเปลี่ยนอาหารและออกกำลังกายเพื่อจัดการกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น และอาจเปลี่ยนให้ใช้ยาชนิดใหม่ แต่ต้องชั่งน้ำหนักระหว่างข้อดี ข้อเสีย และการตอบสนองโดยรวมต่อยาของผู้ป่วยด้วย
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
3. ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบได้ในคนที่รับประทานยารักษาโรคซึมเศร้า และมักส่งผลต่อการฟื้นตัวและคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะยา SSRIs ที่จะไปช่วยเพิ่มระดับสารเซโรโทนินในร่างกาย และชะลอการตอบสนองของสมองต่อการกระตุ้นทางเพศ ส่งผลให้ความต้องการทางเพศลดลง องคชาตไม่แข็งตัว หรือคงความแข็งตัวได้ยาก ในผู้หญิงอาจมีภาวะช่องคลอดแห้ง และทำให้ถึงจุดสุดยอดทางเพศได้ช้าลงทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ในกรณีที่มีปัญหานี้ แพทย์อาจพิจารณาปรับเปลี่ยนปริมาณยา หรือเปลี่ยนยาชนิดใหม่ให้ผู้ป่วย
4. ปากแห้งและมองเห็นภาพไม่ชัด
อาการปากแห้ง คอแห้ง วิงเวียนศีรษะ หน้ามืดเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถจากความดันลดต่ำลงและมองเห็นภาพไม่ชัดมักมีความสัมพันธ์กับการรับประทานยา TCAs ซึ่งยาตัวนี้จะไปขัดขวางตัวรับบางตัวของสารสื่อประสาทในสมอง ทำให้การผลิตน้ำตาลลดลง และนำไปสู่การมองเห็นภาพไม่ชัด(พบได้น้อยมาก) นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดภาวะขาดน้ำและอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่สำคัญได้ เช่น ง่วงซึม ปากแห้ง และท้องผูกนั้นสัมพันธ์กับขนาดยา ทำให้ส่วนใหญ่แพทย์ให้ยาได้แค่ขนาด 25-50 มก./วัน ขณะที่ขนาดซึ่งถือว่าได้ผลในการรักษาอย่างน้อยต้องตั้งแต่ 75-100 มก./วันขึ้นไป
5. รบกวนการนอน
ยา fluoxetine มีการจับตัวกับ 5HT2C receptor สูง จึงมีฤทธิ์ทำให้เบื่ออาหารในช่วงแรก และมีฤทธิ์กระตุ้นสูงกว่า SSRI ชนิดอื่น ผู้ป่วยบางรายจึงอาจมีอาการวิตกกังวล กระวนกระวาย นอนไม่หลับ ในช่วงแรกได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ยารักษาโรคซึมเศร้าส่วนใหญ่ออกฤทธิ์โดยการควบคุมสารสื่อประสาทหลายชนิด ซึ่งรวมถึงโดปามีนและเซโรโทนิน ที่มีบทบาทสำคัญต่อวงจรการหลับตื่น ยาเหล่านี้จะไประงับหรือรบกวนการนอนหลับแบบ REM ทำให้ผู้ป่วยบางคนอาจนอนไม่หลับ เฉื่อยชา ง่วงนอนในระหว่างวัน ละเมอ และฝันร้าย เป็นอาการที่จะค่อยๆ ดีขึ้นเองหลังจากให้ยาเป็นระยะเวลาหนึ่ง การเริ่มยาที่ขนาดต่ำจะช่วยลดอาการวิตกกังวลที่อาจเกิดขึ้น
หากผลข้างเคียงของยารักษาโรคซึมเศร้าที่เกี่ยวข้องกับการนอนมีความรุนแรง และไม่ดีขึ้นหลังจาก 2-3 สัปดาห์ แพทย์อาจจ่ายยาชนิดอื่นให้คุณ
6. มีความคิดฆ่าตัวตาย
การคิดฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตัวเองถือเป็นอีกหนึ่งผลข้างเคียงที่พบได้ในผู้ป่วยบางรายที่รับประทานยารักษาโรคซึมเศร้า จากข้อมูลความปลอดภัยของยาระบุว่าในกลุ่มวัยรุ่นที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปี ยาแก้ซึมเศร้ากลุ่ม SSRI อาจกระตุ้นให้ผู้ป่วยซึมเศร้ามีความคิดฆ่าตัวตายได้ในช่วงแรกของการรักษา ประเด็นนี้ยังเป็นที่โต้แย้งกันอยู่เนื่องจากมีหลายการศึกษาไม่พบว่าเป็นเช่นนั้น และความเสี่ยงเช่นนี้อาจไม่จำเพาะกับยากลุ่ม SSRI เท่านั้น อย่างไรก็ตามพบว่า fluoxetine มีความปลอดภัยในแง่นี้มากกว่า SSRI ขนานอื่น
องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริการับรองข้อบ่งใช้ในการรักษาเด็กและวัยรุ่นที่เป็นโรคซึมเศร้าและย้ำคิดย้ำทำ เนื่องจากมีผลการศึกษาสนับสนุนที่มีน้ำหนักสูง จึงทำให้การติดตามอาการและการปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับอาการในช่วงรับประทานยารักษาโรคซึมเศร้าเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง รวมทั้งควรให้ครอบครัวและเพื่อนคอยช่วยสังเกตอาการและการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของผู้ป่วย
7. กลุ่มอาการเซโรโทนิน (Serotonin Syndrome)
อาการข้างเคียงชนิดนี้พบได้ไม่บ่อย โดยเป็นผลข้างเคียงจากการรับประทานยากลุ่ม SSRIs และยากลุ่ม SNRIs ที่ร้ายแรง และมักเกิดขึ้นเมื่อรับประทานยาเหล่านี้ร่วมกับยาชนิดอื่นๆ ที่ทำให้ระดับของเซโรโทนินเพิ่มขึ้น ดังนั้น คุณควรแจ้งแพทย์เกี่ยวกับยารักษาโรคชนิดอื่นๆ รวมถึงวิตามิน อาหารเสริม และสมุนไพรชนิดใดก็ตามที่กำลังรับประทาน ก่อนเริ่มใช้ยารักษาโรคซึมเศร้า รวมถึงยาที่ต้องใช้ระหว่างกำลังรับประทานยารักษาโรคซึมเศร้า ผู้ป่วยที่เป็นเซโรโทนินซินโดรมจะมีอาการ เช่น ปวดท้อง ท้องเสีย อุณหภูมิร่างกายขึ้นสูง อ่อนเพลีย สับสน ตัวสั่น ประสาทหลอน เหงื่อออกมาก กล้ามเนื้อกระตุก เป็นไข้ ความดันโลหิตผันผวน Rhapdomyolysis ไตวาย Cardiovascular Shock และอาจทำให้เสียชีวิตได้ เป็นต้น หากคุณมีอาการเหล่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
8. ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ
ผลข้างเคียงนี้มักพบได้ในผู้ป่วยสูงอายุ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่รับประทานยา SSRIs ซึ่งยาตัวนี้อาจไปขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนที่ควบคุมระดับของเหลวและโซเดียมในร่างกาย ผู้ป่วยสูงอายุจะได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากกลไกนี้ เนื่องจากความสามารถในการควบคุมระดับของเหลวภายในร่างกายลดลงตามอายุ ส่งผลให้ระดับของโซเดียมในร่างกายลดลงอย่างรุนแรง ซึ่งสามารถทำให้เกิดการสะสมของของเหลวภายในเซลล์ ผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน สับสน อ่อนเพลีย และในกรณีที่ร้ายแรงสามารถทำให้หมดสติหรือชักได้
แพทย์จะเลือกใช้ยารักษาโรคซึมเศร้าโดยพิจารณาจากอาการ สุขภาพโดยรวม โรคประจำตัว ยารักษาโรคที่คุณกำลังใช้อยู่ รวมถึงประวัติการรักษาด้วยยาต้านเศร้าชนิดอื่นๆ โดยอาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือนานกว่านั้นจึงจะระบุได้ว่ายาชนิดนั้นให้ผลดีหรือไม่ และเป็นช่วงเดียวกันกับที่ผลข้างเคียงจากการใช้ยาค่อยๆ บรรเทาลง
อย่างไรก็ตาม คุณอาจต้องทดลองใช้ยาต้านเศร้าหลายๆ ตัว จนกว่าจะพบยาที่เหมาะสมกับตนเองที่สุด ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นต้องอาศัยความร่วมมือของคุณในการรับประทานยาตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด และแจ้งรายละเอียดอาการให้แพทย์ทราบอย่างสม่ำเสมอ