ทำความเข้าใจช่วงการหลับ non-REM และ REM

การศึกษาการนอนหลับระบุลักษณะที่แตกต่างกันนี้จากคลื่นสมองที่ตรวจได้
เผยแพร่ครั้งแรก 12 มิ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ทำความเข้าใจช่วงการหลับ non-REM และ REM

การทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับระยะของการนอนหลับเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้เข้าใจการกลไกการทำงานของการนอนหลับตามปกติและความหลากหลายของโรคเกี่ยวกับการนอน ตัวอย่างเช่น อะไรเป็นความแตกต่างระหว่างการหลับแบบ non REM และ REM?

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจการนอน Sleep Test วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,455 บาท ลดสูงสุด 50%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ระยะการนอนหลับใดที่ถือว่าลึกที่สุด?

ร่างกายจะมีการฟื้นฟู หรือมีการประมวลความจำเมื่อไหร่? ความฝันที่ชัดเจนจะปรากฏขึ้นเมื่อไหร่? มาค้นหาคำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้กัน ระยะของการหลับที่แตกต่างกัน มีลักษณะเฉพาะของตัวเอง และสามารถระบุระยะที่ว่าได้จากการตรวจ EEG EEG ซึ่งทำให้ระหว่างการตรวจการนอนหลับ (polysomnogram) เป็นการตรวจวัดรูปแบบของคลื่นสมองอย่างต่อเนื่อง หรือการทำงานทางไฟฟ้าของสมอง การตรวจนี้ทำโดยการติดขั้วไฟฟ้าไว้ที่หนังศีรษะพร้อมกับครีมตัวนำที่ช่วยให้ตรวจจับรูปแบบของกระแสไฟฟ้าได้ สิ่งที่บันทึกได้จะถูกแบ่งเป็นสองระยะในเบื้องต้น คือ ช่วงการหลับที่ไม่มีการกลอกตาอย่างรวดเร็ว (NREM) และช่วงที่มีการกลอกตาอย่างรวดเร็ว (REM) การตรวจคลื่นไฟฟ้าของตา(electrooculogram-EOG) วัดการทำงานทางไฟฟ้าที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของตาระหว่างการหลับ การตรวจนี้สามารถตรวจติดตามการเคลื่อนไหวของตาได้ทั้งในระยะ REM และ non REM

อะไรคือการหลับแบบ NREM?

การนอนหลับแบบ Non rapid eye movement (NREM) หรือ Non-REM ประกอบไปด้วยสามระยะ (N1, N2, N3) และแต่ละระยะมีรูปแบบคลื่นสมองจำเพาะ NREM เป็นการหลับส่วนใหญ่ในวงจรการหลับ ความจำเพาะของ NREM คือมีเลือดที่ไปเลี้ยงสมองและกล้ามเนื้อลดลง นอกจากนี้ ชีพจรก็ช้าลง ความดันเลือดก็ลดลง และปริมาณของอากาศที่เข้าออกจากปอดก็น้อยลงด้วย ระยะที่หนึ่ง (N1) เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวลูกตาและการผ่อนคลายของกล้ามเนื้อที่สั่งการได้เพียงบางส่วน นี่เป็นระยะการหลับที่ตื้นมาก และมักจะถูกแปลความอย่างผิดๆโดยผู้ที่กำลังหลับอยู่ว่าเป็นการตื่น

ระยะที่สอง (N2) แสดงให้เห็นลักษณะจำเพาะของ EEG ทั้ง K complex และ sleep spindles โดย K complex คือคลื่นที่มีความสูงมาก (high amplitude) ซึ่งหมายความว่าทั้งสูงและกว้าง Sleep spindles เป็นกลุ่มคลื่นที่มีความถี่สูงที่อยู่ติดๆ กัน ซึ่งหมายความว่าจะไม่สูงเท่า K complex และเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะเวลาสั้นๆ สิ่งเหล่านี้จะถูกตรวจพบจากการตรวจการนอนหลับโดยผู้ที่ผ่านการฝึกฝนมาแล้ว และใช้ระบุระยะของการนอนหลับ ซึ่งในระยะที่สองนี้กินเวลากว่า 50% ของช่วงการนอนหลับโดยเฉลี่ยของเรา

ระยะที่สาม (N3) แสดงให้เห็นถึงคลื่นการทำงานที่มีลักษณะ high amplitude คือ EEG จะประกอบไปด้วยคลื่นที่มีทั้งความสูงและความกว้าง นี่เป็นระยะที่ลึกที่สุดของการนอนหลับแบบ NREM ระยะนี้เป็นระยะที่มีการหลั่ง growth hormone โดยเฉพาะในเด็ก และยังมีความสำคัญในการฟื้นฟูเนื้อเยื่อของร่างกาย ในระยะนี้จะปลุกให้ตื่นได้ยากมาก และมักจะเกิดขึ้นในระยะหนึ่งในสามแรกของการนอน

อะไรคือการนอนหลับแบบ REM?

REM เกิดขึ้นหลายครั้งระหว่างการนอนหลับ แต่เป็นเพียงช่วงที่สั้นที่สุดในวงจรการหลับ มันเป็นที่รู้จักจากการมีการเคลื่อนไหวของตาอย่างรวดเร็วในทิศทางต่างๆ (Rapid eye movement-REM) ซึ่งเกิดขึ้นในขณะกำลังหลับ ระยะนี้เป็นระยะการนอนหลับที่มีการทำงานอย่างหนักของสมอง EEG ตรวจพบว่าลักษณะของคลื่นที่มีรูปแบบชัดเจนในระยะแรกจะยุ่งเหยิงในช่วง REM และดูเหมือนกับช่วงที่ตื่นอยู่ นี่เป็นระยะการหลับที่มีความฝันเกิดขึ้น เหมือนกับหนังที่กำลังฉายอยู่ในใจของคุณ ดูเหมือนระยะนี้จะมีความสำคัญต่อการประมวลความจำและการเรียนรู้อีกด้วย

นอกจากกล้ามเนื้อตาและกล้ามเนื้อกระบังลมแล้ว กล้ามเนื้ออื่นๆ จะไม่ทำงานเลยระหว่างช่วง REM ซึ่งการสูญเสียโทนกล้ามเนื้อในระหว่างช่วงการหลับ REM อาจเป็นการสงวนพลังงานและป้องกันไม่ให้คุณทำอะไรในขณะหลับ ซึ่งอาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการหยุดหายใจขณะหลับ (sleep apnea) มากขึ้นในบางคนได้ นอกจากนี้ REM ยังทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของความดันเลือด ชีพจร และอัตราการหายใจด้วย เลือดจะไปเลี้ยงสมองเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับองคชาติและคลิตอริส ทำให้เกิดการคั่งของเลือด ซึ่งนี่เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ชายมีองคชาติแข็งตัวในตอนเช้า

การแบ่งระยะการนอนหลับโดยใช้ hypnogram

โครงสร้างการนอนหลับ แสดงให้เห็นถึงโครงสร้างในการนอนหลับของคุณซึ่งประกอบไปด้วยรูปแบบซ้ำๆ ของการหลับชนิด NREM และ REM โดยทั่วไปแล้ว จะมีวงจรของ NREM สี่ถึงหกครั้งต่อคืน ซึ่งจะมีระยะ REM สั้นๆ ตามมา แต่ละวงจรกินเวลาประมาณ 90 นาที และเมื่อเวลาผ่านไป ช่วงเวลา NREM ก็จะสั้นลง และช่วง REM ก็จะยาวขึ้น โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 20-25% ของการนอนหลับไปในช่วง REM ซึ่งอาจลดลงเมื่อเรามีอายุมากขึ้น ช่วงการนอนหลับ REM แทบทั้งหมดจะเกิดขึ้นในช่วงหนึ่งในสามท้ายของการนอนหลับ หรือในช่วงใกล้จะเช้า


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Definition of NREM sleep. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/script/main/art.asp?articlekey=8684)
The 4 Stages of Sleep (NREM and REM Sleep Cycles). Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/the-four-stages-of-sleep-2795920)
Sleep Basics: REM, Sleep Stages, & More. Cleveland Clinic. (https://my.clevelandclinic.org/health/articles/12148-sleep-basics)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)