การเป็นโรคซึมเศร้าสามารถทำให้เรารู้สึกเหนื่อย และทำให้กิจกรรมง่ายๆ กลายเป็นเรื่องยาก ซึ่งมีการรายงานว่า คนที่เป็นโรคซึมเศร้ามากกว่า 90% มีอาการเหนื่อยล้า สำหรับบทความในวันนี้ เราจะพาคุณไปดูความเชื่อมโยงระหว่างโรคซึมเศร้าและอาการเหนื่อยล้าพร้อมกับแนะนำวิธีรักษา
สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีอาการอ่อนเพลีย
การเกิดความรู้สึกเหนื่อยล้าเป็นอาการทั่วไปของโรคซึมเศร้า ซึ่งคนที่เป็นโรคซึมเศร้ามีแนวโน้มที่จะอ่อนเพลีย และคนที่มีอาการอ่อนเพลียเรื้อรังก็มีแนวโน้มเป็นโรคซึมเศร้า ทำให้ยากที่จะหยุดวงจรนี้ได้ อย่างไรก็ดี สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารู้สึกเหนื่อยล้ามีดังนี้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
1.ปัญหาเกี่ยวกับการนอน
การนอนเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการฟื้นฟูร่างกายและเติมพลังงาน อย่างไรก็ดี การนอนไม่พอเพียงอย่างเดียวอาจไม่ได้ทำให้เป็นโรคซึมเศร้า แต่มันกลับเพิ่มความเสี่ยงและสามารถทำให้อาการของโรคซึมเศร้าแย่ลง และต่อให้คนที่เป็นโรคซึมเศร้านอนอย่างเพียงพอ แต่พวกเขาอาจไม่ได้ตื่นมาพร้อมกับความรู้สึกสดชื่น เพราะคุณภาพการนอนมักต่ำกว่าคนที่ไม่ได้เป็นโรคซึมเศร้า อย่างไรก็ดี มีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า มีหลายคนที่เป็นโรคซึมเศร้าหรือโรคทางจิตอื่นๆ อย่างโรคไบโพลาห์ โรคนอนไม่หลับ และโรคนอนเกิน นอกจากนี้ภาวะหยุดหายใจขณะหลับก็มีความเชื่อมโยงกับโรคซึมเศร้า ซึ่งมีงานวิจัยเมื่อปี ค.ศ.2015 พบว่า โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่พบได้ทั่วไปในคนที่ตกอยู่ในภาวะหยุดหายใจขณะหลับและทำให้โรคมีความรุนแรงมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น งานวิจัยยังพบด้วยว่า การรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับช่วยให้อาการของโรคซึมเศร้าดีขึ้น
2.อาหาร
นักวิจัยได้พิจารณามานานแล้วว่าอาหารส่งผลต่อสุขภาพจิตหรือไม่ ซึ่งมีงานวิจัยพบว่า อาหารที่มีคุณภาพสูงอย่างอาหารที่มีสารช่วยต้านการอักเสบอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคซึมเศร้า ในขณะที่เนื้อแดง เนื้อแปรรูป ธัญพืชที่ขัดสีแล้ว ของหวาน และอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพชนิดอื่นๆ อาจทำให้คนเสี่ยงต่อการมีอาการของโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้น
3.ความเครียด
เหตุการณ์ในชีวิตที่ทำให้เราเครียดสามารถนำไปสู่การเกิดโรคซึมเศร้า ความเครียดสามารถส่งผลต่อระดับของเซโรโทนินและโดพามีน ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่มีส่วนสำคัญในการควบคุมอารมณ์และพลังงาน สำหรับตัวอย่างของเหตุการณ์ที่ทำให้เราเครียด เช่น การเลิกรากับคนรัก การยุติความสัมพันธ์กับเพื่อนสนิท การตาย ปัญหาทางการเงิน การเปลี่ยนงาน การถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้าย ฯลฯ นอกจากนี้ความเครียดยังทำให้เกิดการอักเสบภายในร่างกาย ซึ่งสามารถนำไปสู่การเป็นโรคนอนเกินและมีอาการอ่อนเพลีย รวมถึงทำให้เราปลีกตัวจากกิจกรรมทางสังคมและทำให้คิดสิ่งต่างๆ ได้ไม่ชัดเจน
4.ยา
ยารักษาโรคซึมเศร้ามีผลต่อสารสื่อประสาทของสมอง โดยช่วยให้เราควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น แม้ว่ายามีประโยชน์ดังกล่าว แต่ยารักษาโรคซึมเศร้าบางชนิดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง และหนึ่งในอาการที่พบได้ก็คือ การมีอาการอ่อนเพลียมากนั่นเอง
ภาวะแทรกซ้อน
การมีอาการเหนื่อยล้าเรื้อรังสามารถทำให้อาการของโรคซึมเศร้าเกิดนานและรุนแรงขึ้น ทั้งนี้มีงานวิจัยเมื่อปี ค.ศ.2015 พบว่า ในจำนวนคนที่เป็นโรคซึมเศร้า 1,982 คน มี 653 คนที่มีอาการเหนื่อยล้า ซึ่งคนที่เหนื่อยล้ามีอาการของโรคซึมเศร้า อาการปวด การมีปัญหาเกี่ยวกับการนอน และโรควิตกกังวลรุนแรงกว่า นอกจากนี้คนที่รู้สึกเหนื่อยล้ายังต้องทานยามากขึ้น และสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจต่ำกว่าคนที่ไม่มีอาการดังกล่าว
วิธีรับมือ
1.ไปพบแพทย์
วิธีรักษาโรคซึมเศร้าและอาการอ่อนเพลียที่ดีที่สุดคือ การไปพบแพทย์ แม้ว่ามีวิธีรับมืออื่นๆ ที่สามารถช่วยได้เช่นกัน แต่การวินิจฉัยและรักษาโดยแพทย์อย่างเหมาะสมก็เป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้ ทั้งนี้แพทย์สามารถช่วยตัดสินได้ว่าอาการอ่อนเพลียที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากปัญหาสุขภาพอื่นๆ หรือเป็นผลข้างเคียงจากการทานยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้า หากยาคือตัวการ การเปลี่ยนชนิดของยาก็อาจช่วยให้อาการดีขึ้น
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
2.ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายสามารถช่วยลดอาการอ่อนเพลียโดยช่วยให้เรานอนหลับดีขึ้น ซึ่งมี Meta-Analysis พบว่า การออกกำลังกายแบบหนักปานกลางมากกว่า 20 นาที สามารถเพิ่มพลังงานและลดความอ่อนเพลีย
3.ช่วยให้คุณภาพการนอนดีขึ้น
การนอนที่มีคุณภาพดีสามารถช่วยลดอาการอ่อนเพลียได้ ซึ่งการฝึกสุขลักษณะการนอนที่ดีสามารถช่วยให้ผู้ป่วยจัดการกับอาการอ่อนเพลียที่เกิดตอนเป็นโรคซึมเศร้า อย่างไรก็ตาม คำว่าสุขลักษณะการนอนที่ดีหมายถึงการมีนิสัยบางอย่างที่ช่วยให้เรามีคุณภาพการนอนดีขึ้น ตัวอย่างเช่น หลีกเลี่ยงการดื่มคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ใกล้เวลาเข้านอน จำกัดการนอนงีบช่วงกลางวัน ไม่ทานอาหารแบบจัดเต็มใกล้เวลาเข้านอนและตื่นให้ได้เวลาเดิมทุกวัน นำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ออกไปไว้นอกห้อง ออกกำลังกายเป็นประจำ ฯลฯ
4.ทานอาหารให้สมดุล
เมื่อเรามีแรงกระตุ้นต่ำและเบื่ออาหาร มันก็เป็นเรื่องยากที่เราจะทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตาม การทานอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูงสามารถทำให้อาการแย่ลงโดยทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงและรบกวนการนอน ทั้งนี้การทานอาหารที่ช่วยให้เรามีอารมณ์ดีและช่วยเพิ่มพลังงานสามารถช่วยลดอาการอ่อนเพลีย ตัวอย่างของอาหาร เช่น ผักใบเขียว ปลาที่มีไขมันสูง ชาเขียว บลูเบอร์รี โยเกิร์ต โปรไบโอติก ช็อกโกแลต ฯลฯ อย่างไรก็ตาม คนที่มีอาการอ่อนเพลียเรื้อรังที่เกิดจากโรคซึมเศร้าควรรีบไปพบแพทย์ เพราะหากไม่รีบรักษาตัว มันก็อาจทำให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนตามมาอย่างการปลีกตัวออกจากสังคมและการทำงาน