การใช้ Social Media ส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้าได้มากขึ้นจริงหรือ

เผยแพร่ครั้งแรก 30 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การใช้ Social Media ส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้าได้มากขึ้นจริงหรือ

ในปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่าการใช้ Social Media ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นการถ่ายรูปเมื่อมีการรวมตัวในกลุ่มเพื่อน เป็นวันสำคัญของคนสำคัญ หรือในพิธีการต่างๆ เป็นเรื่องปกติที่เรามักจะอัพลง Social Media ทำให้ปัจจุบันเป็นเรื่องยากที่เราจะพบใครที่ไม่มี Facebook หรือ Instagram

Social Media ได้กลายมาเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตไม่เพียงแต่เป็นสื่อกลางในการติดต่อกับครอบครัวหรือกลุ่มเพื่อนเท่านั้น แต่ยังทำให้เราสามารถเชื่อมต่อกับข่าวสารล่าสุดที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้อีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เหตุใด Social Media จึงมีความสำคัญและส่งผลต่อชีวิตคนเรามาก

จากการศึกษาล่าสุดพบว่า ประวัติของคุณในโลกออนไลน์และสิ่งต่างๆที่คุณแชร์ใน Social Media นั้นสามารถแสดงได้ถึงตัวตนที่คุณอยากจะเป็นและความเชื่อที่คุณมี อ้างอิงจากงานวิจัยของ Andrew G Reece และ Christopher M Danforth ที่ได้ทำการศึกษาผู้ใช้ Instagram จำนวน 166 คน โดยใช้เครื่องมือในการวัดอำนาจในการทำนายโรคซึมเศร้าเพื่อตรวจสอบว่าผู้ใช้ Instagram ก่อนการเป็นโรคซึมเศร้าหรือก่อนจะถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้านั้นมีลักษณะการใช้งานอย่างไร พบว่า Instagram สามารถทำนายการเกิดโรคซึมเศร้าได้โดยพบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าจะมีการใช้ filter ในการแต่งรูป Inkwell ทำให้อาจกล่าวได้ว่า Social Media อาจเป็นสิ่งที่สามารถใช้ในการตรวจสอบและค้นหาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางจิตในเบื้องต้นได้

Social Media เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าได้หรือไม่

ปัจจุบันด้วยกระแสการใช้ Social Media ที่มีมากขึ้นทำให้มีการศึกษาความเชื่อมโยงระหว่าง Social Media และโรคซึมเศร้ามากมาย กอปรกับมีการสำรวจพบว่าในการที่ Social Media ได้รับความนิยมมากขึ้นกลับพบว่าอัตราการเกิดโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวลเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ผู้คนจากทุกช่วงอายุในปัจจุบันต่างมีบัญชีของ Social Media ต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Twitter Facebook หรือ Instagram ทำให้มีการศึกษาอย่างจริงจังว่าการใช้ Social Media มีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในการเกิดโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวลหรือไม่ งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่มีอายุอยู่ในช่วงผู้ใหญ่ตอนต้นจำนวน 1,787 คนโดยสอบถามว่ามีการใช้ Social Media ที่เป็นที่นิยมจำนวน 11 ชนิดนี้บ้างหรือไม่ จากการวิเคราะห์พบว่าในกลุ่มตัวอย่างที่มีการใช้ Social Media จำนวนมาก คือตั้งแต่ 7 – 11 ชนิดขึ้นไป มีความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวลมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ Social Media น้อย คือตั้งแต่ 0 - 2 ชนิดอยู่ถึง 3 เท่า

Brian Primack ผู้อำนวยการของ University of Pittsburgh Center for Research on Media Technology and Health ได้คาดการณ์ว่าสาเหตุที่เกิดขึ้นอาจเป็นเพราะในกลุ่มตัวอย่างที่มีการใช้ Social Media มากนี้จะนำไปสู่พฤติกรรมการทำหลายอย่างพร้อมกัน (multitasking) ซึ่งมีการศึกษาแล้วว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีพฤติกรรมการทำหลายอย่างพร้อมกันนี้มีความเชื่อมโยงกับการขาดความสนใจ มีทักษะการคิดและอารมณ์ที่ต่ำ อีกสาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะการใช้ Social Media หลายชนิดพร้อมกันอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรควิตกกังวลจากการที่ผู้ใช้ต้องพยายามในการปรับตัวให้เข้ากับกฎและวัฒนธรรมซึ่งมีโอกาสที่ผู้ใช้จะเกิดความผิดพลาดในการปรับตัวเนื่องจากต้องให้ความสนใจกับ Social Media หลายชนิดพร้อมๆกัน

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่พบอีกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ Instagram และ Snapchat มีความรู้สึกโดดเดี่ยวและมีปัญหาด้านความเชื่อมั่นในตนเองจากการเผชิญหน้ากับการถูกคุกคามและทำให้อับอาย นอกจากนี้ยังพบว่ามีปัญหาด้านการนอนหลับเนื่องมาจากความคิดเปรียบเทียบชีวิตของตนเองกับผู้อื่นอย่างต่อเนื่อง

เราสามารถแก้ไขปัญหาอย่างไรได้บ้าง

แม้ว่า Social Media จะช่วยให้ผู้คนสามารถติดต่อกันได้มากขึ้นแต่กลับพบว่ามีกลุ่มคนที่เผชิญกับปัญหาความโดดเดี่ยวและโรคซึมเศร้าเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอายุ 25 – 45 ปี แสดงให้เห็นว่าผู้คนไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและมั่นคงได้ จากการวิจัยพบว่าการสร้างความสัมพันธ์กับผู้คนที่ทำกิจกรรมในลักษณะเดียวกันนั้นสามารถสร้างได้ง่ายกว่า โดยสามารถทำได้ตั้งแต่การพบปะกันในร้านกาแฟไปจนถึงการเป็นอาสาสมัครร่วมกัน แม้ว่าการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นจะค่อนข้างยากจากภาระงานที่มีแต่อยากให้พิจารณาว่าการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นนั้นส่งผลดีต่อสุขภาพจิตของคุณเป็นอย่างมากทั้งยังสามารถลดความตึงเครียดซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานหรือเรียนของคุณดียิ่งขึ้นด้วย


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Can social media really cause depression?. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324372)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ยารักษาโรคซึมเศร้า
ยารักษาโรคซึมเศร้า

รู้จักกลุ่มยาต้านซึมเศร้า ซึ่งใช้รักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ยานี้มีผลข้างเคียงหลายอย่าง ควรใช้ตามแพทย์สั่ง ซึ่งแพทย์จะมีการปรับลด-เพิ่มตามความเหมาะสมเป็นระยะ

อ่านเพิ่ม