โซเชียลมีเดียส่งผลต่อสุขภาพจิตได้อย่างไร ? งานวิจัยมีคำตอบ

เผยแพร่ครั้งแรก 4 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โซเชียลมีเดียส่งผลต่อสุขภาพจิตได้อย่างไร ? งานวิจัยมีคำตอบ

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบัน โซเชียลมีเดียได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตพวกเราไปเสียแล้ว สื่อเหล่านี้ได้เข้าถึงคนทุกเพศทุกวัย และมีคนจำนวนไม่น้อยที่ใช้เวลาว่างส่วนใหญ่ไปกับโลกออนไลน์ หากมองเพียงผิวเผิน โซเชียลมีเดียอาจมอบความบันเทิงให้แก่เรา แต่มีหลายงานวิจัยพบว่ามันมีความสัมพันธ์กับสุขภาพจิต แต่จะมีอะไรบ้างนั้น เราลองมาดูพร้อมกันเลยค่ะ

ผลเสีย

มีหลายงานวิจัยพบความเชื่อมโยงระหว่างการใช้โซเชียลมีเดีย และโรคซึมเศร้า ความวิตกกังวล ปัญหาเกี่ยวกับการนอน ปัญหาเกี่ยวกับการทานอาหาร และการเพิ่มความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

มีผลสำรวจของคนวัยหนุ่มสาวที่ทำโดย London-based Royal Society for Public Health พบว่า โซเชียลมีเดียอย่าง Instagram ซึ่งมักโฟกัสไปที่ลักษณะภายนอกของคน ทำให้คนวัยหนุ่มสาวมีปัญหาเกี่ยวกับรูปลักษณ์ของตัวเองและความมั่นใจ

นอกจากนี้มีงานวิจัยที่ถูกเผยแพร่ใน The American Journal of Preventative Medicine ได้ลองค้นหาคำตอบว่า คนวัยหนุ่มสาวที่ใช้โซเชียลมีเดีย 11 ชนิด ได้แก่ Twitter Google+ Youtube Linkedln Instagram Pinterest Tumblr Vine Snapchat Facbook และ Reddit มีความสัมพันธ์กับการเกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวทางสังคมหรือไม่ ผลปรากฏว่า ยิ่งคนใช้เวลาไปกับสื่อเหล่านี้มากเท่าไร มันก็จะทำให้เกิดความรู้สึกดังกล่าวมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งถือเป็นเรื่องที่แย่ต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต

ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะมีงานวิจัยที่ทำเมื่อปี ค.ศ.2015 ที่ทำโดย The University of Missouri พบว่า การใช้ Facebook เป็นประจำ สามารถนำไปสู่การเกิดอาการของโรคซึมเศร้า หากมันกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกอิจฉาคนอื่น " Facebook สามารถเป็นกิจกรรมที่ทำให้เราสนุก ถ้าผู้ใช้งานฉกฉวยประโยชน์จากมัน โดยอาจใช้เพื่อติดต่อกับครอบครัวและเพื่อนเก่า และเพื่อแบ่งปันสิ่งที่สนใจหรือแง่มุมที่สำคัญของชีวิต " กล่าวโดย ศาสตราจารย์ Margaret Duffy หนึ่งในผู้เขียนรายงานชิ้นนี้ อย่างไรก็ดี เธอยังเสริมด้วยว่า “ หากคุณใช้ Facebook เพื่อดูชีวิตของคนรู้จักว่าสถานะทางการเงินของเขาเป็นอย่างไร หรือติดตามเรื่องราวความรักของเพื่อนเก่า หรือสิ่งที่ทำให้คุณอิจฉาคนอื่น มันก็จะทำให้เกิดอาการซึมเศร้า ”

ผลดี

 งานวิจัยชิ้นเดิมจาก University of Missouri ที่พบความเชื่อมโยงระหว่างการใช้ Facebook และโรคซึมเศร้า พบว่า คนที่ใช้ Facebook เพื่อเชื่อมต่อกับคนอื่นจะไม่ได้รับผลกระทบด้านลบจากการใช้สื่อดังกล่าว หากไม่มีความรู้สึกอิจฉามาเป็นตัวกระตุ้น Facebook สามารถเป็นทรัพยากรที่ดี และมีผลด้านบวกต่อสวัสดิภาพ

นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่น่าสนใจที่บอกว่าโซเชียลมีเดียสามารถมีประโยชน์สำหรับคนที่กำลังเผชิญกับปัญหาสุขภาพจิต เพราะมันช่วยสร้างสังคมออนไลน์ ซึ่งเป็นแหล่งที่สนับสนุนทางด้านอารมณ์ให้พวกเขา

“ โซเชียลมีเดียมีค่าสำหรับคนป่วยที่จะได้รู้ว่าตัวเองไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยว มีคนอื่นๆ ที่เคยผ่านช่วงเวลาเหล่านี้ และมีชีวิตที่ดีขึ้น ” กล่าวโดย ศาสตราจารย์ John Powell นักวิจัยจาก Oxford University ซึ่งเป็นคนที่ทำวิจัยว่าโซเชียลมีเดียสามารถใช้เพื่อช่วยเหลือคนที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังได้อย่างไร

นอกจากนี้นักวิจัยชี้ให้เห็นว่า วิธีการใช้โซเชียลมีเดียถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะตัดสินว่ามันมีผลกระทบทางบวกหรือลบต่อสวัสดิภาพของเรา ตัวอย่างเช่น หากเรามีความแอคทีฟ โซเชียลมีเดียก็จะเป็นสื่อที่มีประโยชน์ กล่าวโดย นักวิจัยชาวเมลเบิร์น “ แม้ว่าการดูรูปคนอื่นใน Instagram มีความเชื่อมโยงกับการเพิ่มภาวะซึมเศร้า แต่การคุยกับคนอื่นๆ ในโลกออนไลน์กลับเพิ่มความพึงพอใจในชีวิต ” เขาทิ้งท้าย

จากที่กล่าวไปจะเห็นได้ว่า โซเชียลมีเดียเปรียบเสมือนกับดาบสองคม หากคุณไม่จำกัดการเล่นให้เหมาะสม หรือหมกมุ่นกับมันมากเกินไป คุณก็จะทุกข์ใจมากกว่ามีความสุข นอกจากจะจำกัดการเล่นแล้ว คุณก็อย่าลืมหันมาสนใจคนในชีวิตจริงบ้างค่ะ

ที่มา : http://www.theweek.co.uk/check...


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป