อ้างอิงจากโซโฟคลีส ราชาโอดิปุสได้ฆ่าพ่อของตัวเองและมีเพศสัมพันธ์กับแม่ของตน อย่างไรก็ตาม กว่าที่โอดิปุสจะรู้ความจริงว่า ตนได้กระทำปิตุฆาตและมีเพศสัมพันธ์กับคนในครอบครัวก็เป็นเวลาอีกหลายปีต่อมา โดยที่ตั้งแต่แรกเขาไม่รู้ว่าคนเหล่านี้เป็นพ่อแม่ของตน
หลังจากได้รู้ความจริง โอดิปุสควักตาของตนออกทั้งสองข้าง เหตุผลที่โอดิปุสทำให้ตนเองตาบอดเกี่ยวข้องกับความรู้สึกผิดและแฝงสัญลักษณ์ไว้ว่า เขาไม่รับรู้ต่อการกระทำอันโหดร้ายที่เขาได้ทำไปตั้งแต่แรก
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ชาวกรีกโบราณอาจไม่คิดว่า จะมีใครทำให้ตนเองตาบอดโดยไม่มีเหตุผล โศกนาฏกรรมที่รันทด เช่น อาชญากรรมที่โอดิปุสก่อ อย่างไรก็ตาม ในสังคมยุคปัจจุบัน คนบางคนมีประเด็นเรื่องความเป็นเจ้าของกับอวัยวะบางอย่างของร่างกายและย้ำคิดเรื่องความต้องการให้อวัยวะนั้นหายไป
คนเหล่านี้มีภาวะที่เรียกว่า "BIID (Body Integrity Identity Disorder)" และหลังจากที่ทนทรมานมาหลายปีก็จะขอผ่าตัด ซึ่งเป็นการตัดแขน หรือขา ทำให้ตาบอด หูหนวก หรือเป็นอัมพาต
จากที่คุณอาจจะจินตนาการได้ ศัลยแพทย์บางคนก็ชอบทำหัตถการกับอวัยวะ หรือแขนขาที่ไม่มีโรค อย่างไรก็ตาม BIID เป็นปัญหาที่ซับซ้อนและผู้เชี่ยวชาญบางคนก็สนับสนุนให้การผ่าตัดเอาอวัยวะเหล่านั้นออกเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพ
การตรวจโรค BIID
ในช่วงปลายศตวรรษ 1700 ศัลยแพทย์ชาวฝรั่งเศสถูกชายคนหนึ่งบังคับเอาปืนจี้ให้ทำการตัดขาที่ปกติดี หลังการผ่าตัด ชายผู้นั้นส่งค่ารักษาและจดหมายแสดงความขอบคุณว่ าศัลยแพทย์ทำให้เขารู้สึกดีขึ้น
ค.ศ. 2000 สาธารณชนพบว่า ศัลยแพทย์ชาวสก็อตชื่อว่า Robert Smith ทำการตัดขาที่ดูปกติดีของผู้ป่วยสองคน เมื่อผู้บริหารโรงพยาบาลของเขารู้เข้าก็สั่งห้ามไม่ให้เขาทำการตัดแขนขาใครอีก
อย่างไรก็ตาม จากการตัดแขนขาดังกล่าวก็มีการโต้แย้งเกี่ยวกับการตัดแขนขาที่ปกติดีกับฝั่งที่เห็นว่าไม่จำเป็น ซึ่งการผ่าตัดดังกล่าวกำลังเริ่มเป็นกระแส
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ค.ศ. 2015 หญิงวัย 30 ปีที่มีชื่อว่า Jewel Shuping อ้างว่า เธอให้นักจิตวิทยาของเธอหยอดน้ำยาทำความสะอาดใส่ตาทั้งสองข้างของเธอเพื่อจะทำตามความต้องการที่อยากตาบอดมาตลอดชีวิต ว่ากันตรงๆ แล้ว ความถูกต้องของคำกล่าวอ้างของเธอก็ยังมีข้อโต้เถียงกันอยู่
อย่างไรก็ตาม กรณีที่ทำให้ตาบอดโดยมีผู้ช่วยดังกล่าวก็ทำให้เรื่อง BIID กลายเป็นที่สนใจอีกครั้ง
ผู้ป่วยโรค BIID จะบ่นว่า รู้สึกไม่สมบูรณ์และมีอวัยวะแปลกปลอม เช่น ตา แขนขา หรืออื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้สึกเหล่านี้เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นซ้ำๆ มาทั้งชีวิตและทำให้เกิดความทุกข์ทรมานทางจิตใจ
สาเหตุของ BIID ยังไม่ชัดเจน ในบางราย ประเด็นเกี่ยวกับอัตลักษณ์และความเป็นเจ้าของอาจถูกสืบค้นย้อนกลับไปได้ถึงสาเหตุผิดปกติ เช่น เนื้องอกในสมอง ผู้วิจัยที่ศึกษาเรื่อง BIID ได้สังเกตความเปลี่ยนแปลงของสมองในผู้ที่เป็นโรค ดูเหมือนว่าโรคจะเกี่ยวข้องกับ parietal cortex, premotor cortex และ insula
อย่างไรก็ตาม ยังไม่แน่ชัดว่าสมองส่วนดังกล่าวทำให้เกิด BIID หรือเกิดขึ้นตามมาจาก BIID กันแน่
การรักษาโรค BIID
การรักษาโรค BIID เป็นเรื่องยาก เนื่องจากยังไม่เข้าใจสาเหตุของโรคอย่างแน่ชัด ยาต้านโรคซึมเศร้าและการรักษาจิตบำบัดช่วยได้บ้างเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ยารักษาโรคจิตเวชที่แรงขึ้น เช่น ยารักษาโรคจิตเภทก็ยังไม่ถูกทดลองใช้ในผู้ป่วยกลุ่มนี้
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
น่าสนใจว่าผู้ป่วย BIID ที่ต้องการการตัดขารู้สึกดีขึ้นหลังทำการผ่าตัดและรายงานว่ามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ที่สำคัญคือ สองคนที่ถูกตัดขาโดย Robert Smith ศัลยแพทย์ชาวสก๊อตรู้สึกดีขึ้นมากหลังจากการผ่าตัดและใช้ชีวิตต่อด้วยขาเทียมอย่างมีความสุข
ผู้ป่วย BIID หลายคนฝึกใช้ชีวิตเยี่ยงผู้พิการ ผู้คนเหล่านี้ถูกเรียกว่า pretender เนื่องจากความพยายามใช้ชีวิตแบบคนพิการดังกล่าว คนเหล่านี้จะมีความรู้สึกผ่อนคลายเป็นระยะเวลาสั้นๆ คล้ายกับที่ผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำรู้สึกดีขึ้นเป็นระยะเวลาสั้นๆ หลังจากได้ทำพฤติกรรมที่อยากทำ
ศัลยแพทย์ส่วนมากที่ต้องเผชิญกับผู้ป่วย BIID มีปฏิกิริยาที่ตื่นตกใจต่อการผ่าตัดอวัยวะในแง่ของการรักษา ศัลยแพทย์เหล่านี้กล่าวว่า ใครก็ตามที่ต้องการตัดแขนขาที่ "ปกติ" มีความเจ็บป่วยทางจิตและมีความเข้าใจตนเองที่จำกัด ซึ่งเป็นอันตรายต่อการยินยอมให้การรักษา
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วย BIID ส่วนใหญ่ไม่ได้มีอาการทางจิตเภทและไม่ได้มีอาการประสาทหลอน ยิ่งไปกว่านั้น ภาวะซึมเศร้าที่ผู้ป่วย BIID บางคนเป็นอยู่เกิดขึ้นหลังจากเป็นโรค BIID มาระยะหนึ่งและน่าจะเป็นผลมาจากโรค ไม่ใช่สาเหตุของโรค
ในงานวิจัยชื่อว่า "Body Integrity Identity Disorder Beyond Amputation: Consent and Liberty" ของเอมี่ ไวท์ (Amy White) ได้กล่าวว่า การตัดสินใจของผู้ป่วย BIID ที่จะเข้ารับการผ่าตัดเอาอวัยวะออกไม่จำเป็นต้องเป็นแบบกึ่งบังคับ เป็นแบบผู้ไร้ความสามารถหรือไม่รู้ประสา
ดังนั้นหลังจากผ่านกระบวนการคัดกรองแล้ว ผู้ป่วย BIID สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ ไวท์ยังเปรียบเทียบ BIID กับ gender dysphoria (ความรู้สึกขัดแย้งระหว่างเพศที่ผู้ป่วยแสดงออกและเพศที่แท้จริงของผู้ป่วย ชื่อเดิมคือ gender identity disorder) และการผ่าตัดเอาอวัยวะออกกับการผ่าตัดแปลงเพศ
ว่า ผู้ป่วยทั้งสองโรครู้สึกว่า ตนเองติดอยู่ในร่างกายที่ผิดปกติบางอย่างและต้องการการผ่าตัดเพื่อแก้ไขปัญหานั้น
ในทางตรงข้าม ในงานวิจัยชื่อ "Body Integrity Disorder—Is the amputation of healthy limbs Justified?" ของซาบีน่า มูลเลอร์ (Sabina Müller) มีมุมมองว่า ราคาของการผ่าตัดเอาอวัยวะออกสำหรับผู้ป่วย BIID นั้นสูงเกินไปและผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดจะไม่สามารถทำงานได้อีกและต้องได้รับการดูแลไปตลอดชีวิตและการทำกายภาพบำบัด
Müller ยังตั้งคำถามด้วยว่า ผู้ป่วย BIID ที่ต้องการการผ่าตัดเอาอวัยวะออกมีปัญหาเรื่องความเข้าใจโรคของตนและแนะนำให้ใช้การรักษาทางอื่นแทน
สรุป
BIID อาจเป็นความผิดปกติของการทำงานของระบบประสาทและจิตใจที่เกี่ยวข้องกับการเสียการรับรู้ตนเอง จนเป็นความเจ็บป่วยและการขาดสิทธิเหนือร่างกายของตนเองอย่างจำเพาะแทนที่จะรักษาอาการด้วยการทำลายร่างกายอย่างแก้ไขกลับคืนไม่ได้
การรักษาที่ง่ายกว่าควรจะถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้รวมแขนขาที่ถูกมองว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายได้
เราอาจกำลังห่างไกลจากการหาทางช่วยเหลือผู้ป่วย BIID
- ประการแรก คือ งานวิจัยเรื่องนี้มีน้อย เนื่องจากมีผู้ป่วยโรคนี้น้อยมาก สิ่งที่เรารู้เกี่ยวกับ BIID ส่วนใหญ่จะได้มาจากประวัติหรือเรื่องราวเล็กๆ น้อยๆ
- ประการที่สอง BIID น่าจะเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางระบบประสาทและจิตใจที่ซับซ้อนและเรายังไม่เข้าใจชัดเจน ซึ่งสมองก็มีความซับซ้อนมากเกินจะอธิบายได้
- ประการที่สาม การผ่าตัดเอาอวัยวะออกสำหรับผู้ป่วย BIID พัวพันกับทางด้านจริยธรรมที่จะทำให้ความเข้าใจและความพึงพอใจต่อการรักษายุ่งเหยิงยิ่งขึ้น