กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

โรคจิต (Psychosis)

เผยแพร่ครั้งแรก 23 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที

ความหมายของโรคจิต

โรคจิต (Psychosis) คือ โรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ซึ่งอาจแบ่งออกได้หลายชนิดตามลักษณะอาการที่เด่นออกมา โดยส่วนมากผู้ป่วยที่เป็นโรคจิตจะไม่ทราบว่าตนเองมีอาการผิดปกติอยู่ และจะเชื่อว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเองนั้นเป็นเรื่องจริง อีกทั้งไม่เคยคิดสงสัยว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนรับรู้และเห็นอยู่นั้นไม่น่าจะเป็นไปได้ หรือไม่สมเหตุสมผล

อาการของโรคจิต

อาการหลักๆ ของโรคจิต แบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

1. อาการหลงผิด (Delusion) เป็นความผิดปกติทางความคิด ทำให้ผู้ป่วยมีความเชื่อและความคิดในเรื่องต่างๆ ที่ไม่เป็นไปตามหลักความจริง โดยมักเกิดจากความเชื่อที่ฝังใจ หรือเป็นความคิดที่ยากจะให้เหตุผลได้อย่างชัดเจน อาการหลงผิดที่เกิดขึ้นสังเกตได้ดังนี้

  • คิดว่าตนเองใหญ่โต ร่ำรวย เป็นคนใหญ่คนโต (Grandeur delusion)
  • คิดว่ามีคนอื่นปองร้าย (Persecution delusion)
  • คิดว่าคนอื่นหลงรักหรือคลั่งไคล้ตนเอง (Self-accusatory delusion)
  • คิดว่าตนเองเจ็บป่วย (Hypochondriacal delusion หรือ Somatic delusion)
  • คิดว่าอวัยวะบางส่วนของร่างกายขาดหายไป (Nihilistic delusion)

2. อาการประสาทหลอน (Hallucination) เป็นความผิดปกติทางการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่น การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น และการรับรส โดยไม่มีสิ่งเร้าจริงๆ เกิดขึ้นหรือมากระตุ้นแต่อย่างใด แต่ผู้ป่วยกลับรับรู้ได้เอง เช่น

  • ประสาทหลอนทางการเห็น (Visual hallucination) ผู้ป่วยมองเห็นภาพต่างๆ ที่ไม่มีอยู่จริง เช่น เห็นคนกำลังมาจะทำร้ายตน
  • ประสาทหลอนทางการได้ยิน (Auditory hallucination) เช่น ผู้ป่วยได้ยินเสียงคนพูด หัวเราะ หรือด่าตน โดยที่ไม่มีสถานการณ์เหล่านี้เกิดขึ้น
  • ประสาทหลอนทางการรับกลิ่น (Olfactory hallucination) เช่น ผู้ป่วยได้กลิ่นแปลกๆ โดยที่ผู้อื่นไม่ได้กลิ่นนั้นๆ
  • ประสาทหลอนทางการรับรส (Gustatory hallucination) ผู้ป่วยรู้สึกเหมือนได้รับรสแปลกๆ เกิดขึ้น เช่น มีรสหวาน หรือรสขมที่ลิ้น
  • ประสาทหลอนทางการสัมผัส (Tactile hallucination) ผู้ป่วยรู้สึกเหมือนมีอะไรบางอย่างมาไต่ตอมตามผิวหนัง รู้สึกคันผิวหนัง โดยที่ไม่มีสิ่งเร้าจริง                                                    

3. พฤติกรรมผิดไปจากเดิมอย่างมาก เช่น เก็บเนื้อเก็บตัว ก้าวร้าวขึ้นกว่าเดิม ไม่สนใจทำกิจกรรมหรือกิจวัตรประจำวัน ไม่นอนหลับ หมกมุ่นสนใจกับเรื่องทางไสยศาสตร์ หรือสิ่งที่เป็นนามธรรมและไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า                                                                                              

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคจิต

ทางการแพทย์ยังไม่มีการระบุสาเหตุที่ทำให้เป็นโรคจิตได้อย่างแน่ชัด แต่ก็มีความเชื่อว่า ยังมีปัจจัยสำคัญบางอย่างที่อาจส่งผลกระทบให้ผู้ป่วยต้องเผชิญกับภาวะโรคจิต ได้แก่

1. ปัจจัยภายใน

  • ความผิดปกติทางสมอง และระดับสารเคมีในสมอง โดยเฉพาะสารสื่อประสาทโดปามีน (Dopamine) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการคิดและการรับรู้ที่นำไปสู่การเกิดพฤติกรรมต่างๆ หากการทำงานของสมองและสารสื่อประสาทดังกล่าวได้รับความกระทบกระเทือน ก็อาจส่งผลให้เกิดอาการโรคจิตได้
  • ความผิดปกติทางจิต หรือทางบุคลิกภาพ และการปรับตัว
  • ความเจ็บป่วยทางร่างกายบางอย่างที่อาจส่งผลให้เกิดอาการโรคจิตได้ เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือโรคชนิดเช่น 
    • ไข้จับสั่นหรือโรคมาลาเรีย (Malaria)
    • โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer)
    • โรคพาร์กินสัน (Parkinson's Disease)
    • โรคพุ่มพวง หรือโรคแพ้ภูมิตนเอง หรือเรียกอีกชื่อว่า "โรคลูปัส" (Lupus)
    • โรคปลอกประสาทอักเสบ (Multiple Sclerosis
    • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ซิฟิลิส (Syphilis)
    • การติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus: HIV)
    • มีเนื้องอกในสมอง 
  • การถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ หากคุณมีผู้ที่มีบุคคลในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้องเป็นโรคจิต หรือโรคทางวิตเวชอื่นๆ มาก่อน คุณก็อาจมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคโจรหรือโรคทางจิตเวชได้มากกว่า

2. ปัจจัยภายนอก  

การใช้ยาหรือได้รับสารเคมีใดๆ เข้าสู่ร่างกายในทางที่ผิด หรือในปริมาณที่เกินไป อาจส่งผลกระทบทำให้เกิดอาการโรคจิตได้ เช่น 

  • การบริโภคแอลกอฮอล์ 
  • การเสพยาเสพติด เช่น 
    • โคเคน (Cocaine)
    • ยาบ้า (Amphetamine) 
    • ยาไอซ์ (Methamphetamine) 
    • ยาอี (MDMA: Ecstasy) 
    • ยาเค (Ketamine) 
    • กัญชา (Cannabis)

วิธีการรักษาโรคจิต

กระบวนการรักษาหลักสำหรับผู้ป่วยโรคจิตจะแบ่งได้เป็น 2 แบบ ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  1. การรักษาโดยใช้ยาต้านอาการทางจิต (Antipsychotics): ยาที่ใช้รักษาโรคจิตจะมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน และจะต้องเป็นยาที่ถูกสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น ซึ่งแพทย์อาจให้ยาที่อยู่ในรูปของยารับประทาน หรือให้ผู้ป่วยมาพบเพื่อเข้ารับการฉีดยาเป็นระยะๆ ซึ่งความถี่ในการใช้ยาจะนานแค่ไหนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาจากแพทย์เช่นเดียวกัน
    สำหรับคุณสมบัติของยาต้านอาการทางจิตนั้น ตัวยาจะออกฤทธิ์ยับยั้งสารโดปามีนในสมอง เพื่อช่วยลดอาการประสาทหลอนและอาการหลงผิดที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย และทำให้ผู้ป่วยคิดและเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ชัดเจนตามพื้นฐานของความเป็นจริงได้ดียิ่งขึ้น 
  2. การรักษาโดยทำจิตบำบัด: วิธีการรักษาแบบนี้มีหลายเทคนิคให้เลือกใช้ เช่น การบำบัดพฤติกรรมและความคิด การฝึกสติและสมาธิ โดยผู้บำบัดหรือแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาและเลือกเทคนิคที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายเอง

วิธีการป้องกันโรคจิต

เนื่องจากโรคจิตเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งบางสาเหตุก็ไม่อาจป้องกันได้อย่างเต็มที่ แต่การป้องกันหลักๆ ที่ทำได้ก็คือ การลดความเสี่ยงด้านต่างๆ เช่น

  • หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดให้โทษทุกชนิด ทั้งการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือการใช้ยาเสพติด
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาอย่างผิดวัตถุประสงค์ หรือใช้ยาเกินปริมาณที่แพทย์กำหนด
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายหลั่งสารเคมีในสมองอย่างเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งจะช่วยในการกระตุ้นให้อารมณ์ผ่อนคลายลง
  • เรียนรู้ทักษะในการจัดการกับความเครียด ปรับมุมมองความคิดใหม่ มองโลกแง่ดีมากขึ้น หรือคิดวิธีแก้ปัญหาด้วยที่ถูกต้องเหมาะสมกับตนเอง โดยไม่ทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา
  • หมั่นสังเกตอาการและความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเองหรือบุคคลใกล้ชิด ทั้งอาการทางร่างกายและจิตใจ หากพบความผิดปกติหรือมีข้อสงสัยใดๆ ควรปรึกษาแพทย์ หรือบุคลากรที่มีความรู้ด้านจิตเวช

การดูแลและอยู่ร่วมกับผู้ป่วยโรคจิต

สิ่งสำคัญที่ญาติ ผู้ดูแล หรือบุคคลอยู่ใกล้ชิดควรตระหนักในการดูแลผู้ป่วยโรคจิต คือ

  • ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรค อาการของโรค และวิธีการรักษาที่ถูกต้อง
  • ดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานยาตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด เนื่องจากผู้ป่วยโรคจิตมักจะไม่รู้ว่าตนเองป่วยอยู่ และไม่เข้าใจความสำคัญของการรับประทานยา อีกทั้งยาต้านอาการจิตมักจะมีผลข้างเคียงทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สุขสบายตัว จึงทำให้ไม่อยากรับประทานยา
  • พาผู้ป่วยไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ ถึงแม้ผู้ป่วยจะมีอาการกลับมาเป็นปกติแล้ว แต่ผู้ดูแลก็ต้องพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ตามนัดอย่าให้ขาด เนื่องจากผู้ป่วยโรคจิตบางรายอาจต้องรับประทานยาเพื่อควบคุมอาการไปตลอดชีวิต และการหยุดยาเองมักจะมีผลทำให้อาการกำเริบซ้ำ ซึ่งหากผู้ป่วยมีอาการกำเริบซ้ำบ่อยๆ จนเรื้อรัง การรักษาครั้งต่อไปก็จะทำได้ยากมากขึ้น
  • คอยดูแลและเตือนให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันด้วยตัวเอง เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้ตามศักยภาพ และให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วย รวมถึงผู้ดูแลยังต้องเฝ้าระวังไม่ให้ผู้ป่วยใช้สารเสพติดต่างๆ ซึ่งอาจกระตุ้นให้โรคกำเริบได้อีกครั้ง

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคนี้

เพราะโรคจิตเป็นโรคทางวิตเวชชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อขึ้นชื่อว่าเป็น "โรคทางจิตเวช" แล้ว หลายคนจึงมักมีความเชื่อ และเกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคอีกหลายๆ อย่าง ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว โรคจิตก็ถือว่าเป็นการเจ็บป่วยชนิดหนึ่งที่สามารถรักษาและบรรเทาอาการได้ ไม่ต่างจากโรคทั่วไปที่หลายคนพบเจอในชีวิตประจำวัน เช่น

  • คิดว่าโรคจิตคือ อาการผีเข้าหรืออาการทางไสยศาสตร์ จึงทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ไม่ถูกต้อง และไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี จึงทำให้โรคกำเริบรุนแรงขึ้น เกิดเป็นอาการก้าวร้าวหรืออาจทำร้ายบุคคลรอบข้าง คนใกล้ชิดที่เข้าใจผิดแบบนี้มักจะกักขัง หรือผูกมัดล่ามโซ่ผู้ป่วยไว้กับที่ ซึ่งเป็นวิธีรักษาที่ผิด
  • คิดว่า "โรคจิต" คือ อาการของผู้ที่มีพฤติกรรมทางเพศไม่เหมาะสม ทำให้หลายคนมักจะนำคำว่า "โรคจิต" ไปใช้ในการต่อว่าหรือล้อเลียนผู้อื่น ซึ่งพฤติกรรมนี้จะยิ่งทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคจิตจริงๆ มีภาพจำที่ดูแย่ อันตราย และหลายรายจึงไม่กล้ามารับการรักษาอย่างถูกต้อง
  • หลายคนยังเข้าใจผิดว่า โรคจิตคือ โรคร้ายแรงที่เป็นอันตรายมาก ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคจิตจะต้องอยู่ในห่างผู้คนและห้ามใครเข้าใกล้เด็ดขาด ทั้งๆ ที่ความจริง โรคจิตก็คือ อาการป่วยชนิดหนึ่งที่ต้องเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธีเท่านั้น หลังจากนั้นผู้ป่วยก็สามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้
  • ทำให้การไปพบจิตแพทย์ดูเป็นเรื่องแปลกประหลาด เพราะเมื่อนึกถึงผู้ป่วยที่ต้องพบจิตแพทย์ หลายคนก็มักจะนึกถึงภาพผู้ป่วยที่พูดคนเดียว มีอาการเพ้อฝัน ดูเป็นอันตราย และจะเหมารวมว่า คนเหล่านั้นคือผู้ป่วยที่เป็น "โรคจิต" ทั้งหมด ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว การไปพบจิตแพทย์ก็ไม่ต่างจากการขอคำปรึกษาเกี่ยวอาการผิดปกติทางร่างกายส่วนอื่นเลย อีกทั้งจะได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสมด้วย

11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Psychosis: Causes, symptoms, and treatments. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/248159)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
หนูมีเสียงนินทาหนูได้ยินอยู่คนเดียวทั้งคืนทั้งวันไม่ได้หลับได้นอนมา2-3วัน พูดในใจด่าในใจเสียงมันยังรู้เลยก็เลยตอบโต้งในใจกับเสียงมันก็ด่าหนูก็ด่ามันในใจกลับ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ตอนนี้รุ้สึกเหมือนยุคนเดียวบนโรค. อยากจะตายๆไป. อยากจะรุ้ว่าตายแล้วจะไปไหน ถ้าฆ่าตัวตายแบบแควนคอจะทรมานนานไหม. ที่รุ้สึกแบบนี้เพราะหนุเป้นโรคอะไรค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
โมโหง่าย เจ้าอารมณ์ เอาแต่ใจ ยึดความคิดตัวเองเป็นใหญ่ คิดว่าตัวเองถูกเสมอ ไม่ยอมรับผิด เวลาอธิบายจะไม่ฟัง หรือเงียบ แบบนี้มีอาการทางจิตไหมคับ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ทำไม่เวลาอยู่คนเดียวแล้วชอบคุยคนเดียว
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การพูดคนเดียว ในเวลาทำงานหรือคิดเลขจะพูดทวน ท่องจำ หรือนึกอะไรออกก็พูดขึ้นมา เป็นอาการทางจิตอย่างนึงหรือเปล่าคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)