กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ. พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ. พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

ยาเค (Ketamine)

รู้จักยาเคและความอันตรายจากยา ทั้งผลกระทบระยะสั้น ระยะยาว ระบบประสาท
เผยแพร่ครั้งแรก 20 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 8 ก.พ. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 1 ต.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ยาเค (Ketamine)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ยาเคเป็นยาเสพติดที่ทำให้ผู้เสพรู้สึกเคลิบเคลิ้ม หรือผ่อนคลาย แต่ผลข้างเคียงยากลับร้ายแรงไปกว่านั้นมาก เช่น ทำให้ความจำเสื่อม เสียการควบคุมกล้ามเนื้อ มีภาวะซึมเศร้า หวาดระแวง จิตหลอน ซึ่งอาจทำให้ผู้เสพเผลอก่ออาชญากรรมกับผู้อื่นได้
  • ยาเคมีอีกชื่อเรียกว่า “ยาเสียตัว” เพราะเป็นยาที่มักถูกใช้เพื่อล่วงละเมิดทางเพศผู้อื่น โดยที่เหยื่ออาจจะจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้เลย
  • ยาเคสามารถใช้เป็นยาสลบทางการแพทย์ได้ แต่ก็มักจะถูกลักลอบนำออกไปจากโรงพยาบาลเพื่อใช้เป็นยาเสพติดแทน
  • ยาเคมีฤทธิ์ร้ายแรงทำให้สุขภาพจิตของผู้เสพเสียได้ อีกทั้งผู้เสพยาเคทางเส้นเลือดยังอาจติดโรคติดต่อจากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกันด้วย เช่น โรคเอดส์ โรคไวรัสตับอักเสบ
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจหาสารเสพติด

ยาเค จัดเป็นยาเสพติดอีกชนิดที่หลายคนอาจรู้จักแค่ชื่อ แต่ยังไม่ทราบรายละเอียดการออกฤทธิ์ของมันว่า ส่งผลเสียต่อร่างกายมากน้อยแค่ไหน เรามาดูพร้อมกันว่า ยาเคเป็นยาอะไร มีโทษต่อร่างกายอย่างไรบ้าง

ความหมายของยาเค

ยาเค เป็นชื่อมาจาก “ยาเคตามีน (Ketamine)" เป็นยาเสพติดสังเคราะห์ที่แต่เดิมถูกคิดค้นเพื่อใช้เป็นยาสลบสำหรับใช้ทางการแพทย์ ลักษณะเป็นยาผงสีชา หรือยาน้ำอยู่ในขวดสีชา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

โดยปกติยาเคมักถูกใช้เป็นยาสลบสำหรับผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด โดยจะฉีดเข้าเส้นเลือดประมาณ 1-2 มิลลิกรัม หรืออาจฉีดเข้ากล้ามเนื้อแทน แต่ก็มีกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดหลายคนที่ใช้ยาเคเป็นสารเสพติดแทน

เพราะนอกจากยาเคจะออกฤทธิ์ทำให้สลบแล้ว ยานี้ยังออกฤทธิ์ทำให้ผู้เสพรู้สึกหมดความวิตกกังวล หรือรู้สึกว่า ตนเองมีพลังอำนาจเหนือกว่าผู้อื่น 

ผู้เสพบางรายรู้สึกว่า กำลังล่อยลอยอยู่กลางอากาศ รวมถึงยายังทำให้รู้สึกเมา ไม่ได้สติ ทำให้การรับรู้ การตอบสนองต่อแสง สี เสียง และสิ่งรอบตัวเปลี่ยนไป

ส่วนมากผู้เสพยาเคจะเสพยาผ่านการสูดผงยาเข้าจมูก ฉีดเข้าเส้นเลือด หรือผสมกับใบกัญชาเพื่อสูบเป็นบุหรี่อีกแบบ 

นอกจากนี้ยาเคยังมีถูกใช้เพื่อล่วงละเมิดทางเพศด้วย เพราะผู้เสพจะไม่ได้สติ และเคลิบเคลิ้มไม่รับรู้กับสิ่งรอบข้าง จึงทำให้ยาเคได้รับชื่ออีกชื่อว่า “ยาเสียตัว”

ระยะเวลาการออกฤทธิ์ของยาเคจะอยู่ที่ประมาณ 30-60 นาที แต่ผลข้างเคียงของยาสามารถอยู่ได้นานถึง 24 ชั่วโมง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสารพิษ สารเสพติดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 194 บาท ลดสูงสุด 68% บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาเค

ยาเคอาจทำให้ผู้เสพรู้สึกผ่อนคลาย และหมดความวิตกกังวล แต่ขณะเดียวกันยานี้ก็ส่งผลข้างเคียงร้ายแรงอีกมากมายต่อร่างกาย ได้แก่

  • สับสน มึนงง
  • สูญเสียความทรงจำ
  • เกิดภาวะซึมเศร้า
  • เกิดอาการตื่นกลัว หรือก้าวร้าว อาจรุนแรงถึงขั้นทำร้ายร่างกายผู้อื่น
  • หูแว่ว
  • เห็นภาพหลอน
  • ปวดศีรษะ
  • พูดจาไม่รู้เรื่อง
  • อ่อนเพลียมากผิดปกติ
  • เหงื่อออกมาก
  • ประสาทการรับกลิ่นแย่ลง
  • สูญเสียการควบคุมกล้ามเนื้อ รวมถึงการทำงานประสานกันระหว่างสมอง กับกล้ามเนื้อเกิดความผิดปกติ
  • ความดันโลหิตสูง
  • จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ
  • มีไข้สูง
  • หายใจติดขัด
  • คลื่นไส้อาเจียน

ผู้ที่เสพติดยาเคอย่างหนักจะเกิดอาการลงแดงเมื่อขาดการเสพยาไประยะหนึ่ง และต้องการยาในปริมาณเพิ่มขึ้น การเสพยาเคเกินขนาดสามารถทำให้ผู้เสพกลายเป็นคนวิกลจริตได้ มีอาการไข้สูง ชักเกร็ง โคม่า หรือเกิดอาการช็อคจนเสียชีวิต

ยาเคเป็นยาเสพติดที่ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี จึงง่ายต่อการผสมกับเครื่องดื่มเพื่อก่ออาชญากรรม หรือล่วงละเมิดทางเพศ ผู้ค้ายาหลายรายมักลักลอบขโมยยาเคจากโรงพยาบาลแล้วนำไปขายให้กับผู้เสพยาต่อไป

นอกจากนี้การเสพยาเคยังเสี่ยงทำให้เกิดโรคติดต่อได้ผ่านการใช้เข็มฉีดยาเสพร่วมกัน เช่น โรคเอดส์ โรคไวรัสตับอักเสบ การติดเชื้อไวรัสเอชไอวี

การเลิกเสพยาเค

ผู้เสพยาเคที่ต้องการบำบัดยาเสพติดจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ หรือนักบำบัดเพื่อให้สามารถเลิกยาได้เด็ดขาด นอกจากนี้คนในครอบครัว คนใกล้ชิดผู้เสพ ก็สามารถมีส่วนทำให้การบำบัดยาเสพติดประสบผลสำเร็จด้วยได้

เพราะในระหว่างเลิกยา มีโอกาสที่ผู้เสพอยากจะกลับไปเสพยาอีกครั้งเพื่อลดความทุกข์ทรมานระหว่างเลิกยา การได้รับกำลังใจ และมีผู้คอยย้ำถึงประโยชน์ของการเลิกยาจะช่วยให้ผู้เสพมีจิคใจเข้มแข็ง และอยากเลิกยาให้สำเร็จได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสารพิษ สารเสพติดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 194 บาท ลดสูงสุด 68% บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ป้องกันไม่ให้ตนเองเสี่ยงต่อการเสพยาได้อย่างไร? 

หากคุณได้ไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการเสพยา โดยเฉพาะในงานเลี้ยง งานปาร์ตี้ การไปเที่ยวตามสถานบันเทิงยามค่ำคืน หรือมีคนรู้จักชักชวนให้คุณลองเสพยาเค หรือยาเสพติดอื่นๆ ให้ปฏิเสธโดยเด็ดขาดและตรงไปตรงมา 

นอกจากนี้การไปในสถานที่เหล่านี้ คุณควรระมัดระวังตนเองอย่างมากควรไปกับคนที่คุณไว้ใจได้เพื่อช่วยดูแลกันและกัน  เพราะเป็นสถานที่ที่มีความเสี่ยงในการมอมยา ถูกปล้นทรัพย์ หรือถูกล่วงละเมิดทางเพศได้

นอกจากนี้ในช่วงที่เกิดความเครียดอย่างหนัก ปัญหาต่างๆ รุมเร้า ถือเป็นสถานการณ์ที่สุ่มเสี่ยงต่อการตัดสินใจประชดชีวิตในแบบต่างๆ มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสพยา ดังนั้นจึงเป้นช่วงที่คุณต้องระมัดระวังตนเองให้ดี

แนะนำว่าหากรู้สึกว่า ตนเองกำลังเครียด หาทางออกให้ปัญหาไม่ได้ นอกจากการปรึกษาคนใกล้ชิด คนในครอบครัวแล้ว การปรึกษาจิตแพทย์เรื่องปัญหาความเครียด หรือภาวะทางอารมณ์ ก็ถือว่า เป็นทางออกที่ดี 

เพราะอย่างน้อยๆ จิตแพทย์จะทำหน้าที่เป้นทั้งผู้รับฟังที่ดีและผู้ให้คำปรึกษาที่ดีสำหรับคุณ 

อย่าเปิดโอกาสให้ผู้ไม่หวังดีเข้ามาหยิบยื่นยาเสพติดให้กับคุณ หรือหากมีการยื่นเครื่องดื่มแปลกๆ จากผู้ที่ไม่น่าไว้วางใจ ให้ปฏิเสธที่จะดื่มด้วยเช่นกัน เพราะมันอาจผสมยาเค หรือสารเสพติดที่เป็นอันตรายอื่นๆ อยู่ได้

ยาเคจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 2 ซึ่งหากครอบครองอย่างถูกวัตถุประสงค์ก็ถือว่า ถูกกฎหมาย แต่ต้องอยู่ในปริมาณที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่หากมีไว้ครอบครองอย่างผิดกฎหมาย มีโทษจำคุกสูงสุด 10 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจหาสารเสพติด จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sonya Collins, What You Need to Know About Ketamine's Effects (), 20 July 2020.
Rosenbaum SB, Gupta V, Palacios JL. Ketamine. [Updated 2020 Mar 31]. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2020 Jan-. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK470357/

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รู้จักกับเห็ดเมา (Magic Mushrooms) หรือเห็ดขี้ควาย หนึ่งในยาเสพติดประเภทที่ 5
รู้จักกับเห็ดเมา (Magic Mushrooms) หรือเห็ดขี้ควาย หนึ่งในยาเสพติดประเภทที่ 5

เห็ดเมา หรือที่รู้จักกันในชื่อ เห็ดพิษ เห็ดขี้ควาย หรือเห็ดไข่เจียว พบได้ทั่วไป แต่ไม่ควรรับประทาน เพราะทำให้เกิดอันตรายได้

อ่านเพิ่ม
ยาซอมบี้คืออะไร ออกฤทธิ์อย่างไร
ยาซอมบี้คืออะไร ออกฤทธิ์อย่างไร

ยาซอมบี้ ยาเสพติดชนิดใหม่ที่ทำให้คลุ้มคลั่งเหมือนซอมบี้ในหนัง

อ่านเพิ่ม