กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

MDMA หรือยาอี

MDMA หรือยาอี ยาเสพติดมีฤทธิ์อันตรายร้ายแรงต่อร่างกาย อาจเสียชีวิตได้ ไม่ควรทดลอง หรือเสพ
เผยแพร่ครั้งแรก 20 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 29 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 ต.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
MDMA หรือยาอี

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ยาอี คือ ยาเสพติดที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาเพื่อออกฤทธิ์สร้างความสุข ทำให้รู้สึกมีกำลังวังชามากขึ้น รู้สึกเคลิบเคลิ้ม และสนุกสนานไปกับทุกอย่างรอบตัวเกินความจริง ได้รับฉายาว่า "ยาแห่งความรัก" เพราะทำให้ผู้เสพรู้สึกได้รับความรัก และความอบอุ่นได้
  • ยาอีมีความโทษหลายอย่าง เช่น เกิดภาวะไตวาย ระบบควบคุมอุณหภูมิของร่างกายล้มเหลว คลุ้มคลั่งก้าวร้าว เกิดภาวะซึมเศร้า ความดันโลหิตสูง
  • ผลข้างเคียงของยาอีมีทั้งระยะสั้น และระยะยาว ซึ่งผลข้างเคียงระยะยาวนั้นร้ายแรงถึงขั้นทำให้สมองถูกทำลาย ความจำเสื่อมถาวร อายุสั้นลง ผู้เสพยาอีอย่างต่อเนื่องมีโอกาสที่จะมีชีวิตอยู่ต่อได้เพียง 6-7 ปีเท่านั้น
  • การบำบัดยาเสพติดในผู้เสพยาอีสามารถทำได้หลายวิธี โดยจะเน้นผลลัพธ์ไปที่ทำให้ผู้เสพรู้สึกอยากยาน้อยลง มีภาวะทางจิตใจที่ดีขึ้น และไม่อยากกลับไปเสพยาอีกครั้ง รวมถึงทำให้รู้สึกสบายตัวมากขึ้นด้วย
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสารเสพติด

ยาอี จัดเป็นยาเสพติดสังเคราะห์ที่สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เสพรู้สึกมีความสุขมากกว่าเดิม กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกทางเพศ แต่ขณะเดียวกันมันก็จัดเป็นยาเสพติดชนิดรุนแรงที่ให้โทษถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว

หรือถึงแม้ผู้เสพจะไม่เสียชีวิต ยาอีก็ส่งผลกระทบทำให้ผู้เสพมีความผิดปกติทางสุขภาพได้มากมาย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ความหมายของยาอี

ยาอี มีชื่อเรียกเต็มว่า ยาเอ็กซ์ตาซี (Ecstasy)  เป็นยาเสพติดสังเคราะห์ที่แต่เดิมผลิตขึ้นมาเพื่อรักษาโรคอ้วน และโรคนอนหลับผิดปกติ แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกการใช้เป็นยารักษาแล้ว และกลายเป็นยาเสพติดในรูปของยาแคปซูล ยาผง และยาเม็ดเม็ด

ยาอีได้รับฉายาอีกอย่างว่า “ยาแห่งความรัก” หรือ “ยาเลิฟ” เนื่องจากสามารถออกฤทธิ์ทำให้ผู้เสพรู้สึกได้รับความรักใคร่ หรือความอบอุ่นอย่างไม่มีที่มาที่ไป ผู้เสพยาอีมักเสพยาตัวนี้เพื่อให้เกิดความรู้สึกทางเพศมากขึ้น อีกทั้งเป็นยาที่กระตุ้นทำให้ผู้เสพอยากบอกความในใจออกมาทุกอย่าง

 รวมถึงทำให้รู้สึกมีกำลังวังชา ตื่นตัวขยันขันแข็งมากกว่าเดิม ผู้ที่กำลังเศร้า หรือเครียดยังมักเสพยาอีเพื่อให้ตนเองรู้สึกมีความสุข และสนุกสนานมากกว่าเดิมด้วย

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาอี

ยาอีจะออกฤทธิ์ส่งผลต่อสารเคมีในสมองภายใน 30 นาทีหลังเสพยา ผู้เสพจะรู้สึกเมายาไปเป็นระยะเวลาประมาณ 3-6 ชั่วโมง ซึ่งถึงแม้ยาอีจะออกฤทธิ์สร้างความสุข และทำให้เกิดกำลังวังชา แต่ก็ทำให้เกิดโทษมากมายต่อร่างกาย

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาอีจะแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ผลข้างเคียงระยะสั้น และผลข้างเคียงระยะยาว

1. ผลข้างเคียงระยะสั้นของยาอี

ยาอีจะส่งผลข้างเคียงต่อสารเคมี 2 ชนิดภายในสมอง ได้แก่ สารนอร์อิพิเนฟริน (Norepinephrine) และ สารเซโรโทนิน (Serotonin) ทำให้ผู้เสพรู้สึกเคลิบเคลิ้ม มีความสุข แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้ไวต่อความรู้สึกเจ็บปวด และก้าวร้าว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สำหรับผลข้างเคียงระยะสั้นของยาอีที่มีต่อร่างกาย ได้แก่

  • รู้สึกหวาดระแวง วิตกกังวลหนัก
  • ความดันโลหิตสูง
  • จังหวะหัวใจเต้นผิดปกติ
  • อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น หรือเรียกว่า “ภาวะตัวร้อนเกิน (Hyperthermia)"
  • ปัสสาวะม่วง
  • กัด หรือขบฟันบ่อยผิดปกติ
  • กล้ามเนื้อตึง และเกร็งกล้ามเนื้ออย่างควบคุมไม่ได้
  • คลื่นไส้
  • ตาลาย
  • การมองเห็นแย่ลง
  • วิงเวียนศีรษะ หรือเป็นลม

2. ผลข้างเคียงระยะยาวของยาอี

ผู้เสพยาอีจะต้องการยาในปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อติดยา ซึ่งฤทธิ์ของยาอีจะส่งผลกระทบมากต่อการทำงานของหัวใจ ทำให้ความดันโลหิตสูง จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ และทำให้เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้ อาจกล่าวได้ว่าผลข้างเคียงระยะยาวจากการเสพยาอีนั้นมีอันตรายร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ 

นอกจากนี้การเสพยาอียังส่งผลการทำงานของระบบอื่นๆ ในร่างกายอีก เช่น

  • ปวดศีรษะ
  • ความจำเสื่อม
  • เกิดภาวะซึมเศร้า
  • คลุ้มคลั่ง ก้าวร้าวกว่าเดิม
  • เกิดอาการวิตกกังวล
  • นอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ทารกในครรภ์อาจมีอวัยวะผิดปกติ

ผู้เสพยาบางรายอาจมีอาการเมาค้างหลังจากยาหมดฤทธิ์แล้ว โดยจะมีอาการซึมเศร้า หดหู่ นอนไม่หลับ เจ็บปวดตามกล้ามเนื้อ เบื่ออาหาร และสุดท้ายเมื่อเสพยาเกินขนาด ผู้เสพจะเกิดอาการประสาทหลอน ความดันโลหิตสูง เกิดภาวะไตวาย มีอาการชัก และเสียชีวิตในที่สุด

ยาอีจัดเป็นยาเสพติดราคาแพง ผู้ผลิตยาจึงอาจผสมสารเสพติดชนิดอื่นๆ ลงไปในเม็ดยาเพื่อให้ยาราคาถูกมากขึ้น เช่น ยาเค เฮโรอีน ซึ่งจะยิ่งทำให้ฤทธิ์ยารุนแรง และเป็นอันตรายต่อร่างกายเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว

การบำบัดผู้เสพยาอี

การบำบัดยาเสพติดสำหรับผู้เสพติดยาอีมีหลายวิธี เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  1. การบำบัดโดยการรักษาโรคจิต เป็นการบำบัดสำหรับผู้เสพที่มีภาวะทางจิตเวชจนทำให้ติดยา เช่น ภาวะ หรือโรคซึมเศร้า
  2. การบำบัดโดยแก้ไขสิ่งแวดล้อม เป็นการบำบัดโดยต้องขอความร่วมมือคนใกล้ชิด และคนในครอบครัวผู้เสพ เพื่อให้สภาพแวดล้อมรอบตัวผู้เสพเกิดการเปลี่ยนแปลง รวมถึงฟื้นฟูสภาพจิตใจผู้เสพไม่ให้อยากกลับไปเสพยาอีก
  3. การบำบัดโดยการถอนพิษยา เป็นการบำบัดยาเสพติดในช่วงที่ผู้ป่วยเสพยาเกินขนาด หรือเมายาอย่างหนัก แพทย์จะมีการจ่ายยาเพื่อรักษาอาการที่เกิดจากการเสพยา เช่น อาการคลุ้มคลั่ง นอกจากนี้ยังอาจให้ผู้เสพอาบน้ำเย็นจัด ดื่มน้ำผลไม้ เพื่อให้รู้สึกสบายใจ และสบายตัวมากขึ้น
  4. การบำบัดโดยการรักษาอาการกระหายยา แพทย์จะจ่ายยากระตุ้นสารโดปามีน ซึ่งเป็นสารควบคุมอารมณ์ และความรู้สึก ทำให้ผู้เสพอยากยาน้อยลง
  5. การบำบัดโดยการป้องกันการติดยาซ้ำ เป็นการบำบัดทางพฤติกรรม และให้คำแนะนำกับผู้ที่เสพติดยาอีไม่ให้กลับไปเสพยาอีก รวมถึงฝึกการรับมือสถานการณ์ที่เสี่ยงนำไปสู่การเสพยาอีกครั้ง

โทษทางกฎหมายของยาอี

ยาอีกจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 ซึ่งเป็นยาเสพติดที่ไม่มีประโยชน์ทางการแพทย์แต่อย่างใด และมีโทษร้ายแรงต่อร่างกาย  ทำให้ยาอีเป็นสิ่งผิดกฎหมาย และอาจมีโทษดังต่อไปนี้

  • หากครอบครอง ยาเสพติดประเภทนี้มีโทษจำคุกสูงสุดถึง 10 ปี ปรับสูงสุด 200,000 หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • หากมีการผลิต นำเข้า ส่งออกเพื่อจำหน่ายยาเสพติดประเภทที่ 1 จะต้องโทษถึงขั้นจำคุกตลอดชีวิต ปรับเป็นเงินสูงสุดถึง 5,000,000 บาท หรืออาจต้องโทษประหารชีวิต

ยาอีเป็นยาเสพติดที่ถูกผลิตขึ้นในห้องแล็ป หรือสถานที่ผิดกฎหมาย อีกทั้งเป็นยาที่เรียกได้หลายชื่อ คุณจึงอาจถูกหลอกให้เสพยาโดยผู้ที่ชักชวนอาจเรียกชื่อยาอีเป็นยาชื่ออื่นที่ฟังดูน่าเชื่อถือก็ได้

ทางที่ดีหากมีใครชักชวนให้คุณเสพยาเสพติดไม่ว่าจะเป็นชื่อใดก็ตาม ให้คุณหลีกเลี่ยงปฏิเสธโดยเด็ดขาด เพราะการทดลองเสพยาเพียงครั้งเดียว อาจนำไปสู่การติดยาซึ่งยากจะถอนตัว และทำให้คุณต้องทุกข์ทรมานกับสุขภาพที่ทรุดโทรมลง รวมถึงอาจต้องใช้เวลาอีกนานจึงจะเลิกยาสำเร็จได้

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจหาสารเสพติด จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Malenka RC, Nestler EJ, Hyman SE (2009). "Chapter 15: Reinforcement and Addictive Disorders". In Sydor A, Brown RY (eds.). Molecular Neuropharmacology: A Foundation for Clinical Neuroscience (2nd ed.). New York: McGraw-Hill Medical. p. 375. ISBN 978-0-07-148127-4.
Palmer RB (2012). Medical toxicology of drug abuse : synthesized chemicals and psychoactive plants. Hoboken, N.J.: John Wiley & Sons. p. 139. ISBN 978-0-471-72760-6.
Steven Dowshen, MDMA (Ecstasy) (https://kidshealth.org/en/teens/ecstasy.html), May 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รางจืด สุดยอดสมุนไพร ช่วยล้างพิษในร่างกาย
รางจืด สุดยอดสมุนไพร ช่วยล้างพิษในร่างกาย

รางจืด สมุนไพรมากด้วยประโยชน์ ช่วยขับพิษออกจากร่างกาย แต่ก็มีข้อควรระวังในการใช้เช่นกัน ซึ่งจะมีอะไรอะไรบ้างนั้น บทความนี้มีคำตอบ

อ่านเพิ่ม
สารระเหย (Inhalants)
สารระเหย (Inhalants)

ผลข้างเคียงที่อันตรายของสารระเหยรูปแบบต่างๆ ที่คุณอาจไม่เคยคิดมาก่อน ลองสังเกตอาการผิดปกติของคุณเมื่อสูดดมสารระเหย

อ่านเพิ่ม