กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

ยาซอมบี้คืออะไร ออกฤทธิ์อย่างไร

ยาซอมบี้ ยาเสพติดชนิดใหม่ที่ทำให้คลุ้มคลั่งเหมือนซอมบี้ในหนัง
เผยแพร่ครั้งแรก 7 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ยาซอมบี้คืออะไร ออกฤทธิ์อย่างไร

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ยาซอมบี้ เป็นยาที่ระบาดหนักในประเทศสหรัฐอเมริกาขณะนี้ โดยมีฤทธิ์ทำให้ผู้เสพประสาทหลอน เพ้อฝัน ตื่นตัว เมื่อเสพหนักมากๆ จะมีอาการคลุ้มคลั่งไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ จนถึงขั้นกัดกินเนื้อคนที่เดินผ่านไปมา
  • ยาซอมบี้เป็นยาที่ออกฤทธิ์หลอนประสาทเช่นเดียวกับยาอี และยาบ้า
  • ยาซอมบี้ทำให้ผู้เสพมีอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นมากกว่า 40 องศาเซลเซียส ความดันโลหิตสูง วิงเวียนศีรษะ แน่นหน้าอก กล้ามเนื้อทำงานบกพร่อง และผลข้างเคียงระยะยาวจะทำให้ผู้เสพเป็นโรคซึมเศร้า ไตวาย เป็นโรคหลอดเลือดสมอง เห็นภาพหลอนบ่อย
  • ยาซอมบี้มักผสมกับยาเสพติดชนิดอื่นในระหว่างเสพด้วย เช่น โคเคน เฮโรอีน
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสารเสพติด

ยาซอมบี้ เป็นยาเสพติดชนิดใหม่ที่เริ่มแพร่หลายในต่างประเทศ แต่อาจยังไม่เป็นที่คุ้นชื่อนักในประเทศไทย เรามาดูกันว่า ยาเสพติดชนิดนี้มีอันตรายร้ายแรงอย่างไร

ความหมายของยาซอมบี้

ยาซอมบี้ (Bath Salts) หรืออีกชื่อเรียกว่า “ยาฟลัคก้า (Flakka)” เป็นยาเสพติดในรูปแบบยาผงสีขาว หรือผลึกแก้วสีขาว หรือสีชมพู สังเคราะห์มาจากสารคาทิโนน (Cathinones) ซึ่งเป็นสารเสพติดที่ออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง และสมองเหมือนกับยาบ้า และยาอี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สารเคมีสำคัญที่อยู่ในยาซอมบี้ คือ สารเมฟีโดรน (Mephedrone) และสารเมทิโลน (Methylone) หรือสาร MDPC (Methylenedioxypyrovalerone) ซึ่งเป็นสารกระตุ้นระบบประสาท และถือเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1

วิธีเสพยาซอมบี้มักจะเสพผ่านการสูดผงเข้าจมูก สูบเป็นบุหรี่ หรือผสมกับน้ำเปล่า แล้วฉีดเข้าเส้นเลือดผ่านเข็มฉีดยา

การออกฤทธิ์ของยาซอมบี้

การออกฤทธิ์ของยาซอมบี้จะทำให้ผู้เสพรู้สึกมีพละกำลังมหาศาล เพ้อฝัน เกิดอารมณ์ทางเพศมากขึ้น ตื่นตัว กระปรี้กระเปร่ากว่าเดิม เช่น หากผู้เสพเป็นคนเก็บเนื้อเก็บตัว เมื่อเสพยาซอมบี้เข้าไปจะกลายเป็นคนชอบมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นมาก จนแทบจะเป็นคนละกัน

อย่างไรก็ตาม หากเสพยาซอมบี้เข้าไปมากๆ หรือเสพยาเกินขนาด จะทำให้เกิดผลข้างเคียงตามมา

1. ผลข้างเคียงระยะสั้นของยาซอมบี้

  • นอนไม่หลับ
  • กระสับกระส่าย อยู่นิ่งไม่ได้
  • วิงเวียนศีรษะ
  • หวาดระแวง
  • ประสาทหลอน
  • หลงอยู่ในจินตนาการ ไม่สามารถอยู่กับโลกความเป็นจริงได้
  • คลุ้มคลั่ง ควบคุมอารมณ์ไม่ได้
  • จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ
  • ความดันโลหิต และอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นมากกว่า 40 องศาเซลเซียส
  • แน่นหน้าอก
  • การทำงานของกล้ามเนื้อบกพร่อง
  • ชัก
  • หมดสติ

2. ผลข้างเคียงระยะยาวของยาซอมบี้

อาการที่ผู้เสพยาซอมบี้จะเผชิญในระยะยาว และอาจเป็นอาการเรื้อรังที่ยากจะรักษาหาย ได้แก่

  • สมองบวม
  • ร่างกายอ่อนเพลีย
  • มีปัญหาด้านการนอนหลับ เช่น นอนไม่หลับ รู้สึกง่วงนอนตลอดเวลา
  • การมองเห็นพร่าเบลอ
  • มักปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ
  • เป็นโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวลอย่างหนักจนอาจฆ่าตัวตาย
  • หวาดระแวงอยู่ตลอดเวลา
  • ประสาทหลอน เห็นภาพหลอน หูแว่วบ่อย
  • ร่างกายขาดน้ำ

ผู้เสพยาซอมบี้ที่ติดยาอย่างหนักจะมีอาการลงแดง และจะคลุ้มคลั่งอย่างหนักเมื่อขาดยา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผู้เสพหลายรายมีอาการคลุ้มคลั่งเหมือนกับซอมบี้ในหนัง ทั้งอาละวาดทำร้ายผู้คน พูดจาไม่รู้เรื่อง และไม่สามารถรับฟังสื่อสารกับใครได้

มีรายงานจากรัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกาว่า มีผู้เสพยาซอมบี้ที่มีอาการคลุ้มคลั่งถึงขั้นกัดกินเนื้อผู้คนที่เดินผ่านไปมาเหมือนกับซอมบี้จริงๆ เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องระดมยิงปืนใส่ผู้เสพหลายนัดจึงจะหยุดอาการได้ นี่จึงเป็นที่มาของชื่อ “ยาซอมบี้”

นอกจากนี้ยาซอมบี้ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะและโรคร้ายแรงหลายชนิดด้วย เช่น อาการหัวใจวาย ตับวาย ไตวาย หลอดเลือดตีบตัน เป็นโรคหลอดเลือดสมอง เป็นโรคหลอดเลือดแดงโป่งพอง

การหลีกเลี่ยงการเสพยาซอมบี้

ยาซอมบี้มักถูกใช้ผสมกับยาเสพติดชนิดอื่น เช่น โคเคน เฮโรอีน เพื่อให้การออกฤทธิ์รุนแรงยิ่งขึ้น และด้วยตัวยาที่ยังไม่แพร่หลาย จึงจำเป็นต้องใส่ผสมกับยาเสพติดชนิดอื่นเพื่อให้การออกฤทธิ์ยาค่อยๆ แพร่หลายในหมู่ผู้เสพ

ดังนั้นผู้เสพยาที่ยังเป็นวัยรุ่น ผู้ที่เพิ่งอยากลองเสพยาจึงมักไม่รู้ว่า ในยาที่เสพเข้าไปมียาเสพติดกี่ชนิดผสมอยู่ ทางที่ดีหากมีคนเสนอยาเสพติดให้ทดลองใช้ ควรหลีกเลี่ยงการลองเสพในทุกกรณี

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยาซอมบี้เป็นที่แพร่หลายหนักในประเทศสหรัฐอเมริกา และกลุ่มชุมชนคนลาตินเป็นส่วนมาก ยังไม่แพร่กระจายเข้ามาในประเทศแถบเอเชียมากนัก 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แต่ก็อย่าประมาท เพราะทุกวันนี้ยังมีผู้ลักลอบนำเข้ายาเสพติดเข้ามาในประเทศไทย ท้าทายกฎหมายอยู่เรื่อยๆ 

ประเทศไทยกำหนดให้ยาซอมบี้เป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 คือ เป็นยาไม่มีประโยชน์ทางการแพทย์ และเป็นโทษร้ายแรงต่อร่างกาย ผู้ครอบครองยาเสพติดประเภทนี้มีโทษจำคุกสูงสุด 10 ปี หรือปรับสูงสุด 200,000 บาท

ผู้ที่ผลิต นำเข้า และส่งออกยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 มีโทษสูงสุด คือ จำคุกตลอดชีวิต ปรับสูงสุด 5,000,000 บาท หรืออาจได้รับโทษประหารชีวิตได้

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสารเสพติด จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Uma Ayer, MA, The Effects of Flakka Use (https://drugabuse.com/flakka/effects-use/), 9 August 2020.
Miranda Knox, ZOMBIE DRUG, Harrowing effect of ‘cannibal’ drug Flakka that causes victims to gouge each others eyes – as it claims first Brit life (https://www.thesun.co.uk/news/10880994/flakka-harrowing-effect-cannibal-drug-british-victim-andrea-horvathova/), 9 August 2020.
Hayley Hudson, Flakka Addiction and Abuse (https://www.addictioncenter.com/drugs/flakka-addiction-abuse/), 9 August 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ยาเค (Ketamine)
ยาเค (Ketamine)

รู้จักยาเคและความอันตรายจากยา ทั้งผลกระทบระยะสั้น ระยะยาว ระบบประสาท

อ่านเพิ่ม
MDMA หรือยาอี
MDMA หรือยาอี

MDMA หรือยาอี ยาเสพติดมีฤทธิ์อันตรายร้ายแรงต่อร่างกาย อาจเสียชีวิตได้ ไม่ควรทดลอง หรือเสพ

อ่านเพิ่ม