กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

รู้จักกับเห็ดเมา (Magic Mushrooms) หรือเห็ดขี้ควาย หนึ่งในยาเสพติดประเภทที่ 5

เห็ดเมา หรือที่รู้จักกันในชื่อ เห็ดพิษ เห็ดขี้ควาย หรือเห็ดไข่เจียว พบได้ทั่วไป แต่ไม่ควรรับประทาน เพราะทำให้เกิดอันตรายได้
เผยแพร่ครั้งแรก 20 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 30 ก.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
รู้จักกับเห็ดเมา (Magic Mushrooms) หรือเห็ดขี้ควาย หนึ่งในยาเสพติดประเภทที่ 5

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เห็ดเมา สามารถเรียกได้หลายชื่อ เช่น เห็ดพิษ เห็ดขี้วัว เห็ดขี้ควาย เห็ดมหัศจรรย์ เห็ดไข่เจียว เห็ดพิเศษ หรือเห็ดมีผลต่อประสาทหลอน 
  • เห็ดเมาเป็นเห็ดพิษที่มีสารซิโลไซบิน (Psilocybin) และซิโลซีน (Psilocin) ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการหลอนฝัน มึนเมา และอาจถึงขั้นวิกลจริตได้
  • ลักษณะทั่วไปของเห็ดเมาคือ มีสีเหลืองซีดคล้ายสีฟางแห้ง บนหัวของร่มจะมีสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำ บริเวณก้านที่ใก้ลจะถึงตัวร่มจะมีแผ่นเนื้อเยื่อบางๆ สีขาว แผ่ขยายออกรอบก้าน มักพบอยู่ตามกองมูลควายแห้ง และพบได้ทั่วภูมิภาค
  • เห็ดเมาจัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติดประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ผู้ที่มีอยู่ในครอบครอง ไม่ว่าจะเป็นการปลูกเพื่อการผลิต มีหัวเชื้อจำนวนมาก หรือทำการซื้อขาย ถือเป็นผู้ทำผิดกฎหมายมีโทษถึงขั้นจำคุกทั้งสิ้น
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสารเสพติด

เห็ดบางชนิดถูกจัดให้เป็นยาเสพติดผิดกฎหมาย เพราะมีส่วนประกอบของสารที่ทำให้เกิดอาการประสาทหลอน ในบทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับ เห็ดเมา (Magic Mushrooms) หรือที่ในไทยนิยมเรียกกันว่า “เห็ดขี้ควาย” หนึ่งในสารเสพติดที่ได้จากธรรมชาติ

เห็ดเมา คืออะไร?

เห็ดเมา สามารถเรียกได้หลายชื่อ เช่น เห็ดพิษ เห็ดขี้วัว เห็ดขี้ควาย เห็ดมหัศจรรย์ เห็ดไข่เจียว เห็ดพิเศษ หรือเห็ดมีผลต่อประสาทหลอน เป็นเห็ดพิษที่มีสารซิโลไซบิน (Psilocybin) และซิโลซีน (Psilocin) ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการหลอนฝัน มึนเมา และอาจถึงขั้นวิกลจริตได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ลักษณะทั่วไปของเห็ดเมาคือ มีสีเหลืองซีดคล้ายสีฟางแห้ง บนหัวของร่มจะมีสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำ บริเวณก้านที่ใก้ลจะถึงตัวร่มจะมีแผ่นเนื้อเยื่อบางๆ สีขาว แผ่ขยายออกรอบก้าน มักพบอยู่ตามกองมูลควายแห้ง และพบได้ทั่วภูมิภาคของประเทศไทย

เห็ดเมานั้นจัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติดประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ผู้ที่มีอยู่ในครอบครอง ไม่ว่าจะเป็นการปลูกเพื่อการผลิต มีหัวเชื้อ หรือทำการซื้อขาย ถือเป็นผู้ทำผิดกฎหมายมีโทษถึงขั้นจำคุกทั้งสิ้น

ผลข้างเคียงของการเสพเห็ดเมาในระยะสั้น 

เมื่อเสพเห็ดเมาเข้าไปในร่างกาย สารซิโลไซบินจะแปลงเป็นสารซิโลซีน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า สารซิโลซีนจะออกฤทธิ์กับสารซีโรโทนิน (Serotonin) ในสมอง (เนื่องจากมีโครงสร้างคล้ายกัน) ทำให้ผู้เสพมีอาการเคลิ้มสุข รู้สึกสนุกสนาน เพลิดเพลิน และมองเห็นภาพตามความรู้สึกจินตนาการ หรือภาพลวงตาได้

ฤทธิ์ของเห็ดเมานั้นจะเกิดขึ้นภายใน 30-45 นาที และออกฤทธิ์อยู่ในร่างกายได้ประมาณ 6 ชั่วโมง

ผลข้างเคียงของการเสพเห็ดเมาในระยะยาว

ผู้ที่เสพเห็ดเมามักเกิดอาการดื้อยาต่อสารซิโลไซบิน และสารซิโลซีน ทำให้ต้องใช้เห็ดมากขึ้นเพื่อให้เกิดอาการเมา ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพและชีวิต

การใช้เห็ดเมาอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานาน จะทำให้ผู้เสพมีอาการทรมานจากการติดยามากกว่าที่จะรู้สึกมีความสุข เพราะพวกเขาจะมีปัญหากับการใช้ชีวิตประจำวัน และการควบคุมอารมณ์ของตน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การเสพเห็ดเป็นระยะเวลานานจะทำให้ผู้เสพเกิดอาการป่วยทางจิต เช่น เป็นโรคจิตเภท หรือเป็นโรคจิต

แม้ผู้เสพจะไม่ได้เสพเห็ดแล้ว แต่พวกเขาก็ยังเกิดอาการข้างเคียงได้ โดยอาการต่างๆ อาจเกิดขึ้นหลายวัน หรือหลายเดือนหลังจากการเสพ

หลังจากเห็ดเมาหมดฤทธิ์ เกิดอะไรขึ้น?

อาการขั้นต้นที่อาจเกิดขึ้นหลังจากเห็ดเมาหมดฤทธิ์ คือ คลื่นไส้ และหาวง่วงอย่างหนัก 

หากใช้เห็ดในปริมาณน้อยอาการข้างเคียงจะไม่มากนัก โดยจะรู้สึกเพียงง่วงซึม และผ่อนคลาย แต่หากเสพในปริมาณมากอาจทำให้ผู้เสพเกิดอาการภาพหลอน กระวนกระวาย วิตกกังวล และหวาดระแวง 

ผู้เสพเห็ดเมาบางรายอาจเกิดภาวะสับสน หรือความจำเสื่อมชั่วขณะร่วมด้วย และในผู้ที่เสพเห็ดเมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดปัญหาทางจิต หรือจิตหลอนได้

โดยระยะเวลาและความรุนแรงจากอาการเมาเห็ดนั้นแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้และฤทธิ์ของเห็ดต้นนั้นๆ ส่วนระยะเวลาหมดฤทธิ์ของเห็ดนั้นขึ้นอยู่กับอารมณ์ พฤติกรรม และความคาดหวังของผู้เสพเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสารพิษ สารเสพติดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 194 บาท ลดสูงสุด 68% บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการเมายา เมาเห็ดเมา เป็นอย่างไร?

อาการเมายาเกิดขึ้นหลายรูปแบบ บางครั้งทำให้ผู้เสพรู้สึกสนุกสนานเพลิดเพลิน แต่บางครั้งก็ทำให้เกิดอาการที่ไม่สามารถควบคุมความคิดได้ เกิดภาพลวงตาตามจินตนาการ หวาดระแวง ตื่นตระหนก และหวาดกลัวว่า ตัวเองจะถูกทำร้าย หรือโดนฆ่า 

โดยอาการที่เกิดขึ้นนั้นคาดเดาได้ยากว่า จะมีอาการเช่นใดเกิดขึ้นกับผู้เสพบ้างโดยขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล และที่สำคัญคือ ผู้เสพจะไม่สามารถควบคุมอาการได้จนกว่าฤทธิ์ของเห็ดจะหมดลงไปเองซึ่งอาจใช้เวลาหลายชั่วโมงเลยทีเดียว

เห็ดเมา ทำให้เกิดผลข้างเคียงทางร่างกายอย่างไร?

ผลข้างเคียงทางด้านร่างกายจากการเสพเห็ดเมา มีดังนี้

ข้อควรระวัง คือ การเสพเห็ดเมาในปริมาณมากเกินไปจะทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายอย่างรุนแรง และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ในที่สุด

ปัญหาอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้จากการเสพเห็ดเมา

ในบางครั้ง เราอาจรับประทานเห็ดเมาเข้าไปโดยไม่รู้ตัว หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งเห็ดเมาอาจทำให้ผู้เสพเกิดอาการปวดท้องรุนแรง อาเจียน หรือทำให้เกิดอาการท้องร่วงได้ 

หากเกิดอาการเหล่านี้หลังรับประทานเห็ด แสดงว่า เห็ดที่รับประทานเข้าไปเป็นเห็ดพิษ ให้รีบไปพบแพทย์ด่วน 

อย่างไรก็ตาม ไม่ควรขับรถด้วยตนเอง เนื่องจากเห็ดเมาจะส่งผลต่อระบบการทำงานของสมองเกี่ยวกับการรับรู้ความเป็นจริง ความคิด และการตัดสินใจ ทำให้มีแนวโน้มที่จะเกิดอุบัติเหตุได้

วิธีเลิกเสพเห็ดเมา 

การเลิกเสพเห็ดเมาจะไม่มีอาการข้างเคียงใดๆ แต่ด้วยอาการเสพติดอาจทำให้ผู้ใช้เลิกยากสักหน่อย เนื่องจากความรู้สึกเพลิดเพลินมีความสุขขณะเสพทำให้ผู้เสพไม่สามารถหยุดได้ 

สัญญาณที่บอกว่า ผู้นั้นเสพติดเห็ดเมาคือ อาการเมายาแม้จะไม่ได้ใช้เห็ด มีปัญหาที่โรงเรียน หรือที่ทำงาน มีอาการอยากยา และต้องการเสพเห็ดเมาอย่างรุนแรง

อย่างไรก็ตาม ไม่มีการรักษาโดยเฉพาะสำหรับการเสพติดเห็ดเมา แต่สามารถใช้วิธีเข้าร่วมโครงการบำบัดรักษา ปรึกษาแพทย์ หรือเข้าศูนย์บำบัดยาเสพติดได้

ควรเลี่ยงการเสพ หรือทดลองใช้เห็ดเมา

การเสพเห็ดเมาอาจดูไม่ร้ายแรงเหมือนกับการเสพยาเสพติดชนิดอื่น แต่ผู้เสพหลายท่านกลับไม่ได้คิดถึงผลกระทบที่เกิดจากอาการเมาเห็ด ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะฝันร้าย เกิดภาพหลอน ซึ่งอาการดังกล่าวจะไม่หายไปจนกว่าฤทธิ์ของเห็ดจะหมดลง 

แต่ที่แย่กว่านั้นคือ อาจเกิดอันตรายต่อผู้เสพจนต้องนำส่งโรงพยาบาล เพราะเกิดภาวะเห็ดเป็นพิษได้

นอกจากนี้ผู้เสพเห็ดเมาบางรายอาจมีอาการทางจิตที่เกิดขึ้นหลังจากการเสพแตกต่างกันไป ดังนั้นควรเลี่ยงการเสพ หรือการทดลองเห็ดเมาใดๆ จะปลอดภัยที่สุด

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสารเสพติด จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Verywell Mind, Magic Mushrooms: Myths, Effects, Risks, and How to Get Help (https://www.verywellmind.com/what-are-magic-mushrooms-22085), 27 July 2020.
Medical News Today, Psilocybin and magic mushrooms: Effects and risks (https://www.medicalnewstoday.com/articles/308850), 27 July 2020.
Healthline, Medical Benefits of Magic Mushrooms (https://www.healthline.com/health-news/benefits-of-medical-mushrooms), 27 July 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เฮโรอีน
เฮโรอีน

เฮโรอีน เป็นยาเสพติดที่ออกฤทธิ์ต่อสมอง ไม่ควรทดลอง หรือเสพยา เพราะอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

อ่านเพิ่ม
MDMA หรือยาอี
MDMA หรือยาอี

MDMA หรือยาอี ยาเสพติดมีฤทธิ์อันตรายร้ายแรงต่อร่างกาย อาจเสียชีวิตได้ ไม่ควรทดลอง หรือเสพ

อ่านเพิ่ม
ยาซอมบี้คืออะไร ออกฤทธิ์อย่างไร
ยาซอมบี้คืออะไร ออกฤทธิ์อย่างไร

ยาซอมบี้ ยาเสพติดชนิดใหม่ที่ทำให้คลุ้มคลั่งเหมือนซอมบี้ในหนัง

อ่านเพิ่ม