กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

กัญชา รวมเรื่องน่ารู้ และสรรพคุณทางการแพทย์ ที่รู้แล้วต้องอึ้ง

เรื่องน่ารู้ที่คุณอาจเข้าใจผิดเกี่ยวกับกัญชา รวมถึงสรรพคุณกัญชาที่มีมากมายในทางการแพทย์หากใช้ถูกวิธี
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 17 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
กัญชา รวมเรื่องน่ารู้ และสรรพคุณทางการแพทย์ ที่รู้แล้วต้องอึ้ง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • กัญชา (Cannabis) เป็นพืชที่มีทั้งประโยชน์ และโทษ โดยในปัจจุบัน ทางการแพทย์กำลังศึกษาวิจัยสารในกัญชาเพื่อนำมารักษาอาการเจ็บป่วยและโรคต่างๆ
  • สรรพคุณทางการแพทย์ของกัญชา เช่น บรรเทาอาการวิตกกังวล หอบหืด ลดความเสี่ยงสมองฝ่อ รักษาต้อหินที่ดวงตา หรือลดอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อ
  • หากใช้กัญชาอย่างผิดวิธี เช่น นำมาสอดไส้บุหรี่สูบ จะเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปอด โรคซึมเศร้า เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และระบบประสาทผิดปกติได้
  • การใช้กัญชาเพื่อรักษาโรค ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง การเสพติดกัญชาได้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสารเสพติด

กัญชา เป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีทั้งประโยชน์ และโทษอยู่ในตัว ปัจจุบันรัฐบาลไทยได้แก้กฎหมายใหม่เพื่อเปิดโอกาสให้นำกัญชาไปศึกษาวิจัยเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ และนำไปใช้รักษาโรคภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์ได้

กัญชาคืออะไร?

กัญชาเป็นพืชในตระกูล Cannabis มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa ซึ่ง มี 3 สายพันธุ์ย่อย ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  1. Cannabis sativa spp. indica มีลักษณะเป็นพุ่มเตี้ย สูงไม่เกิน 2 เมตร ใบมีสีเขียวเข้ม มีลักษณะสั้นและกว้าง เติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีอากาศเย็น หรือการปลูกในร่ม นิยมปลูกเพื่อนำดอกมาใช้สารในกัญชาสกัดเป็นน้ำมันทางด้านการแพทย์ และนำมาใช้เพื่อการผ่อนคลาย
  2. Cannabis sativa spp. sativa หรือกัญชง ลำต้นใหญ่ หนา และแข็งแรง อาจสูงได้มากถึง 6 เมตร ใบมีลักษณะเรียวยาว สีเขียวอ่อน เติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีอากาศร้อน นิยมปลูกเพื่อเอาใยมาใช้ทางด้านอุตสาหกรรม เนื่องจากมีน้ำมันกัญชาน้อย
  3. Cannabis sativa spp. ruderalis ต้นเล็กคล้ายวัชพืช ใบมีลักษณะกว้างและเล็กผสมกัน เติบโตได้ดีทั้งในอากาศร้อนและเย็น พบได้มากในทวีปยุโรป

*คำว่า มารีฮวนน่า (Marijuana) เป็นคำแสลงใช้เรียกส่วนของดอกกัญชาที่ใช้นำมาสูบ

อ่านเพิ่มเติม: กัญชาคืออะไร

สรรพคุณทางการแพทย์ของกัญชา

กัญชามีประโยชน์ในทางการแพทย์มากมาย เนื่องจากปัจจุบันมีการยอมรับให้นำสารในกัญชามาศึกษาวิจัยเพื่อรักษาอาการป่วยรูปแบบต่างๆ มากมาย 

สาระสำคัญส่วนใหญ่ในกัญชามี 2 ชนิดคือ Tetrahydrocannabinol (THC) และ Cannabidiol (CBD) ซึ่งการศึกษาวิจัยในปัจจุบันมีการสรุปสรรพคุณดังนี้

ประโยชน์ของสาร THC

  • ลดการคลื่นไส้จากยาเคมีบำบัด
  • ลดอาการปวดเรื้อรัง
  • ลดอาการเบื่ออาหารในผู้ป่วยบางกลุ่ม (ต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์)
  • ลดการเกร็งในผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทบางชนิด ได้แก่ Multiple sclerosis

โทษของสาร THC

  • ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท
  • เมาหลอนประสาท
  • เสพติดและเพิ่มอัตราการฆ่าตัวตาย
  • เกิดภาวะเป็นพิษเมื่อได้รับเป็นปริมาณสูง

ประโยชน์ของสาร CBD

ประโยชน์ของสาร CBD ที่มีงานวิจัยรองรับ คือ ใช้รักษาโรคลมชักในเด็กเฉพาะกลุ่มอาการ Lennox-Gastaut และ Dravet

ส่วนประโยชน์ต่อร่างกายและสมองที่มีแนวโน้มจะเป็นไปได้ แต่ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาวิจัย มีดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

บรรเทาอาการวิตกกังวล (Antianxiety effect) 

สารในกัญชาสกัดกลุ่ม แคนนาบินอล (Cannabidoid) สามารถช่วยลดอาการวิตกกังวล และช่วยให้มีความสุขในช่วงสั้นๆ ได้

อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวยังคงความเสี่ยงที่อาการวิตกกังวลจะกำเริบ และกลายไปเป็นโรคซึมเศร้า หรืออารมณ์แมเนียกำเริบ (Mania) ปัจจุบันนี้การออกฤทธิ์ของสารในกัญชายังคงมีความซับซ้อน และกำลังอยู่ในช่วงวิจัยทดลอง 

ลดความเสี่ยงสมองฝ่อ (Neurodegeneration) 

มีการวิจัยต่อเนื่องในประเทศอังกฤษโดยใช้สารในกัญชากลุ่ม Acid cannabinoids และ Endocannabioids พบว่า มีแนวโน้มที่จะรักษาอาการทางสมองบางประเภทได้ เช่น โรคพาร์กินสัน (Parkinson disease) โรคฮันติงตัน (Huntington disease) 

แต่อย่างไรก็ตาม โรคและอาการทางระบบประสาทที่กล่าวมานี้ยังไม่มีข้อมูลยืนยันที่มากเพียงพอต่อการรักษา อีกทั้งยังมีโอกาสก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดในสมองตามมาอีกด้วย ปัจจุบันกำลังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบทางคลินิก

รักษาต้อหินที่ดวงตา (Glaucoma) 

มีการศึกษาทดลองพบว่า สารสกัด THC ซึ่งเป็นสารในกัญชา ถูกนำมาใช้ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะยาหยอด การกิน การดมกลิ่น พบว่า สามารถลดความดันลูกตาซึ่งเป็นสาเหตุของโรคต้อหินได้ 3-5 มิลลิลิตรปรอท 

แต่ฤทธิ์ยาจะอยู่ได้เพียง 2-4 ชั่วโมงเท่านั้น ทำให้ไม่สะดวกต่อการใช้งาน นอกจากนี้ยังมีผลข้างเคียงอื่นๆ ที่ส่งผลต่อสมอง เช่น ง่วงซึม อารมณ์แปรปรวน และหากรับยาผ่านการดมกลิ่น ก็อาจส่งผลกระทบกับปอดได้ 

ฉะนั้นจึงถือได้ว่า การใช้สารในกัญชาที่สกัดเพื่อรักษาต้อหินนั้นยังไม่ประสบความสำเร็จ และกำลังอยู่ในระหว่างวิจัยพัฒนา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

บรรเทาอาการหอบหืด 

สารในกัญชามีผลทำให้หลอดลมขยาย หรือลดการหดตัวได้ ฉะนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่จะใช้กัญชาในการควบคุมและบรรเทาอาการหอบหืด แต่ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

ลดอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อ 

สารในกัญชาบางชนิด เช่น CBD สามารถช่วยลดอาการปวดเกร็ง กล้ามเนื้อกระตุก โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง 

รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง 

เนื่องจากสารอนุพันธ์ของ THC ได้แก่ Nabilone และ Dronabinol  สามารถลดอาการคลื่นไส้อาเจียนสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับผลข้างเคียงจากการใช้เคมีบำบัด อีกทั้งยังช่วยให้เจริญอาหารมากขึ้น น้ำหนักตัวลดช้าลง นอกจากนี้ในการทดลองกับสัตว์พบว่า เชื้อมะเร็งมีขนาดเล็กลงจากสารในกัญชากลุ่มอนุพันธ์บางชนิด

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีสารอนุพันธ์กัญชาอีกบางชนิดที่ส่งผลเสียต่อผู้ป่วยโรคมะเร็ง เช่น Cannabidiol ทำให้เชื้อมะเร็งโตไวขึ้น จึงยังต้องอาศัยการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม 

ช่วยควบคุมอาการลมชักบางชนิด (Epilepsy) 

สารในกัญชาอนุพันธ์กลุ่ม CBD เป็นสารที่มักจะจับกับตัวรับระบบภูมิคุ้มกันและประสาทส่วนปลาย แต่ไม่มีพิษต่อระบบประสาท ทำให้สามารถใช้ควบคุมอาการชักได้

โดยให้ CBD 200-300 มิลลิกรัม ร่วมกับยากันชัก สามารถระงับอาการผู้ป่วยที่เกิดอาการชักแบบควบคุมไม่ได้ แต่ข้อเสียคือ มีผลข้างเคียงทำให้ง่วงซึม ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างสะดวก และต้องใช้ยาต่อเนื่องเป็นเวลานาน

อย่างไรก็ตาม สรรพคุณทางการแพทย์ของสารในกัญชานั้นยังต้องอาศัยการศึกษาค้นคว้าอีกมากมายเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง และต้องอยู่ในการกำกับดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ไม่ควรหามาลองใช้ด้วยตัวเอง เนื่องจากอาจเกิดอันตรายจากผลข้างเคียงได้

อันตรายจากการใช้กัญชาผิดวิธี

แม้สารในกัญชาจะมีประโยชน์ทางการแพทย์ แต่หากนำมาใช้ผิดวิธี เช่น สอดไส้บุหรี่สูบ ก็อาจทำให้เกิดอันตรายได้มากมาย ดังนี้

  • เพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอด หลายคนมักนำไส้กัญชาแห้งมาม้วนผสมกับบุหรี่สูบเพื่อให้ผ่อนคลาย แต่กลับกลายเป็นสารในกัญชากลับไปเพิ่มสารพิษเข้าสู่ปอดมากกว่าเดิม อาจเปรียบได้ว่าการเสพกัญชามวนเพียง 4 มวน อาจเทียบเท่าการสูบบุหรี่ถึง 1 ซอง
  • เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า สารในกัญชาอาจทำให้อารมณ์ดีในระยะสั้นในช่วงที่เริ่มเสพ แต่เมื่อเสพไปนานๆ ในปริมาณมาก กลับมีผลวิจัยชี้ว่าเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าและอัตราการฆ่าตัวตายสูงขึ้น 
  • เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ สารในกัญชามีผลทำให้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนของผู้ชายลดลง ส่งผลให้อสุจิเองก็มีปริมาณลดลงด้วย ทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หรือมีความรู้สึกทางเพศลดลง
  • ระบบประสาทผิดปกติ หากใช้กัญชาในระยะเวลานาน หรือเสพกัญชาเป็นประจำ สารในกัญชาจะทำให้กระบวนการคิด การตัดสินใจ และความจำแย่ลง 

อ่านเพิ่มเติม: กัญชาอยู่ในร่างกายได้นานแค่ไหน

รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกัญชา

นอกจากข้อมูลเบื้องต้นในบทความแล้ว ยังมีอีกหลายข้อที่คนมักสงสัยและบางคนอาจเข้าใจผิด สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสารในกัญชาด้านล่างนี้

1. กัญชาอยู่ในร่างกายได้นานกว่าที่คุณคิด

สารในกัญชาจะค่อยๆ ถูกขับออกผ่านทางปัสสาวะและอุจจาระ ส่วนการที่สารในกัญชาจะค้างอยู่ในร่างกายนานแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับระยะเวลาและความถี่ในการใช้กัญชา 

โดยสามารถตรวจพบได้ในระหว่าง 10-13 วันหลังเสพ หรืออาจนานถึง 45-90 วัน หากใช้กัญชาในปริมาณมากและติดต่อกันเป็นเวลานาน 

2. กัญชาสามารถออกฤทธิ์ไม่นาน แต่ผลเสียเกิดขึ้นยาวนานมาก

ปกติแล้วหลังสูบกัญชา สารในกัญชาจะออกฤทธิ์สูงสุดภายในครึ่งชั่วโมง และมักเป็นอยู่นานประมาณ 3-8 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ใช้ 

ทั้งนี้หากสูบกัญชาบ่อยๆ เป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลเสียต่อระบบประสาทและสมอง ทำให้สมาธิสั้น ระบบการคิดการตัดสินใจแย่ลง ภูมิคุ้มกันต่ำคล้ายกับผู้ป่วยโรคเอดส์

3. เมากัญชาทำไมต้องกินของหวาน?

กัญชามีฤทธิ์ผสมผสานหลายอย่าง เสพแล้วอาจทำให้ระบบต่างๆ ในร่างกายแปรปรวน เช่น ตาแดง คออักเสบ คอแห้ง เหงื่อออกมาก นอกจากนี้สารในกัญชายังเพิ่มการขับน้ำในร่างกายผู้เสพ ทำให้เกิดอาการหิวน้ำและต้องการรับประทานของหวาน

นอกจากนี้ยังมีส่วนทำให้ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น มือเท้าเย็น เพราะสารในกัญชามีส่วนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเปลี่ยนอีกด้วย

4. ติดกัญชา อยากเลิก มีวิธีการเบื้องต้นอย่างไร?

การเลิกเสพกัญชาเบื้องต้นนั้น ความตั้งใจของผู้ที่จะเลิกมีส่วนสำคัญมาก สามารถเลิกได้โดยวิธีการหยุดใช้ได้ทันที เมื่อหยุดใช้แล้วอาจจะมีอาการถอนยาบ้างในช่วง 1-2 วันแรก 

จากนั้นอาการดังกล่าวจะค่อยๆ หายไปเอง ซึ่งจุดนี้อาจต้องได้รับกำลังใจจากคนในครอบครัว เพื่อน และคนรัก

หากคิดว่า ต้องการการช่วยเหลือเพิ่มเติม การติดต่อสถานบำบัดยาเสพติด หรือโทรสายด่วนเลิกยาเสพติด 1165 ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะทำให้คุณสามารถปรึกษากับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการเลิกสารเสพติดได้ 

กัญชาเป็นพืชที่มีทั้งประโยชน์และโทษจึงควรใช้กัญชาด้วยความตระหนักรู้ ไม่นำมาใช้ในทางที่ผิด เพราะอาจทำให้เกิดอาการเสพติดกัญชา ซึ่งส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสารเสพติด จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android

รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับสารเสพติดที่ได้จากธรรมชาติ


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สหภูมิ ศรีสุมา, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล: สารกัญชาที่ใช้ในทางการแพทย์ (https://med.mahidol.ac.th/th/infographics/140), 7 เมษายน 2563.
องค์การเภสัชกรรม, สายพันธุ์กัญชา (https://www.gpo.or.th/LinkClick.aspx?fileticket=sjyxuXZvxNU%3D&tabid=388&mid=1186&language=th-TH), 4 มีนาคม 2563.
แพทยสภา, คำแนะนำสำหรับแพทย์ การใช้กัญชาทางการแพทย์ (https://tmc.or.th/pdf/fact/guideline_cannabis_101062.pdf), 7 เมษายน 2563.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
กัญชาจะอยู่ในระบบร่างกายนานแค่ไหน
กัญชาจะอยู่ในระบบร่างกายนานแค่ไหน

กัญชา สารเสพติดที่ตกค้างในร่างกายได้นานกว่าที่คุณคิด พร้อมอันตรายที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

อ่านเพิ่ม
โทษของยาเสพติด 10 ชนิด อันตรายร้ายแรงต่อชีวิตที่ทุกคนควรรู้
โทษของยาเสพติด 10 ชนิด อันตรายร้ายแรงต่อชีวิตที่ทุกคนควรรู้

10 ยาเสพติดอันตราย กับโทษร้ายที่ทำลายถึงชีวิต

อ่านเพิ่ม
กัญชาคืออะไร
กัญชาคืออะไร

"กัญชา" สารเสพติดผิดกฎหมายยอดนิยมในหมู่วัยรุ่น

อ่านเพิ่ม