กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

กัญชาคืออะไร

"กัญชา" สารเสพติดผิดกฎหมายยอดนิยมในหมู่วัยรุ่น
เผยแพร่ครั้งแรก 17 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 29 ต.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
กัญชาคืออะไร

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • กัญชา คือ พืชล้มลุกที่จัดเป็นยาเสพติดชนิดหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมในประเทศไทย เพราะหาซื้อได้ง่าย ราคาไม่แพง มีฤทธิ์ทำให้รู้สึกเคลิบเคลิ้ม มีความสุข ทำให้ลืมความเครียดได้ง่าย
  • หากเสพกัญชาเกินขนาด ผู้เสพจะมีอาการข้างเคียงอื่นๆ เพิ่มขึ้น เช่น ก้าวร้าวดุดันขึ้น เห็นภาพลวงตา ควบคุมตนเองไม่ได้
  • กัญชาสามารถทำให้เกิดโทษต่อระบบอื่นๆ ของร่างกายด้วย เช่น ไอเรื้อรัง กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน สมาธิสั้น เกิดโรคทางจิตเวช เป็นโรคมะเร็ง
  • ผู้มีกัญชาไว้ครอบครองเป็นสิ่งผิดกฎหมาย โดยมีโทษทั้งจำ และทั้งปรับ อย่างไรก็ตาม กัญชาสามารถถูกใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ หรือเพื่อพัฒนาผลงานการวิจัยได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้ผู้ได้รับอนุญาตทางกฎหมายแล้วเท่านั้น
  • หากคุณเกิดความเครียด และรู้สึกหาทางออกไม่ได้จนอยากพึ่งยาเสพติด คุณควรไปพบจิตแพทย์ หรือนักจิตบำบัดเพื่อปรึกษา และระบายความเครียด นอกจากนี้ คุณยังจะได้รับคำแนะนำในการจัดการความเครียดที่ถูกต้องด้วย
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพจิต

กัญชา คือ สารเสพติดอีกชนิดที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศไทย โดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่น เนื่องจากกัญชาสามารถหาซื้อได้ง่าย มีราคาไม่แพง และมักมีการลักลอบปลูกเพื่อการค้าอยู่บ่อยๆ 

โดยฤทธิ์ของกัญชาจะทำให้ผู้เสพอยู่ในอาการเคลิบเคลิ้ม รู้สึกสนุก ร่าเริง และยังเป็นยาเสพติดประเภทที่เสพแล้วไม่ติด จึงยิ่งทำให้เป็นที่แพร่หลายในการสูบเพื่อให้ได้ความรู้สึกสนุก ทำให้หลงลืมความเครียดได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ลักษณะการเสพกัญชาที่มักได้รับความนิยมคือ นำไปสอดไส้บุหรี่หรือนำมาม้วนเป็นบุหรี่แล้วสูบ แต่จะมีกี่คนที่รู้ว่ากัญชานั้นมีโทษร้ายแรงต่อระบบประสาทอย่างมาก

กัญชาคืออะไร

กัญชา (Canabis) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L. เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง มีขนาดลำต้นสูงประมาณ 2-5 เมตร 

กัญชาเป็นพืชที่มีต้นตัวผู้และต้นตัวเมียแยกกัน (dioecious plant) ลักษณะของใบกัญชาจะแยกออกเป็นแฉกประมาณ 5-8 แฉก โดยทุกแฉกจะมีรอยหยัก มีดอกออกเป็นช่อเล็กๆ ตามกิ่งและก้านของต้น 

ซึ่งส่วนของกัญชาที่นำมาใช้เป็นยาเสพติดก็คือ บริเวณใบ ยอดช่อดอก และกิ่งก้านที่นำมาตากแดดจนแห้ง แล้วบดให้ละเอียด จากนั้นนำมาใส่ในบ้องกัญชา หรือนำมาม้วนผสมกับบุหรี่เพื่อใช้ในการเสพ

นอกจากจะเป็นการพูดเชิงคุยเล่นหรือเชิงวิชาการ น้อยคนที่จะพูดถึงกัญชาในชื่อตรงๆ แต่คำเรียกของกัญชาที่เป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นคือ คำว่า "ดูดเนื้อ" หรือการ "ปุ๊น" บางคนอาจจะเรียกว่า "มาลีฮวนน่า" ก็แล้วแต่ความนิยมของในพื้นที่นั้นๆ

อาการของผู้เสพกัญชา

เพราะสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol) ที่มีอยู่มากในกัญชา จึงทำให้ในระยะแรกที่เสพเข้าไปผู้เสพจะมีอาการตื่นเต้น ร่าเริง หัวเราะง่าย ช่างพูดช่างคุย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

จนเมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 1-2 ชั่วโมง กัญชาจะเริ่มออกฤทธิ์กดประสาท ทำให้ผู้เสพมีอาการคล้ายกับเมาเหล้า หน้าแดง ลิ้นไก่พันกัน พูดไม่ค่อยรู้เรื่อง เซื่องซึม ง่วงนอนตลอดเวลา 

เมื่อเสพเข้าไปมากเกินขนาด ผู้เสพก็จะเริ่มมีอาการอื่นๆ ที่ร้ายแรงเพิ่มขึ้นอีก เช่น เกิดภาพลวงตา ควบคุมตัวเองไม่ได้ เกิดอาการก้าวร้าวดุร้ายขึ้นมา 

โทษของกัญชามีอะไรบ้าง

กัญชาเป็นยาเสพติดที่เสพแล้วไม่ติด และไม่มีผลข้างเคียงหากผู้เสพจะหยุดเสพอย่างกะทันหัน หากเสพในระยะเวลาไม่นาน เพราะกัญชานั้นเป็นเพียงพืชที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาทแบบอ่อนๆ เท่านั้น 

ผลข้างเคียงที่จะตามมาหลังจากกัญชาหมดฤทธิ์คือ ผู้เสพจะมีอารมณ์อ่อนไหว ไม่มีสติ สมองสั่งงานช้า ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ใจสั่น หูแว่ว ซึ่งหากหยุดเสพแล้ว อาการเหล่านี้ก็จะหายไปเอง แต่อย่างไรก็ตาม หากผู้เสพเสพกัญชาในปริมาณมากและต่อเนื่อง ก็จะส่งผลเสียต่อร่างกายได้ เช่น 

  • ผลต่อระบบทางเดินหายใจ (Respiratory Tract System): การเสพกัญชาอย่างต่อเนื่องจะก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอเรื้อรัง หลอดลมอักเสบ และการเสพกัญชาอาจมีผลทำให้เกิดโรคมะเร็งจากสารก่อมะเร็งได้ด้วย
  • ผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular system): กัญชาจะเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ อีกทั้งมีความสัมพันธ์กับผลไม่พึงประสงค์ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (heart attack)
  • ผลต่อเชาวน์ปัญญา (cognitive functioning): เช่น สมาธิ (attention) ความจำช่วงสั้น (short-term memory) การรับรู้เวลา (time perception) และเชาวน์ปัญญาขั้นสูง (high cognitive functioning) เช่น การ คิดเลขในใจ (mental arithmetic) เมื่อมีการใช้กัญชาเป็นระยะเวลานานๆ
  • ผลต่อความผิดปกติทางจิต (psychosis): การใช้กัญชามีความสัมพันธ์ต่ออาการผิดปกติดังกล่าว โดยเฉพาะโรคทางจิตใจที่มีความผิดปกติของความรู้สึก ความคิด อาการ หรือพฤติกรรม (mental disorder Schizophrenia) โดยการใช้กัญชาจะทำให้อาการแย่ลง
  • ผลทำให้เกิดอาการติดยา (dependence syndrome): การใช้กัญชาเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดอาการติดยาประมาณ 1 ใน 10 ของผู้เสพกัญชา ทั้งนี้ อัตราส่วนจะเพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 6 ของจำนวนผู้เสพ

หากคุณเริ่มเสพกัญชาตั้งแต่เป็นวัยรุ่น ซึ่งผู้เสพติดกัญชาจะมีความต้องการอย่างมากที่จะเสพ และไม่สามารถที่จะลดการเสพลงได้ ซึ่งหากเสพลดลง หรือไม่ได้เสพจะเกิดอาการถอนยาหรือขาดยา และเกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม (withdrawal and behavioral systems)

โทษของกัญชาตามกฎหมายประเทศไทย

ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษปี พ.ศ. 2522 กัญชาถูกจัดให้เป็นยาเสพติดประเภทที่ 5 ซึ่งห้ามผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ครอบครอง หากผู้ใดฝ่าฝืน จะมีโทษตามกฎหมายหลัก 4 ประเภท ดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  1. ผลิต นำเข้า ส่งออก จำคุกตั้งแต่ 2-15 ปี มีโทษปรับตั้งแต่ 200,000-1,500,000 บาท
  2. ครองครองเพื่อจำหน่าย (ไม่ถึง 10 กิโลกรัม) จำคุกคั้งแต่ 2-10 ปี มีโทษปรับตั้งแต่ 40,000-200,000 บาท หรืออาจทั้งจำทั้งปรับ
  3. ครอบครองเพื่อจำหน่าย (เกิน 10 กิโลกรัม) จำคุกตั้งแต่ 2-15 ปี มีโทษปรับตั้งแต่ 200,000-1,500,000 บาท หรืออาจทั้งจำทั้งปรับ
  4. ครอบครองเพียงอย่างเดียว จำคุกไม่เกิน 5 ปี มีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรืออาจทั้งจำทั้งปรับ แต่หากครอบครองเกิน 10 กิโลกรัม จะถือว่าเป็นการครอบครองเพื่อจำหน่าย
  5. เสพ จำคุกไม่เกิน 1 ปี มีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรืออาจทั้งจำทั้งปรับ

ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา อนุญาตให้ใช้ประโยชน์จากกัญชาและกระท่อมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ การรักษาผู้ป่วย หรือการศึกษาวิจัยและพัฒนา ซึ่งในขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

  • องค์การเภสัชกรรม 
  • กรมการแพทย์ 
  • กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ 
  • กรมสุขภาพจิต 
  • สำนักงานอาหารและยา 

กำลังดำเนินการเพื่อให้มีการนำประโยชน์จากสารสกัดจากกัญชา มาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์บนพื้นฐานตามหลักวิชาการด้านการแพทย์ที่เหมาะสม ภายใต้การควบคุมดูแลของผู้เชี่ยวชาญตามมาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพตามที่ได้ระบุในกฎหมายใหม่ ซึ่งต้องเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาตตามกฎหมายเท่านั้น

โดยกัญชาทางการแพทย์ หมายถึง สิ่งที่ได้จากการสกัดพืชกัญชา เพื่อนําสารสกัดที่ได้มาใช้ทางการแพทย์ และการวิจัย ไม่ได้หมายรวมถึงกัญชาที่ยังคงมีสภาพเป็นพืช หรือส่วนประกอบใดๆ ของพืชกัญชา เช่น ยอดดอก ใบ ลําต้น ราก เป็นต้น 

ส่วนผลิตภัณฑ์กัญชา หมายถึง รูปแบบ หรือลักษณะของสารสกัดจากกัญชาที่ผ่านการเตรียมเพื่อนํามาใช้ ทางการแพทย์กับผู้ป่วย เช่น เม็ด สเปรย์พ่นในช่องปาก น้ำมันหยดใต้ลิ้น แท่งเหน็บทวารหนัก และอื่นๆ

ถึงแม้กัญชาจะมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคได้ หรือมักถูกใช้ในทางการแพทย์เป็นส่วนมาก แต่พืชชนิดนี้ก็ยังขึ้นชื่อว่าเป็นสารเสพติดที่ผิดกฎหมาย และมีฤทธิ์ให้โทษกับร่างกายเมื่อเสพในระยะยาว 

ดังนั้นคุณจึงควรหลีกเลี่ยงการเสพกัญชา และไม่หลงตามคำชักชวนของเพื่อนฝูงหรือคนรอบข้างที่ชอบเสพกัญชาอยู่บ่อยๆ เพื่อป้องกันผลเสียที่จะตามมาในภายหลัง

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพจิต จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Volkow ND, et al. (2014). Adverse health effects of marijuana use. DOI: (https://doi.org/10.1056/NEJMra1402309)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
กัญชาจะอยู่ในระบบร่างกายนานแค่ไหน
กัญชาจะอยู่ในระบบร่างกายนานแค่ไหน

กัญชา สารเสพติดที่ตกค้างในร่างกายได้นานกว่าที่คุณคิด พร้อมอันตรายที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

อ่านเพิ่ม
กัญชา รวมเรื่องน่ารู้ และสรรพคุณทางการแพทย์ ที่รู้แล้วต้องอึ้ง
กัญชา รวมเรื่องน่ารู้ และสรรพคุณทางการแพทย์ ที่รู้แล้วต้องอึ้ง

เรื่องน่ารู้ที่คุณอาจเข้าใจผิดเกี่ยวกับกัญชา รวมถึงสรรพคุณกัญชาที่มีมากมายในทางการแพทย์หากใช้ถูกวิธี

อ่านเพิ่ม
โทษของยาเสพติด 10 ชนิด อันตรายร้ายแรงต่อชีวิตที่ทุกคนควรรู้
โทษของยาเสพติด 10 ชนิด อันตรายร้ายแรงต่อชีวิตที่ทุกคนควรรู้

10 ยาเสพติดอันตราย กับโทษร้ายที่ทำลายถึงชีวิต

อ่านเพิ่ม