โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล

เผยแพร่ครั้งแรก 15 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล

สำหรับผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลที่อาศัยในประเทศที่มีฤดูหนาวยาวนานและพระอาทิตย์ขึ้นเพียงไม่กี่โมงนั้น แต่ละวันนั้นช่างยากลำบาก

ผู้ที่เป็นโรคนี้นั้นมักจะมีอาการซึมเศร้าเมื่อกลางวันเริ่มสั้นลงและกลางคืนยาวขึ้น อาการของผู้ป่วยโรคนี้นั้นประกอบด้วยการรู้สึกว่ามีความสุขและระดับพลังงานลดลง, รู้สึกไม่มีค่า, ไม่มีสมาธิ และไม่สามารถควบคุมความต้องการกินน้ำตาลหรืออาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงได้ ถึงแม้ว่าอาการเหล่านี้จะดีขึ้นเมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ แต่โรคนี้ก็อาจทำให้คุณมีน้ำหนักเกินเกณฑ์ และมีปัญหาในด้านความสัมพันธ์กับคนรอบข้างและในที่ทำงานได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าโรคนี้นั้นเกิดจากอะไร แต่เชื่อว่าเกิดจากหลายสาเหตุเช่นการเปลี่ยนแปลงวงจรกลางวันและกลางคืนของร่างกาย, การรับแสงของตา, และการทำงานของสารเคมีต่างๆ เช่น serotonin

บางคนพบว่าการรับประทานยาต้านเศร้านั้นสามารถช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวได้ นอกจากนั้นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถใช้รักษาได้ก็คือการใช้แสง

ประโยชน์ของแสง

หากการที่ได้รับแสงอาทิตย์ลดลงนั้นทำให้เกิดโรคนี้ การที่ได้รับแสงเพิ่มขึ้นก็อาจจะรักษาโรคนี้ได้เช่นกัน แสงที่สว่างนั้นจะไปกระตุ้นเซลล์ที่อยู่ในจอรับภาพภายในลูกตาที่เชื่อมต่อกับสมองส่วนไฮโพทาลามัสที่ทำหน้าที่ควบคุมระบบวงจรกลางวันกลางคืนของร่างกาย การกระตุ้นให้สมองส่วนนี้ทำงานในช่วงเวลาที่จำเพาะทุกๆ วันจะช่วยทำให้ระบบวงจรดังกล่าวนั้นกลับมาทำงานตามปกติและช่วยลดอาการที่เกิดขึ้นได้

การรักษาวิธีนี้ทำได้โดยการนั่งใกล้ๆ กับสิ่งที่เรียกว่า light box วันละ 30 นาที โดยมักจะเป็นในช่วงที่เพิ่งตื่นนอน กล่องนี้จะให้แสงความเข้มข้นขนาด 10,000 ลักซ์ซึ่งเข้มข้นมากกว่าแสงภายในอาคารปกติถึง 100 เท่า ในขณะที่ในวันที่มีแสงแดดจ้า นั้นจะมีความเข้มข้นของแสงอยู่ที่ 50,000 ลักซ์หรือมากกว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวคุณจะต้องลืมตาแต่อย่ามองเข้าไปที่แสงโดยตรง หลายๆ คนในช่วงเวลาดังกล่าวในการอ่านหนังสือพิมพ์ หนังสือ หรือนิตยสาร หรือทำงาน

ถึงแม้ว่าการรักษาวิธีนี้นั้นจะมีประสิทธิภาพเทียบเท่าการใช้ยาต้านเศร้า แต่ก็ไม่ใช่วิธีการรักษาที่ใช้ได้กับทุกคน บางคนต้องการแสงที่จ้ากว่านี้ ในขณะที่หลายคนอาจจะไม่สามารถทนแสงที่จ้าได้เช่นผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วเป็นต้น เพราะอาจกระตุ้นให้เกิดอาการได้ และถึงแม้ว่าวิธีนี้ทำให้มีความเสี่ยงที่ตาจะได้รับอันตรายจากแสงที่จ้าได้ต่ำ แต่ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน (ซึ่งมีการทำลายที่จอรับภาพอยู่เดิม) หรือเป็นโรคเกี่ยวกับตาอยู่เดิม ก็ควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะเริ่มใช้วิธีนี้ในการรักษา

ในปัจจุบัน นักวิจัยมีความพยายามในการค้นหาวิธีที่จะทำให้วิธีนี้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นการสร้าง light box ที่จะเริ่มทำงานเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นหรือตก แล้วค่อยๆ เพิ่มความเข้มข้นของแสงจากมืดขึ้นเป็น 300 ลักซ์ หรืออาจจะใช้แสงสีฟ้าที่มีความเข้มต่ำ ซึ่งจะมีประสิทธิภาพต่อจอรับภาพได้ดีกว่าการใช้แสงขาว

วางแผนการรักษา

ในปัจจุบัน แพทย์มักจะแนะนำให้ผู้ป่วยโรคนี้ทดลองใช้แสงในการรักษาในช่วงหลังตื่นนอน ถ้าหากว่าวิธีนี้ไม่ได้ผลหรือทำให้เกิดข้างเคียง จึงค่อยเปลี่ยนมาใช้ยาต้านเศร้าหรือการใช้แสงวิธีอื่น

ถึงแม้ว่าการรักษาด้วยการใช้แสงนั้นจะค่อนข้างปลอดภัย แต่ก็มีบางข้อที่ควรระวังหากคุณต้องการทดลองรักษาด้วยวิธีนี้

  • คุณควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยที่แน่ชัดก่อนที่จะเริ่มการรักษา เนื่องจากการตรวจว่าคุณเป็นโรคนี้จริงๆ หรือไม่นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ
  • เลือกซื้อ light box ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
  • ก่อนที่จะซื้อ light box ควรสอบถามความยาวของคลื่นแสงที่ light box ใช้ก่อนเสมอ (ควรหลีกเลี่ยง light box ที่ปล่อยคลื่นแสงที่มีความยาวในระดับที่ทำให้เป็นอันตรายได้ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ใช้หลอดไฟฟลูออเรสเซนท์ที่ไม่มีคลื่นแสงของรังสี ultraviolet
  • อีกวิธีหนึ่งที่จะตรวจสอบว่าผลิตภัฑณ์นี้จะเหมาะสำหรับการใช้ในการรักษาหรือไม่นั้นก็คือสอบถามว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวนั้นมีการใช้งานในโรงพยาบาล คลินิก หรืองานวิจัยหรือไม่

ท้ายที่สุดนี้ควรทราบว่าอาการซึมเศร้า และโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลนี้อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุและมีหลายวิธีที่สามารถใช้ในการรักษาได้ ควรพิจารณาทางเลือกในการรักษาจากแพทย์ก่อนเสมอและติดตามอาการเป็นระยะ


20 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Seasonal Affective Disorder. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/seasonalaffectivedisorder.html)
Seasonal affective disorder (SAD). NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/seasonal-affective-disorder-sad/)
Seasonal affective disorder (SAD) - Symptoms and causes. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/seasonal-affective-disorder/symptoms-causes/syc-20364651)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป