การเดินละเมอในขณะที่กำลังนอนหลับอยู่นั้น เป็นภาวะผิดปกติของการนอนชนิดหนึ่ง โดยการนอนจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ระยะที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน คือ
- การนอนหลับในช่วงกลอกตาอย่างเร็ว (Rapid Eye Movement: REM)
- การนอนหลับธรรมดา (non-Rapid Eye Movement: NREM)
ในแต่ละคืน ทุกคนจะมีวงจรการหลับทั้งแบบ REM และ NREM มากมาย ซึ่งการเดินละเมอในขณะนอนหลับมักจะเกิดขึ้นในภาวการณ์หลับลึกของการนอนหลับ NREM ที่เรียกว่า N3 หรือการนอนหลับช่วงคลื่นช้า
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การเดินละเมอขณะนอนหลับ มีอาการอย่างไร?
การเดินละเมอในขณะนอนหลับมักจะเกิดขึ้นหลังจากที่บุคคลนั้นๆ กำลังนอนหลับอยู่ หรือหลังจากนอนหลับสนิทไปแล้วภายใน 1-2 ชั่วโมง แม้จะเรียกกันว่าการเดินละเมอในขณะนอนหลับ แต่ก็อาจพบพฤติกรรมละเมอที่แตกต่างกันได้ ซึ่งก็มีทั้งพฤติกรรมปกติ เช่น การแสดงกิริยาท่าทางหรือพูดคุย และพฤติกรรมซ้ำซ้อนดังนี้
- การแต่งตัว
- การทำอาหารหรือเตรียมของว่าง
- การขับขี่ยานพาหนะ
- การเล่นเครื่องดนตรี
- การมีเพศสัมพันธ์
- การทำกิจกรรมแปลกๆ เช่น ปัสสาวะในตู้เสื้อผ้า (มักเกิดขึ้นในเด็ก)
- การทำกิจกรรมที่เสี่ยงอันตราย เช่น กระโดดออกทางหน้าต่าง
บางครั้งอาจพบว่าผู้ที่มีการละเมอในขณะนอนหลับ มีอาการแสดงอื่นๆ ร่วมในระหว่างนั้นหรือหลังจากนั้น เช่น
- นั่งบนเตียงและลืมตา
- มีอาการสับสนหรืองุนงงหลังจากตื่นนอน
- มีภาวะสูญเสียความทรงจำบางส่วนหรือทั้งหมดของการเดินละเมอในขณะหลับ
- มีพฤติกรรมก้าวร้าวหลังจากที่โดนปลุกให้ตื่น
สาเหตุของการเดินละเมอขณะนอนหลับ
ยังไม่สามารถหาเหตุผลที่ชัดเจนได้ว่าอะไรเป็นสาเหตุของการเดินละเมอขณะนอนหลับ แต่มีการคาดการณ์ว่าการเดินละเมอเป็นความผิดปกติของการตื่นเร้า ในขณะที่มีบางส่วนของสมองไม่มีการตอบสนองต่อปฎิกิริยาอย่างเต็มที่หลังจากเข้าสู่การนอน จึงทำให้บุคคลเหล่านั้นติดอยู่ในรอยต่อระหว่างการหลับอย่างเต็มที่และการตื่นอย่างเต็มที่
ยังมีหลายปัจจัยที่อาจเป็นสาเหตุของการเดินละเมอขณะนอนหลับ ได้แก่
- ยากระตุ้นประสาทและยากดประสาทหลายชนิด เช่น Lithium Ambien (Zolpidem tartrate) และ Wellbutrin
- การอดนอนติดต่อกันเป็นเวลานาน
- การดื่มแอลกอฮอล์
- โรคทางเดินหายใจผิดปกติ เช่น โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น
- มีการรบกวนทางจิตใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล หรือ อาการซึมเศร้า
- การกระทบกระเทือนจิตใจในวัยเด็ก
- ปวดศีรษะ ไมเกรน
- ความผิดปกติด้านการนอนอื่นๆ เช่น โรคลมหลับ และกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข
- ภาวะทางการแพทย์อื่นๆ เช่น ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน การบาดเจ็บที่ศีรษะ โรดกรดไหลย้อน และโรคเส้นเลือดในสมองแตก
การวินิจฉัยการเดินละเมอขณะนอนหลับ
แพทย์อาจตรวจร่างกายหรือทำการทดสอบทางจิตวิทยาเพื่อตัดต้นความเป็นไปได้อื่นๆ ที่ทำให้เกิดพฤติกรรมนี้ แต่บางสภาวะ เช่น พฤติกรรมการนอนผิดปกติแบบ REM และ โรคลมชักชนิด Nocturnal frontal lobe สามารถทำให้เกิดพฤติกรรมการนอนที่ซับซ้อนที่คล้ายกับการเดินละเมอขณะนอนหลับได้
ซึ่งในบางกรณี แพทย์อาจให้ผู้ป่วยนอนในห้องวิจัยหนึ่งคืนเพื่อให้นักเทคนิคจะใช้เครื่องมือตรวจวัดจิตในขณะที่หลับซึ่งเพื่อให้ได้ผลวินิจฉัยที่แน่นอน
การรักษาอาการเดินละเมอขณะนอนหลับ
โดยทั่วไปแล้ว การรักษาอาการเดินละเมอขณะนอนหลับไม่ได้จำเป็นสำหรับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว แต่หากอาการเหล่าเป็นอาการที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรืออาจเป็นอันตรายต่อผู้ที่เป็น ก็อาจต้องทำการรักษาด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
- รักษาจากต้นเหตุที่ทำให้เกิดการเดินละเมอขณะนอนหลับ เช่น การอดนอน หรือสภาวะทางการแพทย์บางอย่าง
- ใช้ยาที่ทำให้สงบในกลุ่ม Benzodiazepine เช่น Valium (Diazepam) Klonopin (Clonazepam) หรือ Tofranil (Imipramine)
เมื่อคื่นที่ผ่านมา มีอาการน่าจะละเมอ ผมนอน 5ทุ่ม ซึ่งหลับไม่รู้ตัวถึงเช้า แต่แฟนเล่าให้ฟังว่าได้ปลุกผมและใช้ให้ไปหยิบของชั้นล่างของบ้าน (นอนชั้น2)และก้อพูดคุยกันปกติ ลืมตา และตัวผมลงบันใดไปจริงๆด้วย แต่หายไปนานขึ้นมาก้อไม่ได้ของตามที่สั่งและผมก้อไปนอนต่อเลย มีวิธีแก้ยังไงบ้างครับ