กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

Postpartum Depression (โรคซึมเศร้าหลังคลอด)

เผยแพร่ครั้งแรก 1 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคซึมเศร้าหลังคลอดบุตร เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับคุณแม่ที่เพิ่งคลอดบุตร โดยมักเกิดในระยะเวลา 3-10 วันหลังจากคลอดบุตร โรคนี้สามารถมีระยะเวลาป่วยได้เป็นเดือน และอาจมีอาการรุนแรงได้ถึงขั้นฆ่าตัวตาย
  • สาเหตุของโรคซึมเศร้าหลังคลอดบุตรมักมาจากฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ร่วมกับการพักผ่อนน้อย ต้องตื่นมาให้นมลูกกลางดึก ไม่มีเวลาส่วนตัว ซึ่งคุณพ่อควรผลัดกันดูแลลูกกับคุณแม่ เพื่อให้คุณแม่ได้มีเวลาพักผ่อนบ้าง
  • คุณแม่ที่เคยมีประวัติเป็นโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล หรือโรคอารมณ์สองขั้ว จะมีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอดบุตรมากกว่า
  • โรคซึมเศร้าหลังคลอดบุตรสามารถรักษาได้โดยการใช้ยารักษา ร่วมกับการพักผ่อนให้เพียงพอ การได้ทำกิจกรรมอื่นๆ ร่วมกับเลี้ยงลูก ซึ่งคนรอบตัวคุณแม่ ถือว่า มีส่วนช่วยสำคัญในการรักษาโรคนี้ให้ดีขึ้น
  • เด็กที่เติบโตมากับแม่ที่เป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด อาจมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาด้านอารมณ์ และพฤติกรรมได้ รวมถึงอาจมีพัฒนาการทางภาษาล่าช้า
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจฝากครรภ์ คลอดบุตร

โรคซึมเศร้าที่เกิดหลังจากการคลอดบุตร (Postpartum depressionเป็นสภาวะทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้หลังจากคุณผ่านการคลอดบุตรมาแล้วหลายสัปดาห์ หรือหลายเดือน ส่วนมากสภาวะนี้มักจะเกิดขึ้นกับคุณแม่ แต่บางครั้งพบว่า คุณพ่อก็มีภาวะซึมเศร้าได้เช่นกัน

ความหมายของโรคซึมเศร้าหลังคลอด

เป็นเรื่องปกติที่ผู้หญิงทุกคนอาจมีความรู้สึกซึมเศร้าหลังคลอดบุตร (Baby Blues) โดยภาวะนี้ถือเป็นเรื่องปกติที่แม่มือใหม่ซึ่งจะต้องเจอระหว่างวันที่ 3-10 หลังจากคลอดบุตร เพราะระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงลดลงตามธรรมชาติ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สาเหตุส่วนมากที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าหลังคลอดบุตรนั้นมาจากความเครียดโดยปกติทั่วไป เนื่องจากหลังคลอด ผู้เป็นแม่จะต้องอดนอน นอนน้อยลง ต้องดูแลลูก ต้องตื่นกลางดึกบ่อยๆ เพื่อให้นมลูก ไม่มีเวลาเป็นส่วนตัว โดยเฉพาะในคุณแม่ที่ไม่มีคนช่วยเลี้ยงลูก 

แต่หลังจากที่ได้หลับนานๆ เพื่อร่างกายได้รับการพักผ่อนมากพอ สภาพจิตใจก็จะกลับมาเป็นปกติ และจะมีอาการอ่อนเพลีย วิตกกังวล อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย หงุดหงิดง่าย เศร้าง่าย เซื่องซึมบ้าง แต่อาการเหล่านี้จะคงอยู่ไม่เกิน 1 สัปดาห์ และไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาแต่อย่างใด

โรคซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression) สามารถมีอาการรุนแรง และกินเวลานานกว่า โดยอาจมีอาการซึมเศร้าเป็นเดือนๆ หากคุณไม่รู้ว่า ตนเองมีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอดบุตรหรือไม่ ให้ลองเช็กพฤติกรรมตนเองจากทั้ง 9 ข้อต่อไปนี้ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ขึ้นไป

หากคุณมีพฤติกรรมอยู่ใน 5 ข้อขึ้นไป ถือว่ามีอาการเสี่ยงโรคซึมเศร้าหลังคลอด แต่จะต้องมีข้อ 1 ข้อ 2 ร่วมด้วย ได้แก่

  1. ซึมเศร้า หม่นหมอง หดหู่ ร้องไห้
  2. ความรู้สึกสนุก สนใจ ทำกิจวัตรประจำวันที่เคยชอบลดลง หรือรู้สึกเบื่อหน่ายในการดูแลลูก
  3. เบื่ออาหารหรืออยากกินอาหารตลอดเวลา
  4. ไม่มีกะจิตกะใจทำอะไร เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียตลอดเวลา
  5. การนอนเปลี่ยนแปลง อาจง่วงนอนอยู่ตลอดเวลา หรือนอนไม่หลับ
  6. รู้สึกว่า ตัวเองไร้ค่า เป็นแม่ที่ไม่มีความสามารถ
  7. ไม่มีสมาธิ ความคิด อ่าน จดจ่อในสิ่งที่ทำลดลง
  8. เคลื่อนไหวช้าลง หรืออยู่ไม่สุข
  9. มีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย

ทั้งนี้การวินิจฉัยว่า เป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอดนั้น ผู้ป่วยจะต้องมีอาการต่อเนื่องเกือบตลอดเวลา และเป็นทุกวัน ไม่มีทางหายเอง หรือเป็นๆ หายๆ และต้องมีอาการขึ้นมาเอง จากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ไม่ใช่จากผลข้างเคียงของการใช้ยา 

อัตราการเกิดโรคซึมเศร้าหลังคลอด

คุณแม่มือใหม่ส่วนใหญ่มักมีอาการซึมเศร้าที่ไม่รุนแรงอย่าง Baby blues และโดยเฉลี่ยจาก 1 ใน 10 คน จะเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดที่มีความรุนแรงกว่าและต้องได้รับการรักษา นอกจากนี้ 1 ใน 1,000 คน อาจมีอาการของโรคจิตหลังคลอดซึ่งร้ายแรงกว่ามาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สาเหตุ และปัจจัยเสี่ยงของโรคซึมเศร้าหลังคลอด 

ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า สาเหตุของโรคซึมเศร้าหลังคลอดเกิดจากอะไร แต่คาดว่า เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเนื่องจากการตั้งครรภ์ ผสมกับความเครียด และความกดดันที่ต้องเลี้ยงดูทารก 

นอกจากนี้ คุณแม่ที่มีประวัติทางสุขภาพจิตมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นโรคซึมเศร้า วิตกกังวล หรือโรคอารมณ์สองขั้ว จะมีความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าหลังคลอดบุตรมากกว่าปกติ

โรคซึมเศร้าหลังคลอดเกิดได้ทั้งกับคุณแม่ และคุณพ่อ แต่เชื่อว่า จะส่งผลกระทบต่อผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แต่สำหรับคุณพ่อมือใหม่ก็มีความเสี่ยงด้วยเช่นกัน 

จากรายงานการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการกุมารเวชศาสตร์ ในปี 2011 พบว่า ตัวเลขคุณพ่อมือใหม่ที่เป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอดนั้นอยู่ที่ 7% 

และจากการศึกษากลุ่มตัวอย่างของคุณพ่อจำนวน 1,700 คน ที่มีลูกอายุ 1 ปี พบว่าโรคซึมเศร้ามีผลกระทบในเชิงลบต่อการเลี้ยงดู โดยมีความเป็นไปได้สูงที่คุณพ่อที่มีอาการซึมเศร้าจะตีลูก

ปัจจัยเหล่านี้สามารถเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคซึมเศร้าหลังคลอดได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ตนเอง หรือคนในครอบครัวเคยเป็นโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล หรืออาการเจ็บป่วยทางจิตอื่นๆ
  • เคยเป็นโรคซึมเศร้าที่เกิดหลังคลอดมาก่อน
  • เคยมีกลุ่มอาการก่อนการมีประจำเดือนที่รุนแรง (PMS)
  • อาการเจ็บปวดเรื้อรัง
  • เคยเข้ารับการรักษาภาวะมีบุตรยาก หรือการแท้งบุตร
  • การอดนอน
  • การหยุดให้นมบุตรอย่างกะทันหัน
  • มีประวัติการได้รับบาดเจ็บ หรือการถูกทารุณ
  • มีประสบการณ์การคลอดบุตรที่พบกับความเจ็บปวด หรือน่าผิดหวัง
  • ไม่ได้รับการสนับสนุนในการเลี้ยงดูลูกจากคู่สมรส หรือคนรอบข้าง
  • เกิดความเครียด เช่น มีปัญหากับคู่สมรส หรือมีปัญหาทางการเงิน
  • การใช้สารเสพติด

การตรวจรักษาโรคซึมเศร้าที่เกิดหลังคลอด

แพทย์อาจตรวจพบอาการของโรคซึมเศร้าหลังคลอดในระหว่างการไปพบแพทย์ช่วงก่อนคลอดไปจนถึง 6 สัปดาห์ หลังคลอดบุตรแล้ว 

โดยแพทย์จะสอบถามว่า คุณเคยมีประวัติของโรคซึมเศร้ามาก่อนหรือไม่ รวมทั้งถามถึงการรับประทานอาหาร และการนอนหลับของคุณว่าปกติดีหรือไม่ และคุณทำกิจกรรมอะไรบ้างในแต่ละวัน

หากคุณเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด แพทย์อาจแนะนำทางเลือกการรักษามากกว่า 1 อย่าง เช่น

  • การใช้ยารักษาโรคซึมเศร้า แพทย์อาจจ่ายยารักษาโรคซึมเศร้าที่ปลอดภัยต่อตัวคุณ และทารกให้ในระหว่างการตั้งครรภ์ คุณอาจมีตัวเลือกในการรับยารักษาโรคซึมเศร้าที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงให้นมบุตร
    แต่คุณอาจต้องพักการให้นมบุตรไว้ เนื่องจากตัวยาอาจไหลผ่านน้ำนมและเป็นอันตรายต่อทารกได้
  • การใช้ยารักษาโรคไทรอยด์ บางครั้งอาการซึมเศร้าของคุณอาจเกิดจากการมีระดับฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ แพทย์จะตรวจระดับฮอร์โมนเหล่านี้ด้วยการตรวจเลือด และให้ยารักษาเพื่อให้ระดับไทรอยด์ของคุณกลับมาเป็นปกติ
  • การรักษาด้วยการพูดคุย คุณอาจไม่จำเป็นต้องใช้ยารักษาใดๆ เลย เพียงเข้าพบกับนักจิตวิทยาที่สามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับการควบคุมอารมณ์และความคิด รวมทั้งชี้ให้เห็นถึงความคิดในแง่ลบที่ไม่ส่งผลดีกับตัวคุณเอง

การรับมือกับโรคซึมเศร้าหลังคลอด

นอกจากการทำจิตบำบัดและการใช้ยาแล้ว การทำตามแนวทางต่อไปนี้ร่วมกับการรักษา จะช่วยบรรเทาอาการของคุณได้ดียิ่งขึ้น

  • ใช้เวลาอยู่กับตัวเองบ้าง ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอดควรใช้เวลาจดจ่อในการทำสิ่งต่างๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป เช่น รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ออกกำลังกาย ควรพาไปเที่ยวพักผ่อน พาไปกินอาหารร้านโปรด หรือซื้อของขวัญมาให้ และที่สำคัญที่สุดคือการพักผ่อนให้เพียงพอ
  • การรักษาทางเลือก แพทย์ทางเลือกและการแพทย์บำบัดอาจช่วยให้อาการของคุณดีขึ้นได้ แต่ยังต้องการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อยืนยันคุณประโยชน์และความปลอดภัย โดยเฉพาะการใช้อาหารเสริมต่างๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ทุกครั้ง เพราะอาจทำปฏิกิริยากับยารักษาโรคซึมเศร้าที่คุณกำลังใช้อยู่จนทำให้เกิดผลข้างเคียงอันตรายได้ นอกจากนี้ยังมีการบัดบัดทางธรรมชาติที่สามารถลองใช้ได้ เช่น สุคนธบำบัด ดนตรีบำบัด
  • การขอการช่วยเหลือและการสนับสนุน คุณอาจเข้าร่วมกลุ่มสนับสนุน หรือคนที่เป็นโรคเดียวกัน เพื่อแบ่งปันประสบการณ์และทักษะในการรับมือกับอาการของโรค
  • ตอบรับความช่วยเหลือจากผู้ดูแล พยายามตอบรับความช่วยเหลือจากผู้ห่วงใยคุณ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน หรือครอบครัว เพื่อช่วยจัดการงานบ้าน ดูแลเจ้าตัวน้อยในขณะที่คุณหลับ ทำธุระหรือรับฟังปัญหาต่างๆ ของคุณ
  • หยุดการหย่านมแม่อย่างค่อยเป็นค่อยไป การหยุดให้นมแม่กะทันหันอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน แพทย์บางคนจึงแนะนำให้ผู้หญิงที่ให้นมบุตรค่อยๆ หยุดการหย่านมแม่อย่างค่อยเป็นค่อยไป
  • อดทนอีกสักหน่อย การรักษาสามารถช่วยคุณได้ แต่อาจต้องใช้เวลา ก่อนที่คุณจะรู้สึกกลับมาเป็นตัวเองอีกครั้ง

ภาวะแทรกซ้อนของโรคซึมเศร้าหลังคลอด

โรคซึมเศร้าหลังคลอดที่ไม่ได้รับการรักษาสามารถส่งผลกระทบต่อสายสัมพันธ์พ่อแม่ลูกจนเกิดเป็นปัญหาครอบครัวได้ 

คุณแม่ที่เป็นโรคนี้อาจมีอาการเป็นเดือนๆ หรือนานกว่านั้น และมีโอกาสกลายเป็นโรคซึมเศร้าชนิดเรื้อรัง หรือกระทั่งในกรณีที่ได้รับการรักษาแล้ว คุณแม่ก็ยังอาจเกิดโรคซึมเศร้าแบบรุนแรง (Major depression) ได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม เด็กที่เติบโตมากับแม่ที่เป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอดจะเสี่ยงมีปัญหาด้านอารมณ์ และพฤติกรรมได้ อาการผิดปกติที่สังเกตได้ เช่น นอนไม่หลับ ไม่ค่อยอยากอาหาร ร้องไห้อย่างหนัก และอาจมีพัฒนาการทางภาษาที่ล่าช้า

ส่วนคุณพ่อเองก็จะได้รับความตึงเครียด และแรงกดดันทางอารมณ์จากคุณแม่เช่นกัน โดยเฉพาะคุณพ่อมือใหม่ที่มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคุณแม่คลอดทารกอยู่แล้ว

โรคจิตหลังคลอด

ในกรณีที่พบได้ไม่บ่อย คุณแม่มือใหม่บางรายอาจมีอาการโรคจิตหลังคลอด ซึ่งจะมีอาการรุนแรงกว่าภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมาก และควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ผู้ป่วยส่วนมากมักเริ่มมีอาการอย่างฉับพลันภายใน 2 สัปดาห์แรก ได้แก่ 

  • อาการประสาทหลอน 
  • ได้ยินเสียง หรือมองเห็นในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง 
  • อยู่ไม่สุข 
  • มีอาการสับสนอย่างหนัก 
  • ร่าเริงผิดปกติ 
  • มีบุคลิก และพฤติกรรมเปลี่ยนไป 
  • มีความคิดทำร้ายตัวเอง หรือลูกอยู่ตลอดเวลา

คุณแม่ที่เพิ่งคลอดบุตรอาจมีแนวโน้มเกิดโรคจิตหลังคลอดมากขึ้น หากมีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้

  • บุคคลในครอบครัวเคยเป็นโรคนี้มา หรือเป็นโรคทางจิตชนิดอื่นๆ 
  • ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคไบโพลาร์ หรือโรคจิตเภท
  • เคยเป็นโรคจิตหลังคลอดจากการคลอดลูกคนก่อน

เพื่อลดความเสี่ยงเหล่านี้คุณควรไปพบแพทย์ตามนัดตรวจครรภ์อย่างสม่ำเสมอ หากคุณมีประวัติโรคทางจิต คุณอาจต้องเข้าพบจิตแพทย์เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับความเสี่ยงและเตรียมแนวทางรับมือสำหรับโรคจิตหลังคลอด

สำหรับหลักการดูแลผู้มีภาวะผิดปกติทางจิตใจหลังคลอด  สิ่งสำคัญที่สุด คือ คนรอบข้าง ใกล้ชิด เช่น พ่อ แม่ สามี ต้องคอยสังเกต และยื่นมือเข้ามาช่วย โดยต้องอดทน เข้าใจกัน คอยให้กำลังใจ สนับสนุน ช่วยกันให้ผ่านแต่ละเหตุการณ์ไปให้ได้ 

พยายามอย่าตำหนิ โกรธ โมโห เวลาคุณแม่มีอารมณ์เหวี่ยง คุณพ่อควรผลัดเปลี่ยนกันดูแลลูก เพื่อให้คุณแม่ได้พักผ่อน ช่วยลดปัญหาการนอนไม่หลับ และทำให้มีเวลาได้ดูแลตนเองเหมือนก่อนจะมีลูกได้ 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฝากครรภ์ คลอดบุตร จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Postpartum Depression: Types, Symptoms, Treatment & Prevention. Cleveland Clinic. (Available via: https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/9312-depression-after-the-birth-of-a-child-or-pregnancy-loss)
Postpartum Depression: Diagnosis, Symptoms, Treatment. American Academy of Family Physicians. (Available via: https://familydoctor.org/condition/postpartum-depression/)
Postpartum Depression (for Parents). Nemours KidsHealth. (Available via: https://kidshealth.org/en/parents/ppd.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
อยากทราบวิธีป้องกันอาการปวดก่อนมีประจำเดือน
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อาการของโรคซึมเศร้าข้างต้นเริ่มแบบไหน
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
โรคซึมเศร้า มีอาการยังไงค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เสื่อมสมรรถถาพทสงเพศ พื้นฟูได้กรือไม่
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
โรคซึมเศร้ารึกษาให้หายขาดได้หรือไม่
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การลดลงของฮอโมนหลังหมดประจำเดือน ในผู้หญิงวัย 50 ปีขึ้นไป ทำให้เกิดอาการ แสบร้อน ในร่างกาย วูบวาบ เหนื่อย เมื่อย อ่อนเพลีย หนาวภายในร่างกาย ควรจะเริ่มตรวจจากตรงไหนคับ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)