อาการก่อนเป็นประจําเดือน

อย่าด่วนตัดสินว่า ขี้เหวี่ยง ขี้วีน ขี้กังวล ร้องไห้ง่าย คือนิสัยของผู้หญิง แท้ที่จริงอาจมาจากพีเอ็มเอสก็ได้
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 18 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาการก่อนเป็นประจําเดือน

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการก่อนเป็นประจําเดือน หรือ PMS (พีเอมเอส) หมายถึง อาการผิดปกติที่จะเกิดขึ้นราว 7-10 วัน ก่อนมีประจำเดือนในแต่ละรอบ
  • อาการพีเอ็มเอสประกอบด้วยอาการป่วยทางจิตใจ อารมณ์ และความรู้สึก เช่น อารมณ์แปรปรวนง่าย หงุดหงิดง่าย เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ร้องไห้ง่าย เครียด คิดมาก ไม่มีสมาธิ
  • อาการป่วยทางร่างกาย อาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เช่น อาการปวด หรือเจ็บตามบริเวณต่าง ๆ เช่น ทรวงอก ต่อมน้ำนม หรือหัวนม ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหลัง บวม ท้องอืด วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ เป็นสิว
  • อาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เช่น หน้าท้องขยาย เต้านมคัดตึง มือบวม ข้อเท้าบวม ร่างกายสะสมน้ำเพิ่มขึ้น ทำให้น้ำหนักเพิ่ม ผู้หญิงบางคนอาจมีน้ำหนักเพิ่มได้ถึง 1-2 กิโลกรัม ในช่วงก่อนมีประจำเดือน
  • หมั่นดูแลสุขภาพกายและใจให้แข็งแรง เพื่อป้องกันไม่ให้อาการพีเอ็มเอสเล่นงานในช่วงก่อนวันนั้นของเดือน แต่หากอาการไม่ดีขึ้นก็อาจจำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิงได้ที่นี่)

ว่ากันว่า "ช่วงวันนั้นของเดือน" จะมีพลังลึกลับที่เปลี่ยนผู้หญิงให้กลายเป็นนางมารร้าย เดี๋ยววีน เดี๋ยวเหวี่ยง เดี๋ยวก็ร้องไห้ เรียกว่า ถ้าอยากปลอดภัย หรือไม่อยากหงุดหงิดตามไปด้วย ก็อย่าไปอยู่ใกล้พวกเธอในช่วงนั้นเชียว 

ในความจริงแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงที่ว่านั้นไม่ใช่พลังลึกลับใดๆ ทั้งสิ้น แต่เป็นอาการที่เรียกว่า "อาการก่อนเป็นประจําเดือน หรือ PMS (พีเอมเอส)" 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

PMS คืออะไร?

PMS ย่อมาจาก premenstrual syndrome หมายถึง อาการผิดปกติที่จะเกิดขึ้นราว 7-10 วัน ก่อนมีประจำเดือนในแต่ละรอบ 

กลุ่มอาการ PMS หรืออาการก่อนเป็นประจําเดือน มีอะไรบ้าง?

อาการป่วยทางจิตใจ อารมณ์ และความรู้สึก 

ได้แก่  อารมณ์แปรปรวนง่าย  หงุดหงิด ขี้โมโห ฉุนเฉียว หุนหันพลันแล่น เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย บางครั้งก็ซึมเศร้า ร้องไห้ง่าย บางครั้งกระวนกระวาย เกือบบ้าคลั่ง ไม่มีสมาธิ เครียด คิดมาก กังวล ท้อแท้ 

บางคนอาจมีอารมณ์แปรปรวนมากกว่านี้  เช่น  เพ้อ คุ้มคลั่ง หรืออาจทำร้ายตัวเอง

อาการป่วยทางร่างกาย 

ได้แก่ อาการปวด หรือเจ็บตามบริเวณต่าง ๆ เช่น ทรวงอก ต่อมน้ำนม หรือหัวนม เรียกอาการนี้ว่า “แมสทัลเจีย” (mastalgia) 

นอกจากนี้ยังมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหลัง บวม ท้องอืด วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ เป็นสิว อ่อนเพลีย รู้สึกแขนขาไม่มีแรง

อาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ 

เช่น หน้าท้องขยาย เต้านมคัดตึง มือบวม ข้อเท้าบวม ร่างกายสะสมน้ำเพิ่มขึ้น ทำให้น้ำหนักเพิ่ม ผู้หญิงบางคนอาจมีน้ำหนักเพิ่มได้ถึง 1-2 กิโลกรัม ในช่วงก่อนมีประจำเดือน หลังจากนั้นน้ำหนักจะลดลงได้เองโดยธรรมชาติ

วิธีปฏิบัติสำหรับผู้มีอาการก่อนเป็นประจําเดือน

  • ออกกำลังกายให้เหมาะสมและสม่ำเสมอ 
  • ฝึกสมาธิให้จิตใจสงบ 
  • พักผ่อนให้เพียงพอ 
  • บริโภคอาหารที่มีประโยชน์และให้ถูกหลักโภชนาการ 
  • เน้นรับประทานคาร์โบไฮเดรตที่มี่ไฟเบอร์สูงมากขึ้น เช่น ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต ขนมปังโฮลวีท เพราะอาหารเหล่านี้ใช้เวลาย่อยนานกว่า ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ 
  • ลดอาหารเค็มจัด หรือมีเกลือสูง จะช่วยลดน้ำที่คั่งในตัวได้อาการบวมจึงน้อยลง
  • ลดเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน เช่น โกโก้ น้ำอัดลมบางประเภท 
  • ลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 
  • พยายามหลีกเลี่ยงความเครียด หรือหาวิธีผ่อนคลายความเครียด
  • ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

หากลองปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้แล้ว แต่สุดท้ายแล้วในช่วงวันนั้นของเดือน คุณ หรือคนที่คุณรักก็ยังอยู่ในโหมดนางมารร้ายอยู่ดี นั่นหมายความว่า อาการพีเอ็มเอสยังไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ หรือรับการตรวจวินิจฉัยต่อไป 

นอกจากนั้นในบางรายยังอาจพิจารณาพบจิตแพทย์เพื่อพูดคุยถึงความวิตกกังวล ความเครียด หรือปัญหาที่มีอยู่ในจิตใจ เพราะอาจช่วยแก้ปัญหา หรือแบ่งเบาสิ่งที่เกิดขึ้นได้

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Premenstrual dysmorphic disorder (PMDD) (https://my.clevelandclinic.org/health/diseases_conditions/hic_PMS_and_PMDD), 2 May 2019.
Mayo Clinic Staff, Premenstrual syndrome (PMS): Definition (http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/premenstrual-syndrome/basics/definition/con-20020003), 18 เมษายน 2562.
Biggs, W. S., Demuth, R. H. (2011, October 15). Premenstrual Syndrome and Premenstrual Dysphoric Disorder. American Family Physician, 84(8), 918-924.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป