กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

อาหารที่มีรสเค็ม มีผลต่อไตหรือไม่

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาหารที่มีรสเค็ม มีผลต่อไตหรือไม่

เกลือเป็นอาหารที่มีส่วนประกอบของโซเดียมกับคลอไรด์ อาหารที่เค็มจะมีโซเดียมมาก ทำให้เกิดอาหารกระหายน้ำ และดื่มน้ำมาก เกิดความดันโลหิตสูงตามมาโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีปัญหาทางไต โรคหัวใจหรือความดันโลหิตสูงอยู่เดิม อาจทำให้เกิดหัวใจวาย บวมน้ำได้ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจำเป็นต้องจำกัดโซเดียมหรือเกลือในอาหาร โดยรับประทานอาหารรสอ่อนเค็ม และหลีกเลี่ยงน้ำปลา ซอสชูรส ผงชูรส อาหารที่หมักดอง

อาหารที่มีโซเดียมมาก

1. ประเภทซอส

a15.gif

 เกลือ น้ำปลา ซีอิ้วขาว ซอสปรุงรส ซอสถั่วเหลือง ซอสแมกกี้ ซอสหอยนางรม เต้าเจี้ยว ซอสรสเค็มอื่น ๆ ซุบก้อน ซุปผง ผงปรุงรส ซอสพริง ซอสเปรี้ยว ซอสมะเขือเทศ ซีอิ้วหวาน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจไต ฟอกไต รักษาโรคไต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 50 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

2. อาหารหมักดอง

a15.gif

 เนยแข็ง ไข่เค็ม กะปิ เต้าหู้ยี้ เต้าเจี้ยว แหนม แฮม เบคอน ผักดองเปรี้ยว หอยดอง ไส้กรอกอีสาน ปลาร้า ปลาเจ่า ปลาจ่อม ผลไม้ดอง

3. อาหารเติมเกลือ

a15.gif

 ซุบซอง ข้าวต้ม/โจ๊กซอง มันทอดเติมเกลือ ถั่วทอดใส่เกลือ ข้าวเกรียบ บะหมี่/เส้นหมี่กึ่งสำเร็จรูป เนย เนยเทียม ข้าวโพดคั่ว ข้าวโพดต้ม

4. เนื้อสัตว์ปรุงรสหรือแปรรูป

a15.gif

 ไส้กรอก กุนเชียง หมูหยอง หมูแผ่น หมูยอ เนื้อ/ปลาปรุงรส เนื้อสัตว์แปรรูปต่าง ๆ เนื้อแดดเดียว ฯ

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ทั้งที่เป็นโรคเบาหวานและไม่เป็นโรคเบาหวาน มีหลักสำคัญในการรับประทาน คือ

  1. ไม่เค็ม
  2. โปรตีนจากเนื้อสัตว์ ประมาณวันละ 1 1/2 ช้อนกินข้าว ต่อน้ำหนักตัว 10 กิโลกรัมต่อวัน
  3. พลังงานจากอาหารต้องเพียงพอ โดยควรได้จากน้ำมันพืช และน้ำตาล
  4. ทานให้ครบ 5 หมู่

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Potassium and sodium out of balance. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/potassium_and_sodium_out_of_balance)
How much salt do babies and children need?. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/common-health-questions/childrens-health/how-much-salt-do-babies-and-children-need/)
How Salt Can Impact Your Blood Pressure, Heart and Kidneys. Health Essentials from Cleveland Clinic. (https://health.clevelandclinic.org/kidneys-salt-and-blood-pressure-you-need-a-delicate-balance/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การนอน (Sleep)
การนอน (Sleep)

นอนเท่าไหร่ถึงจะพอ? ความรู้เรื่องการนอนเพื่อสุขภาพ

อ่านเพิ่ม