กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

การดื่มเหล้า ส่งผลต่ออวัยวะในร่างกายและกระทบต่อสังคมอย่างไรบ้าง?

การดื่มสุรา หรือเหล้าปริมาณติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น สมองเสื่อม โรคตับแข็ง หรือโรคหัวใจและหลอดเลือด
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 17 เม.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
การดื่มเหล้า ส่งผลต่ออวัยวะในร่างกายและกระทบต่อสังคมอย่างไรบ้าง?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • สุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จัดเป็นสารเสพติดที่มีทั้งประโยชน์และโทษ โดยเฉพาะต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ทำให้พูดไม่ชัด เสียการทรงตัว ไม่มีสติ ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ และหมดสติ
  • แอลกอฮอล์ที่พบในชีวิตประจำวัน มี 3 ประเภท ได้แก่ เอทานอล แอลกอฮอล์ที่พบในเครื่องดื่มทั่วไป เมทานอล แอลกอฮอล์ที่เป็นส่วนผสมของเชื้อเพลิงรถยนต์ หรือเรือ และไอโซโพรพานอล แอลกอฮอล์สำหรับทำความสะอาด และฆ่าเชื้อ
  • โทษของการดื่มสุราเป็นประจำ เช่น ทำให้ปลายประสาทอักเสบ ความจำเสื่อมง่าย เยื่อบุกระเพาะอาหารถูกทำลาย ตับอ่อนอักเสบ และกล้ามเนื้อหัวใจไม่แข็งแรง
  • โทษของการดื่มสุราต่อสังคม เช่น อุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ การทะเลาะวิวาท การฆ่าตัวตาย หรือก่ออาชญากรรม
  • การดื่มสุราอาจช่วยบำบัดความเครียดให้ใครหลายคน แต่ก็ถือว่า ให้โทษมากกว่าให้คุณ หากคุณเป็นผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง ควรเข้ารับการบำบัด เพื่อป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนที่อาจตามมาภายหลังได้ (ดูแพ็กเกจตรวจตับได้ที่นี่)

สุรา หรือแอลกอฮอล์ เป็นสารเสพติดที่มีทั้งคุณและโทษ หากดื่มอย่างพอดีก็ไม่อันตรายอะไรและอาจเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น เครื่องดื่มประเภทไวน์  แต่หากดื่มสุราปริมาณมาก ดื่มติดต่อกันเป็นประจำ อาจทำให้เกิดผลเสียต่อระบบประสาทส่วนกลาง และอวัยวะอื่นๆ ในร่างกายได้

โทษของสุรามีตั้งแต่ระดับเบาไปจนถึงรุนแรง เช่น เสียการทรงตัว พูดไม่ชัด และหมดสติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตับวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 65%

ตรวจตับ วันนี้ เปรียบเทียบราคา / ประหยัดกว่า / ผ่อน 0% ได้ / แอดมินพร้อมให้บริการ กดที่นี่

ดังนั้นสุราจึงถูกควบคุมทั้งการจำหน่าย และการผลิตอย่างเคร่งครัด

ประเภทของแอลกอฮอล์

แอลกอฮอล์มีหลายประเภท โดยประเภทที่ใช้ในชีวิตประจำวันมี 3 ประเภท ได้แก่

  • เอทานอล (Ethyl alcohol) แอลกอฮอล์ประเภทเดียวที่สามารถดื่มได้ เป็นส่วนผสมในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างๆ เช่น วิสกี้ บรั่นดี เบียร์ เหล้าองุ่น หรือแชมเปญ
  • เมทานอล (Methyl alcohol) เป็นส่วนประกอบในเชื้อเพลิงรถยนต์ และเรือ หรือใช้เป็นสารป้องกันการแข็งตัวของน้ำยาล้างสี น้ำยาปัดน้ำฝน และผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกมากมาย
  • ไอโซโพรพานอล (Isopropyl alcohol) เป็นแอลกอฮอล์สำหรับทำความสะอาด และฆ่าเชื้อ ไม่มีสี มีกลิ่นเฉพะตัว ระเหยง่าย มักพบในน้ำยาฆ่าเชื้อโรค น้ำยาล้างเล็บ หรือกาว

สาเหตุที่เมเทนอลและไอโซโพรพานอลไม่สามารถดื่มได้ เพราะร่างกายเผาผลาญสารเหล่านี้เป็นพิษ ทำให้เกิดภาวะตับวาย หากดื่มเข้าไปเพียงเล็กน้อยก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ปริมาณของแอลกอฮอล์ที่ใช้ในเครื่องดื่มทั่วไป

ปริมาณแอลกอฮอล์ 1 ดีกรี เท่ากับ ร้อยละ 1 หรือ 1 เปอร์เซนต์

  • เบียร์ มีปริมาณแอลกอฮอล์ 4-7 ดีกรี
  • สาโท มีปริมาณแอลกอฮอล์ 7-15 ดีกรี
  • กระแช่ มีปริมาณแอลกอฮอล์ 10-12 ดีกรี
  • สุราไทย มีปริมาณแอลกอฮอล์ 28-40 ดีกรี
  • อุ มีปริมาณแอลกอฮล์ 10 ดีกรี
  • ไวน์ มีปริมาณแอลกอฮอล์ 10-15 ดีกรี
  • วิสกี้ หรือบรั่นดี มีปริมาณแอลกอฮอล์ 40-50 ดีกรี
  • วอดก้า มีปริมาณแอลกอฮอล์ 40 -50 ดีกรี

โทษของการดื่มสุราต่ออวัยวะต่างๆ

การดื่มสุราปริมาณมากเกินไป ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย ดังนี้

1. สมอง และระบบประสาท

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ระบบประสาทส่วนปลาย ทำให้ปลายประสาทอักเสบ มีอาการชาตามปลายมือ ปลายเท้า และเสียการทรงตัว
  • สมอง หากดื่มเพียงเล็กน้อยจะทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า สดชื่น มีการเปลี่ยนแปลงทางบุคลิก แต่หากดื่มสุรามากเกินไปจะทำให้มึนเมา ง่วงนอน และหมดสติได้ นอกจากนี้การดื่มสุราเป็นประจำจะทำให้สมองเสื่อม ซึมเศร้า ความคิดเลอะเลือน และมีปัญหาด้านความทรงจำ

2. ระบบทางเดินอาหาร และตับ

  • กระเพาะอาหาร พิษของสุราจะทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้กรดในกระเพาะอาหารเพิ่มมากขึ้น เกิดเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้อง หรืออาเจียนเป็นเลือดได้
  • ตับอ่อน แอลกอฮอล์จะกระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งน้ำย่อยออกมามากผิดปกติ ทำให้เกิดโรคตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis) มีอาการปวดท้องรุนแรง ไข้สูง ในบางครั้งอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
  • ตับ ทำหน้าที่กรองแอลกอฮอล์ หากดื่มสุราเข้าไปปริมาณมากจนตับไม่สามารถกรองได้หมด ตับจะเกิดอาการบวม มีไขมันแทรกตามเซลล์ของตับ ทำให้เกิดโรคตับแข็ง และอาจพัฒนาเป็นมะเร็งตับได้

3. ระบบหัวใจและหลอดเลือด

  • ระบบหัวใจ หากดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป จะทำให้การเต้น และการบีบตัวของหัวใจผิดปกติ เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจวาย หรือหัวใจล้มเหลว
  • ระบบหลอดเลือด การดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้เส้นเลือดขยายตัว และไขมันในเลือดสูง ทำให้เส้นเลือดแข็งตัวง่าย เพิ่มความเสี่ยงเส้นเลือดในสมองแตก และโรคความดันโลหิตสูง

4. ระบบเม็ดเลือด

  • มีอาการเลือดจาง
  • การดูดซึมผิดปกติ ทำให้ขาดวิตามินบี 9 หรือกรดโฟลิกได้ง่าย
  • เม็ดเลือดขาวผลิตน้อยลง ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลง
  • เกร็ดเลือดทำหน้าที่ไม่ดี ทำให้เลือดหยุดไหลยาก และตกเลือดง่าย

5. อัตราการเกิดมะเร็งในอวัยวะต่างๆ

  • โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 2 ของกลุ่มคนติดสุราเรื้อรัง
  • ผู้ที่ติดสุราเรื้อรังมีโอกาสเกิดมะเร็งได้สูงถึง 10 เท่าเมื่อเทียบกับคนปกติ โดยอวัยวะที่พบมะเร็งบ่อยคือ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ตับ และตับอ่อน

6. ระบบขับถ่าย และอวัยวะสืบพันธุ์

  • หากดื่มในปริมาณน้อยจะทำให้ความต้องการทางเพศสูงขึ้น
  • หากดื่มสุราเรื้อรังจะทำให้ความต้องการทางเพศลดลง และอาจส่งผลทำให้ลูกอัณฑะเล็กลงได้
  • ในผู้หญิงตั้งครรภ์จะทำให้แท้ง หรือคลอดบุตรเร็ว และบุตรที่เกิดมาก็มีโอกาสเกิดความผิดปกติสูง

โทษของการดื่มสุราต่อสังคม

  • อุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ เนื่องจากผู้ดื่มสุรามักมั่นใจว่า ไม่เมา มีสติ สามารถขับรถได้ แต่ในความเป็นจริง สุราจะไปกดประสาทส่วนกลาง ทำให้การรับรู้เรื่องราวต่างๆ ช้าลง ส่งผลกระทบต่อระบบการตัดสินใจ ทำให้ไม่สามารถควบคุมตนเองได้เต็มร้อย
  • ทะเลาะวิวาท สุรามีผลกระทบต่อสมองส่วนหน้า เป็นส่วนที่ควบคุมสติ และการตัดสินใจ ทำให้ทะเลาวิวาทกับผู้อื่นได้ง่าย
  • ฆาตกรรม ผลการศึกษาคดีฆาตกรรมจากการผ่าพิสูจน์ศพ พบว่า มากกว่า 60% ของผู้เสียชีวิต ตรวจพบแอลกอฮอล์ในร่างกาย เพราะการดื่มสุราจะช่วยให้ศูนย์ควบคุมจิตใจทำงานได้แย่ลง ทำให้ไม่สามารถป้องกันตัวได้
  • ฆ่าตัวตาย ผลการวิจัยพบว่า ในจำนวนคนกว่า 50% ของผู้ที่เคยฆ่าตัวตาย ต้องดื่มสุราเพื่อเรียกความกล้าก่อนเสมอ

วิธีหลีกเลี่ยง และเลิกดื่มสุรา

  • เด็กไม่ควรดื่มสุรา เนื่องจากยังไม่สามารถพิจารณาข้อดีข้อเสียของสุราได้ ทำให้ติดสุราได้ง่าย อีกทั้งอวัยวะภายในร่างกายยังเติบโตได้ไม่เต็มที่ ทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผู้ใหญ่
  • ไม่ควรทดลองดื่มสารที่ผสมด้วยแอลกอฮอล์ เพราะอาจพัฒนาไปเป็นการดื่มสุราได้
  • ขจัดค่านิยมที่ว่า ลูกผู้ชายต้องดื่มสุรา ออกไป
  • ผู้ที่ติดสุราควรศึกษาโทษของสุรา และควรหาสาเหตุที่ทำให้ติดสุรา
  • กรณีไม่สามารถเลิกสุราได้ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาอาการติดสุราเรื้อรัง ป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เช่น โรคประสาท โรคตับ หรือโรคกระเพาะอาหาร

การดื่มสุราในปริมาณพอเหมาะ นานๆ ครั้ง ตับย่อมสามารถกรองแอลกอฮอล์ออกจนหมด และฟื้นฟูเซลล์ที่เสียหายกลับมาเป็นปกติได้ แต่หากดื่มในปริมาณมาก ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ตับจะไม่สามารถกรองแอลกอฮอล์ได้หมด 

เกิดการสะสมไขมัน ทำให้เป็นโรคไขมันพอกตับ โรคตับแข็ง และอาจพัฒนากลายเป็นมะเร็งตับได้ในที่สุด

ผู้ที่ติดสุราเรื้อรังจึงควรตรวจการทำงานของตับ และคัดกรองมะเร็งตับทุกปี เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้

ดูแพ็กเกจตรวจตับ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Better Health, How alcohol affects your body (https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/healthyliving/How-alcohol-affects-your-body), 22 February 2020.
6 Surprising Ways Alcohol Affects Your Health — Not Just Your Liver. Health Essentials from Cleveland Clinic. (https://health.clevelandclinic.org/6-surprising-ways-alcohol-affects-health-not-just-liver/), 22 February 2020.
NHS , Alcohol misuse - Risks (National Health Service) (https://www.nhs.uk/conditions/alcohol-misuse/risks/), 25 February 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป