กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

5 อาการหลังหมดประจำเดือน เป็นสัญญาณว่ากำลังเข้าสู่วัยทอง

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 3 ก.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที

วัยทอง คือ วัยที่ฮอร์โมนเพศหญิงที่ถูกสร้างขึ้นจากรังไข่หมดไป ทำให้ไม่มีประจำเดือนติดต่อกันนานเป็นเวลา 12 เดือน และต่อเนื่องอย่างถาวร ซึ่งอาการของคนวัยทองนั้นจะเกิดขึ้นได้เมื่ออายุ 40+ และจะเข้าสู่วัยทองจริงๆ ก็ต่อเมื่ออายุ 45-55 ปี แต่ถ้าหากคุณกำลังคิดว่าคุณเกิดอาการวัยทองก่อนถึงอายุอันควรคุณควรพบแพทย์โดยด่วน ซึ่งอาการของผู้หญิงที่เริ่มเข้าสู่วัยทองจะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ดูได้จาก 5 ข้อนี้...

1. ประจำเดือนผิดปกติ

อาการย่างเข้าสู่วัยทองจะมีประจำเดือนที่ผิดปกติ แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นวัยทองเสมอไป เพราะบางคนก็อาจจะมีประจำเดือนที่ผิดปกติได้ ซึ่งเนื่องจากภาวะฮอร์โมนไม่ปกติ เลือกจางหรือสาเหตุอื่นๆ นั่นเอง แต่หากคุณมีอายุ 40 ปีขึ้นไป ก็อาจสงสัยได้เลยว่าคุณกำลังจะเข้าวัยทองแล้วก็ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ประจำเดือนหมด มีอาการวัยทอง ร้อนวูบวาบ หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ…Hervita อาจช่วยได้!!!

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

2. ร้อนวูบวาบ บ่อยๆ

อาการร้อนวูบวาบจะพบได้บ่อยมากที่สุด แต่อาการนี้มักจะพบก่อนหมดประจำเดือนจริงประมาณ 1-2 ปี มีลักษณะพิเศษคือจะรู้สึกร้อนสูบวาบบริเวณลำตัวและมักเกิดกับบริเวณส่วนบนของร่างกาย และเมื่อมีอาการร้อนวูบวาบ บริเวณผิวหนังมักจะมีสีแดง หน้าแดง คอแดง นอกจากนี้อาการร้อนวูบวาบยังอาจส่งผลให้นอนไม่หลับ หงุดหงิด เครียด และมีภาวะซึมเศร้า ซึ่งก็ต้องเฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิดกันเลยทีเดียว

3. ช่องคลอดแห้ง

เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยทอง ผู้หญิงจะเริ่มหมดอารมณ์ทางเพศ ช่องคลอดแห้งกว่าปกติ อาจรู้สึกเจ็บปวดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ อาการเหล่านี้ถึงแม้จะมักเกิดกับผู้หญิงวัยทองแต่ก็ไม่ใช่อาการที่เฉพาะเจาะจง เพราะมันสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทั่วไปด้วย ซึ่งอาจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเพศหญิงลดลงก็เป็นได้ หรืออาจเกิดจากร่างกายเสื่อมสภาพก็ได้เช่นกัน

4. นอนไม่หลับ

อาการนอนไม่หลับมักจะเกิดได้บ่อยในผู้หญิงวัยทอง ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากความเครียด ภาวะอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป หรืออาจเป็นเพราะอาการร้อนวูบวาบ จึงทำให้นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิทนั่นเอง

5. ปัสสาวะบ่อยเกินไป

เนื่องจากการฝ่อตัวของกระเพาะปัสาวะและรูปัสสาวะที่เกิดจากการขาดฮอร์โมนเพศหญิง จึงทำให้กระเพาะปัสสาวะสามารถเก็บปัสสาวะได้น้อยลง เป็นผลให้ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ

แต่อย่างไรก็ตามอาการวัยทองมักเกิดขึ้นเมื่ออายุ 45-55 ปี และจะมีอาการประจำเดือนผิดปกติบวกกับมีอาการร้อนวูบวาบด้วย ดังนั้นแล้วผู้หญิงที่มีอายุเข้าเลข 4 ควรสังเกตอาการของตัวเองบ่อยๆ เพื่อเตรียมตัวรับมือกับวัยทองที่คุณอาจปรับตัวไม่ทันนั่นเอง นอกจากนี้เมื่อเข้าสู่วัยทองอย่าลืมเตรียมตัวรับมือกับโรคภัยต่างๆ ที่มาพร้อมกับวัยทองด้วย


26 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Menopause: Symptoms, causes, and treatments. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/155651)
Menopause: Symptoms, Causes, Treatment, and More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/menopause)
Menopause - Symptoms and Types of Menopause. WebMD. (https://www.webmd.com/menopause/guide/menopause-symptoms-types)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาการร้อนวูบวาบ เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง
อาการร้อนวูบวาบ เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง

หากเคยรู้สึกเดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว บางครั้งก็เหงื่อออกเยอะ หรือรู้สึกกระวนกระวาย นั่นคืออาการร้อนวูบวาบที่ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้

อ่านเพิ่ม
อารมณ์หงุดหงิด (Irritable Mood)
อารมณ์หงุดหงิด (Irritable Mood)

อารมณ์หงุดหงิด เป็นสิ่งที่สามารถเกิดได้โดยทั่วไป แต่ถ้าเกิดบ่อย หรือเกิดเป็นประจำ อาจเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น การเจ็บป่วย ฮอร์โมนแปรปรวน และโรคทางจิตเวช

อ่านเพิ่ม