เมื่อเลือกใช้วิธีการคุมกำเนิดควรเลือกวิธีที่สะดวกและใช้ง่าย

เผยแพร่ครั้งแรก 28 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 49 นาที
เมื่อเลือกใช้วิธีการคุมกำเนิดควรเลือกวิธีที่สะดวกและใช้ง่าย

เมื่อเลือกวิธีการคุมกำเนิด อย่าลืมเลือกวิธีที่สะดวกและใช้งานง่าย และอย่าลืมประเมินอย่างตรงไปตรงมาว่าวิธีนั้นเหมาะกับวิถีชีวิตของคุณหรือไม่

ความสะดวกมีความหมายสำหรับคุณแค่ไหน?

แนวความคิดเกี่ยวกับความสะดวกนั้นมีได้หลายความหมายขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน สำหรับบางคนแล้ว ความสะดวก หมายความว่า วิธีนั้นใช้ง่าย การคุมกำเนิดด้วยวิธีที่สามารถใช้ได้ง่ายนั้นไม่ต้องใช้คำอธิบายมากมายหรือมีผลข้างเคียงที่น่าเบื่อ คุณอาจคิดว่าวิธีนั้นสะดวกหากไม่ต้องการการวางแผนหรือความคิดมากนัก หรืออาจจะใช้เพียงแค่การไปพบแพทย์เป็นบางครั้ง วิธีที่สะดวกอาจเป็นทางเลือกที่ไม่กดดันให้คุณต้องทำตามตารางอย่างชัดเจนหรือให้คุณสามารถมีความรู้สึกทางเพศได้มากขึ้น การระบุว่าวิธีการคุมกำเนิดที่สะดวกสำหรับคุณนั้นคืออะไรจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

พิจารณาตารางและกิจวัตรของคุณ

คุณมีชีวิตที่ยุ่งเหยิง? มีปัญหาในการจำว่าวันนี้เป็นวันอะไร ต้องกินยาอะไรหรือไม่? บางวิธี เช่นการทานยาคุมกำเนิดต้องการให้คุณรับประทานยาทุกๆ วัน ในเวลาเดิม ในขณะที่วิธีอื่นเช่น NuvaRing หรือการใช้แผ่นแปะสำหรับคุมกำเนิดนั้น ไม่ได้ต้องการการใช้ทุกวันแต่คุณก็ยังต้องจำว่าต้องมีการเปลี่ยนอุปกรณ์เหล่านี้ (ทุกสัปดาห์สำหรับแผ่นแปะและทุกๆ 3 สัปดาห์สำหรับการใช้วงแหวนคุมกำเนิด) การใช้ห่วงคุมกำเนิด (ขึ้นกับชนิด) สามารถอยู่ได้นาน 5-10 ปี การฉีดยาคุมกำเนิดต้องการเพียงแค่การมาฉีดทุกๆ 3 เดือน แต่วิธีนี้ต้องมีการนัดหมายแพทย์ล่วงหน้าและคุณต้องมีเวลาว่างในการไปพบแพทย์ในวันและเวลาดังกล่าว

พิจารณาความยากในการใช้

บางวิธีสามารถใช้ได้ง่ายกว่าวิธีอื่น คุณอาจรู้สึกว่าการรับประทานยาทุกวันนั้นง่ายกว่าการหาวิธีใส่วงแหวนคุมกำเนิด การที่วิธีคุมกำเนิดของคุณอาจจะเลอะเทอะ (เช่นการใช้ยาฆ่าอสุจิ) หรืออาจจะทำให้มีเสียง (เช่นการใส่ถุงยางอนามัยของผู้หญิง) เป็นเรื่องที่สำคัญ? ควรพิจารณาว่าวิธีการใช้การคุมกำเนิดเหล่านั้นง่ายต่อการจำและทำตามหรือไม่? มันอาจจะยุ่งยากน้อยกว่าในการเปลี่ยนแผ่นแปะคุมกำเนิดทุกสัปดาห์เมื่อเทียบกับการจำขั้นตอนในการใส่ diaphragm เพื่อคุมกำเนิดให้ถูกวิธี

พิจารณาความต้องการทางเพศ

การที่คุณไม่ต้องคิดถึงเรื่องการคุมกำเนิดเมื่อกำลังจะมีเพศสัมพันธ์มีความสำคัญแค่ไหน? คุณต้องการการคุมกำเนิดที่ไม่ได้ต้องการให้คุณเป็นคนใช้มันหรือยกเว้นในบางโอกาส? บางวิธี เช่น การใช้ยาฆ่าอสุจิและการใส่ถุงยางอนามัยอาจขัดขวางต่อการมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากต้องมีการหยุดเพื่อใส่ถุงยางหรือใช้ยาก่อนที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้ คุณต้องการใช้การคุมกำเนิดเช่น diaphragm หรือ cervical cap ที่คุณจะต้องใส่เข้าไปในตัวคุณล่วงหน้า? ควรตระหนักว่าบางวิธีจะต้องใช้ในทุกครั้งที่คุณมีเพศสัมพันธ์และต้องสามารถหยิบใช้ได้ง่ายเมื่อกำลังจะมีเพศสัมพันธ์

พิจารณาความตื่นตัว

คุณต้องการรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการคุมกำเนิดสำหรับคุณ?

  • วิธีการตื่นตัวเกี่ยวกับการมีบุตรต้องการกาติดตามรอบเดือนของแต่ละคนและการสร้างตารางอย่างละเอียดเพื่อระบุวันตกไข่เพื่อดูว่าช่วงเวลาไหนเป็นช่วงเวลาที่คุณพร้อมปฏิสนธิมากที่สุดเพื่อให้คุณหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงนั้น
  • เมื่อใช้ diaphragm และ cervical cap คุณจะต้องตื่นตัวว่าอุปกรณ์ดังกล่าวต้องอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องนานเท่าไหร่หลังมีเพศสัมพันธ์ (ก่อนที่จะเอาออกได้)
  • การใส่ห่วงคุมกำเนิด เช่น Mirena, Skyla และ ParaGard ต้องการความรู้สึกว่ายังมีสายอยู่ภายในช่องคลอดเพื่อให้มั่นใจว่าห่วงคุมกำเนิดอยู่ในที่ที่ถูกต้อง
  • บางวิธีต้องการการฝึกฝนเทคนิคการใส่เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถใช้ได้อย่างเหมาะสม

พิจารณาเกี่ยวกับรายละเอียดและการเก็บรักษา

บางวิธ๊ไม่ได้ต้องการการบำรุงรักษาแต่ต้องการการจำว่าจะต้องเปลี่ยนหรือใช้มันเมื่อไหร่ ในขณะที่บางที่วิธีเช่นการใช้ถุงยางอนามัยมีวิธีการระบุชัดเจนว่าจะต้องเก็บอย่างไร (เช่น ไม่ควรเก็บในที่ที่มีอากาศร้อน) คุณต้องการวิธีการคุมกำเนิดที่ไม่ต้องคอยดูวันหมดอายุหรือไม่ การใช้ Diaphragm และ Cervical caps อาจต้องการการปรับขนาดหากเชิงกรานมีการเปลี่ยนแปลง นอกจากนั้นคุณยังต้องล้างอุปกรณ์เหล่านี้หลังจากนำออกมาจากช่องคลอดและปล่อยให้แห้ง รวมถึงตรวจสอบว่ามีรูหรือการฉีกขาดหรือไม่

การเลือกวิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสำหรับคุณ

คุณควรต้องประเมินตามความเป็นจริงว่าความสะดวกและการใช้งานง่ายสำคัญสำหรับคุณมากแค่ไหน แต่ละวิธีมีข้อดีและข้อเสีย บางวิธีอาจจะง่ายกว่า บางวิธีอาจจะเลอะน้อยกว่า หรือบางวิธีอาจเหมือนธรรมชาติมากกว่า คุณสามารถตัดสินใจได้ว่าแต่ละปัจจัยมีความสำคัญสำหรับคุณแค่ไหนและแต่ละวิธีการคุมกำเนิดจะเพิ่มหรือลดความวุ่นวาย และความต้องการในชีวิตของคุณได้อย่างไร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วิธีกินยาคุมฉุกเฉินให้ปลอดภัย พร้อมป้องกันการตั้งครรภ์ได้อย่างมั่นใจ

ยาคุมฉุกเฉิน เป็นยาคุมอีกชนิดหนึ่งที่จะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ในกรณีที่ฉุกเฉินจริงๆ เช่น มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันและไม่เคยกินหรือฉีดยาคุมมาก่อน สำหรับประสิทธิภาพในการป้องกันจะอยู่ที่ประมาณ 85% ซึ่งนั่นไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีโอกาสตั้งครรภ์เลย แต่อาจมีโอกาสพลาดเพียงน้อยนิดเท่านั้น นอกจากนี้การกินยาคุมฉุกเฉินก็อาจมีผลข้างเคียงตามมาได้อีกด้วย จึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับยาคุมฉุกเฉินให้มากขึ้น ซึ่งมีข้อมูลที่ควรรู้ดังนี้

ยาคุมฉุกเฉินมีกี่แบบ แบบไหนดีกว่ากัน?

เมื่อพูดถึงยาคุมฉุกเฉิน หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับยาคุมที่เป็นตัวยาแบบเม็ด แต่รู้ไหมว่าในปัจจุบันนี้ยังมียาคุมฉุกเฉินอีกชนิดหนึ่งด้วย นั่นคือยาคุมแบบห่วงทองแดงนั่นเอง ซึ่งจะทำหน้าที่ในการทำลายไข่และเชื้ออสุจิไม่ให้เกิดการปฏิสนธิกัน จึงสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้มากถึง 99% และแน่นอนว่ามีประสิทธิภาพที่สูงกว่ายาคุมแบบเม็ดเป็นอย่างมาก แต่จะใช้โดยการสอดเข้าไปในช่องคลอด ดังนั้นจึงต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทำการคุมกำเนิดฉุกเฉินด้วยวิธีนี้ และสำหรับข้อมูลดังต่อไปนี้ จะกล่าวถึงยาคุมฉุกเฉินแบบเม็ดเท่านั้น

เมื่อไรที่ควรกินยาคุมฉุกเฉิน?

การกินยาคุมฉุกเฉินเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด จะต้องกินทันทีหลังจากมีเพศสัมพันธ์ภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งจะให้ผลลัพธ์ในการป้องกันการตั้งครรภ์ประมาณ 85% แต่หากไม่ทันจริงๆ ก็สามารถกินภายใน 72 ชั่วโมงได้ แต่จะมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดน้อยลงมากว่าเดิม คือประมาณ 75% นั่นเอง ดังนั้นเมื่อมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ควรรีบกินยาคุมฉุกเฉินทันที

วิธีกินยาคุมฉุกเฉินอย่างถูกต้อง

สำหรับวิธีกินยาคุมฉุกเฉิน จะเห็นได้ว่าใน 1 แผง มียาคุม 2 เม็ด ซึ่งหลังจากกินเม็ดแรกไปแล้ว ให้นับต่อไปอีกประมาณ 12 ชั่วโมง และกินเม็ดที่สองทันทีเมื่อครบ 12 ชั่วโมงนั่นเอง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การกินยาคุมฉุกเฉินอาจมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นได้ ซึ่งจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับสุขภาพร่างกายของบุคคลนั้นๆ ด้วย โดยผลข้างเคียงจากการกินยาคุมฉุกเฉินที่มักจะเกิดขึ้นบ่อยๆ มีดังนี้

1.ประจำเดือนมาไม่ปกติ

เนื่องจากยาคุมฉุกเฉินจะเข้าไปยับยั้งการตกไข่และเลื่อนการตกไข่ออกไป ทำให้ประจำเดือนอาจมาไม่ปกติได้ เช่น มาช้ากว่าเดิม มาแบบกะปริบกะปรอย แต่ก็ไม่ต้องตกใจ เพราะอาการเหล่านี้จะไม่เป็นอันตรายใดๆ และกลับมาปกติในเดือนต่อไปนั่นเอง

2.คลื่นไส้ อาเจียน

เพราะยาคุมฉุกเฉินส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนในร่างกายโดยตรง ทำให้ภาวะที่ฮอร์โมนเกิดการเปลี่ยนแปลงกะทันหันนั้น อาจทำให้เกิดอาการคลื่นอาเจียนได้ และรู้สึกพะอืดพะอมตลอดเวลา ซึ่งหากอาเจียนมากจนร่างกายเกิดความอ่อนเพลีย ควรดื่มน้ำเกลือแร่บ่อยๆ หรืออาจไปพบแพทย์ทันที

3.ปวดศีรษะ

ในบางคนที่ร่างกายมีการต่อต้านยาคุมหรือปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนไม่ทัน อาจมีอาการปวดศีรษะได้ ซึ่งควรกินยาแก้ปวด และพักผ่อนให้มากๆ เพื่อบรรเทาอาการปวดให้ทุเลาลง

4.ปวดท้อง

เมื่อกินยาคุมฉุกเฉินอาจมีอาการปวดท้อง คล้ายกับตอนมีประจำเดือนได้ ซึ่งสามารถบรรเทาได้ด้วยการกินยาแก้ปวดพาราเซตามอล หรือยาแก้ปวดประจำเดือน

5.เสี่ยงตั้งครรภ์นอกมดลูก

กรณีการตั้งครรภ์นอกมดลูกจะเสี่ยงมากในคนที่กินยาคุมฉุกเฉินบ่อยๆ หรือกินยาคุมฉุกเฉินแบบต่อเนื่องแทนยาคุมทั่วไป ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงจากการตั้งครรภ์นอกมดลูก ควรกินยาคุมฉุกเฉินเมื่อจำเป็นจริงๆ เท่านั้น หากต้องการคุมกำเนิดในระยะยาว แนะนำให้ใช้วิธีการฉีดยาคุมหรือกินยาคุมแบบทั่วไปจะดีกว่า

6.เสี่ยงเป็นมะเร็ง

มีรายงานทางการแพทย์กล่าวว่า ในชีวิตของผู้หญิง ไม่ควรกินยาคุมฉุกเฉินเกินจาก 2 ครั้ง เพราะยาคุมชนิดนี้จะไปกระตุ้นเซลล์มะเร็งให้เจริญเติบโตและส่งผลให้เกิดมะเร็งในที่สุด โดยเฉพาะมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งรังไข่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังทำให้มดลูกอ่อนแอและบางลง ซึ่งส่งผลต่อการมีบุตรในอนาคตได้เช่นกัน

กินยาคุมฉุกเฉิน อ้วนไหม?

เป็นคำถามที่ผู้หญิงส่วนใหญ่เกิดความกังวลเป็นอย่างมาก ว่าหากกินยาคุมฉุกเฉิน จะทำให้อ้วนไหม ความจริงแล้วยังไม่มีผลสรุปที่แน่ชัดว่ายาคุมฉุกเฉินสามารถทำให้น้ำหนักขึ้นได้หรือเปล่า แต่ตามหลักแล้วการกินยาคุมฉุกเฉินจะกินเมื่อจำเป็นจริงๆ เท่านั้น ไม่ได้กินบ่อยๆ เหมือนยาคุมทั่วไป จึงไม่น่าจะมีผลต่อน้ำหนักตัว ซึ่งในชีวิตหนึ่งคนเราอาจกินยาคุมแบบฉุกเฉินแค่ 1-2 ครั้งเท่านั้น จึงหมดกังวลไปได้เลย

ยาคุมฉุกเฉิน แม้จะสามารถใช้ป้องกันการตั้งครรภ์ในกรณีฉุกเฉินได้ดี แต่ก็ไม่ควรกินบ่อยๆ เพราะอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้เช่นกัน โดยเฉพาะมดลูกและระบบสืบพันธุ์ ดังนั้นหากต้องมีเพศสัมพันธ์บ่อยครั้ง แนะนำให้คุมกำเนิดด้วยการสวมถุงยางอนามัยหรือกินยาคุมแบบประจำจะดีกว่า ซึ่งก็มีผลข้างเคียงน้อยและมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดไม่แพ้ยาคุมฉุกเฉินเลยทีเดียว

การใช้ยาคุมมีผลต่อร่างกายและจำเป็นต้องศึกษาให้ดี ควรอ่าน 7 ข้อควรรู้ ก่อนทานยาคุมฉุกเฉิน สำหรับผู้หญิง และสำหรับผู้ที่ใช้ยาคุมในรูปแบบเม็ด มีสิ่งน่ารู้ ในการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด ไม่ว่าจะเป็นเพื่อจุดประสงค์ใดๆก็ตาม

คําถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการใช้ยาคุม

กินๆหยุดๆยาคุมบ่อยๆ เป็นอะไรมั้ยคะ

คำตอบ: ถ้ารับประทานยาคุมกำเนิดไม่สม่ำเสมอ หรือไม่ครบแผง แล้วมีเพศสัมพันธ์มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ครับ เนื่องจากระดับฮอร์โมนที่ได้รับมีระดับที่แกว่ง จนทำให้ไม่สามารถควบคุมไม่ให้ตกไข่ได้ จึงทำให้มีการตกไข่ขึ้นมาครับ แต่ในกรณีที่รับประทานยาคุมกำเนิดเพื่อการรักษาโรคเช่น โรคปวดประจำเดือนหรือเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบหรือ polycystic ovarian syndrome (PCOS) ก็อาจจะทำให้การควบคุมตัวโรคไม่ดี มีโอกาสทำให้ตัวโรคกลับมาเป็นซ้ำหรือมีอาการจากตัวโรคได้ครับ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการรับประทานยาคุมกำเนิดเพื่อจุดประสงค์ใดก็ตาม ควรรับประทานยาคุมกำเนิดอย่างสม่ำเสมอครับ และจะหยุดใช้ก็ต่อเมื่อไม่ต้องการที่จะคุมกำเนิดหรือรักษาโรคนั้นๆแล้วครับ แต่สำหรับอันตรายอย่างอื่นจากการรับประทานยาคุมหรือหยุดรับประทานสลับกันไปมา แบบระยะห่างๆ ในกรณีนี้คิดว่าไม่ส่งผลกระทบอะไรนะครับ แต่การใช้ยาคุมกำเนิดอาจจะต้องระมัดระวังในกลุ่มคนที่มีประวัติโรคหลอดเลือดอุดตันประวัติโรคตับเรื้อรังหรือตับอักเสบขั้นรุนแรงประวัติโรคหลอดเลือดในหัวใจประวัติมะเร็งในครอบครัว ครับ - ตอบโดย Rattapon Amampai (Dr.)

รู้สึกซึมเศร้าและปวดหัวหลังจากกินยาคุมไปได้2อาทิตย์ค่ะ เกี่ยวกันมั้ยคะ แล้วจะเป็นผลข้างเคียงหรือเปล่า

คำตอบ: เกี่ยวกันได้คะ เพราะสองอาการนี้เป็นผลข้างเคียงของการทานยาคุม สำหรับผลข้างเคียงของเม็ดยาคุมกำเนิดมีดังนี้ค่ะ คลื่นไส้อาเจียน น้ำหนักตัวเพิ่ม ปวดหัว เป็นฝ้า เลือดออกกระปริบกระปรอย ประจำเดือนผิดปกติ ความดันสูง ซึมเศร้า กังวล หรืออาจมีอาการอื่นๆแต่พบได้น้อยเช่น ปวดประจำเดือน ปวดขา เส้นเลือดขอด อ่อนเพลีย ความรู้สึกทางเพศลดลงค่ะ - ตอบโดย นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (พญ.)

กินยาคุมพร้อม Isotretinoin ได้มั้ยคะ มันจะทำให้ประสิทธิภาพยาคุมเสื่อมรึเปล่า หรือเป็นผลต่อตับมากมั้ย

โดยปกติผู้ที่ได้รับยา isotretinoin จะต้องคุมกำเนิดก่อน รับประทานยาอย่างน้อย 3 เดือน และคุมกำเนิดตลอดระยะเวลาที่ใช้ยาตัวนี้ในการรักษา อยู่แล้วครับ ซึ่งการใช้ isotretinoin มีความเป็นพิษต่อตับได้ครับ จึงควรที่จะมีตรวจค่าการทำงานของตับ หรือ liver function test อยู่เสมอครับ หากมีอาการตัวเหลือง ตาเหลืองควรหยุดยาและรีบมาพบแพทย์โดยด่วนครับ ส่วนเรื่องประสิทธิภาพยาคุมกำเนิดไม่พบว่ามีน้อยลงใดๆอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากงานวิจัยครับ - ตอบโดย Rattapon Amampai (Dr.)

ฉีดยาคุมกำเนิดมาตลอดตั้งแต่คลอดน้องประจำเดือนไม่มาเลยตอนนี้น้อง1.6ปีถ้าฉีดไปเรื่อยๆประจำเดือนไม่ม่แบบนี้เป็นไรใหมคะ

คำตอบ: ยาฉีดคุมกำเนิด เป็นวิธีคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพดีมาก โอกาสตั้งครรภ์มีแค่ 0.2-6% แต่เนื่องจากเป็นยาฮอร์โมน ดังนั้น จึงมีฤทธิ์ของฮอร์โมนต่อผู้ใช้ได้ การที่ประจำเดือนไม่มาก็เป็นหนึ่งในผลของยาครับ ซึ่งไม่ใช่ผลเสีย และไม่ทำให้สุขภาพของเราในระยะยาวนั้นผิดปกติแต่อย่างใด หากเลิกใช้ยาฉีดคุมกำเนิด ประจำเดือนก็จะกลับมาเป็นปกติได้ครับ ส่วนผลข้างเคียงอื่นๆ ได้แก่ ในระยะเวลา 2-3 เดือนแรก ประจำเดือนอาจมาไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนมาแบบกะปริดกะปรอย หรือตกขาวมาก ซึ่งเป็นอาการพบได้มากที่สุด แต่ก็พบได้ไม่มากครับ หรือในบางรายประจำเดือนมามากติดต่อกันหลายวัน ไม่มีประจำเดือน หรือประจำเดือนขาดไปเลยก็มีครับ บางรายอาจมีอาการปวดท้องน้อยและปวดประจำเดือนบ้างในระยะ 2-3 เดือนแรก มีอารมณ์แปรปรวน มีอาการปวดหรือเจ็บเต้านม บางรายอาจมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น (แต่ปัจจัยหลักคืออาหารครับ ถ้าควบคุมอาหารได้ก็ไม่มีปัญหาอะไร) อาจทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ หากเกิดการตั้งครรภ์ขึ้น จะมีโอกาสการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้มากกว่าปกติ แต่ผลข้างเคียงเหล่านี้ เมื่อเทียบกับประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดแล้ว ถือว่าคุ้มค่ามากครับ การแก้ไขเรื่องประจำเดือนไม่มา ไม่ต้องแก้ไขครับ เนื่องจากเป็นผลของยาอยู่แล้วครับ - ตอบโดย ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์ (นพ.)

ฉีดยาคุมมา5ปีจะเอาน้องทำไหมไม่มีซักทีค่ะ

คำตอบ: อาจต้องหยุดยาคุมสักระยะก่อนเพื่อให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวขึ้น หรืออาจจะรอให้ประจำเดือนมาก่อนครับ - ตอบโดย กิตติศัพท์ สินน้อย (นพ.)

กินยาคุมกำเนิดเป็นเวลานานกว่า 5 ปี ตอนนี้ประจำเดือนไม่มา ตรวจแล้วไม่ท้อง แล้วอย่างนี้ต้องไปตรวจอะไรต่อคะ

คำตอบ: กลไกร่างกายที่ทำให้ประจำเดือนของผู้หญิงมาตามปกติได้ ต้องประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้ 1. ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองปกติ 2. รังไข่มีการตกไข่และสร้างฮอร์โมนปกติ 3. มดลูกปกติ 4. ปากมดลูกและช่องคลอดปกติ ถ้าประจำเดือนที่ออกน้อย หรือนานๆมาครั้ง ถ้าแต่ละรอบ ห่างกันเกิน 35 วัน ถือว่าผิดปกติ ควรได้รับการตรวจหาสาเหตุ ซึ่งมีได้หลากหลายมาก แบ่งตามอวัยวะที่เขียนไว้ด้านบน หรืออาจเกิดจากการรับประทานยาบางชนิดก็ได้ (ยาคุมกำเนิด ก็สามารถทำให้ประจำเดือนขาดได้) เบื้องต้น ควรปรึกษากับสูติ-นรีแพทย์เฉพาะทาง เพื่อให้ได้รับการตรวจหาฮอร์โมน ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ โดยการเจาะเลือดตรวจ จากนั้นตรวจภายในเพื่อดูช่องคลอด ปากมดลูก มดลูก อาจจำเป็นต้องอัลตราซาวนด์ดูมดลูกว่ามีความผิดปกติใดๆหรือไม่ ดูว่ารังไข่มีลักษณะคล้ายภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง (PCOS) หรือไม่ ส่วนจะเป็นอันตรายหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เราพบครับ เช่น ถ้าเกิดจากการรับประทานยาคุมกำเนิด ก็ไม่ต้องทำอะไร เพราะไม่ได้ส่งผลเสียต่อร่างกาย ถ้าฮอร์โมนผิดปกติก็แค่รับประทานยา หรือหากเกิดจากเนื้องอกรังไข่ หรือเนื้องอกต่อมใต้สมอง ก็อาจจำเป็นต้องรับการผ่าตัดครับ - ตอบโดย ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์ (นพ.)

กินยาคุมเลื่อนเมนส์บ่อยๆเป็นอะไรมั้ยคะ

คำตอบ: ยาที่เรารับประทานเพื่อใช้เลื่อนประจำเดือน เป็นยาที่มีส่วนของฮอร์โมนโปรเจสตินชนิดเดียว ที่ชื่อว่า Norethisterone (Primolut® N) ครับ ซึ่งหากรับประทานเพื่อใช้ในการเลื่อนประจำเดือนบ่อยๆ อาจพบว่ามีผลข้างเคียงจากยาที่สามารถเจอได้คือ ทำให้รอบประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือมีประจำเดือนมาถี่ขึ้นแต่มาในลักษณะกระปริดกะปรอย หรือในบางรายประจำเดือนอาจจะไม่มาเลยก็ได้ครับ ดังนั้น จึงไม่ควรใช้ยาชนิดนี้เพื่อเลื่อนประจำเดือนบ่อยๆครับ ซึ่งหากหยุดใช้ยามาแล้วเกิน หนึ่งสัปดาห์แล้วประจำเดือนยังไม่มาตามปกติ ควรตรวจการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะหากคุณมีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์คือมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้คุมกำเนิดโดยวิธีอื่นในขณะที่ทานยาเลื่อนประจำเดือนครับ อีกทั้ง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทราบสาเหตุและการรักษาที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นที่เป็นอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาเลื่อประจำเดือนชนิดนี้ที่อาจพบได้ เช่น ปวดศีรษะ คัดตึงเต้านม คลื่นไส้และเวียนศีรษะ ได้ครับ - ตอบโดย Rattapon Amampai (Dr.)

กินยาคุมของ Yaz อยู่ อยากเลื่อนประจำเดือนต้องกินต่อยังไงคะ

คำตอบ: Yaz เป็นยาคุมชนิดที่มีฮอร์โมน(เม็ดสีชมพู)24เม็ด และเม็ดที่ไม่มีฮอร์โมน(สีขาว)4เม็ดค่ะ ปกติเมื่อเราทานเม็ดสีขาว ประจำเดือนจะมาในช่วงนั้น แต่ถ้าต้องการเลื่อน เมื่อทานสีชมพูถึงเม็ดที่24แล้ว ให้เริ่มYazแผงใหม่เลยค่ะ คือทานเม็ดสีชมพูต่อ และเมื่อเราหยุดทานประจำเดือนก็จะมาค่ะ - ตอบโดย นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (พญ.)

คือประจำเดือนชอบมาระหว่างทานยาคุมค่ะไม่ทราบว่าสาเหตุมาจากอะไรค่ะ

คำตอบ: ยาเม็ดกินคุมกำเนิดที่ใช้ในปัจจุบันมีสองแบบครับ คือชนิดฮอร์โมนรวม ซึ่งมีส่วนผสมของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสติน กับอีกชนิดคือยาคุมที่มีแต่ฮอร์โมนโปรเจสตินตัวเดียวซึ่งชนิดนี้มักใช้ในหญิงหลังคลอดบุตรที่ต้องการให้นมลูกครับ ซึ่งไอ้ยาคุมตัวฮอร์โมนชนิดเดียวนี่แหละครับเป็นตัวที่มักจะมีภาวะข้างเคียงคือเลือดออกกระปริดกระปรอยระหว่างรอบเดือนได้บ่อยครั้งเนื่องจากฮอร์โมนชนิดนี้ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางลง เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีเลือดออกระหว่างรอบเดือนได้ ส่วนยาคุมชนิดฮอร์โมนรวมซึ่งมีส่วนผสมของฮอร์โมนเอสโตรเจนกับโปรเจสติน ซึ่งมีหลายยี่ห้อตัวที่มีผลต่อการเลือดออกระหว่างรอบเดือนได้คือ ขนาดยาของเอสโตรเจนหลายยี่ห้อมากใส่ขนาดยาเอสโตรเจนในระดับต่ำๆเพื่อลดผลข้างเคียงจากเอสโตรเจนเช่นอาการมึนศีรษะ สำหรับบางคนหากได้รับเอสโตรเจนในระดับต่ำๆ อาจทำให้มีเลือดออกผิดปกติระหว่างรอบเดือนได้เช่นกันครับ เบื้องต้นคุณอาจลองเปลี่ยนยาคุมเป็นชนิดที่มีระดับเอสโตรเจนสูงขึ้นกว่าเดิมหรือในกรณีที่คุณอายุมากกว่า 35-40 ปีขึ้นไปหมอแนะนำว่าให้ไปตรวจกับหมออีกทีนะคับ ถึงแม้ว่า เลือดออกผิดปกติเป็นผลที่อาจเกิดจากยาคุมกำเนิดได้บ่อย แต่ก็ไม่เสมอไปครับ ควรไปรับการตรวจภายใน อย่างละเอียด หรือ การทำอัลตร้าซาวน์โดยแพทย์ครับ - ตอบโดย Rattapon Amampai (Dr.)

คะเลือดชอบออกทางช่องหลอดบ่อยคะแต่ไม่ถึงกะเปราะกางเกงในนะคะมาแบบกระปริบกะปรอยบ่อยมากแต่ก่อนหน้านี้หนูฉีดยาคุมแต่เม่นกับมาเดือนนึง2ครั้งแระเลือดกระปริบกะปรอยตลอดทั้งเดือนแต่ตอนนี้หนูหนูไม่ได้ฉีดยาคุมแร้ว11เดือนอยากถามว่าแบลนี้มีความเสี่ยงเปนโรคอะไรรึป่าวคะหรือเปนเพราะเคยฉีดยาคุมคะขอบคุณคะ

คำตอบ: การมีเลือดออกผิดปกติเกิดจากยาคุมกำเนิดได้บ่อยครับ เนื่องจากเยื่อบุโพรงมดลูกมีการบางตัว ทั้งนี้หากหยุดใช้ยาฉีดคุมกำเนิดไปนานแล้วแต่ยังมีเลือดออกผิดปกติอยู่ แนะนำให้ไปตรวจภายในเพื่อหาความผิดปกติ อื่นๆ ด้วยครับ เช่นติ่งเนื้อในโพรงมดลูก หรือเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติ มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก เนื้องอกมดลูก ฯลฯ - ตอบโดย Rattapon Amampai (Dr.)

ถ้ากินยาคุม กิน1 เดือนแล้ว หยุดไป แล้วกลับมากินใหม่ กินๆหยุดๆ จะมีผลอะไรไหมคะ ฮอร์โมนจะเปลี่ยนแปลงมากเกินไปไหม

คำตอบ: อาจจะไม่ส่งผล หรือหากส่งผลก็อาจจะไม่มากครับ แต่ต้องระวังการกินที่ไม่ได้ประสิทธิภาพมากกว่ายังไงก็แนะนำถ้ากินก็กินต่อเนื่อง หรือไม่ก็หาวิธีที่คุมกำเนิดทางอื่นครับ เช่น ฉีดยา ฝังยา หรือใช้ถุงยางอนามัย - ตอบโดย ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)

Endometriosis การทานยาคุม กับฉีดยาคุม มีข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไรคะ

คำตอบ: โรคEndometriosis หรือเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่โดยปกติแล้วถ้าความรุนแรงน้อยถึงปานกลางร่วมกับตรวจไม่พบถุงน้ำรังไข่หรือช็อกโกแลตซีสจะรักษาด้วยการให้ยาแก้ปวดร่วมกับการใช้ยาฮอร์โมนเช่นยาฉีดเป็นอันดับแรกเนื่องจากวิธีนี้มีผลข้างเคียงต่ำ และลดอาการปวดท้องประจำเดือนได้เป็นอย่างดี ยาฉีดกลุ่มนี้ คือ ฮอร์โมนโปรเจสติน ครับ ซึ่ง ผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือ มีเลือดออกกระปริดกระปรอย, ไม่เป็นประจำเดือน, น้ำหนักเพิ่มขึ้น, ซึมเศร้า, มวลกระดูกลดลง หรืออาจมีไขมันในเลือดผิดปกติได้ในยาบางตัว สำหรับยาฮอร์โมนยาคุมแบบกินก็สามารถทานได้ครับ มีกลไก ช่วยลดการทำงานของรังไข่ และทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกฝ่อ จึงนิยมใช้ เนื่องจาก สามารถใช้ได้เป็นระยะเวลานาน ผู้ป่วยทนผลข้างเคียงได้ ใช้ได้ง่าย และมีราคาถูก นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิด มะเร็งรังไข่และมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก แต่ต้องทานแผงต่อแผง ไปอย่างน้อย3 เดือนแล้วค่อยปล่อยมีประจำเดือนสักครั้ง แบบนี้จะให้ผลดีกว่าแบบปล่อยมีประจำเดือนทุกเดือนครับ ส่วนในกรณีที่มีอาการรุนแรงมากหรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบแรกควรเปลี่ยนมาใช้ยาในกลุ่มที่แรงขึ้นและแน่นอนว่าผลข้างเคียงมีมากกว่า ยากลุ่มนี้เรียกว่า GnRH agonist ซึ่งจะทำให้อยู่ในภาวะที่เหมือนหมดประจำเดือน อาจจะมีอาการร้อนวูบวาบ, ช่องคลอดแห้ง, อารมณ์แปรปรวน, มวลกระดูกลดลง และ ความต้องการทางเพศลดลง จึงนิยมให้รักษาด้วยการกินยาฮอร์โมนไปช่วยด้วย - ตอบโดย Rattapon Amampai (Dr.)

ทำอย่างไรรอบเดือนไม่มาเลยตั้งแต่หยุดกินยาคุมกำเนิด ตรวจการตั้งครรภ์แล้วไม่พบว่าตั้งครรภ์

คำตอบ: ในช่วงที่ทานยาคุมกำเนิดจะไม่มีการตกไข่จากรังไข่ ส่วนเลือดประจำเดือนนั้นเกิดจากฮอร์โมนที่เราทานเข้าไปนั้นทำให้เยื่อบุมดลูกหนาตัวและลอกตัวเป็นเลือดประจำเดือนเป็นรอบๆ เหมือนธรรมชาติ ดังนั้น เมื่อเราหยุดทานยาคุมกำเนิดนั้น กลไกการยับยั้งการตกไข่จะหายไปรังไข่ก็กลับมาทำงานตามปกติ สามารถตกไข่ได้และก็สร้างฮอร์โมนให้เยื่อบุมดลูกนั้นหนาตัวขึ้นเป็นเลือดประจำเดือนเช่นกันหากไม่ได้รับการปฏิสนธิเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครับ แต่ในช่วง 2-3 เดือนแรกๆ หลังจากหยุดยาคุมกำเนิดนั้น การทำงานของรังไข่ยังทำงานไม่ปกติ ยังไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้เหมือนตามธรรมชาติที่สามารถทำให้เยื่อบุมดลูกหนาตัวและมีประจำเดือนได้ตามวันที่ควรจะเป็น ก็เลยทำให้บางครั้งเยื่อบุประจำเดือนยังน้อยหรือบางซึ่งเป็นเหตุผลทำให้ประจำเดือนมาน้อยหรือมาไม่ตรงรอบได้ครับ - ตอบโดย สุเทพ สุขนพกิจ (นพ.)

ฉีดยาคุมมา4ปีแล้วหยุดฉีดหลังจากหยุดฉีดแล้ว7เดือนมีเลือดออกกระปิดกระปอยตลอดเลยค่ะไม่เยอะนะคะออกมานิดเดียวแล้วก้หายไปอีกสองสามวันก้เออกมาอีก..เกิดจากอะไรคะ..

คำตอบ: ผู้ป่วยต้องทำความเข้าใจก่อนค่ะว่ายาฉีดคุมกำเนิดโดยส่วนใหญ่ คือ ฮอร์โมนโปรเจสตินซึ่ง จะไปยับยั้งการตกไข่ ทำให้ไม่มีไข่มารอปฏิสนธิ จึงสามารถคุมกำเนิดได้ นอกจากนั้นฮอร์โมนโปรเจสตินยังทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางตัวไม่เหมาะแก่การฝังตัวของไข่อีกด้วย และยังทำให้มูกที่ปากมดลูกเหนียวข้น ทำให้ตัวเชื้ออสุจิว่ายผ่านเข้าไปผสมกับไข่ได้ลำบาก ระยะเวลาในการฉีดยาคุมกำเนิด มีระยะห่าง ตั้งแต่ 1-3 เดือน ขึ้นอยู่กับชนิดของยาฉีดคุมกำเนิด ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดดีมาก ราคาถูกเมื่อเทียบกับวิธีอื่นๆ เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด หรือ การใส่ห่วงอนามัย สะดวก เนื่องจากฉีดครั้งเดียวสามารถป้องกันได้ 3 เดือน ไม่ต้องรับประทานยาทุกวัน แต่ก็มีผลข้างเคียง หลังฉีด คือ ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ รวมถึงมีเลือดออกกระปิบกระปอย บางรายอาจจะไม่มีประจำดือนมาเลย ดังเช่นกรณีของคนไข้ค่ะ ซึ่งภาวะประจำเดือนมาผิดปกติ มีได้ตั้งแต่ 6 เดือน ถึงปี หลังจากฉีดยาเข็มสุดท้าย นอกจากนี้ยังมีผลข้างเคียงอื่น ๆ ได้แก่ น้ำหนักตัวเพิ่ม ภาวะกระดูกบาง เนื่องจากฮอร์โมนโปรเจสตินจะไปยับยังการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนจากรังไข่ ทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง มีผลทำให้มวลกระดูกลดลง ความหนาแน่นกระดูกลดลง (Bone mineral density) แต่พบว่าเป็นแบบชั่วคราว เมื่อหยุดฉีดยาคุม ความหนาแน่นของมวลกระดูกจะกลับคืนมาเป็นปกติ มึนงง วิงเวียนศีรษะ อารมณ์เปลี่ยนแปลง - ตอบโดย วิภา สุวรรณชีวะศิริ (พญ.)

สอบถามเรืรองประจำเดือนมาไม่ปกติ ฮอร์โมนผิดปกติมีวิธีรักษายังไงโดยไม่ต้องทานยาคุมกำเนิด

คำตอบ: เน้น 4 ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อฮอร์โมนเพศ เริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อที่จะไม่ต้องใช้ยาคุมนะคะ 1.อาหาร สมดุลพลังงาน ที่เปลี่ยนแปลงเร็วทั้งขาด/เกิน ทำให้ฮอร์โมนแปรปรวน -ชนิดสารอาหาร ครบ 5 หมู่เน้น ไขมันดี omega3 สูง ,โปรตีนไขมันต่ำ:fish 2.ออกกำลังกาย -คาร์ดิโอ 20-30 นาที 3-5 วันต่อสัปดาห์ -สร้างกล้ามเนื้อ 20-30 นาที 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ -เพิ่มการไหลเวียนเลือด -ลดฮอร์โมนเครียดที่ไปกดการทำงานของฮอร์โมนเพศ -ช่วยควบคุมการเผาผลาญพลังงานให้สมดุล 3.การหลับที่เพียงพอ -นอน 4ทุ่ม - 6โมงเช้า -นอนดึกทำให้ฮอร์โมนเครียด cortisol หลั่งมาก(ช่วงเที่ยงคืน) กดการทำงานฮอร์โมนเพศ -นอนดึกและแสงสว่างทำให้ร่างกายหลั่งmelatonin น้อยลง ผลิตฮอร์โมนเพศลดลง -ลดความเครียดทางอารมณ์/ร่างกาย 4.การทานอาหารครบ 3 มื้อ -ดื่มน้ำเพียงพอ -ความคิดเป็นบวกตลอดเวลา -ได้รับแสงแดดเพียงพอ - ตอบโดย สมปอง ศรีอุไร (พญว.)

ยาคุมแบบฝีงมีผลข้างเคียงไหม แล้วฝังยังไงคะ

คำตอบ: ข้อเสียของการฝังยาคุมกำเนิด ประจำเดือนอาจมาแบบกะปริดกะปรอย จึงทำให้ต้องใส่ผ้าอนามัยอยู่เสมอ เพราะบางครั้งก็มาแบบไม่ทันตั้งตัว ซึ่งหลาย ๆ คน กังวลกับปัญหาเหล่านี้ อาจพบภาวะแทรกซ้อนหลังการฝังยาคุมกำเนิดได้ เช่น มีก้อนเลือดคั่งบริเวณที่กรีดผิวหนัง อาจพบว่าตำแหน่งของแท่งยาเคลื่อนไปจากตำแหน่งเดิมค่ะ - ตอบโดย วลีรักษ์ จันทร (พว.)

คำตอบ 2: ผลข้างเคียงของยาคุมแบบฝังคือประจำเดือนอาจมาไม่สม่ำเสมอในช่วงแรกหรือมีเลือดออกกะปริดกะปรอยได้ หรือมีอาการปวดท้องน้อย มีอารมณ์แปรปรวน เจ็บเต้านม อาจมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น บางรายอาจมีสิว ขนดกได้ และหากเกิดการตั้งครรภ์ขึ้น จะมีโอกาสการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้มากกว่าปกติค่ะ ส่วนวิธีการฝังคือ ฝังภายใน5วันของการมีประจำเดือน ฝังบริเวณใต้ท้องแขนค่ะ - ตอบโดย นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (พญ.)

คำตอบ 3: ยาคุมแบบฝังเป็นยาฝังคุมกำเนิดที่ประกอบด้วยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพียงอย่างเดียว บรรจุในหลอดยาเพียง 1 หลอด ยาวประมาณ40 มม. กว้าง 2 มม. หรือประมาณก้านไมขีดเท่านั้นเอง และเมื่อฝังหลอดยาใต้ผิวหนังแล้ว ฮอร์โมนในหลอดยาจะค่อย ๆ ถูกปล่อยออกมาทีละน้อยและดูดซึมเข้าในกระแสเลือดเพื่อออกฤทธิ์คุมกำเนิด มีอายุการใช้งาน 3 ปี   ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่ค่อย ๆ ออกมาจากยาฝัง ถึงแม้จะออกมาในปริมาณไม่มากนัก แต่ก็เพียงพอที่จะป้องกันการตั้งครรภ์ได้ครับ กลไกหลัก คือ ฮอร์โมนจะไปป้องกันไม่ให้มีการตกไข่ในแต่ละรอบเดือน ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย คือ มีประจำเดือนผิดปกติครับ แต่จะแตกต่างกันในแต่ละคนครับ - ตอบโดย ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)

รับประทานยาคุมกำเนิดติต่อกันนานหลายปี จะส่งผลต่อสุขภาพระยะยาวหรือไหม

คำตอบ: การทานยาคุมเป็นระยะเวลนานๆ มีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งสตรี เล็กน้อย ครับ แต่ไม่ต้องกังวลเพราะโอกาสเล็กน้อยเทียบไม่ได้กับพวกกรรมพันธ์ เป็นต้น - ตอบโดย ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)

หนู ประจำเดือนยังไม่มาค่ะนี้ก้อ สามอาทิตย์กว่าเเล้ว กินยาคุมไปด้วย จะท้องไหมค่ะ มีอาการ เหนื่อยเเน่น ที่หน้าอก บ่อยๆค้ะ เเละ ขี้หงุดหงิด เจ็บตึ้ง ที่เต้าด้วยค่ะ ถูกไม่ได้เลย ไม่ทราบว่า จะมีสิทท้องไหมค่ะ ซื้อที่ตรวจ มาล่ะเเต่ ตรวจไม่ท้องค้ะ เเต่อาการ ก็ บอกเหมือน ทีอ่าน ในgoogleน่ะค้ะ

คำตอบ: อาการที่เป็นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ซึ่งอาจมาจากการทานยาคุมกำเนิดก็เป็นได้ ถ้าจะให้ชัวร์ควรจะไปตรวจหรืออาจซื้อที่ตรวจครรภ์มาตรวจเองก็ได้ค่ะ - ตอบโดย ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)

ความเห็น: ตรวจเเล้วค่ะ ไม่ติดอ้ะค้า 😣😣 อาจเป็นเพราะยาใช่ไหมค้ะ ตอนนี้ หยุดกินใด้ สอง สามวันเเล้วค่ะ

มีไรกับแฟนหลังปจดหมด5วันมีกันวันที่25วันที่27เลยซื้อยาคุมมากินแบบ28เม็ด ดต่ก้มีอะไรกันช่วงกินยาคุมประมาณเม็ดที่6-7จะท้องมั้ยคะ

คำตอบ: ยาคุมแบบ28เม็ด ควรเริ่มทานในวันที่สองของวันประจำเดือนค่ะ การมีเพศสัมพันธ์หลังหมดประจำเดือน 5 วันถือเป็นช่วงระยะปลอดภัยค่ะ โอกาสท้องมีน้อย ถ้าให้ชัวร์ในเดือนแรก ควรทานยาเม็ดคุมกำเนิดควบคู่กับการป้องกันโดยการสวมถุงยางอนามัยด้วยก็ได้ค่ะ - ตอบโดย ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)

กินยาคุมของ Yaz อยู่ค่ะ ถ้าต้องการเลื่อนประจำเดือนต้องกินยาวันไหนคะ ใช้ Yaz เลื่อนได้เลยรึเปล่า หรือว่าต้องมียาคุมชนิดพิเศษค่ะ

คำตอบ: Yaz เป็นยาคุมชนิดที่มีฮอร์โมน(เม็ดสีชมพู)24เม็ด และเม็ดที่ไม่มีฮอร์โมน(สีขาว)4เม็ดค่ะ ปกติเมื่อเราทานเม็ดสีขาว ประจำเดือนจะมาในช่วงนั้น แต่ถ้าต้องการเลื่อน เมื่อทานสีชมพูถึงเม็ดที่24แล้ว ให้เริ่มYazแผงใหม่เลยค่ะ คือทานเม็ดสีชมพูต่อ และเมื่อเราหยุดทานประจำเดือนก็จะมาค่ะ - ตอบโดย นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (พญ.)

ถ้าเราเป็นเคยทานยาคุมแล้วหยุดกิน หลังจากนั้นพบว่าตอนที่เป็นประจำเดือนเลือดออกกระปริกระปรอย บางเดือนเป็นถึง7-10วัน บางเดือนมา2ครั้ง เป็นมาเกือบครึ่งปี อยากทราบปัญหาที่เกิดขึ้นค่ะ^^

คำตอบ: น่าจะเป็นที่ฮอร์โมนยังปรับตัวได้ไม่คงที่ทำให้ประจำเดือน ไม่ปกติ อาจจะต้องทานยาเพื่อปรับประจำเดือนอีกครั้ง หรือเข้าตรวจกับนรีแพทย์ครับ - ตอบโดย ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)

ไม่เคยเป็นประจำเดือนตั้งแต่คลอดลูกมาจนลูก2ปีแล้วเพิ่งเป็นแค่ครั้งสองครั้งเอง เกี่ยวกันกับฉีดยาคุมใหมเพราะตัวเองฉีดยุค่ะ แต่ตอนเป็นประจำเดือนกับเป็นเลือดสีดำสนิจเป็นไรใหมค่ะ

คำตอบ: ยาคุมกำเนิดแบบฉีดที่นิยม มี 2 แบบ คือ แบบที่ 1 ฉีด เดือนละ 1 ครั้ง แบบนี้จะมีประจำเดือนมาปกติ และแบบที่2 ฉีดทุก 3 เดือน มักจะไม่มีประจำเดือน หรือ มีแบบกะปริดกะปรอย หรือ มีบ้างไม่มีบ้างได้ ดังนั้นถ้าฉีดยาคุมแบบ 3 เดือน ก็สามารถไม่มีประจำเดือนได้ครับ แต่ถ้าฉีดชนิดเดือนละ 1 ครั้ง แล้วไม่มีประจำเดือน อาจเกิดจากสาเหตุอื่นได้ เช่น การพักผ่อนไม่เพียงพอ อารมณ์ ความเครียด ครับ อาจต้องออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพครับ - ตอบโดย หมอปอ

คำตอบ : การฉีดยาคุมกำเนิดนั้นเป็นวิธีคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพดีมากวิธีหนึ่ง หากฉีดสม่ำเสมอทุก 3 เดือน จะมีโอกาสตั้งครรภ์เพียง 0.3% แต่หากฉีดไม่สม่ำเสมอ หรือเปลี่ยนเป็นยากินสลับไปมา ก็จะมีโอกาสตั้งครรภ์ได้มากขึ้นครับ ยาฉีดคุมกำเนิดนั้นเนื่องจากเป็นยาฮอร์โมน ดังนั้น จึงมีฤทธิ์ของฮอร์โมนต่อผู้ใช้ได้ การที่ประจำเดือนไม่มาก็เป็นหนึ่งในผลของยาครับ ซึ่งไม่ใช่ผลเสีย และไม่ทำให้สุขภาพของเราในระยะยาวนั้นผิดปกติแต่อย่างใด หากเลิกใช้ยาฉีดคุมกำเนิด ประจำเดือนก็จะกลับมาเป็นปกติได้ครับ ส่วนผลข้างเคียงอื่นๆ ได้แก่ ในระยะเวลา 2-3 เข็มแรก ประจำเดือนอาจมาไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนมาแบบกะปริดกะปรอย หรือตกขาวมาก ซึ่งเป็นอาการพบได้มากที่สุด หรือในบางรายประจำเดือนมามากติดต่อกันหลายวัน ไม่มีประจำเดือน หรือประจำเดือนขาดไปเลยก็มีครับ บางรายอาจมีอาการปวดท้องน้อยและปวดประจำเดือนบ้างในระยะ 2-3 เดือนแรก อาจมีอารมณ์แปรปรวน มีอาการปวดหรือเจ็บเต้านม บางรายอาจมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น (แต่ปัจจัยหลักคืออาหารครับ ถ้าควบคุมอาหารได้ก็ไม่มีปัญหาอะไร) แต่ผลข้างเคียงเหล่านี้ เมื่อเทียบกับประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดแล้ว ถือว่าคุ้มค่ามากครับ การแก้ไขเรื่องประจำเดือนไม่มา ไม่ต้องแก้ไขครับ เนื่องจากเป็นผลของยาอยู่แล้วครับ แต่หากใช้ยาฉีดคุมกำเนิดแล้วไม่สบายใจเนื่องจากอยากให้มีประจำเดือน แนะนำให้เปลี่ยนวิธี เป็นการใส่ห่วงอนามัยคุมกำเนิดครับ เนื่องจากไม่มีฮอร์โมน และประจำเดือนจะมาเป็นปกติครับ - ตอบโดย ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์ (นพ.)

กินยาคุมติดต่อกันมีผลต่อร่างกายมั้ยค่ะ

คำตอบ: การกินยาคุมติดต่อกัน อาจจะเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคมะเร็งของสตรีครับ แต่โอกาสนั้นเล็กน้อยมาก ไม่ต้องกังวลเกินไปครับ สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยครับ - ตอบโดย ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)

อยากมีลูก ปล่อยธรรมชาติมาเกือบปีแล้วประมาน 10เดือน ยังไม่ติดเลยคะ อยากทราบว่าเข้าข่ายมีลูกยากมั้ยคะ (ก่อนหน้านั้นประมาน11เดือนก่อน เคยกินยาคุมฉุกเฉินบ่อยมากคะ )ไม่ทราบว่าเปนผลมาจากที่เรากินยาคุมฉุกเฉินบ่อยมั้ยคะ

คำตอบ: โดยปกติแล้ว หากมีการรับประทานยาคุมฉุกเฉินเป็นระยะเวลานาน หรือทานบ่อย ก็สามารถทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้ค่ะ เนื่องจากยาคุมฉุกเฉินจะมีผลต่อระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน และ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรสค่อนข้างมาก ทำให้ระดับฮอร์โมนแกว่ง มีผลต่อการตกไข่ ซึ่งการหยุดใช้ยาคุมกำเนิดปกตินั้น ร่างกายจะใช้เวลาในการปรับตัวระยะเวลานึง อย่างน้อย 3 เดือน ในกรณีที่ทานยาติดต่อกันไม่ถึง 1 ปี ทั้งนี้หากอยากมีบุตร หมอแนะนำให้ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางค่ะ เนื่องจากต้องใช้ข้อมูลส่วนตัวในการเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ค่อนข้างเยอะ เช่น วันที่ตกไข่ ระยะเวลากการตกไข่ การตกไข่สม่ำเสมอหรือไม่ ไข่ที่ตกมาสมบูรณ์หรือไม่ อายุของแม่ อายุของพ่อ เชื้ออสุจิแข็งแรงมั้ย ปริมาณน้ำเชื้อมากน้อยแค่ไหน เป็นต้น ยิ่งมีประวัติทานยาคุมฉุกเฉินบ่อย ยิ่งต้องมีการซักประวัติและได้รับการตรวจโดยละเอียด ซึ่งหมอแนะนำว่า เบื้องต้น ให้เริ่มมีการวัดอุณหภูมิเพื่อคำนวนเวลาตกไข่ ในทุกๆวัน โดยใช้ทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ วัดอุณหภูมิร่างกายในทุกเช้า เวลาเดิม โดยให้มีการขยับร่างกายน้อยที่สุด เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่ออุณหภูมิร่างกาย แล้วจดไว้เป็นระยะเวลา 2 เดือนขึ้นไป ช่วงที่มีการตกไข่ ร่างกายเราจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 0.3-0.5 องศาเซลเซียส ดังนั้น ในการวัดอุณหภูมิ ต้องละเอียดพอสมควร ถ้าหากพยายามแล้วไม่เป็นผล เวลาไปปรึกษาคุณหมอให้นำผลการวัดอุณหภูมิของเราไปด้วย เพื่อให้ง่ายต่อการแนะนำและดูแลต่อไป นอกจากนี้แล้ว ควรตรวจสอบวันที่ประจำเดือนมาและประจำเดือนหมดด้วย และปฏิบัติการในช่วงระยะเวลาการตกไข่ คือก่อนและหลังประจำเดือน 7 วัน จะช่วยให้มีโอกาสตั้งครรภ์สูงค่ะ - ตอบโดย ทิพย์วิมล กังสนันท์ (แพทย์จีน)

คำตอบ 2: การใช้ยาคุมฉุกเฉินบ่อยเกินความจำเป็น มีโอกาสทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้ค่ะ ภาวะมีบุตรยาก คือ ภาวะที่คู่สมรส ไม่สามารถตั้งครรภ์ภายหลังจากมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 2-3 วัน/สัปดาห์โดยไม่ได้คุมกำเนิดอย่างน้อย 1 ปี - ตอบโดย ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)

ปจด.ไม่มา 2 เดือนเเล้วค่ะ สิวขึ้นเต็มหน้า ตั้งแต่วันที่28 ม.ค 60 และหยุดกินยาคุมไป ตรวจครรภ์เมื่อวันที่26 มี.ค ไม่ตั้งครรภ์ และตรวจวันที่8 เม.ย ก็ไม่ตั้งครรภ์ และเริ่มกินยาคุมวันที่ 3 เม.ย. มีอาการปวดหน่วงๆท้องน้อยมา5-6 วัน มีอาการท้องอืด กรดไหลย้อน น้ำหนักขึ้นมา7 กก. เจ็บหัวนม 3-4 วัน ภายใน3เดือน คลื่นไส้ตอนหลังแปรงฟัน อยากทราบว่าอาดารเช่นนี้ มีผลอะไรมั้ยคะ *ปกติ เป็นปจด.มาไม่ตรง

คำตอบ: ประจำเดือนไม่มาสองเดือนและมีอาการที่กล่าวไปสงสัยอาการท้องได้ค่ะ แต่ตรวจการตั้งครรภ์แล้วไม่ท้องไม่ได้หมายความว่าจะไม่ตั้งครรภ์ เนื่องจากการตรวจการตั้งครรภ์ไม่ได้ให้ผล100% และขึ้นกับปัจจัยอื่นๆเช่น ตรวจไม่ถูกวิธี ชุดตรวจไม่ได้มาตรฐาน ทางที่ดีควรไปพบแพทย์ค่ะ แพทย์จะมีวิธีตรวจวิธีอื่นร่วมด้วยค่ะ - ตอบโดย นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (พญ.)

ตั้งแต่มีน้องคนแรกก้อฉีดยาคุมมาประมาณ 10เดือน พอเลิกฉีดยาประจำเดือนก็ยังไม่มา 6เดือนแล้ว ต้องทำยังไงประจำเดือนถึงมาปกติ และก็กังวนว่ามันจะทำให้มีน้องอยากไหม?

คำตอบ: เป็นผลข้างเคียงจากยาคุมกำเนิดชนิดฉีดเลยครับ อาจจะต้องรอถึง 9-12เดือนในการกลับมาตั้งครรภ์ได้ตามปกติครับ ถ้าครบ1 ปี แล้วยังไม่ตั้งครรภ์แนะนำให้ปรึกษาแพทย์อีกทีครับ - ตอบโดย Rattapon Amampai (Dr.)

เมื่อเดือนมกราคมแฟนกนูแตกในแต่กินยาคุมฉุกเฉินน่ะค่ะแต่กินแค่เม็ดเดียวเพราะว่าลืมอีกเม็กพอเดือนถัดมาก็มีอาการอาเจียนเวียนหัวแต่ประจำเดือนมาน่ะค่ะแต่มาแค่เดือนล่ะวันสองวันมีสีน้ำตาลปนเลือดมีอาการแน่นท้องท้องอืดแบบนี้จะท้องไหมค่ะ

คำตอบ: เพื่อความแน่ใจสามารถตรวจการตั้งครรภ์ได้ครับ แต่คิดว่าโอกาสการตั้งครรภ์มีน้อยเพราะมีประจำเดือนมา แต่อาจมีประจำเดือนที่ไม่ปกติได้เนื่องจากมีการใช้ยาคุมซึ่งเป็นฮอร์โมนส่งผลต่อการตกไข่ การใช้ยาคุมฉุกเฉินสามารถกิน2เม็ดทีเดียวเลยได้ครับให้ผลได้เท่ากับกินทีละเม็ด - ตอบโดย ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)

ฉีดยาคุมแล้วเลือดออกกระปริดกระปรอยค่ะ ทำยังไงดีคะ

คำตอบ: เลือดออกกระปิดกระปอย เป็นผลข้างเคียงของการฉีดยาคุมกำเนิดค่ะ แต่ปกติแล้วคนส่วนมากจะเป็นอยู่ไม่เกิน3เดือน ถ้าเป็นนานมากๆแนะนำให้ไปพบสูตินารีแพทย์ค่ะ โดยแพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยาฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือแนะนำให้เปลี่ยนมาฉีดยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวม (ฉีดทุก 1 เดือน) หรือเปลี่ยนวิธีการคุมกำเนิดมาใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดแทนก็ได้ - ตอบโดย นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (พญ.)

ยาคุมช่วยเรื่องสิวยังไงคะ อยากทราบกลไก

คำตอบ: การรับประทานยาคุมกำเนิดจะมีตัวฮอร์โมนชื่อ เอสโตรเจนและโปรเจสติน ที่ทำหน้าที่ต้านไม่ให้มีฮอร์โมนแอนโดรเจน(ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีผลต่อเรื่องสิว)มีมากเกินไปครับ แต่การใช้ยาคุมกำเนิดเพื่อรักษาสิวควรใช้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและไม่ควรซื้อมาใช้เองเพื่อรักษาสิวโดยเฉพาะครับ - ตอบโดย Rattapon Amampai (Dr.)

ทานยาคุมติดต่อกันเป็นเวลาสิบกว่าปีมีผลเสียอะไรไหมคะ ตอนนี้มีอายุสี่สิบสองแล้วค่ะ

คำตอบ: การใช้ยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน มีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงเป็น เป็นมะเร็งเต้านม , มะเร็งปากมดลูก ,มะเร็งตับ, เป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ , เพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเป้นโรคหัวใจโดยเฉพาะในคนที่สูบบุหรี่หรือมีโรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมอง ได้ค่ะ เป็นต้น - ตอบโดย Witchuda Onmee (พญ.)

ฝังยาคุมมีกี่ปีบ้างคะ

คำตอบยาฝังคุมกำเนิด หรือยาคุมกำเนิดแบบฝังเป็นวิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวชนิดหนึ่ง โดยฝังฮอร์โมนเพศหญิงที่ทำเป็นแท่งเล็กๆเข้าไปที่ใต้ผิวหนังใต้ท้องแขนด้านที่ไม่ถนัด ซึ่งฮอร์โมนนี้จะค่อยๆซึมผ่านออกมาจากแท่งยาเข้าสู่ร่างกาย และไปทำการยับยั้งการเจริญเติบโตของไข่ ส่งผลทำให้ไม่มีการตกไข่ตามมา จึงสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ การฝังยาคุมกำเนิด ในปัจจุบัน มี 2 แบบ คือ แบบ 3 ปี และแบบ 5 ปี ยาฝังคุมกำเนิด สามารถไปขอรับบริการได้ที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด หรือโรงพยาบาลประจำอำเภอที่มีขนาดใหญ่ หรือสามารถสอบถามตามคลินิกสูตินรีเวช ทั้งนี้การฝังยาสามารถทำได้ที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก ใช้เวลาเพียงประมาณ 10-20 นาที โดยผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องอยู่โรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ 2500-3000 โดยประมาณค่ะ - ตอบโดย ทิพย์วิมล กังสนันท์ (แพทย์จีน)

การใช้ยาคุมกำเนิดเป็นเวลานานมีผลเสียกับเรามากแค่ไหน(สาวประเภทสอง)

คำตอบ: ปกติแล้วการใช้ยาฮอร์โมนควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์อย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะการใช้ฮอร์โมนเพื่อทำให้มีฮอร์โมนเพศหญิงมากกว่าปกติในผู้ชาย หรือสาวประเภทสอง เนื่องจากยาฮอร์โมนที่นิยมใช้ซื้อหามาใช้ได้เองมักเป็นยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนเป็นฮอร์โมนรวม ซึ่งการใช้ฮอร์โมนชนิดนี้ มักหวังผลให้มีขนาดเต้านมที่ใหญ่ขึ้นมีคนน้อยลงและมีไขมันบริเวณสะโพกคล้ายผู้หญิง เนื่องจากว่าการใช้ฮอร์โมนโดยเฉพาะเอสโตเจนอาจมีผลเสียในระยะยาวมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดสูงขึ้น มีอาการปวดศีรษะไมเกรนชนิดออร่ามากขึ้น มีฮอร์โมนน้ำนมหรือโปรแลคตินสูงขึ้นในเลือด มีผลต่อตับได้ การใช้ฮอร์โมนชนิดนี้ต้องระมัดระวังในกลุ่มคนที่มีประวัติโรคหลอดเลือดอุดตันประวัติโรคตับเรื้อรังหรือตับอักเสบขั้นรุนแรงประวัติโรคหลอดเลือดในหัวใจประวัติมะเร็งในครอบครัว หากคุณใช้ฮอร์โมน มานานกว่าหนึ่งปีหมอแนะนำให้คุณไปตรวจเช็คสุขภาพ พบแพทย์ เพื่อหาความเสี่ยงต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้ครับ - ตอบโดย Rattapon Amampai (Dr.)

กินยาคุมเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งหรอคะ ต้องกินนานเท่าไรถึงเสี่ยง หรือควรฉีดดีกว่า

คำตอบ: มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันว่าการใช้ยาคุมกำเนิดจะมีส่วนช่วยลดการเกิดมะเร็งรังไข่และมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้หากใช้นานเกิน 5 ปีขึ้นไปในมะเร็งรังไข่ และ ระยะเวลาที่ใช้ยิ่งมากขึ้นก็ทำให้ความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกลดลงไปเท่านั้นครับ ในขณะที่การใช้ยาคุมกำเนิดที่มีความเสี่ยงกับการเกิดโรคมะเร็งที่มีการพูดถึงกันมากเป็นยาคุมกำเนิดเม็ดฮอร์โมนรวมชนิดรับประทานครับ ซึ่งมะเร็งที่ได้รับการพูดถึงบ่อยๆคือมะเร็งเต้านม จากหลักฐานทางการแพทย์ ณ ปัจจุบันยังไม่มีการยืนยันแน่ชัดว่ามีความสัมพันธ์กับการเพิ่มการเกิดมะเร็งเต้านมในผู้ที่ใช้ยาคุมกำเนิดแต่ก็เชื่อว่าหากใช้นานเกิน 10 ปี ขึ้นไป อาจส่งผลให้มีความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านมเพิ่มมากขึ้นครับ ส่วนโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งตับมีรายงานว่าอาจเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องก็ได้ยังไม่มีหลักฐานใดๆยืนยันแน่ชัด อย่างไรก็ตามการใช้ยาคุมหากใช้แล้วมีผลข้างเคียงจากการใช้ หรืออาการไม่พึงประสงค์ควรไปรับการปรึกษาจากแพทย์ครับ - ตอบโดย Rattapon Amampai (Dr.)

ถ้ายาคุมแบบเม็ดจะช่วยเรื่องสิว ถ้าแบบฉีดจะช่วยรีไม่คั

คำตอบ: เป็นยาคุมกำเนิดแบบเม็ดบางชนิดที่จะมีฤทธิ์ลดสิวได้เนื่องจากเป็นผลของฮอร์โมนเพศชายที่เปลี่ยนมาจากยาคุมกำเนิดเกิดชนิดนั้นๆได้น้อยครับ ส่วนยาคุมกำเนิดแบบฉีดไม่ได้ช่วยเรื่องสิวเลยครับ เป็นผลข้างเคียงที่เกิดได้จากการฉีดยาคุมกำเนิดด้วยซ้ำไป - ตอบโดย Rattapon Amampai (Dr.)

ฉีดยาคุมกำเนิดตั้งแต่อายุ16ปี ฉีดมาหลายเข็ม ปล่อยท้องมาหล่ยปีแล้วแต่ไม่ติด มีผลมาจากการฉีดยามั้ย

คำตอบ: โดยปกติ เมื่อหยุดการฉีดยาคุมกำเนิดแล้วอาจต้องใช้เวลาอีกหลายเดือนกว่าที่จะมีการตกไข่และสามารถมีการตั้งครรภ์ได้ แต่หากเป็นเวลาหลายปีแนะนำให้ไปปรึกษาแพทย์สูติ-นรีเวชครับ เพื่อหาสาเหตุอื่นๆ - ตอบโดย ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)

อยากทราบว่าหลังคลอดบุตรเราสามารถกินยาคุมกำเนิดช่วงไหนถึงจะปลอดภัย

คำตอบ: ช่วง 1 เดือนหลังคลอด ก็เริ่มมีไข่ตกแล้วล่ะค่ะ หากจำเป็นต้องมีเพสสัมพันธ์หลังคลอดก็ควรตระหนักเรื่องของการตั้งครรภืต่อเนื่อง และการติดเชื้อด้วย ฉะนั้นควรงดมีเพศสัมพันธ์ช่วงหลังคลอดไปก่อนสัก4-6สัปดาห์ (รอให้แผลหายดี น้ำคาวปลาแห้ง มดลูกเข้าอู่ซะก่อน) การทานยาคุมกำเนิดหลังคลอดควรทานหลังจากผ่านการตรวจหลังคลอดแล้วค่ะ(ไม่จำเป็นต้องรอให้มีประจำเดือนก่อนก็ได้) อย่างไรก็ตามระหว่างที่ไม่ได้ทานยาคุมกำเนิดควรป้องกันโดยการใช้ถุงยางอนามัยค่ะ - ตอบโดย ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)

หนูมีอาการตกขาวเยอะมากเลยค่ะ รู้สึกโฮโมนของหนูเปลี่ยนไปตั้งแต่หนูฝังยาคุมใต้ท้องแขน ล่าสุดพึ่งไปหาหมอมาคะหมอบอกหนูมีเชื้อ Hpv หนูเป็นหูดหงอนไก่ค่ะ วันนั้นเลยตรวจเลือดละตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยเลย ตอนนี้กำลังรอฟังผลยุค่ะ ตอนนี้คือหงุดหงิดมากไม่มีประจำเดือนเลยค่ะ อยากรบกวนสอบถามคุณหมอหน่อยว่าพอมียาอะไรแนะนำให้ประจำเดือนมารึเปล่าค่ะ หรือจะไม่มีแระจำเดือนเลยช่วงที่ฝังยา

คำตอบ: ยาฝังคุมกำเนิด เป็นวิธีคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพดีมาก โอกาสตั้งครรภ์มีแค่ 0.05% แต่เนื่องจากเป็นยาฮอร์โมน ดังนั้น จึงมีฤทธิ์ของฮอร์โมนต่อผู้ใช้ได้ การที่ประจำเดือนไม่มาก็เป็นหนึ่งในผลของยาครับ ซึ่งไม่ใช่ผลเสีย และไม่ทำให้สุขภาพของเราในระยะยาวนั้นผิดปกติแต่อย่างใด หากเลิกใช้ยาฝังคุมกำเนิด ประจำเดือนก็จะกลับมาเป็นปกติได้ครับ ส่วนผลข้างเคียงอื่นๆ ได้แก่ ในระยะเวลา 2-3 เดือนแรก ประจำเดือนอาจมาไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนมาแบบกะปริดกะปรอย หรือตกขาวมาก ซึ่งเป็นอาการพบได้มากที่สุด แต่ก็พบได้ไม่มากครับ หรือในบางรายประจำเดือนมามากติดต่อกันหลายวัน ไม่มีประจำเดือน หรือประจำเดือนขาดไปเลยก็มีครับ บางรายอาจมีอาการปวดท้องน้อยและปวดประจำเดือนบ้างในระยะ 2-3 เดือนแรก ในระยะแรกอาจมีอาการปวดแขนบริเวณที่ฝังแท่งยาคุมกำเนิด แผลที่ฝังยาคุมกำเนิดอาจเกิดการอักเสบหรือมีรอยแผลเป็นได้ มีอารมณ์แปรปรวน มีอาการปวดหรือเจ็บเต้านม บางรายอาจมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น (แต่ปัจจัยหลักคืออาหารครับ ถ้าควบคุมอาหารได้ก็ไม่มีปัญหาอะไร) อาจทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ หากเกิดการตั้งครรภ์ขึ้น จะมีโอกาสการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้มากกว่าปกติ แต่ผลข้างเคียงเหล่านี้ เมื่อเทียบกับประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดแล้ว ถือว่าคุ้มค่ามากครับ การแก้ไขเรื่องประจำเดือนไม่มา ไม่ต้องแก้ไขครับ เนื่องจากเป็นผลของยาอยู่แล้วครับ แต่ที่ต้องแก้ไข คือพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของหนู หรือของคู่นอน(แฟน)ของหนูครับ เนื่องจากหูดหงอนไก่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทางที่ดี พาคู่นอนทุกคนมาตรวจหาหูดหงอนไก่ครับ จะได้รับการรักษาไปพร้อมๆกัน และเลิกพฤติกรรมสำส่อนครับ หากทั้งสองคนไม่มีพฤติกรรมสำส่อน ก็อาจติดจากการเข้าห้องน้ำได้ กรณีเข้าห้องน้ำสาธารณะ ก็ควรรักษาความสะอาดของตนเองเป็นอย่างดีนะครับ - ตอบโดย ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์ (นพ.)

ทานยาคุมกำเนิดแล้วรู้สึกใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย สาเหตุเกิดจากอะไรค่ะ เคยเปลี่ยนยี่ห้อแล้วก็ไม่หายอะคะ

คำตอบ: หากมีโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคหัวใจควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาคุมกำเนิดนะครับ แต่ถ้าหากไม่ได้มีโรคประจำตัวแต่หลังใช้แล้วเกิดอาการควรไปพบแพทย์ตอนที่มีอาการใจสั่น เพื่อทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจครับ - ตอบโดย Rattapon Amampai (Dr.)

อยากทราบข้อดีข้อเสียของยาคุมแบบกิน ฉีด ฝัง ควรเลือกอันไหนดี

คำตอบ: เลือกชนิดไหนขึ้นอยู่กับ ระยะเวลาที่อยากคุมกำเนิดครับ แบบชนิดกินต้องใช้ต่อเนื่องทุกวัน หากลืมประสิทธิภาพลดลง แบบฮอร์โมนรวมก็จะทำให้มีประจำเดือนทุกเดือน แต่ถ้าชนิดกินแบบฮอร์โมนโปรเจสติน จะคล้ายกับแบบฉีดและฝัง จะทำให้ไม่มีประจำเดือนหรืออาจมีเลือดออกกระปริดกระปรอย ชนิดฉีด ต้องฉีดทุกๆ3 เดือน ชนิดฝัง ได้ทุก 3หรือ 5ปีแล้วแต่ยี่ห้อ - ตอบโดย Rattapon Amampai (Dr.)

มียาคุมที่กินแล้วอ้วนมั้ยค๊

คำตอบ: มีทั้งชนิดที่ทำให้อ้วนได้ซึ่งเป็นผลข้างเคียงของยาครับ กับชนิดที่ให้ผลข้างเคียงเกี่ยวกับน้ำหนักน้อย แต่หากฉีดยาคุมจะมีผลต่อน้ำหนักทำให้อ้วนพบได้บ่อยครับ - ตอบโดย ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)

คำตอบ 2: โดยส่วนมาก ทานยาคุมกำเนิดแล้วมักจะอ้วนครับ เนื่องจากยาคุมกำเนิดส่งผลกระทบโดยตรงต่อระดับฮอร์โมนในร่างกาย ส่งผลข้างเคียงทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น และเกิดอาการบวมน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความอ้วนขึ้น เมื่อทำการทานยาคุมกำเนิดติดต่อกันเวลานานๆครับ - ตอบโดย สุเทพ สุขนพกิจ (นพ.)

กินยาคุมนานเท่าไรจึงไม่ดี ถ้าวางแผนจะกินซัก1ปี ปีหน้าคิดว่าจะมีบุตร จะเป็นอะไรมั้ย

คำตอบ: การกินยาคุมระยะนานเท่าไรนั้นอาจไม่สามารถบอกได้ถึงผลเสียครับแค่จะเพิ่มโอกาสของโรคเกี่ยวกับมะเร็งบางชนิด แต่การกินยาคุมเพียง 1 ปี สามารถทำได้เลยครับไม่ต้องกังวล - ตอบโดย ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)

กินยาคุมติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน- อายุ 21 ปีปัจจุบันกิน YAZ ติดต่อกันประมาน 1 ปี 5 เดือนค่ะ (ก่อนหน้านี้กิน 2 ปีพัก 1 ปีแล้วกลับมากินต่อเนื่องจากประจำเดือนมาเดือนละ 2 ครั้ง)หลังจากกินแผงสุดท้ายได้มีเพศสัมพันธ์หลังประจำเดือนหมด(ประจำเดือนมาประมาน 3-4 วันค่ะ)โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยค่ะ แฟนหลั่งนอก(สอดใส่ตื้นและใช้เวลาครู่เดียวค่ะ) ในกรณีนี้มีโอกาสตั้งครรภ์มากน้อยแค่ไหนคะ

คำตอบ: การหลั่งนอกเป็นวิธีป้องกันการท้อง ที่มีความเสี่ยงสูงมาก เนื่องจาก ▪ ที่จริงแล้วในน้ำหล่อลื่นของผู้ชายระหว่างทำกิจกรรมนั้นมีเชื้ออสุจิปะปนอยู่ จึงเป็นไปได้ที่อสุจิเหล่านั้นจะเดินทางไปปฏิสนธิกับไข่ระหว่างช่วงมีเพศสัมพันธ์ครับ - ตอบโดย สุเทพ สุขนพกิจ (นพ.)

คำตอบ 2: ไม่ว่าการคุมกำเนิดวิธีไหนก็มีโอกาสเสียงในการตั้งครรภ์ทั้งนั้นครับ แม้กระทั่งการทำหมัน!! แต่ในกรณีของคุณมีโอกาสครับแต่โอกาสไม่มาก ยังไงควรจะป้องกันด้วยถุงยางอนามัยไปก่อนครับ - ตอบโดย ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)

ถ้าแพลนจะมีลูกช่วงกลางปีนี้ แต่ทานยาคุมมาตลอดเป็น10ปี ควรหยุดทานยาคุมช่วงไหนคะ

คำตอบ: ถ้าคิดว่า พร้อมแล้วที่จะมีลูก ก็สามารถ หยุดยาคุมกำเนิดได้เลยครับ ถ้าไม่มีปัญหาในการมีบุตรยาก สาเหตุอื่นใด ก็มีโอกาสที่จะตั้งครรภ์ได้ทันที กินยาคุมกำเนิดมานานๆ จะตั้งครรภ์ยากจริงไหม -ไม่จริง กินยาคุมกำเนิดมานานๆ จะมีผลต่อทารกในครรภ์ไหม -ไม่จริง ไม่เพิ่มโอกาสที่ทารกในครรภ์จะพิการ สมองไม่ดี ฯลฯ อันตรายไหมหากกินยาคุมกำเนิดขณะตั้งครรภ์ -ตัวยาไม่น่าส่งผลต่อเด็กในครรภ์หรือเพิ่มความเสี่ยงของการแท้งบุตร - ตอบโดย Dr.Chaiwat J.(หมอเปี๊ยก) (นพ.)

คำตอบ 2:การทานยาคุมเมื่อหยุดไปมีลูกได้เลยค่ะ แต่กรณีที่ทานมานานๆเมื่อหยุดในบางรายอาจมีประจำเดือนผิดปกติ เกิดจากร่างกายกำลังปรับฮอร์โมน อาจจะพิจารณาพบแพทย์ แพทย์จะให้ยาปรับฮอร์โมนมากินค่ะ แต่ส่วนมากไม่เกิน6เดือน ฮอร์โมนจะกลับมาได้เหมือนเดิม - ตอบโดย นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (พญ.)

หลังจากประจำเดือนมาวันที่9หมดวันที่14ก็ไม่ได้ทานยาคุมมีอาการเจ็บแปล๊บที่ท้องน้อยวันที่23พอวันที่25อาการดีขึ้นแต่ยังเจ็บนิดๆมีอาการตกขาวเหมือนโยเกิร์ตมีกลิ่นคาว

คำตอบ: ความผิดปกติของตกขาว บ่งถึงการติดเชื้อที่ระบบสืบพันธ์ค่ะ -ตกขาวสีขาวขุ่นหรือเทาและมีกลิ่นคาวปลา ไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย -ตกขาวสีขาว เป็นแป้งหนา และมีอาการคัน หรืออาจเจ็บปวดบริเวณช่องคลอดร่วมด้วย แต่มักไม่มีกลิ่นเหม็น อาจเป็นโรคเชื้อราในช่องคลอด -ตกขาวสีชมพู อาจเป็นการหลุดลอกของเยื่อบุมดลูกหลังคลอด -ตกขาวสีเขียว สีเหลือง อาจมีอาการเจ็บปวดและคันรอบช่องคลอด เจ็บปวดขณะปัสสาวะและขณะมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อ การเป็นหนองในแท้ หนองในเทียม -ตกขาวแบบมีฟอง อาจเกิดจากการติดเชื้อทริโคโมนาส -ตกขาวแบบมีเลือดปน และมีความเจ็บปวด ปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน เจ็บปวดขณะปัสสาวะและขณะมีเพศสัมพันธ์ อาจเกิดจากประจำเดือนมาไม่ปกติ มะเร็งเยื่อบุมดลูก หรือมะเร็งปากมดลูก -ตกขาวร่วมกับตุ่มบวมแดง หากมีตุ่มบวมแดงรอบอวัยวะเพศ อาจเป็นเริมที่อวัยวะเพศ ดังนั้นแนะนำให้คุณไปพบสูตินรีแพทย์ทำการตรวจหาเชื้อในตกขาว และรับการรักษาที่เหมาะสมค่ะ - ตอบโดย ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)

การคุมกำเนิดแบบฝั่ง จะส่งผลต่อร่างกายในอนาคตอย่างไรบ้างค่ะ จะเสี่ยงเป็นโรคอะไรหรือไม่ และหากยาคุมกำเนิดครบกำหนด ถ้าเราต้องการมีบุตรเลย จะต้องใช้เวลานานเท่าไรถึงจะติด และมีวิธีที่จะทำให้มดลุกมีสภาพที่พร้อมเร็วกว่าเดิมมั้ยค่ะ

คำตอบ: ยาฝังคุมกำเนิด คือยาคุมกำเนิดชนิดหนึ่ง ที่ประกอบไปด้วยด้วยฮอร์โมน (โปรเจสเตอโรน) บรรจุในลักษณะหลอดสั้นๆความยาวเท่ากับก้านไม้ขีด ทำงานโดยการค่อยๆปล่อยตัวฮอร์โมนเข้าสู่ร่างกายทีละน้อยๆ ยาฝังคุมกำเนิดให้ผลในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ดีมาก(ดีที่สุดในกลุ่ม) โดยมีกลไกคร่าวๆคือฮอร์โมนจะไปป้องกันไม่ให้มีการตกไข่ในแต่ละรอบเดือน ส่วนกลไกอื่น ๆ ก็ได้แก่ การทำให้มูกบริเวณปากมดลูกเหนียวข้นมากขึ้น ทำให้เชื้ออสุจิไม่สามารถวิ่งผ่านเข้าไปได้ง่าย ๆ นอกจากนั้นยังทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกมีการเปลี่ยนแปลงไปทำให้ไม่เหมาะกับการฝังตัวของตัวอ่อน ผลข้างเคียงนั้นที่พบได้บ่อย คือ ประจำเดือนผิดปกติ อาจจะมีประจำเดือนกระปิดกระปรอย หรืออาจจะไม่มาเลยก็ได้(ปกติขณะฝังยา คุณผู้หญิงจะมีประจำเดือนมาปกติครับ) ส่วนคำถามแรกที่ว่า จะส่งผลอย่างไรในอนาคตนั้น เนื่องจากตัวฮอร์โมนที่ปล่อยออกมาน้อยมาก ทำให้มีผลน้อยในการไปรบกวนระบบต่างๆของร่างกายครับ นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นที่พบได้ทั่วไปบ้าง เช่น ปวด ช้ำ คลื่นไส้อาเจียน น้ำหนักตัวเปลี่ยนแปลง หากเกิดความสงสัยในอาการ อาจไปปรึกษาแพทย์เฉพาะทางสูติ-นรีแพทย์ได้โดยตรงครับ 2.) ความเสี่ยงในการเกิดโรค เนื่องจากการคุมวิธีนี้ไม่ได้ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จึงมีโอกาสได้ครับ ส่วนโรคร้ายแรงอื่นๆยังไม่มีรายงาน 3.) หากต้องการมีบุตรก็เพียงแต่ถอนยาฝังออกได้ทุกเมื่อ คุณผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีไข่ตกภายใน 3 เดือนครับ - ตอบโดย ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)

ลืมกินยาคุมกำเนิด3วันต้องทำยังไงค่ะ

คำตอบ: ถ้าลืมกินยาคุมเกิน 3 วันแนะนำควรใช้ถุงยางอนามัยป้องกันไปก่อนครับแล้วรอรอบประจำเดือนมาใหม่ค่อยรับประทานอีกทีครับ - ตอบโดย ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)

ยาคุมแบบฝังเป็นยังไงคะ

คำตอบ: ยาฝังคุมกำเนิด เป็นวิธีการคุมกำเนิดโดยเป็นการใช้ฮอร์โมนโปรเจสตินที่บรรจุเอาไว้ในหลอดหรือแท่งพลาสติกเล็กๆนำมาฝังเข้าไปที่ใต้ผิวหนังบริเวณใต้ท้องแขน ซึ่งฮอร์โมนจะค่อย ๆ ซึมผ่านออกมาจากแท่งยาเข้าสู่ร่างกายและไปยับยั้งการเจริญเติบโตของไข่ ส่งผลทำให้ไม่มีการตกไข่ตามมา จึงช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้สามารถช่วยคุมได้ประมาณ 3-5ปี เมื่อครบกำหนดก็สามารถถอดออกได้ง่าย ถ้าต้องการจะคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้ต่อก็สามารถฝังแท่งใหม่เข้าไปได้เลย - ตอบโดย ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)

ฉีดยาคุมมา12ปีแล้ว11ปีแรกก็มีรอบเดือนทุกครั้งที่จะใกล้ครบกำหนดฉีดรอบใหม่ แต่เข้าปีที่12 รอบเดือนไม่มาเลยเกิดจากอะไรค่ะ ตอนนี้ไม่คุมอะไรเลย

คำตอบ: อันดับแรกต้องลองตรวจการตั้งครรภ์ก่อนนะครับ หากพบว่าไมืได้มีการตั้งครรภ์ อาจจจต้องปรึกษาคุณ หมอนรีเวช เกี่ยวกับอาการ และยาที่เคยฉีดครับ - ตอบโดย ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)

การทานยาคุมฉุกเฉินถ้าทานมากเกินไปทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติหรือมาน้อยใช่ไหมค่ะ

คำตอบ: ยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีการศึกษาจะประกอบด้วย ethinyl estradiol และ norgestrel หรือ levonorgestrel เมื่อใช้ ethinyl estradiol/norgestrel ให้รับประทาน 2 เม็ดทันทีที่เป็นไปได้ และตามด้วย 2 เม็ดในอีก 12 ชั่วโมงต่อมา หรืออาจเลือกใช้ ethinyl estradiol/levonorgestrel โดยรับประทาน 4 เม็ดทันทีที่เป็นไปได้ และตามด้วย 4 เม็ดในอีก 12 ชั่วโมงต่อมาใช้ยานี้เพื่อลดโอกาสที่จะตั้งครรภ์หลังจากที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ปกป้อง ตัวอย่างเช่น ท่านไม่ได้ใช้วิธีคุมกำเนิดใดๆ และไม่ได้ทานยาคุมกำเนิด หรือถุงยางอนามัยแตกขณะที่มีเพศสัมพันธ์ ผลข้างเคียงคือ อาจมีเลือดไหลทางช่องคลอดอยูสองสามวัน หลังจากใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินนี้ ยาคุมฉุกเฉินนี้ปลอดภัยที่จะใช้โดยไม่มีผลร้ายหรือผลข้างเคียงที่ยาวนาน สตรีบางคนอาจพบวา่ประจำเดือนมาไม่ปกติหลังจากทานยาอีซีพี และบางรายอาจมีอาการคลื่นใส้ และอาเจียน บางรายอาจเจ็บเต้านม สตรีส่วนมากประจำเดือนจะมาตามกำหนดหากประจำเดือนมาช้าเกินกวาหนึ่งสัปดาห์ ควรตรจเช็คการตั้งครรภ์ หรือปรึกษาแพทย์ - ตอบโดย ชมชนัท ทับเจริญ (พญ.)

ใช้ถุงยางคุมกำเนิดดีกว่าการใช้ยาคุมยังไง

คำตอบ: ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละครอบครัวนะค่ะ ถ้าอยากจะมีลูก แต่ยังไม่พร้อม การรับประทานยาคุมกำเนิด เป็นตัวเลือกที่ดีกว่าค่ะ เพราะหลังหยุดยาก็สามารถมีลูกได้เลย ส่วนถุงยางอนามัย ช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ต่างๆได้ดี - ตอบโดย วลีรักษ์ จันทร (พว.)

คำตอบ 2: ถุงยางสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ค่ะ ยกเว้นว่าถุงยางรั่งหรือแตก - ตอบโดย นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (พญ.)

ฝังยาคุม มีข้อดียังงัยบ้างคะ

คำตอบ: การฝังยาคุมเหมาะสำหรับคนที่คิดว่าอยากคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานานๆ เช่น 3-5ปี ครับ ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดถือว่าสูงดีทีเดียวครับ ข้อดีอีกอย่างคือ ไม่ต้องกังวลว่าจะลืมกินยาหรือฉีดยา ครับ ข้อเสียของยาฝังคุมกำเนิดคงเป็นการที่มีราคาค่อนข้างสูง และอาจมีเลือดออกกระปริดกระปรอยได้ระหว่างใช้ครับ - ตอบโดย Rattapon Amampai (Dr.)

คำตอบ 2: สะดวกสบาย เมื่อไปรับการคุมกำเนิดวิธีนี้ สามารถคุมกำเนิดได้นาน 3-5 ปี แล้วแต่ชนิดของยา ไม่ต้องรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดทุกวัน ลดโอกาสลืมกินยา หรือต้องไปฉีดยาคุม กำเนิดทุก 3 เดือน ลดโอกาสฉีดยาคลาดเคลื่อนไม่ตรงกำหนด ไม่มีผลข้างเคียงของฮอร์โมนเอสโตรเจน เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เป็นฝ้า เป็นวิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูง ครับ - ตอบโดย DR.somsong Nillprayoon (นพ.)

การกินยาคุมฉุกเฉิน ถ้าพลาดมีโอกาสทำให้ท้องนอกมดลูกสูง จริงรึเปล่าคะ อันนี้คืออ่านตามในอินเตอเนตค่ะ

คำตอบ: ยาคุมฉุกเฉินเป็นยาที่ควรใช้ ในกรณีที่จำเป็นเท่านั้นครับ เพราะมีโอกาสทำให้เกิดการท้องนอกมดลูกได้มากขึ้นประมาณ 2-3 % เลยครับ นอกจากนี้ ไม่ควรคุมกำเนิดโดยใช้ยาคุมฉุกเฉินตลอดทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ไม่ควรใช้เกิน 2 ครั้งและ ยาคุมฉุกเฉินไม่ช่วยในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์นะครับ - ตอบโดย Rattapon Amampai (Dr.)

คำตอบ 2: จริงค่ะ เพราะยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินที่มีฮอร์โมน Progestogenเพียงอย่างเดียว อิทธิพลของฮอร์โมนจะทำให้การบีบตัวของท่อนำไข่ ส่งผลให้ตัวอ่อนที่ผสมแล้วเคลื่อนที่ได้ช้าลงค่ะ มีโอกาสฝังตัวในที่ที่ไม่ใช่มดลูกได้ เช่น ปีกรังไข่ค่ะ - ตอบโดย นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (พญ.)

ฝังยาคุม มีข้อเสียมากไหมคะ อยากฝัง แต่กลัว ต้องมาเอาออกเหมือนเพื่อนที่เคยไปฝังยาคุมมาค่ะ

คำตอบ: ยาฝังคุมกำเนิดเป็นวิธีที่ป้องกันได้ผลมากที่สุดแล้วครับ แม้ตัวยาจะแพงแต่ รพ.รัฐมีบริการฟรีครับ ผลข้างเคียงพบได้แตกต่างกันไปตามที่ท่านทั้งหลายกล่าวมา - ตอบโดย ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)

คำตอบ 2: ข้อเสียหลักๆคือ ทำให้เกิดเลือด ออกกระปริดกระปรอยได้หลังจากใช้ยาฝังนะครับ ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคนนะครับ บางคนก็ไม่เกิดปัญหานี้ครับ แต่อาจจะไม่มีประจำเดือนไปเลยก็ได้คล้ายกับการฉีดยาคุมกำเนิดครับ แต่ในกรณีที่มีเลือดออกกระปริดกระปรอยจากยาฝังนี้ อาจทำให้ผู้ที่ฝังยามีความรู้สึกรำคาญมากกว่าครับ แต่ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ครับไม่จำเป็นต้องรีบถอดยาฝังออก พูดตรงๆคือเสียดายยาฝังครับ ราคาค่อนข้างแพง ให้ไปพบและปรึกษาคุณหมอนรีเวชนะครับ อาจได้รับยาฮอร์โมนเสริมกินในการช่วยลดเลือดที่ออกกระปริดกระปรอยหรือยาที่ช่วยในการหยุดเลือดครับ ข้อเสียอีกข้อหนึ่งก็คงเป็นเรื่องราคาที่สูง มากกว่าครับ ตกอยู่ราวๆ 3000-5000 บาทครับ - ตอบโดย Rattapon Amampai (Dr.)

คำตอบ 3: มีค่ะ ข้อเสียของการฝังยาคุมกำเนิด เช่น การฝังและการถอดจะต้องทำโดยแพทย์ที่ได้รับการอบรมแล้ว (ไม่สามารถถอดหรือฝังโดยแพทย์ทั่วไปได้) จึงไม่สามารถใช้หรือถอดได้เอง ในบางรายสามารถคลำแท่งยาในบริเวณท้องแขนได้ ประจำเดือนอาจมาแบบกะปริดกะปรอย จึงทำให้ต้องใส่ผ้าอนามัยอยู่เสมอ จะไม่ใส่ก็ไม่ได้ เพราะบางครั้งก็มาแบบไม่ทันตั้งตัว ซึ่งหลาย ๆ คน กังวลกับปัญหาเหล่านี้ค่ะ (แต่เมื่อผ่านระยะหนึ่งปีขึ้นไปแล้ว ปัญหาเหล่านี้จะน้อยลง) อาจพบภาวะแทรกซ้อนหลังการฝังยาคุมกำเนิดได้ เช่น มีก้อนเลือดคั่งบริเวณที่กรีดผิวหนังและอาจพบว่าตำแหน่งของแท่งยาเคลื่อนไปจากตำแหน่งเดิม (พบได้น้อย)ค่ะ - ตอบโดย สุนิสา โพธิ์พันธ์ (พว.)

คำตอบ 4: ประจำเดือนกะปริบกะปรอย พบมากที่สุดครับ ไม่มีประจำเดือน หรือเกิดภาวะขาดประจำเดือน อาจมีน้ำหนักตัวขึ้น ปวดแขนบริเวณที่ฝังแท่งยาคุมกำเนิด แผลที่ฝังยาเกิดการอักเสบ หรือมีรอยแผลเป็น อารมณ์แปรปรวน ปวด/เจ็บเต้านม มีโอกาสตั้งครรภ์นอกมดลูก (ท้องนอกมดลูก) หากเกิดการตั้งครรภ์ขึ้น อาจเกิดภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ ก่อนตัดสินใจหมอขอแนะนำให้ศีกษาหลายๆๆวิธี เพื่อการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดและเหมาะกับเราที่สุดครับ - ตอบโดย DR.somsong Nillprayoon (นพ.)

ฉีดยาคุมมานานค่า ไม่มีประจำเดือน แล้วจะเปลี่ยนเป็นยากิน ควรเริ่มกินเมื่อไรคะ

คำตอบ: ครบกำหนดฉีดครั้งต่อไปวันไหนก็เริ่มกินเม็ดแรกวันนั้น การคุมกำเนิดก็ยังคงมีผลต่อเนื่อง ถึงแม้รอบเดือนยังไม่มาก็ไม่ต้องรอครับ กินไปได้เลยครับ - ตอบโดย DR.somsong Nillprayoon (นพ.)

ตรวจการตั้งครรภ์แล้วไม่ท้อง สามารถกินยาคุมต่อได้ใช่มั้ยคะ

คำตอบ: ช่วงนี้แนะนำให้คุมกำเนิดโดยวิธีอื่นร่วมด้วยไปก่อนครับ เช่น ถุงยางอนามัยครับ รอประจำเดือนมาแล้วถึงเริ่มทานได้ครับ - ตอบโดย Rattapon Amampai (Dr.)

คำตอบ 2: ใช่ค่ะ ถ้าไม่ท้องก็สามารถคุมต่อได้ค่ะ - ตอบโดย นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (พญ.)

ทำไมเป็นความดันสูงฉีดยาคุมกำเนิดไม่ได้ค่ะ

คำตอบ: การใช้ยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนรวม (เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน) ในรายที่มีความดันโลหิดสูงมีหลักฐานค่อนข้างมากที่พบว่าเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น stroke และ heart attack มากกว่ารายที่ไม่ได้เป็นโรค - ตอบโดย ชมชนัท ทับเจริญ (พญ.)

กินยาคุมมาเกือบ10วัน โดยไม่รู้ว่าตั้งท้อง จนไม่สบายไปหาหมอ เจาะเลือดตรวจปัสสาวะถึงรู้ว่ากำลังตั้งครรภ์ อยากทราบว่าเด็กจะเป็นอันตรายอะไรหรือเปล่าค่ะ

คำตอบ: ไม่น่าจะมีปัญหาต่อเด็กครับ ให้ทำการฝากครรภ์ได้ตามปกติเลยครับ - ตอบโดย ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)

เนื่องจากหนูไม่เป็นประจำเดือนมาหลายปีเพราะเคยฉีดยาคุมต้องทำยังไงค่ะ

คำตอบ: หากผู้ป่วยฉีดยาคุมกำเนิดติดต่อกันมาตลอดก็เป็นไปได้ค่ะว่าประจำเดือนจะมากระปิดกระปอย หรือบางรายก็อาจจะไม่มาเลย ซึ่งเป็นผลข้างเคียงของยาฉีดคุมกำเนิด และหลังหยุดยาก็อาจจะมีปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติ มากระปิดกระปอยหรืออาจจะไม่มาเลยได้ถึง 6 เดือน ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุอื่น ๆ ด้วยค่ะ - ตอบโดย วิภา สุวรรณชีวะศิริ (พญ.)

ประจำเดือนมาไม่ปกติ มีวิธีแก้อย่างอื่นนอกจากกินยาคุมไหมคะ

คำตอบ: ลดน้ำหนัก พยายามไม่เครียด ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและไม่ออกกำลังกายหนักเกินไป อาจจะช่วยได้บ้างครับ - ตอบโดย Rattapon Amampai (Dr.)

ฉีดยาคุมแล้วทำไมประจำเดือนมากระปิบกระปอย

คำตอบ: การฉีดยาคุมกำเนิด ในปัจจุบัน ยังพอมีผลข้างเคียงอยู่บ้างค่ะ ขึ้นอยู่กับยาคุมที่เราฉีดนั้นเป็นประเภทไหน เช่น เมื่อฉีดยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนโปรเจสติน (ที่ใช้ฉีดทุก 2 หรือ 3 เดือน) จะมีผลข้างเคียงคือ เลือดออกกะปริดกะปรอย ถ้าอยากให้อาการเลือดออกกะปริดกะปรอยหยุดไหลหรือให้ประจำเดือนไม่มานาน ๆ ก็สามารถไปพบแพทย์ได้ โดยแพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยาฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือแนะนำให้เปลี่ยนมาฉีดยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวม (ฉีดทุก 1 เดือน) หรือเปลี่ยนวิธีการคุมกำเนิดมาใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดแทนก็ได้ซึ่งอาการข้างเคียงต่างๆจะเป็นอยู่สักพัก ไม่ได้เป็นตลอด หรือถ้าหากมีอาการตลอดอาจจะปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญต่อไป ทั้งนี้การฉีดยาคุมกำเนิดนั้นหลังจากฉีดยาอาจมีอาการปวดตึง ๆ ในบริเวณที่ฉีดยาประมาณ 1 วัน แต่หลังจากนี้จะหายไป ที่สำคัญอย่างมากก็คือหลังฉีดเสร็จแล้วไม่ควรเอามือไปคลึงหรือขยี้บริเวณที่ฉีดยา เพราะจะทำให้ตัวยาถูกดูดซึมเร็วเกินไปและทำให้ระดับยาเหลือไม่สูงพอที่จะป้องกันการตั้งครรภ์ได้จนครบกำหนดเวลา อย่างแทนที่ตัวยาจะได้ 3 เดือน (84 วัน) ก็อาจลดลงเหลือเพียงแค่ 77 วัน เป็นต้น - ตอบโดย ทิพย์วิมล กังสนันท์ (แพทย์จีน)

ถ้าทานยาคุมมาเป็นระยะเวลานาน (ประมาณ6-7ปี) จะมีอันตรายอะไรแก่ร่างกายไหมค่ะ สามงเหตุที่ทานคือคุมฮอโมน สิว และอาการปวดท้องตอนมีประจำเดือนค่ะ และถ้าหยุดทานจะมีผลต่อฮอโมนยังไงค่ะ สิวจะขึ้นหนักมากไหมค่ะ

คำตอบ: ทานยาคุมระยะยาว อาจส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงในบางโรคครับ แต่ยังไม่ต้องกังวลครับ อาจจะเริ่มหยุดทานและใช้การรักษาสิววิธีอื่นๆช่วยได้ครับ หากกังวล - ตอบโดย ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)

หนูอายุ26ปีมีลูก1คนคะก่อนหน้านี้มีประจำเดือนปกตินะคะพอคลอดลูกคนนี้ก็ฉีดยาคุมกำเนิดแทนการกินยาคุมคะพอหนูจะเอาลูกอีกคนหนูเลิกไปฉีดยาคุมเลิกฉีดมาเป็นปีคะไม่กินไม่ฉีดเลยแต่ประจำเดือนหนูกลับไม่มาเลยสักเดือนหนูคิดว่าหนูท้องแต่ไม่ใช่คะไม่ได้ท้องเพราะหนูตรวจแล้วนี่เวลาผ่านมาจะสองปีละคะคุนหมอที่ไม่มีประจำเดือนเลยหนูอยากทราบว่าทำไมหนูไม่มีประจำเดือนที่ปกติแล้วจะมีวิธีการรักษายังไงคะคือหนูอยากมีลูก

คำตอบ: ส่วนมากเกิดจาก เยื่อบุโพรงมดลูกบางทากจากการใช้ยาฉีดคุมกำเนิด แต่ถือว่าขาดประจำเดือนนานเกินไปครับ ควรไปตรวจกับแพทย์เพื่อหาความผิดปกติ - ตอบโดย Rattapon Amampai (Dr.)

กินยาคุมกำหนดแบบเม็ดติดต่อกันหลายปีจะทำให้มีลูกยากไหมคะ

คำตอบ: โดยปกติผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดอยู่ต้องการมีบุตรก็สามารถจะหยุดยาได้ทันที แล้วหลังจากนั้นอีก 1-3 เดือน ก็จะเริ่มมีรอบเดือนตามปกติเหมือนเดิม และสามารถตั้งครรภ์ได้ภายใน 1 ปีค่ะ ยกเว้นผู้หญิงที่มีภาวะผิดปกติของระบบสืบพันธ์อื่นๆร่วมด้วยอาจจะทำให้มีบุตรยากได้ค่ะ - ตอบโดย ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)

ขอทราบชื่อยาคุมฉีดแบบ3เดือนหน่อยค่ะ แล้วเวลาฉีดเจ็บมากมั้ยคะ

คำตอบ: Depot-medroxyprogesterone acetate ครับ เวลาฉีดก็จะเจ็บบั้นท้ายหน่อยครับ เพราะฉีดเข้ากล้ามเนื้อครับ - ตอบโดย Rattapon Amampai (Dr.)

คำตอบ 2: ยาคุมฉีดแบบ3เดือนคือ DMPA สำหรับชื่อการค้ามีหลายยี่ห้อค่ะ ยกตัวอย่างเช่น Depo-Provera เวลาฉีดอาจจะเจ็บหน่อยเพราะเป็นการฉีดเข้ากล้ามเนื้อค่ะ - ตอบโดย นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (พญ.)

อายุ49ฝังยาคุมที่แขน2ปีแล้วบางเดือนมีประจำเดือนมามากขั้นผิดปกติ เคยพบเนื้องอก3ก้อนแต่หมอบอกยุบแล้วจะเป็อาการอื่นร้ายแรงไหมคะ

คำตอบ: ยาฝังคุมกำเนิด เป็นวิธีคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพดีมาก โอกาสตั้งครรภ์มีแค่ 0.05% แต่เนื่องจากเป็นยาฮอร์โมน ดังนั้น จึงมีฤทธิ์ของฮอร์โมนต่อผู้ใช้ได้ การที่ประจำเดือนมาตลอดมากก็เป็นหนึ่งในผลของยาครับ แต่อย่างไรก็ดี เนื่องจากคนไข้มีอายุมาก (49ปี) ประจำเดือนมาผิดปกติ เราควรคิดถึงสาเหตุอื่นๆด้วย โรคที่เป็นได้ ก็ได้แก่ PALM COIEN - ติ่งเนื้อในโพรงมดลูก (Polyp) - เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญแทรกในเนื้อมดลูก (Adenomyosis) - เนื้องอกมดลูก (Leiomyoma) - มะเร็ง (Malignancy) - การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ (Coagulopathy) - รังไข่ทำงานผิดปกติ (Ovulatory dysfunction) - เยื่อบุโพรงมดลูกผิดปกติ (Endometrium) - แพทย์ทำ เช่น การใช้ยาบางชนิด หรือการใช้ยาคุม ฯลฯ (Iatrogenic) - ไม่ทราบสาเหตุ (Not yet classified) ทั้งนี้ เนื่องจากประจำเดือนมาไม่ปกติ มีสาเหตุได้จากมะเร็งด้วย ดังนั้น จึงควรไปพบสูตินรีแพทย์เฉพาะทาง เพื่อทำการตรวจภายใน อัลตราซาวนด์ หรือเก็บเนื้อเยื่อโพรงมดลูกไปตรวจหามะเร็ง (endometrial biopsy) หรือในบางกรณีอาจต้องตรวจเลือดหาระดับฮอร์โมนในเลือดด้วย เพื่อจะได้ทำการรักษาได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว และไม่มีผลแทรกซ้อนร้ายแรงต่อตัวผู้ป่วยครับ - ตอบโดย ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์ (นพ.)

เจ็บท้องน้อยใต้สะดือเกิมมาจากอะไรค่ะ ก่อนหน้านี้เคยมีเพศสัมพันธ์กับแฟนมา ประมาณ8วัน แล้วก็กินยาคุมกำเนิดฉุกเฉินมันเกียวกันไหมค่ะ

คำตอบ: อาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องได้ครับ แต่สาเหตุของการปวดท้องก็ยังมีอีกหลายอย่าง เช่น การติดเชื้อ ให้ลองสังเกตุอาการอื่นๆเพิ่มเติมนะครับ - ตอบโดย ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)

กินยาคุมแบบ21เม็ดจนหมดแผงแล้ว ระหว่างรอประจำเดือนมา สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้มั้ยคะ

คำตอบ: ถ้าทานยาสม่ำเสมอไม่ขาดยาจะไม่มีการตกไข่ สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ครับ - ตอบโดย Rattapon Amampai (Dr.)

วันอาทิตย์ที่ 5 มีไข้ขึ้นสูง คลื้นใส้ อาเจียน วันต่อมีอาการปวดท้องหน่วงๆคล้ายประจำเดือน จึงคิดว่าเป็นไข้ทับฤดู ตัดสินใจไปร้านขายยาซื้อมากิน (บอกร้านขายยาว่าปวดท้องเป็นไข้ทับฤดูจึงจัดยาไห้) ทานไป2-3เม็นใน1วัน ประจำเดือนหยุด อาการปวดท้องหายไป เลยหยุดทานยา จากนั้นวันต่อมาคือวันพุธที่ 7 ประจำเดือนมาเยอะมากมีลักษณะคล้ายชิ้นเนื้อเหมือนอั้นมานานแระมีอาการปวดท้องและหลัง และยังมีประจำเดือนอยู่จากนั้นวันอาทิตย์ที่ 12 ตี1 มีอาการปวดท้องเกร็งอย่างรุนแรงปวดตรงมดลูกและอุ้งเชิงกรานเป็นอย่างมาก ปวดนานถึง 3 ซม. และเผลอหลับไป จนกระทั่งเช้า 6:30 รู้สึกตัวว่าเหมือนมีก้อนเลือดกำลังจะออกมา ปรากฏว่าเป็นถุงรกห่อตัวทารกมา ลักษณะคล้ายไข่ไก่ ขนาดเท่ากำมือและเศษเลือดเป็นก้อนใหญ่ จากนั้นอาการปวดหายไปและเลือดยังไหลอยู่จนถึงวันนี้วันที่ 16 มีนาคม ยังไม่หยุดไหล อาการแบบนี้คือการอะไรค้ะ และเป็นอันตรายไหม(ทานยาคุมกำเนินแบบเป็นเดือน)

คำตอบ: คุณ มีภาวะ แท้งบุตร (Abortion) หรือกรณีคุณ อาจเรียกว่าเป็นการแท้งเองโดยธรรมชาติ ภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า “Miscarriage” กรณีคุณอาจมีการติดเชื้อ เพราะมีไข้ ด้วย และยังมีเลือดออกจากช่องคลอดอยู่ หลักการรักษาผู้ที่แท้งคือระวังเลือดออก และการติดเชื้อ หากตั้งครรภ์อ่อนแล้วแท้ง ร่างกายก็สามารถขับตัวอ่อนและรกออกหมด แต่หากขับไม่หมดมีเลือดออกจะต้องทำการขูดมดลูก หากพบว่าเลือดออกไม่หยุด และมีไข้สูงหนาวสั่นต้องรีบไปพบแพทย์ - ตอบโดย Dr.Chaiwat J.(หมอเปี๊ยก) (นพ.)

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน มีโอกาสทำให้เกิดเนื้องอกมดลูกหรือไม่

คำตอบ: โดยส่วนมากจะพบในลักษณะที่เป็นเนื้องอกธรรมดามากกว่า สาเหตุของการเกิดเนื้องอกยังไม่ชัดเจน แต่พบว่าฮอร์โมนเอสโตรเจนมีส่วนในการทำให้เนื้องอกเจริญเติบโต ซึ่งพบได้บ่อยในหญิงวัยเจริญพันธุ์ครับ - ตอบโดย สุเทพ สุขนพกิจ (นพ.)

ยาคุมฉีดแบบ1เดือนกะ3เดือน ต่างกีนอย่างไรคะ อันไหนดีกว่ากันคะ

คำตอบ: แบบ 1 เดือน จะเป็นประจำเดือนทุกเดือนค่ะ ส่วน แบบ 3 เดือน จะเป็นฮอร์โมน โปรเจสติน ทำให้เยื่อมดลูกบางไม่ลอกออกจึงไม่เป็นประจำเดือนค่ะ - ตอบโดย วลีรักษ์ จันทร (พว.)

คำตอบ 2: ยาคุมฉีดแบบ 1 เดือนเป็นฮอร์โมนรวมเหมือนยาคุมแบบกินค่ะ ออกฤทธิ์ 3 สัปดาห์ พอเข้าสัปดาห์ที่4 จะมีประจำเดือนมา ข้อดีคือประจำเดือนมาปกติ และถ้าต้องการมีบุตรก็มีได้เลยไม่ต้องรอเหมือนยาคุมแบบฉีดทุก3เดือน ส่วนยาคุมแบบฉีดทุก 3เดือน จะมีแต่ฮอร์โมน Progestin จึงทำให้เยื่อมดลูกจึงบาง ไม่ลอกออกมา จึงไม่มีประจำเดือน ข้อดีคือไม่ต้องไปฉีดบ่อยครั้งค่ะ - ตอบโดย นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (พญ.)

พอดีว่า อายุ 49 ฉีดยาคุมทุกเดือน แต่ไม่ได้ฉีดมา 1ปี แล้ว ทีฉีดครั้งแรกเนื่องจากประจำเดือนมามากผิดปกติ มาเป็นเดือน (จุกใต้ลิ้นปี่ เป็นลักษณะ เหมือนเจ็บลึก)อยากทราบว่ามันเกี่ยวกันหรือเปล่าคะ

คำตอบ: ไม่เกี่ยวข้องกันค่ะ อากาจุกแน่นที่ลิ้นปี่ ส่วนใหญ่จะเป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะพวกกระเพาะอาการ ลำใส้ ตับ ตับอ่อนถุงน้ำดี ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป้นโรคกระเพาะอาหาร ส่วนเรื่องของการมีประจำเดือนมากและก็การฉีดยาคุมกำเนิอจะเกี่ยวกับอวัยวะพวกมดลูก ซึ่งตำแหน่งของมดลูกมักจะทำให้มีอาการปวดบริเวณท้องน้อยมากกว่าค่ะ - ตอบโดย Buakhao Arpaporn (พญ.)

คำตอบ 2: อาการจุกลิ้นปี่ไม่น่าจะเกี่ยวกับการมีประจำเดือนค่ะ...อาการจุกลิ้นปี่อาจบ่งถึงความผิดปกติ ของโรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือแผลในลำไส้ตอนต้น , โรคกรดไหลย้อน , มะเร็งหลอดอาหาร หรือมะเร็งกระเพาะอาหาร, นิ่วในถุงน้ำดี , โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ , โรคตับ อาจสัณนิษฐษนได้ว่าอาการจุกลิ้นปี่ของคุณอาจเกิดจากความเครียดหรือความกังวลค่ะ ความเครียดทำให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดออกมาเยอะทำให้เกิดการระคายเคืองและจุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ได้ค่ะ - ตอบโดย ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)

ถ้าหยุดกินยาคุมแล้วเมนส์ไม่มา แต่ไม่ได้มีอะไรกัน อยากให้มาปกติเหมือนเดิมต้องทำอย่างไรค่ะ

คำตอบ: รอไปก่อนได้ค่ะแต่ต้องคุมกำเนิดวิธีอื่นด้วย เช่นใส่ถุงยางอนามัย เพราะหลังจากหยุดรับประทานยาคุมกำเนิด เดือนต่อมาแม้ว่าประจำเดือนยังไม่มา ก็มีการตกไข่ได้และทำให้ท้องได้ค่ะ ถ้าหยุดยาคุมแล้วประมาณ 2 เดือนประจำเดือนยังไม่มาควรมาตรวจพบแพทย์ค่ะ - ตอบโดย Buakhao Arpaporn (พญ.)

คำตอบ 2: ประจำเดือนขาดไปกี่วันคะ ถ้ายังไม่ถึง7วันก็ควรรอไปก่อน อาจเกิดจากความวิตกกังวลด้วย แต่ถ้าถึง7วันแล้วยังไม่มาให้ไปตรวจการตั้งครรภ์ค่ะ ถ้าไม่ตั้งครรภ์และประจำเดือนยังไม่มาอีกก็ให้รออีก7วันก่อนแล้วตรวจใหม่ ถ้าไม่พบก็แสดงว่าไม่ได้ตั้งครรภ์จริงค่ะ แต่ประจำเดือนไม่มาอาจต้องพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุต่อไปค่ะ - ตอบโดย นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (พญ.)

ถ้าไม่เคยทานยาคุม ควรทานภายในกี่วันหลังมีประจำเดือนคะ ตอนนี้มีประจำเดือนวันที่ 6 แล้ว ปกติเป็นคนประจำเดือนมามาก มา7-8วันในแต่ละเดือน เลยอยากทราบว่าถ้าทานยาคุมตอนนี้ทันมั้ยคะ

คำตอบ: ถ้าเริ่มกินแผงแรกช้ากว่า 5 วัน (นับจากวันแรกที่รอบเดือนมา) เช่นกินวันที่ 6 – 7 หรือต่อยาคุมแผงใหม่ช้าไป 1 – 2 วัน กรณีอย่างนี้ ประสิทธิภาพของยาคุมแผงนี้ก็จะไม่แน่นอนแล้ว แต่ก็แนะนำให้กินต่อไป เพียงแต่แผงนี้ควรใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วยไปก่อนจนกว่าจะหมดแผงค่ะ - ตอบโดย Nawaporn Le. (Dr.)

คำตอบ 2: วิธการรับประทานยาคุมกำเนิด เริ่มเม็ดแรกในวันที่ 1-5 ของการมีประจำเดือน ควรรับประทานตามวันที่ก าหนดในแผงและตามลำดับลูกศร ควรรับประทานเวลาเดียวกันทุกวัน วันละ 1 เม็ด แนะนำให้ทานก่อนนอน เพื่อลดอาการข้างเคียง แบบ 28 เม็ด เมื่อรับประทานหมดแผง ให้รับประทานแผงใหม่ต่อได้เลย แบบ 21 เม็ด เมื่อรับประทานยาหมดแผง ให้หยุดรีบประทานยา 7 วันแล้วจึ่งเริ่มรับประทานแผงต่อไป ใน 15 วันแรกของการเริ่มยาแผงที่ 1 ควรใช้วิธีคุมก าเนิดอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น การสวมถุงยางอนามัย รวมทั้งในกรณี่เป้นประจำเดือนเกินวันที่ 1-5 ของการมีประจำเดือนแนะนำให้ใช้วิธีคุมกำเนิดแบบอื่น เช่นการใช้ถุงยางอนามัย - ตอบโดย สุนิสา โพธิ์พันธ์ (พว.)

คำตอบ 3: จริงๆควรทานยาคุมภายใน5วันหลังมีประจำเดือนค่ะ ในกรณีที่มีประจำเดือนวันที่6แล้ว แนะนำให้คุมโดยใช้ถุงยางอนามัยค่ะ - ตอบโดย นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (พญ.)

หลังมีเพศสัมพันธ์แล้วหนูมีเลือดออก หลังมีเพศสัมพันธ์ปุ้บเลือดจะไหลออกมาพร้อมกับอสุจิเลย แล้วก็ค่อยๆหายไป ไม่มีเพศสัมพันธ์ก็ไม่มีเลือดไหลค่ะไม่ใช่ประจำเดือนนะค่ะ เพราะหนูเหลือยาคุมอยู่อีก 1 เม็ด หนูกินแบบ 21 เม็ด คือจะเหลืออีก 4-5 วันประจำเดือนถึงจะมา   เลือดออกแบบนี้ก่อนจะกินเม็ดสุดท้ายเดือนนี้เดือนที่ 2 ละค่ะ แต่เดือนที่แล้วที่เป็นแบบนี้ ประจำก็เดือนมาปกติ เลยแปลกใจว่าเหลือยาอีก 1 เม็ด หลังมีเพศสัมพันธ์ทำไมเลือดออก 2 เดือนติด ตลอด7ปีมา ไม่เคยเป็นเลยค่ะ หนูกินยาคุมยี่ห้อไดแอนค่ะ กินมา 7 ปีละคะ ไม่เคยลืมกินยา ปกติเป็นคนผิวมันมีสิว หลังจากทานยามาหน้าก็ดีขึ้น ค่ะ

คำตอบ: การทานยาคุมกำเนินติดต่อกันเป็นเวลานานอาจส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธ์ได้ค่ะ หากมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์อาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติภายในดังนั้นควรไปตรวจภายในเพื่อความชัวร์ค่ะ - ตอบโดย ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)

ยาคุมถ้ามีปริมาณเอสโตรเจนมากๆมีผลข้างเคียงเยอะมั้ยคะ แล้วตัวไหนบ้างที่เอสโตรเจนมากน้อยคะ

คำตอบ: ถ้ามีเอสโตรเจนมาก อาจทำให้เกิดคลื่นไส้อาเจียน ปวดหัวได้มากด้วย สำหรับคนที่ทนผลข้างเคียงไม่ได้ควรเลือกยาคุมที่มีเอสโตรเจนน้อยค่ะ ยาคุมในท้องตลาดมีหลายยี่ห้อนะคะ จะยกตัวอย่างบางยี่ห้อให้ เช่น -Oilezz มีเอสโตรเจน 0.04 mg -Yasmin มีเอสโตรเจน 0.03 mg -Yaz มีเอสโตรเจน 0.02 mg - ตอบโดย นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (พญ.)

ประจำเดือนมาไม่ปกติค่ะ หลังจากฉีดยาคุมไป 1 เข็ม ประจำเดือนไม่มา 5 เดือน เลยทานยาคุมไป 1 แผง ประจำเดือนมาปกติ แต่หลังจากประจำเดือนหายไปได้ประมาณ 3 วัน ก็มีเลือดสีแดงสด ไม่ทีกลิ่นเหม็นคาวไหลออกมาวันละประมาณแผ่นอนามัยเล็กๆอ่ะค่ะ เป็นได้ 3 วันก็หายไป ไม่มีอาการปวดคัดเต้านมหรือท้องน้อย แต่เดือนนี้ประจำเดือนยังไม่มาเลยค่ะ ไม่ได้ทานยาคุมหรือฉีดแล้วนะคะ ไม่ทราบมันเกิดจากสาเหตุอะไรบ้างคะ มีการป้องกันหรือรักษาอย่างไรบ้าง อีกข้อนึงค่ะ อยากถามเกี่ยวกับริดสีดวงทวารค่ะ คือมีติ่งเนื้อยื่นออกมาเท่าหัวนิ้วก้อย หมอจะผ่าให้มั้ยคะ ใช้ชีวิตประจำวันไม่ค่อยดีเท่าไหร่ค่ะ เป็นคนที่ท้องเสียง่าย เวลาท้องเสียเจ้าติ่งเนื้อนี้ก็จะเจ็บขึ้นมาน่ะค่ะ ขอบคุณที่ให้ปรึกษานะคะ

คำตอบ: 1.การฉีดยาคุมอาจมีผลข้างเคียงได้คือมีเลือดออกกระปริดกระปรอย ไม่มีประจำเดือนหรือขาดประจำเดือนได้ค่ะ ควรไปพบนรีแพทย์นะคะ ถ้าไม่ได้ทานหรือฉีดยาคุมแล้ว ประจำเดือนไม่มา ลองไปตรวจการตั้งครรภ์ดูนะคะ 2.มีติ่งยื่นออกมา ต้องถามก่อนว่าติ่งนั้นหดกลับเองได้ไหม ดันกลับได้ไหม หรือไม่ได้เลย ต้องไปให้แพทย์พิจารณาว่าเป็นริดสีดวงระยะไหน ถ้าเป็นระยะไม่รุนแรงไม่ต้องผ่าตัดค่ะ เป็นระยะท้ายๆถึงค่อยใช้วิธีจี้ไฟฟ้า หรือฉีดยาให้ก้อนยุบ หรือผูกก้อน หรือผ่าตัดค่ะ - ตอบโดย นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (พญ.)

ทำไมบางคนบอกว่ากินยาคุมกำเนิดแล่วก้อสามารถท้องได้ทั้งๆที่ทานตลอดม่ขาดสาเหตุเกิดจากอะไรค่ะ

คำตอบ: จริงๆแล้ว การคุมกำเนิดทุกชนิดไม่สามารถคุมได้100%ค่ะ นอกจากนี้แล้ว ความเสี่ยงในการตั้งครรภ์จะเพิ่มขึ้นอีกหากลืมทานหรือทานไม่ตรงเวลา ยาหมดอายุ หรือยาไม่สามารถดูดซึมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นในกรณีใช้ยาชนิดอื่นร่วมด้วย ในกรณีถ่ายเหลว เป็นต้นค่ะ ทางที่ดี ควรคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วย เช่นใช้ถุงยาง ซึ่งยังสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อีกด้วยค่ะ - ตอบโดย นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (พญ.)

ขอถามหน่อยนะคะ ถ้าใช้ยาคุมไปนานๆ มีผลกับการตั้งครรภ์ยากมั้ยคะ แล้วยาคุมมีผลข้างเคียงอะไรบ้างคะ

คำตอบ: ไม่มีผลค่ะ ถ้าหยุดยาคุมก็ตั้งครรภ์ได้เลยค่ะ สำหรับผลข้างเคียงของเม็ดยาคุมกำเนิดมีดังนี้ค่ะ คลื่นไส้อาเจียน น้ำหนักตัวเพิ่ม ปวดหัว เป็นฝ้า เลือดออกกระปริบกระปรอย ประจำเดือนผิดปกติ ความดันสูง ซึมเศร้า กังวล หรืออาจมีอาการอื่นๆแต่พบได้น้อยเช่น ปวดประจำเดือน ปวดขา เส้นเลือดขอด อ่อนเพลีย ความรู้สึกทางเพศลดลงค่ะ - ตอบโดย นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (พญ.)

ฝ้าเกิดจากอะไรได้บ้างคะ กินยาคุมเกี่ยวมั้ยคะ

คำตอบ: เกี่ยวค่ะ เพราะฝ้าเกิดจากฮอร์โมนเพศหญิง ถ้าตั้งครรภ์หรือกินยาคุมก็ทำให้เกิดฝ้าได้ นอกจากนั้นเกิดจากพันธุกรรมและแสงแดดค่ะ - ตอบโดย นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (พญ.)

ทานยาคุมกำเนิดนานมีผลกับประจำเดือนที่มาน้อยลงไหมคะเป็นกังวลใจมากเลยคะ

คำตอบ: ได้ค่ะ แต่ไม่ใช่เรื่องน่าเป็นห่วงอะไร เพราะยาคุมกำเนิดจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุโพรงมดลูกค่ะ ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวน้อยลงการใช้ยาคุมกำเนิดโดยเฉพาะกลุ่มที่ประกอบด้วยฮอร์โมนขนาดน้อยๆ ถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะค่อยๆมีประจำเดือนน้อยลงได้ค่ะ - ตอบโดย นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (พญ.)

ทานยาคุมอยู่ยังไม่หมดแผงและยังไม่ถึงเวลาเป็นประจำเดือน แต่ลืมกินยาคุม 3 วัน มีเลือดออกมาติดกางเกงชั้นในไม่เยอะอยู่หลายวัน อยากทราบว่าเป็นเพราะสาเหตุอะไร

คำตอบ: อาการเลือดออกกะปริบกะปรอย อาจเป็นผลจากฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล ทำให้เกิดการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูกออกมา หรือ บางคนลืมกินยาคุม กินไม่ตรงเวลา ระยะเวลาที่กินเปลี่ยนแปลง ก็ทำให้เลือดออกได้ ดังนั้นแนะนำว่า กินก่อนนอนง่ายสุดจะไม่คลื่นไส้ ขณะเดียวกันบางคนเคยกินยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีปริมาณฮอร์โมนสูง พอเปลี่ยนมากินยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนต่ำกว่าก็อาจทำให้มีเลือดออกได้เช่นกันค่ะ - ตอบโดย วลีรักษ์ จันทร (พว.)

คำตอบ 2: อาการเลือดออกกะปริบกะปรอย เพราะลืมทานยาคุมฯ หรือ ทานไม่ตรงเวลา หรือ เปลี่ยนมากินยาคุมฯชนิดที่มีฮอร์โมนต่ำกว่า อาจส่งผลให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล ทำให้เกิดการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูกออกมา ค่ะ - ตอบโดย ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)

เคยเป็นมะเร็งเต้านม แต่ผ่าตัดไปแล้ว ยังงี้สามารถกินยาคุมได้ไหมคะ

คำตอบ: ไม่ควรกินยาคุมค่ะ ควรคุมด้วยวิธีอื่นแทน มะเร็งเต้านมเป็นข้อห้ามในการกินยาคุมค่ะ - ตอบโดย นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (พญ.)

ในกรณีที่เคยมีเพศสัมพันแต่กินยาฉุกเฉินก่อนเวลาตามระบุไว้ข้างก่อนทุกอย่าง และตอนนี้ประจำเดือนไม่มาเป๋นเวลา 2 เดือนแล้วค่ะ เลยซื้อยาสตรีเบนโลมากิน แต่ก็ไม่มีประจำเดือนมา ท้องน้อยแข็ง กดดูแล้วเหมือนปวดอึ เวลากั้นฉี่ไว้ท้องจะแข็งกว่าเดิมและโตขึ้นมานิดหน่อย แบบนี้มีโอกาสท้องไหมคะ

คำตอบ: การคุมกำเนิดด้วยการใช้ยาคุมฉุกเฉินไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100% ค่ะ ควรไปพบแพทย์ทำการตรวจให้แน่ใจ ไม่ควรทานยาขับประจำเดือนเพราะถ้าตั้งครรภ์จริงการใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์อาจทำให้ทารกไม่สมบูรณ์ได้ค่ะ - ตอบโดย ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)

สอบถามค่ะหนูอายุ26ปีมีลูกสองคน คนที่สองเลยทำหมัน พอทำหมันแล้วประจำเดือนก็ไม่มาเลย ทำหมันแล้วประจำเดือนไม่มาผิดปรกติมั้ยค่ะหรือเป็นเพราะอะไรคะ

คำตอบ: หากทำหมันโดยการตัดและผูกท่อนำไข่ตามวิธีมาตรฐานทั่วไปจะไม่ส่งผลต่อประจำเดือน เนื่องจากยังมีรังไข่อยู่ และสามารถสร้างฮอร์โมนทำให้เกิดรอบเดือนได้ตามปกติ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุอื่นเพิ่มเติมครับ - ตอบโดย กิตติศัพท์ สินน้อย (นพ.)

หนูมีปัญหาเรื่องประจำเดือนมาไม่ปกติค่ะ มา2-3เดือนครั้ง กังวลใจมาก อยากไปพบคุณหมอและหาวิธีแก้ปัญหา พอประจำเดือนไม่มา สิวก็ขึ้น ขนก็ขึ้น มันมีปัญหาเรื่องถุงน้ำในรังไข่ใช่ไหมค

คำตอบ: ไม่จำเป็นเสมอไปค่ะ อาการที่ว่า เรื่องประจำเดือนมาไม่ปกตินั้น สามารถพบได้ง่ายในวัยรุ่น บางครั้งความเครียดก็ส่งผลให้ประจำเดือนผิดปกติได้นะคะ ทั้งนี้ หากมีอาการผิดปกติแบบนี้ เข้าพบแพทย์เป็นวิธีที่ดีค่ะ จะได้ตรวจสอบและหาสาเหตุของอาการเหล่านี้ได้ตรงจุด ทั้งนี้เราก็ไม่ควรวิตกกังวลมากเกินไป เมื่อเข้าพบแพทย์ สิ่งที่ต้องเตรียมไปคือ สมุดจดวันที่ประจำเดือนมา //วันที่ประจำเดือนหมด ก่อน// หลังประจำเดือนมา มีอาการผิดปกติอย่างไรบ้าง เช่น ปวดท้อง ปวดเอว ปวดศีรษะ มีหรือไม่ จดให้ละเอียด เพื่อเป็นข้อมูลในการตรวจวินิจฉัยต่อไปค่ะ - ตอบโดย ทิพย์วิมล กังสนันท์ (แพทย์จีน)

อยากทราบว่าประจำเดือนไม่มา4-5เดือนติดทั้งๆที่เราไม่เคยมีอะไรกับแฟนเลยค่ะ จะมีโรคอะไรแทรกซ้อนไหมค่ะ

คำตอบ: เกิดจากได้หลายสาเหตุครับส่วนมากเกิดจากการที่อายุยังน้อยฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองมากระตุ้นรังไข่เพื่อผลิตฮอร์โมนและตกไข่ ยังไม่คงที่และแน่นอนจึงทำให้อาจมีประจำเดือนที่ผิดปกติได้ครับ สาเหตุอื่นๆก็อาจจะเกี่ยวข้องได้เช่นภาวะเครียดทางจิตใจ หรือบางครั้งนอนไม่พอ การออกกำลังกายที่มากเกินไป หรือการที่มีน้ำหนักมาก นอกจากนี้สาเหตุจากตัวของอวัยวะในอุ้งเชิงกรานเช่นตัวรังไข่เองมีความผิดปกติ หรือตัวของมดลูกเองที่มีความผิดปกติก็อาจเป็นสาเหตุของการมีประจำเดือนขาดๆ หายๆ ได้ครับ หากว่าเลือดออกไม่สม่ำเสมอ อาจมีความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ เช่นโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ ความเสี่ยงของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกเพิ่มสูงขึ้น และในรอบที่มีประจำเดือนมาอาจทำให้ปริมาณมามากจนซีดได้ครับ ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจฮอร์โมนบางตัวเช่น ฮอร์โมนไทรอยด์ ฮอร์โมนน้ำนม ถ้าผิดปกติมีผลต่อประจำเดือนได้หรือถ้าหากประจำเดือนไม่มาครบ 1 ปี อาจเกิดจากการที่รังไข่หยุดทำงานต้องรีบไปพบแพทย์ครับ - ตอบโดย Rattapon Amampai (Dr.)

ประจำเดือนไม่มา3 เดือน แต่ไม่ได้ตั้งครรภ์ค่ะ เมื่อวานไปบริจาคเลือดมา แต่แทงเข็มแล้วน้ำเกลือไม่ออก พยายาลบอกเจาะไม่ได้ ถามไปถามมาบอกเขาว่าเมนส์ไม่มา3เดือน พยาบาลแนะนำว่าให้ไปหาหมอ มันเปนสาเหตุที่เจาะเข็มแล้วเลือดไม่ออก อยากทราบว่าเกี่ยวกันยังไง ต้องไปหาหมอตรวจภายในรึเปล่า

คำตอบ: ไม่เกี่ยวกับการเจาะเลือดไม่ได้หรอกครับ แต่คุณพยาบาลอาจจะเป็นห่วงเรื่องที่ประจำเดือนไม่มามากว่าครับ คราวนี้ก็ต้องมาดูว่าการที่ประจำเดือนไม่มาเกิดจากสาเหตุอะไร ถ้าหาสาเหตุไม่ได้ต้องไปพบแพทย์ครับ - ตอบโดย ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)

ตอนนี้อายุ43ปี ประจำเดือนไม่มาเป็นปีแล้วค่ะ ต้องทำไงคะ

คำตอบ: น่าจะเป็นอาการของการหมดประจำเดือนครับ และมีอาการร่วมตามนีมั้ยครับ ร้อนวูบวาบตามผิวกาย (เช่น บริเวณหน้าอก คอ และ ใบหน้า) มีเหงื่อออก ใจสั่นปวดตามข้อ ปวดศีรษะ บางคนอาจมีอาการหงุดหงิด โมโหง่าย ขี้วิตกกังวล ซึมเศร้า ไม่มีสมาธิ และนอนไม่หลับ การรักษา 1. ถ้ามีอาการเพียงเล็กน้อย ไม่ต้องให้ยารักษาแต่อย่างใด เนื่องจากอาการที่เกิดขึ้นเป็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ตามธรรมชาติ และจะหายได้เองในไม่ช้า 2. ถ้ามีอาการไม่สบายมาก ให้ยารักษาตามอาการ หงุดหงิด นอนไม่หลับ ปวดข้อ ปวดศีรษะ 3. ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โมนเอสโตรเจนทดแทน เพื่อลดอาการไม่สบายต่าง ๆ รวมทั้งป้องกันอาการเยื่อบุช่องคลอดบาง และภาวะกระดูกพรุน - ตอบโดย สุเทพ สุขนพกิจ (นพ.)

ประจำเดือนไม่มา1ปีตั้งแต่ฝังเข็ม อันตรายต่อสุขภาพหรือป่าวคะ

คำตอบ: การไม่ได้เอายาฝังคุมกำเนิดออก จะยังมีฮอร์โมนของยาฝังคุมกำเนิดอยู่ ซึ่งทำให้ไม่มีไข่ตก และไม่มีประจำเดือนได้ค่ะ พบว่าฮอร์โมนในยาฝังคุมกำเนิดหลอดเดียวอาจมีผลได้ถึง 5 ปี แต่การมียาฝังคุมกำเนิดอยู่โดยไม่ได้ถอดออก ก็ไม่มีผลเสียต่อร่างกาย เพียงแต่ฤทธิ์ของยาฝังคุมกำเนิดยังมีผลอยู่ค่ะ - ตอบโดย Nawaporn Le. (Dr.)

ประจำเดือนไม่มา 2 เดือน 7 วันแล้วคะ ซื้อชุดตรวจมาตรวจแล้ว ผลก็ให้ว่าไม่ท้อง ตอนนี้เครียดมาดเลยคะ ควรทำยังไงต่อไปดีคะ

คำตอบ: ปกติประจำเดือนมาตรงหรือไม่ และชุดตรวจการตั้งครรภ์นั้นสามารถให้ผลลบปลอมได้ แนะนำว่าต้องตรวจซ้ำอีกครั้งครับ - ตอบโดย ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)

ประจำเดือนไม่มาค่ะ ปกติจะมาวันที่ 25 ซื้อที่ตรวจมาตรวจ วันที่ 29 ไม่ท้องค่ะ เลยเว้นแล้วมาตรวจอีกในวันที่ 1 ก็ไม่ท้อง มีอาการ ปวดหัว ปวดท้องข้างซ้าย ถ่ายบ่อย ผายลมบ่อยและมีกลิ่นแรงมาก จุกที่คอหอย เป็นไปได้ว่าจะท้องแต่ตรวจไม่เจอหรือเปล่าค่ะ หรือถ้าไม่ท้อง เรามีโอกาสเป็นโรคอะไรไหมคะ ?

คำตอบ: หลายสาเหตุครับที่มำให้ประจำเดือนเลื่อน ส่วนใหย่ก็อาจจเกิดจากการเจ็บป่วยของร่างกาย หรือความเครียด - ตอบโดย ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)

คำตอบ 2: บ่งถึงความผิดปกติของระบบย่อยอาหารค่ะ อาจมีแก๊สในกระเพาะ กระเพาะอักเสบ ลำไส้อักเสบ หรือ เกิดจากการที่ระบบย่อยสัมผัสเชื้อโรค ถ้าทานยาจำพวกลดกรด เคลือบแผลในระบบย่อยแล้วไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์ค่ะ - ตอบโดย ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)

ให้ลูกทานนมมาเกือบปีแล้ว ประจำเดือนยังไม่มาเลยค่ะ กังวลมาก ไม่ได้คุม ใช่ถุงยาง กลัวตั้งครรภ์เลยตรวจการตั้งครรภ์ แต่ไม่ได้ท้อง กังวลมากเลยค่ะ ทำไมประจำเดือนไม่มา

คำตอบ: การให้นมบุตรเป็นวิธีคุมกำเนิดธรรมชาติชนิดหนึ่งอยู่แล้วครับ โดยกลไกคือการที่มีฮอร์โมนโปรแลคติดซึ่งเป็นฮอร์โมนน้ำนมปริมาณสูงมาก ทำให้ไปออกฤทธิ์ยับยั้งการตกไข่ ทำให้ช่วงนี้ไม่มีระดับฮอร์โมนที่สามารถทำให้เป็นประจำเดือนได้เป็นปกติครับ แต่งิธีนี้อาจไม่ใช่การคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพดีมากนะครับ หากคุณยังไม่อยากที่จะมีบุตรในช่วงนี้และต้องการที่จะคุมกำเนิดไปก่อน หมอแนะนำว่าควรหาวิธีคุมกำเนิดเพิ่มขึ้นมา เช่นการใช้ถุงยางอนามัย หรือการใช้ ฮอร์โมนยาคุมแบบโปรเจสตินตัวเดียว ไม่ว่าจะเป็นแบบกิน แบบฉีด หรือแบบฝัง ก็ได้ครับ - ตอบโดย Rattapon Amampai (Dr.)

คำตอบ 2: การให้ลูกทานนม อาจทำให้ไม่ตกไข่ได้ค่ะ จึงไม่มีประจำเดือน ไม่ต้องกังวลไปค่ะ - ตอบโดย นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (พญ.)

อ่านเพิ่มเติม: รวมคำถามที่ถูกถามบ่อยเกี่ยวกับโรคทางเพศสัมพันธ์ (STD) ทั้งหญิง และชาย


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Patient education: Birth control; which method is right for me? (Beyond the Basics). UpToDate. (https://www.uptodate.com/contents/birth-control-which-method-is-right-for-me-beyond-the-basics)
Minimizing Birth Control Side Effects. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/choosing-a-birth-control-method-906691)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ปวดท้องประจำเดือน (Menstrual Cramps)
ปวดท้องประจำเดือน (Menstrual Cramps)

เรียนรู้ ทำความเข้าใจ ทำอย่างไรให้ "วันนั้นของเดือน" ไม่ใช่วันทุกข์อีกต่อไป

อ่านเพิ่ม
เปรียบเทียบวิธีคุมกำเนิด และประสิทธิภาพ
เปรียบเทียบวิธีคุมกำเนิด และประสิทธิภาพ

ตารางเปรียบเทียบวิธีคุมกำเนิดในรูปแบบต่างๆ มีประสิทธิภาพในการป้องกันอย่างไร ราคาเท่าไหร่ ใช้งานง่ายหรือยาก อ่านเลย!

อ่านเพิ่ม