ข้าวโพด

รวมข้อมูล สรรพคุณทางยาของข้าวโพด ทั้งส่วนเมล็ด ซัง ราก ต้น ใบ
เผยแพร่ครั้งแรก 5 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 25 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ข้าวโพด

ข้าวโพด ถือเป็นผลผลิตจากพืชไร่ที่อุดมไปด้วยสารอาหารมากมาย โดยเฉพาะคาร์โบไฮเดรตและวิตามิน หลายคนจึงนิยมนำมาประกอบอาหารทั้งคาวและหวาน นอกจากจะเมล็ดข้าวโพดมีคุณค่าทางอาหารแล้ว ส่วนอื่นๆ ของข้าวโพดยังมีสรรพคุณทางยาอีกด้วย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Zea mays L.

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ชื่อวงศ์ GRAMINEAE (POACEAE)

ชื่อสามัญ Sweet Corn, Corn

ชื่อท้องถิ่น ข้าวแข่ ข้าวโพด ข้าวสาลี บือเคส่ะ โพด สาลี

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของข้าวโพด

ข้าวโพดเป็นพรรณไม้จำพวกหญ้า ลำต้นตั้งตรง ใบเป็นเส้นตรงปลายแหลม เห็นเส้นกลางใบได้ชัด ตรงขอบใบมีขนอ่อนๆ สีขาว ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ในต้นเดียวกัน ช่อดอกเพศผู้อยู่ที่ส่วนยอดของลำต้น ช่อดอกเพศเมียจะอยู่ต่ำถัดลงมา ออกระหว่างกาบของใบและลำต้น ดอกย่อยมีก้านเกสรตัวผู้ 9-10 อัน และมีอับเรณูสีเหลืองส้ม ยอดเกสรตัวเมียเป็นเส้นบางๆ ยื่นออกมาจำนวนมาก ฝักหุ้มด้วยกาบบางหลายชั้น ฝักอ่อนสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีนวล เรียกว่าเปลือกข้าวโพด ผลเป็นฝักทรงกระบอก ใน 1 ฝักมีเมล็ดเกาะอยู่ประมาณ 8 แถว แถวหนึ่งๆ มีประมาณ 30 เมล็ด และมีสีต่างๆ เช่น สีนวล เหลือง ขาว หรือม่วงดำ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สรรพคุณของข้าวโพด

  • ซังข้าวโพด มีรสหวานชุ่ม ต้มกับน้ำเดือด บำรุงม้าม ขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ แก้บิด แก้ท้องร่วง
  • ต้นและใบ รสจืด ต้มกับน้ำเดือด ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว
  • เกสรตัวเมีย หรือไหมข้าวโพด รสหวาน ขับน้ำดี บำรุงตับ แก้ตับอักเสบ แก้ดีซ่าน แก้ไตอักเสบ แก้บวมน้ำ แก้โรคความดันโลหิต แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้โพรงจมูกอักเสบ แก้ฝีที่เต้านม ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา (อาการปัสสาวะขัด) โดยนำไหมข้าวโพด มาต้มในน้ำเดือด โบราณให้กินต่างน้ำ หมายความว่า ให้รับประทานแทนน้ำเปล่า เมื่ออาการดีขึ้น ให้รับประทานน้ำเปล่าเช่นเดิม
  • ราก รสจืด โบราณจะนำส่วนรากมาล้างน้ำสะอาด แล้วจึงนำมาต้มเคี่ยว จนน้ำงวดเหลือ 1 ใน 3 ของน้ำทั้งหมด แล้วรับประทานเป็นยาแก้อาเจียนเป็นเลือด
  • เมล็ด รสหวานมัน บำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจ บำรุงปอด ขับปัสสาวะ มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมน Estrogen (เป็น Phytoestrogen) ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกบีบตัว คลายกล้ามเนื้อเรียบ โดยนำเมล็ดข้าวโพดดิบมาคั่วแล้วปรุงรสตามชอบ ส่วนใหญ่นิยมใส่น้ำตาลเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณช่วยสมานแผลโดยนำเมล็ดดิบตำให้แหลก แล้วผสมแอลกอฮอล์ล้างแผล พอกบริเวณที่มีบาดแผลได้

การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของข้าวโพด

มีการทดสอบฤทธิ์ปกป้องเซลล์สมองของสารที่ได้จากยอดเกสรตัวเมียของข้าวโพด ในเซลล์สมองของมนุษย์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดสารอนุมูลอิสระ ซึ่งสารอนุมูลอิสระเหล่านี้จะทำให้เซลล์สมองเสื่อมและตายได้ในที่สุด แต่เมื่อเซลล์สมองได้รับสารสกัดจากข้าวโพด พบว่าสารนี้มีฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระได้ ทำให้เพิ่มอัตราการรอดชีวิตของเซลล์สมอง และชะลอความเสื่อมของเซลล์ แต่อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงการศึกษาในระดับหลอดทดลอง ยังต้องมีการศึกษาต่อไปในระดับคลินิกเพิ่มเติม

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดข้าวโพด 100 กรัม

  • พลังงาน 86 กิโลแคลอรี
  • คาร์โบไฮเดรต 18.7 กรัม
  • แป้ง 5.7 กรัม
  • น้ำตาล 6.26 กรัม
  • ใยอาหาร 2 กรัม
  • ไขมัน 1.35 กรัม
  • โปรตีน 3.27 กรัม
  • ทริปโตเฟน 0.023 กรัม
  • ทรีโอนีน 0.129 กรัม
  • ไอโซลิวซีน 0.129 กรัม
  • ลิวซีน 0.348 กรัม
  • ไลซีน 0.137 กรัม
  • เมทไธโอนีน 0.067 กรัม
  • ซิสทีน 0.026 กรัม
  • ฟีนิลอะลานีน 0.150 กรัม
  • ไทโรซีน 0.123 กรัม
  • วาลีน 0.185 กรัม
  • อาร์จินีน 0.131 กรัม
  • ฮิสตามีน 0.089 กรัม
  • อะลานีน 0.295 กรัม
  • กรดแอสปาร์ติก 0.244 กรัม
  • กรดกลูตามิก 0.636 กรัม
  • ไกลซีน 0.127 กรัม
  • โพรลีน 0.292 กรัม
  • ซีรีน 0.153 กรัม
  • น้ำ 75.96 กรัม
  • วิตามินเอ 9 ไมโครกรัม 1%
  • ลูทีนและซีแซนทีน 644 ไมโครกรัม
  • วิตามินบี 1 0.155 มิลลิกรัม 13%
  • วิตามินบี 2 0.055 มิลลิกรัม 5%
  • วิตามินบี 3 1.77 มิลลิกรัม 12%
  • วิตามินบี 5 0.717 มิลลิกรัม 14%
  • วิตามินบี 6 0.093 มิลลิกรัม 7%
  • วิตามินบี 9 42 ไมโครกรัม 11%
  • วิตามินซี 6.8 มิลลิกรัม 8%
  • ธาตุเหล็ก 0.52 มิลลิกรัม 4%
  • ธาตุแมกนีเซียม 37 มิลลิกรัม 10%
  • ธาตุแมงกานีส 0.163 มิลลิกรัม 8%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 89 มิลลิกรัม 13%
  • ธาตุโพแทสเซียม 270 มิลลิกรัม 6%
  • ธาตุสังกะสี 0.46 มิลลิกรัม 5%

% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

คำแนะนำในการรับประทานข้าวโพด

  • ไม่ควรรับประทานข้าวโพดดิบ เพราะจะทำให้ท้องอืด เนื่องจากร่างกายไม่สามารถย่อยข้าวโพดดิบได้
  • ผู้สูงอายุที่มีอาการท้องอืดหรือผู้ที่เพิ่งผ่าตัดภายในช่องท้องไม่ควรรับประทานข้าวโพด เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาในช่องท้อง
  • ควรรับประทานข้างโพดสลับชนิดกันไป เช่น รับประทานข้าวโพดอ่อน สลับกับข้าวโพดหวานต้ม เพื่อป้องกันอาการท้องอืดและท้องผูก
  • การรับประทานข้าวโพดปริมาณมากหรือบ่อยเกินไป จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตมากเกินความต้องการ จึงเป็นสาเหตุทำให้ร่างกายเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตเป็นน้ำตาล และเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมได้ในที่สุด

3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
วุฒิ วุฒิธรรมเวช, เครื่องยาไทย 1, 2552.
วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, พจนานุกรมสมุนไพรไทย, 2531.
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ฤทธิ์ปกป้องสมองของสารจากไหมข้าวโพด, 2560.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิตามินกับการรับประทานอาหาร ที่มีสารต่อต้านริ้วรอย
วิตามินกับการรับประทานอาหาร ที่มีสารต่อต้านริ้วรอย

รับประทานวิตามินเพื่อการชะลอวัยอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

อ่านเพิ่ม