กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

กาบา (กาบา)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

“กาบา” หรือ GABA คือสารเคมีที่ผลิตโดยสมอง โดยหากเป็นชื่อของยา GABA นั้นจะเป็นยารับประทานสำหรับบรรเทาภาวะวิตกกังวล (Anxiety) ปรับอารมณ์ ลดอาการของกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Syndrome: PMS) และรักษาโรคสมาธิสั้น (Attention Deficit-Hyperactivity Disorder: ADHD) อีกทั้งยังมีไว้เพื่อเสริมสร้างการเติบโตของกล้ามเนื้อไร้ไขมัน (Lean muscle) เผาผลาญไขมัน ปรับสมดุลความดันโลหิต และบรรเทาอาการปวด

การรับประทาน GABA จะใช้วิธีวางไว้ใต้ลิ้นเพื่อเพิ่มความรู้สึกสบาย บรรเทาการบาดเจ็บต่างๆ เพิ่มความทนทานระหว่างการออกกำลังกาย ลดไขมันร่างกาย และเพิ่มน้ำหนักร่างกายแบบไร้ไขมัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

กาบาออกฤทธิ์อย่างไร?

GABA ออกฤทธิ์ด้วยการเข้ายับยั้งสัญญาณทางสมอง (Neurotransmissions)

การใช้และประสิทธิภาพของกาบา

ภาวะที่อาจใช้กาบาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ความดันโลหิตสูง งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าการทานผลิตภัณฑ์ยาที่ประกอบด้วย GABA และส่วนผสมอื่น ๆ สามารถลดความดันโลหิตของผู้ที่มีปัญหาเรื่องความดันสูงได้
  • เมายานพาหนะ (Motion sickness) งานวิจัยบางชิ้นได้แสดงให้เห็นว่าการทาน GABA อาจช่วยชะลอการเกิดอาการเมายานพาหนะได้ อีกทั้งยังช่วยลดอาการหนาวสั่น, เหงื่อออกแม้จะไม่ร้อน, และผิวซีด

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่ากาบารักษาได้หรือไม่

  • โรคสมองพิการ (Cerebral palsy) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทาน GABA อาจเพิ่มพัฒนาการทางจิต, การเรียนรู้, การใช้คำศัพท์, และการทำงานของร่างกายของเด็กที่ป่วยเป็นโรคสมองพิการได้
  • ภาวะติดเชื้อระยะยาวที่หลอดลมในปอด (หลอดลมอักเสบ (bronchitis)) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทาน GABA ร่วมกับยาที่ใช้รักษาโรคหลอดลมอักเสบจะเพิ่มระยะเวลาที่ไม่มีอาการขึ้น
  • โรคคุชชิ่ง (Cushing’s disease) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทาน GABA จะลดฮอร์โมนที่เป็นตัวการของโรคคุชชิ่ง
  • ลมชัก (Seizures) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทาน GABA ร่วมกับยารักษาโรคชักจะลดความถี่ของอาการชักในผู้ป่วยบางรายได้ แต่ไม่ได้ช่วยผู้ที่มีอาการชักโดยมีแสงหรือภาพที่พวกเขาเห็นเป็นตัวกระตุ้น
  • โรคฮันติงตัน (Huntington’s disease) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทาน GABA เพียงอย่างเดียวหรือร่วมกับการรักษาอื่น ๆ ไม่อาจรักษาการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยโรคฮันติงตันได้
  • การอักเสบของเนื้อเยื่อรอบสมองและสันหลัง (เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทาน GABA จะลดการลุกลามของอาการหลังรักษาโรค และป้องกันการเกิดภาวะร้ายแรงอื่น ๆ 
  • ภาวะผิดปรกติที่สมองจากการได้รับสารเคมี งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทาน GABA จะเพิ่มสมาธิ, ความจำ, และการตอบสนองทางอารมณ์ของเด็กที่สมองผิดปรกติจากการต้องสารเคมี
  • ความเครียด งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทาน GABA จะช่วยลดความเครียด, ความกดดัน, ความวิตกกังวล, ความสับสน, และภาวะซึมเศร้าในกลุ่มคนที่อยู่ภายใต้ภาวะเครียดได้
  • บรรเทาอาการวิตกกังวล
  • ปรับอารมณ์ให้ดีขึ้น
  • บรรเทาอาการก่อนมีประจำเดือน (premenstrual syndrome (PMS))
  • รักษาโรคสมาธิสั้น (attention deficit-hyperactivity disorder (ADHD))
  • ส่งเสริมการเติบโตของกล้ามเนื้อไร้ไขมัน
  • เผาผลาญไขมัน
  • ปรับสมดุลความดันโลหิต
  • ภาวะสุขภาพอื่น

จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของ GABA เพิ่มเติม

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของกาบา

GABA เป็นสารที่น่าจะปลอดภัยเมื่อรับประทานอย่างเหมาะสมภายในช่วงเวลาสั้น ๆ หรือไม่เกิน 12 สัปดาห์

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ

สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร: ณ ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้ GABA ในกลุ่มผู้หญิงที่ต้องให้นมบุตรกับผู้มีครรภ์ ดังนั้นคนในกลุ่มดังกล่าวควรเลี่ยงใช้ GABA เพื่อความปลอดภัย

ปริมาณยาที่ใช้

ขนาดยาที่เหมาะสมสำหรับ GABA (GAMMA-AMINOBUTYRIC ACID) นั้นจะขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย เช่นอายุ, สุขภาพ, และภาวะสุขภาพอื่น ๆ ของผู้ใช้ ซึ่ง ณ ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาชี้ชัดปริมาณที่เหมาะสมของ GABA ดังนั้นต้องพึงจำไว้ว่าแม้จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากธรรมชาติก็ไม่จำเป็นต้องปลอดภัยทุกครั้ง พยายามปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากยาและปรึกษากับเภสัชกร, แพทย์, หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพท่านอื่นก่อนใช้ GABA ทุกครั้ง


15 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
GABA (Gamma-aminobutyric acid) - Receptors & Supplements. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/gaba/guide/)
An Updated Review on Pharmaceutical Properties of Gamma-Aminobutyric Acid. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6696076/)
GABA Supplements: Benefits, Side Effects, Dosage, and Interactions. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/gaba-what-should-i-know-about-it-89053)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)