มีเพศสัมพันธ์แล้วเลือดออก อันตรายไหม? ควรทำอย่างไรดี?

อย่าเพิ่งดีใจว่า "คุณเป็นคนแรก" แต่นั่นอาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายก็เป็นได้
เผยแพร่ครั้งแรก 14 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 28 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
มีเพศสัมพันธ์แล้วเลือดออก อันตรายไหม? ควรทำอย่างไรดี?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงประมาณ 10% ซึ่งครึ่งหนึ่งในจำนวนนี้จะอาการดีขึ้นในภายหลัง ส่วนความเสี่ยงที่อาการนี้จะเป็นสัญญาณของโรคร้ายได้นั้น ขึ้นอยู่กับอายุของผู้ป่วย ซึ่งยิ่งอายุมาก ความเสี่ยงก็จะยิ่งมากขึ้น
  • สาเหตุส่วนมากที่ผู้หญิงมีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ มักเกิดจากการฉีกขาดบริเวณอวัยวะเพศ เช่น เยื่อพรหมณ์จรรย์ขาด ผนังช่องคลอดขาด หรือถลอก ช่องคลอดเกิดการอักเสบ
  • สตรีวัยทองมักจะมีอาการช่องคลอดแห้ง หรือน้ำหล่อลื่นในช่องคลอดน้อย จึงเป็นผลให้มีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ได้ รวมถึงผู้ป่วยที่ใช้ยาลดฮอร์โมน หรือกำลังรับสารเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง
  • ยาคุมกำเนิด หรือการฝังยาคุมกำเนิด คือ อีกปัจจัยที่ทำให้มีเลือดกะปริบปะกรอยออกจากช่องคลอดได้
  • มีเลือดออกจากช่องคลอดโดยที่ไม่ใช่ประจำเดือน เป็นอาการที่ผู้หญิงทุกคนต้องไม่มองข้าม และอย่าคิดว่า นี่เป็นอาการเล็กๆ ที่ไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ก็ได้ หากคุณมีอาการดังกล่าว ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการทันที 
  • ดูแพ็กเกจตรวจภายใน มะเร็งปากมดลูก และรังไข่ได้ที่นี่

การมีเพศสัมพันธ์นับว่าเป็นความสุข หรือการแสดงความรักที่คู่สมรสพึงมี หรือควรกระทำให้แก่กัน  หากเพศสัมพันธ์จบด้วยความสุข ผ่อนคลาย และหายเครียดทั้งสองฝ่ายนั่นย่อมเป็นผลดี  แต่ถ้า "มีเพศสัมพันธ์แล้วเลือดออก" ย่อมไม่ใช่เรื่องที่สุขสมอีกต่อไป เพราะเป็นสิ่งที่น่ากังวลและนิ่งนอนใจไม่ได้จนต้องหาสาเหตุเพื่อทราบให้แน่ชัดแล้วรับการรักษาต่อไป

การมีเพศสัมพันธ์แล้วเลือดออก พบได้บ่อยแค่ไหน?

การมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์สามารถเกิดกับผู้หญิงประมาณ 10% และพบว่า 50% ของผู้หญิงที่เป็นจะมีอาการดีขึ้น ส่วนโอกาสที่จะเป็นโรคร้ายอย่างเช่นโรคมะเร็งมักมีความเสี่ยงตามอายุ โดยพบว่าอายุ 20 – 24 ปี จะมีความเสี่ยงน้อยคือ 1 : 44,000 คน แต่จะมีความเสี่ยงมากขึ้นคืออายุ 45 – 54 ปี ซึ่งมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นคือ 1 : 2,400 คน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สาเหตุของมีเพศสัมพันธ์แล้วเลือดออก คืออะไร?

  • เยื่อพรหมจรรย์ขาด 

ผู้หญิงบางคนที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอาจพบว่า เยื่อพรหมจรรย์มีการฉีกขาดจนทำให้เลือดออกได้ ในสภาพปกติควรมีเลือดเพียงเล็กน้อยที่สามารถหยุดได้เอง ไม่รู้สึกเจ็บมาก และใช้เวลาแค่ 1 – 2 วันเท่านั้น หากมีปริมาณเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์เป็นจำนวนมากและเป็นก้อน อาจเกิดจากการฉีกขาดของช่องคลอดจะต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

  • ผนังช่องคลอดฉีกขาด หรือถลอก 

อาจเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์อย่างรุนแรง หรือใช้เวลานาน รวมถึงความไม่พร้อมของฝ่ายหญิงที่ฝ่ายชายเล้าโลมไม่เพียงพอทำให้ผู้หญิงมีน้ำหล่อลื่นน้อย หรือเกิดจากความไม่สมดุลของอวัยวะเพศทั้งสองฝ่าย เมื่อมีเพศสัมพันธ์ก็จะเกิดการถลอกเป็นแผลและมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ แต่มักจะมีปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น

มักมีอาการตกขาวที่ผิดปกติร่วมด้วย มีกลิ่นเหม็น มีอาการคันในช่องคลอด ปวดหน่วงที่บริเวณท้องน้อย ซึ่งอาการอักเสบที่พบได้บ่อยคือ การติดเชื้อรา แบคทีเรีย หรือเชื้อพยาธิ รวมถึงเกี่ยวข้องกับสิ่งแปลกปลอมที่เข้าไปในช่องคลอด เช่น ห่วงอนามัย เป็นต้น

  • มีเนื้องอก หรือเป็นมะเร็ง 

บริเวณภายในโพรงมดลูกบางช่วงของรอบเดือนอาจมีการปลิ้นออกมา ทำให้เกิดการถูกกระแทก หรือเสียดสีขณะมีเพศสัมพันธ์จนมีเลือดออกมาได้ หรือมีติ่งเนื้อที่ปากมดลูก แม้ว่า ติ่งเนื้อที่ว่าจะเป็นเนื้อชนิดดีก็สามารถทำให้เกิดเลือดออกได้เช่นกัน   ในรายที่เป็นโรคมะเร็งปากมดลูก เนื้อเยื่อที่เป็นมะเร็งจะมีความเปราะบาง เมื่อได้รับการกระทบกระเทือนจะมีเลือดออกมา กรณีนี้มักมีเพศสัมพันธ์แล้วเลือดออกเกือบทุกครั้ง ต้องรีบไปพบแพทย์

โรคเหล่านี้มักก่อให้เกิดอาการระคายเคือง รู้สึกคัน และเจ็บปวด ตามมาด้วยอาการมีเพศสัมพันธ์แล้วเลือดออก

  • เลือดประจำเดือนค้าง 

เกิดขึ้นได้ในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์หลังประจำเดือนหมดใหม่ๆ 1 – 2 วัน ทำให้เลือดประจำเดือนที่ตกค้างออกตามมาได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

พบได้ในสตรีวัยทองเพราะช่วงวัยนี้จะมีปริมาณฮอร์โมนเพศลดลงจึงทำให้เกิดอาการระคายเคืองที่ช่องคลอดได้ง่าย และยังเกิดขึ้นกับผู้ที่ใช้ยาลดฮอร์โมน หรือการใช้สารเคมีบำบัดเพื่อรักษาโรคมะเร็ง ด้วย

เช่น ฉีดยาคุม กินยาคุม หรือฝังยาคุม เมื่อมีการกระทบกระเทือนก็จะทำให้มีเลือดออกมากะปริบกะปรอยได้ โดยเป็นเลือดเก่าที่มีสีแดงคล้ำ แต่ไม่มีอาการเจ็บ

  • เลือดออกผิดปกติ 

มักเกิดขึ้นกับวัยรุ่นในระยะปีแรกๆ ของการมีประจำเดือน อาจพบการมีเลือดออกไม่ตรงรอบประจำเดือน หรือออกกระปริบกะปรอย หากมีเพศสัมพันธ์ในช่วงนี้ก็อาจพบว่า มีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ได้เช่นกัน

 การมีเพศสัมพันธ์ที่มีเลือดออกตามมาทุกครั้งไม่ใช่เรื่องปกติที่ควรเกิดขึ้น หากเป็นเช่นนี้จะต้องไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี เพราะการมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้เกิดจากการฉีกขาดของพรหมจรรย์ หรือเป็นเลือดของประจำเดือน อาจเป็นสัญญาณถึงความเสี่ยงต่อโรคร้ายแฝงอยู่ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีนั่นเอง

ดูแพ็กเกจตรวจภายใน มะเร็งปากมดลูก และรังไข่ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป