กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

ความผิดปกติที่พบบ่อยในคุณผู้หญิงที่ต้องรู้จัก อันตรายหากรักษาไม่ถูกวิธี
เผยแพร่ครั้งแรก 19 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 16 เม.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ภาวะช่องคลอดอักเสบเกิดจำนวนของแบคทีเรียชนิดดีและชนิดไม่ดีภายในช่องคลอดมีจำนวนไม่สมดุลกัน จึงทำให้เกิดการอักเสบตามมา นับเป็นภาวะที่พบได้บ่อยที่สุดและสามารถเกิดกับผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ได้ด้วย
  • ช่องคลอดอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แม้จะไม่ได้นับเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่เชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่มีจำนวนมากภายในช่องคลอดก็มีโอกาสพัฒนาไปเป็นโรคอื่นได้ หากได้รับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย
  • อาการที่พบบ่อย เช่น ตกขาวมีปริมาณมากกว่าปกติ ตกขาวมีสีแปลกไปจากเดิม รู้สึกปวดแสบขณะปัสสาวะ หรือขณะมีเพศสัมพันธ์ มีอาการคัน ระคายเคืองบริเวณช่องคลอดทั้งด้านในและรอบๆ ช่องคลอด รวมทั้งอวัยวะเพศ
  • ปัจจัยเสี่ยงของภาวะช่องคลอดอักเสบที่พบบ่อย เช่น การสวนล้างช่องคลอด การใช้ผ้าอนามัยแบบสอด การเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ การรับประทานอาหารหมักดอง อาหารคาวจัด การสวมกระโปรง หรือกางเกงคับ หรือรัดแน่นเกินไป 
  • แม้เป็นภาวะที่ไม่อาจป้องกันได้ แต่สามารถลดความเสี่ยงที่จะเป็น หรือโอกาสที่จะเป็นซ้ำลงได้ ด้วยการรักษาสุขภาพอนามัยให้สะอาด หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ รวมถึงไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากสงสัยว่าตนเองมีความผิดปกติเกิดขึ้น (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิงได้ที่นี่)

ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Vaginosis) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยที่สุดและสามารถเกิดกับผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ได้ด้วย 

แม้อาการอักเสบนี้จะไม่รุนแรงแต่ก็อาจทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงตามมาได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ STD วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 76%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ช่องคลอดอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย คืออะไร

ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียเป็นการติดเชื้อบริเวณช่องคลอดที่ไม่รุนแรงนัก สาเหตุเกิดจากแบคทีเรียชนิดแลคโตบาซิไล (Lactobacilli) ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียไม่ดีที่สามารถก่อโรคในช่องคลอดได้มีจำนวนลดลง 

เมื่อเป็นเช่นนั้นจำนวนแบคทีเรียที่ก่อโรคในช่องคลอดได้จึงมีจำนวนเพิ่มขึ้น เมื่อจำนวนของแบคทีเรียชนิดดีและชนิดไม่ดีภายในช่องคลอดไม่สมดุลกันจึงทำให้เกิดการอักเสบตามมา

ภาวะนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บ คัน และตกขาวมีกลิ่นเหม็น แต่สาวๆ ที่เป็นโรคนี้มักจะไม่รู้ตัวว่า กำลังมีความผิดปกติเกิดขึ้นจึงทำให้ไม่ได้รับการตรวจรักษาอย่างถูกต้องไปด้วย ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงตามมาได้

ภาวะนี้เป็นอาการติดเชื้อที่มักเกิดขึ้นได้กับสาวๆ วัยรุ่น แม้จะไม่ได้นับว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่เชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่มีจำนวนมากภายในช่องคลอดก็มีโอกาสพัฒนาไปเป็นโรคอื่นได้ หากได้รับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย

อาการของภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

  • ตกขาวมีปริมาณมากกว่าปกติ
  • ตกขาวมีสีแปลกไป คือ มีสีขาวขุ่น หรือสีเทา ลักษณะเหนียวข้น บางคนตกขาวมีกลิ่นเหม็นผิดปกติคล้ายกลิ่นปลาเค็ม กลิ่นนี้จะเกิดขึ้นในช่วงที่มีประจำเดือน หมดประจำเดือนใหม่ๆ หรือหลังจากมีเพศสัมพันธ์
  • รู้สึกปวดแสบขณะปัสสาวะ หรือขณะมีเพศสัมพันธ์
  • มีอาการคัน ระคายเคืองบริเวณช่องคลอดทั้งด้านในและภายนอกรอบๆ ช่องคลอด รวมทั้งอวัยวะเพศ

จริงๆ แล้วการมีตกขาวนั้นเป็นเรื่องปกติและจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่างการมีประจำเดือน แต่หากสังเกตได้ว่า มีตกขาว หรืออาการอื่นๆ เกี่ยวกับช่องคลอดที่ดูไม่ปกติ แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยให้แน่ใจ

ปัจจัยเสี่ยงของภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

แม้ผู้เชี่ยวชาญจะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย แต่คาดว่า พฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้อาจเป็นปัจจัยของการติดเชื้อได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ STD วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 76%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • การสวนล้างช่องคลอด
  • การใช้ผ้าอนามัยแบบสอด หรือแผ่นอนามัยที่มีน้ำหอมบ่อยๆ 
  • การเปลี่ยนคู่นอนใหม่ หรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ
  • การคุมกำเนิดโดยการใส่ห่วงอนามัย
  • การสูบบุหรี่
  • การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์
  • การรับประทานอาหารหมักดอง 
  • การรับประทานอาหารที่มีความคาวจัด
  • การสวมกระโปรง หรือกางเกงรัดรูปเกินไป 

อย่างไรก็ตาม การติดเชื้ออาจมาจากสาเหตุอื่นๆ ได้ด้วย เช่น ติดเชื้อจากการใช้ฝารองนั่งชักโครกที่ไม่สะอาด การใช้ผ้าปูที่นอน หรือใช้ผ้าขนหนูร่วมกับผู้อื่น หรือการว่ายน้ำในสระว่ายน้ำ

การวินิจฉัยภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

  • แพทย์จะเริ่มวินิจฉัยด้วยการซักประวัติทางสุขภาพและสอบถามถึงอาการที่เป็น 
  • มีการเก็บตัวอย่างของเหลวบริเวณช่องคลอด และนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการ 
  • ทั้งนี้การตรวจหาเชื้อไม่จำเป็นต้องตรวจภายในเสมอไป

การรักษาภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

โดยปกติแพทย์จะให้การรักษาโดยสั่งยาปฏิชีวนะ ไม่ว่าจะเป็นแบบเม็ด แบบครีมทา หรือแบบสอด 

เนื่องจากภาวะนี้อาจกลับมาเป็นซ้ำได้ คุณจึงต้องใช้ยา หรือรับประทานยาที่แพทย์จ่ายให้จนหมดเพื่อให้แน่ใจว่า เชื้อถูกกำจัดถึงในระดับที่ไม่เป็นอันตรายแล้ว แม้ว่าอาการจะดีขึ้นแล้วก็ตาม

แพทย์ หรือพยาบาลจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยาที่ถูกต้อง เช่น ยาปฏิชีวนะบางชนิดที่มีผลต่อการใช้ถุงยางอนามัยและแผ่นคุมกำเนิด แม้การรักษาจะเสร็จสิ้นแล้วก็ตาม 

นอกจากนี้การใช้ยาปฏิชีวนะบางชนิดยังอาจมีข้อห้ามใช้ร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แนะนำให้สอบถามและขอข้อมูลการใช้ยาอย่างละเอียดจากแพทย์ หรือทางที่ดีควรงดการดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอล์ไปก่อน

ภาวะแทรกซ้อนของช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

โดยส่วนมากแล้ว อาการของช่องคลอดอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรียจะหายไปได้เองโดยไม่มีอาการแทรกซ้อนใดๆ หากได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม แต่หากไม่ได้รับการรักษา จะสามารถกลายเป็นโรค หรือทำให้มีภาวะอื่นๆ ตามมาได้ เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ STD วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 76%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • เพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเริม หนองในเทียม หนองในแท้ หรือโรคติดเชื้อเอชไอวีได้มากกว่าคนปกติ 
  • เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เช่น คลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ การติดเชื้อ และอาจมีภาวะแท้งคุกคาม 

การป้องกันภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

ภาวะนี้เป็นภาวะที่ไม่อาจป้องกันได้ แต่สามารถลดความเสี่ยงที่จะเป็น หรือโอกาสที่จะเป็นซ้ำลงได้

  • พยายามไม่ล้างสวนช่องคลอด
  • หลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาอนามัยโดยไม่จำเป็น
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์แบบเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ
  • งดใช้ผ้าอนามัยแบบสอด หรือแผ่นอนามัยที่มีน้ำหอม
  • ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์
  • ไม่สูบบุหรี่
  • ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์ขณะรับการรักษา
  • ไม่รับประทานอาหารหมักดอง 
  • ไม่รับประทานอาหารที่มีความคาวจัด
  • รับประทานยา หรือสอดยาตามที่แพทย์สั่ง
  • ไม่สวมกระโปรง หรือกางเกงรัดรูปเกินไป 
  • ไม่ใช้ผ้าเช็ดตัว หรือชุดชั้นในร่วมกับผู้อื่น
  • ดูแลความสะอาดของชุดชั้นใน 
  • ดูแลความสะอาดของอวัยวะเพศทุกครั้งหลังขับถ่ายให้ถูกวิธี และเช็ดให้แห้ง
  • การทำความสะอาดหลังอุจจาระ ให้ล้างจากด้านหน้าไปด้านหลังทุกครั้ง
  • หากมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับช่องคลอด หรือตกขาว ควรไปพบแพทย์ ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง
  • งดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าหายจากภาวะช่องคลอดอักเสบ

การติดเชื้อที่เกิดขึ้นอย่างภาวะนี้เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้สาวๆ ที่มีเพศสัมพันธ์จำเป็นต้องได้รับการตรวจภายในและตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แม้จะมั่นใจว่า ไม่มีการติดเชื้อแน่ 

เนื่องจากโรคนี้มีแต่แพทย์เท่านั้นที่จะบอกได้ว่า คุณมีการติดเชื้อหรือไม่ หากพบการติดเชื้อ แพทย์จะทำการรักษา เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลตนเองอย่างถูกต้องต่อไป

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Which treatments are effective for bacterial vaginosis? (2015, April 22) (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmedhealth/PMH0078015/), 20 March 2020.
Sobel, J. D. (2017, September 28), Patient education: Bacterial vaginosis (beyond the basics) (https://www.uptodate.com/contents/bacterial-vaginosis-beyond-the-basics), 20 March 2020.
Nivin Todd, MD, Bacterial Vaginosis (BV) (https://www.webmd.com/women/guide/what-is-bacterial-vaginosis#2), 21 March 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การตรวจภายใน (Pelvic Exams)
การตรวจภายใน (Pelvic Exams)

การตรวจภายในไม่น่ากลัวอย่างที่คิด และเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้หญิงทุกคน

อ่านเพิ่ม
เชื้อราในช่องคลอด
เชื้อราในช่องคลอด

เชื้อราในช่องคลอด จุดเร้นลับที่ไม่ลับแต่ผู้หญิงทุกคนควรต้องรู้ เพื่อดูแลตนเองให้ดี ก่อนต้องมารักษาทีหลัง

อ่านเพิ่ม