คุณเคยคันในช่องคลอด หรือมีอาการคันช่องคลอดผิดปกติหรือไม่
เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยสงสัย และพยายามหาคำตอบกัน บางคนคันช่องคลอดหลังมีเพศสัมพันธ์ บางคนเป็นขณะตั้งครรภ์ หรือหลังคลอดก็มี บ้างก็มีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ตกขาว มีตุ่ม หรือช่องคลอดมีกลิ่น
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
แล้วอาการคันช่องคลอดนี้เกิดจากอะไร ควรทำอย่างไรเมื่อเกิดปัญหานี้ขึ้น และจะป้องกันไม่ให้มีอาการคันช่องคลอดได้อีกอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ
ทำไมถึงมีอาการคันช่องคลอด?
สาเหตุที่พบได้บ่อยของอาการคันในช่องคลอดระหว่างการตั้งครรภ์คือ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนที่สูงขึ้นทำให้ช่องคลอดเกิดสภาวะกรดที่ทำให้เกิดการระคายเคืองได้
นอกจากนี้การติดเชื้อราในช่องคลอดก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เกิดอาการคันในช่องคลอดเรื้อรัง หรืออาจเกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ก็ได้ แต่พบได้ไม่บ่อย
เมื่อมีอาการคันช่องคลอด ควรทำอย่างไร?
ก่อนที่จะซื้อยารักษาอาการคันช่องคลอดด้วยตนเอง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้แน่ใจก่อนว่า อาการคันช่องคลอดนั้นไม่ได้เกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จริงๆ ซึ่งการทดสอบนี้เป็นการทดสอบที่ปลอดภัย และทำได้ง่าย
แต่หากอาการคันในช่องคลอดเกิดจากความเปลี่ยนแปลงของสภาวะกรดเบสในช่องคลอดระหว่างการตั้งครรภ์ จะมีการรักษาบางอย่างที่สามารถช่วยลดอาการคัน และช่วยปรับสภาวะกรดเบสในช่องคลอดได้
จะป้องกันอาการคันช่องคลอดได้อย่างไร?
- มีสุขอนามัยที่ดี ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศให้สะอาดและเช็ดแห้ง
- เช็ดก้นจากหน้าไปหลัง
- ไม่สวนล้างช่องคลอดบ่อยๆ
- ใช้สบู่ น้ำยาซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่มที่ไม่มีน้ำหอม
- ล้างมือบ่อยๆ
- ไม่ใส่เสื้อผ้าคับแน่นเกินไปโดยเฉพาะบริเวณขาหนีบ
- ใส่กางเกงในจากผ้าคอตตอนสีขาวและหลีกเลี่ยงการใส่กางเกงในที่ทำจากไนล่อน หรือยางที่ทำให้อากาศผ่านเข้าช่องคลอดได้ลดลง
- ใช้น้ำอุ่นในการทำความสะอาดและไม่ใช้สบู่มีฟองหรือผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหอม เพราะสามารถระคายเคืองช่องคลอดและทางเดินปัสสาวะได้
- ใช้สบู่สำหรับผิวแพ้ง่าย
ใช้ครีมตามร้านขายยาเพื่อช่วยลดอาการคันในช่องคลอดได้หรือไม่?
ไม่แนะนำให้ใช้ยาไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone) เพราะอาจทำให้ผิวหนังแตก และเพิ่มอาการคันได้ แต่การใช้ยาชาเฉพาะที่ลิโดเคน (lidocaine gel) สามารถช่วยลดอาการคันในช่องคลอดได้ดี เพราะมียาชาเป็นส่วนผสมเพียงอย่างเดียว
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
หากมีการติดเชื้อรา ก็สามารถใช้ครีมหรือยาเหน็บช่องคลอดที่สามารถลดอาการคันและอาการอื่นๆ ของการติดเชื้อได้ ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนซื้อยารักษาอาการคันช่องคลอด เพื่อรักษาได้อย่างถูกโรค และได้รับคำแนะนำดีๆ ในการดูแลตนเองเพิ่มเติมด้วย
อย่างไรก็ตาม หากไม่สะดวกไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล สามารถใช้บริการปรึกษาแพทย์ทางไกลผ่านโทรศัพท์ หรือวิดีโอคอล เพื่อช่วยประเมินสุขภาพเบื้องต้นได้ นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้ดูแลสุขภาพของตัวเองได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น
อาการคันช่องคลอดหลังคลอดบุตร
อาการคันช่องคลอดหลังคลอดบุตรสามารถเกิดได้ทั่วไปกับคุณแม่ทุกคน โดยมีปัจจัยและวิธีแก้ต่อไปนี้
- เกิดจากแผลเย็บช่องคลอดที่เกิดจากการฉีกขาดระหว่างคลอด หรือแผลจากการขยายปากช่องคลอดเพื่อคลอดบุตร แผลสองประเภทนี้อาจทำให้เกิดอาการคันเหมือนอาการคันแผลทั่วไปตามร่างกาย ให้หลีกเลี่ยงการเกา หรือหากต้องสัมผัสแผลที่เพิ่งผ่านการคลอดบุตรมา ให้หมั่นล้างมือบ่อยๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
- เกิดจากการติดเชื้อบริเวณมดลูก หรือเกิดจากต่อมเล็กๆ ที่ขึ้นบริเวณช่องคลอด เรียกว่า "ต่อมบาร์โธลิน" (Bartholin's gland) หรือเรียกได้อีกชื่อว่า "ตุ่มฝีในช่องคลอด" ซึ่งเกิดขึ้นได้หลังคลอดบุตรแล้ว อาการเหล่านี้จะทำให้เกิดความระคายเคืองช่องคลอดได้ และยังมีโอกาสติดเชื้อจากแผลเย็บช่องคลอดได้ด้วย หากรู้สึกว่าช่องคลอดมีต่อมขึ้น หรือรู้สึกคันมาก ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการและหาทางรักษาต่อไป
- การติดเชื้อราในช่องคลอด มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนตามธรรมชาติ หรืออาจมาจากการใช้ยาปฏิชีวนะ จึงทำให้เกิดยีสต์ หรือ "การติดเชื้อราในช่องคลอด" ซึ่งเป็นที่มาของอาการคันช่องคลอด และมีตกขาว แต่อาการนี้สามารถรักษาให้หายได้ด้วยยาทาจากเภสัชกรหรือจากแพทย์
อาการคันช่องคลอด เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้หญิงทั่วไป ผู้หญิงที่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ หรือหลังคลอดบุตร เมื่อเกิดอาการแล้วควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ เพราะอาจเกิดได้ทั้งจากปัจจัยที่เป็นอันตราย และไม่เป็นอันตราย
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับผู้หญิง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android