8 เหตุผลที่ทำให้ช่องคลอดบวม

เผยแพร่ครั้งแรก 22 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
8 เหตุผลที่ทำให้ช่องคลอดบวม

ช่องคลอด” เป็นอวัยวะที่สามารถเกิดปัญหาได้ไม่ต่างจากอวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย ซึ่งการมีช่องคลอดที่บวมผิดปกติก็สามารถพบได้ในผู้หญิง และมันทำให้เรารู้สึกไม่สบายตัวได้ไม่มากก็น้อย หลายคนอาจเดาว่ามันเกิดจากการติดเชื้อยีสต์เท่านั้น แต่ความจริงแล้ว มีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าว ซึ่งวิธีรักษานั้นก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุค่ะ เราลองมาดูกันดีกว่าว่าการมีช่องคลอดบวมนั้นเกิดจากอะไรได้บ้าง

1. มีอาการแพ้

การแสดงปฏิกิริยาแพ้ต่อสารใดๆ อาจทำให้ช่องคลอดของคุณบวมขึ้น ทั้งนี้ช่องคลอดเป็นบริเวณที่มีความไวต่อสิ่งต่างๆ และอาจตอบสนองต่อส่วนผสมใดๆ ที่พบในผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนตัว เช่น สบู่ สารหล่อลื่น ผลิตภัณฑ์ล้างช่องคลอด ผ้าอนามัยแบบสอดและแผ่น อุปกรณ์คุมกำเนิด โลชั่นและครีม ถุงยาง ฯลฯ อย่างไรก็ตาม อาการบวมอาจเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อผลิตภัณฑ์ชิ้นใหม่ แต่ผลิตภัณฑ์ที่ร่างกายคุ้นเคยก็สามารถทำให้เกิดปฏิกิริยาแพ้เช่นกัน ถ้าคุณรู้ตัวว่าแพ้ผลิตภัณฑ์ใด คุณก็ควรเลิกใช้ และปรึกษาแพทย์ผิวหนัง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

2. เกิดการระคายเคือง  

แม้ว่าคุณจะไม่มีอาการแพ้ แต่ร่างกายอาจตอบสนองในทางลบเมื่อสัมผัสกับผลิตภัณฑ์บางชนิด ทั้งนี้สารเคมีที่มีชื่อเสียง หรือนำมาใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ก็อาจทำให้ช่องคลอดบวม โดยเฉพาะน้ำหอมที่มักพบในหลายผลิตภัณฑ์ที่สัมผัสกับช่องคลอด เช่น น้ำยาซักผ้า น้ำหอม กระดาษชำระ สบู่เหลว บาธบอม สบู่ก้อนฯลฯ นอกจากนี้ผ้าบางประเภทก็สามารถทำให้ช่องคลอดระคายเคืองและบวมเช่นกัน โดยเฉพาะผ้าลูกไม้หรือโพลีเอสเตอร์ ในบางครั้ง การใส่กางเกงในที่เป็นจีสตริงอาจไม่คลุมอวัยวะเพศได้ทั้งหมด ทำให้เกิดการเสียดสีในบริเวณดังกล่าวตลอดทั้งวัน ซึ่งสามารถนำไปสู่การเกิดช่องคลอดบวมได้ในที่สุด

3. มีเซ็กส์รุนแรงเกินไป

การมีเซ็กส์สามารถทำให้ช่องคลอดบวม ถ้าช่องคลอดไม่มีสารหล่อลื่นเพียงพอ มันก็จะทำให้มีการเสียดสีเพิ่มขึ้น และอาจนำไปสู่การเกิดความรู้สึกไม่สบายตัวหรือเจ็บในระหว่างที่มีเซ็กส์ และจบลงด้วยการมีช่องคลอดบวมหลังเสร็จกิจ นอกจากนี้การมีเซ็กส์ที่รุนแรงก็สามารถทำให้เนื้อเยื่อช่องคลอดฉีกขาด ทำให้ผู้หญิงมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อมากขึ้น ถ้าพบว่าการมีเซ็กส์แบบดุเดือดเป็นต้นเหตุที่ทำให้ช่องคลอดบวม คุณก็อาจให้อีกฝ่ายเล้าโลมก่อนเริ่มกิจกรรมบนเตียง หรือใช้สารหล่อลื่นเพื่อลดการเสียดสี อย่างไรก็ดี การใช้ยาแก้ปวด หรือยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์อาจช่วยได้ถ้าอาการบวมทำให้คุณรู้สึกเจ็บ

4. ถุงน้ำจากผนังช่องคลอดที่มีแต่กำเนิด (Gartner's Duct Cyst)

เมื่อตัวอ่อนในครรภ์มีการพัฒนาอวัยวะที่ใช้ขับถ่ายปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ ท่อที่ก่อตัวขึ้นจะหายไปหลังจากคลอด แต่ถ้าท่อบางส่วนยังคงหลงเหลืออยู่ มันก็จะเรียกว่า Gartner's duct ซึ่งเนื้อเยื่อที่เหลือก็อาจติดอยู่ที่ผนังช่องคลอด และทำให้เกิดซีสต์ อย่างไรก็ตาม Gartner's duct มีแนวโน้มที่จะไม่ทำให้เกิดอันตราย แต่มันสามารถเป็นปัญหาตอนเราโต เพราะมันอาจเกิดการติดเชื้อ หรือทำให้เจ็บและทำให้ช่องคลอดบวม ในบางกรณี ซีสต์ก็จะปรากฏออกมาด้านนอกช่องคลอด ซึ่งมักรักษาโดยใช้วิธีผ่าตัด เมื่อซีสต์หายไป อาการต่างๆ ก็ควรหายไปด้วย

5. เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ

 เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ คือ การติดเชื้อแบคทีเรียภายในชั้นผิวที่อาจทำให้ผิวบวม แดง และอ่อนนุ่ม ทั้งนี้เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบสามารถเกิดขึ้นเมื่อมีแบคทีเรียเข้าไปในแผล โดยอาจเป็นแผลที่เกิดขึ้นหลังจากที่มีการโกนขนบริเวณของสงวน อย่างไรก็ดี  การทำความสะอาดแผลเป็นประจำอาจช่วยรับมือกับการติดเชื้อได้ ในบางกรณี แพทย์จะแนะนำให้ใช้ยาปฏิชีวนะค่ะ

6. ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

หากช่องคลอดมีแบคทีเรียชนิดอันตรายมากเกินไป มันก็อาจทำให้เกิดภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งผู้ป่วยอาจมีช่องคลอดที่บวม และมีของเหลวสีเทาที่มีกลิ่นเหม็นออกมาจากช่องคลอด อย่างไรก็ตาม โดยมากแล้วปัญหาจะคลี่คลายไปเอง แต่แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อเร่งให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วขึ้น สำหรับวิธีป้องกันคือ ให้คุณหมั่นทำความสะอาดช่องคลอด หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดการระคายเคือง และผลิตภัณฑ์ที่ใช้สวนล้างภายในช่องคลอด เพราะมันจะไปรบกวนสมดุลของแบคทีเรีย ฯลฯ

7. การติดเชื้อยีสต์

การติดเชื้อยีสต์เกิดจากการที่ช่องคลอดมียีสต์ชนิด Candida มากเกินไป ทำให้ช่องคลอดบวม และอาจมีการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น รู้สึกแสบร้อน เจ็บขณะมีเซ็กส์หรือปัสสาวะ แดง มีของเหลวที่มีเนื้อหนา ผิวระคายเคือง ฯลฯ อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อยีสต์สามารถรักษาได้โดยทานยาต้านเชื้อรา แต่ทั้งนี้คุณควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยก่อนว่ามันเกิดจากโรคอื่นๆ ที่มีอาการคล้ายกันหรือไม่

8. ตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์ก็สามารถทำให้ช่องคลอดบวมเช่นกัน เพราะเมื่อตัวอ่อนเติบโต มันก็สามารถทำให้เกิดแรงกดที่กระดูกเชิงกราน และกล้ามเนื้อหรือเส้นเลือดในบริเวณที่ใกล้เคียง ซึ่งสามารถทำให้เกิดการอักเสบและมีผลต่อการส่งเลือดและของเหลวจากระบบน้ำเหลือง ทำให้เกิดการบวมได้ในที่สุด อย่างไรก็ดี คนที่มีช่องคลอดบวมในระหว่างที่ตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการทานยาที่ปลอดภัย

การมีช่องคลอดที่บวมสามารถทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัว และอาจเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิต หากคุณพบสัญญาณของการติดเชื้ออย่างการมีไข้ มีอาการที่ไม่สามารถทนได้ หรือมีอาการเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง คุณก็ควรไปพบแพทย์ด่วน

ที่มา: https://www.medicalnewstoday.c...


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Vulvovaginitis - overview. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/article/000897.htm)
Vaginitis. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/vaginitis/)
Vaginal swelling: 14 causes and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321333)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การใช้ยาเหน็บช่องคลอด
การใช้ยาเหน็บช่องคลอด

ยาใช้เฉพาะที่ซึ่งควรศึกษาวิธีใช้งานให้ดี เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของตัวยาและป้องกันไม่ให้เกอดภาวะแทรกซ้อน

อ่านเพิ่ม