กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

เชื้อราในช่องคลอด

เชื้อราในช่องคลอด จุดเร้นลับที่ไม่ลับแต่ผู้หญิงทุกคนควรต้องรู้ เพื่อดูแลตนเองให้ดี ก่อนต้องมารักษาทีหลัง
เผยแพร่ครั้งแรก 21 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 2 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เชื้อราในช่องคลอด

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เชื้อราในช่องคลอดเกิดจากสภาวะกรด - เบสในช่องคลอดไม่สมดุลจนทำให้เชื้อราเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้เกิดการติดเชื้อตามมาได้
  • สาเหตุที่สภาวะกรด เบสในช่องคลอดไม่สมดุลเกิดจากบริเวณอวัยวะเพศอับชื้น ไม่สะอาด สวนล้างช่องคลอดอย่างรุนแรง ติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์
  • อาการที่พบบ่อยได้แก่ คันบริเวณปากช่องคลอด ตกขาวเป็นก้อนและมีกลิ่น มีผื่นบวมแดงบริเวณอวัยวะเพศ รู้สึกแสบเวลาปัสสาวะ หรือเวลามีเพศสัมพันธ์
  • ภาวะเชื้อราในช่องคลอดมักพบในประเทศโซนเขตร้อนชื้น หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่ T-cell ทำหน้าที่เสื่อมลง ได้แก่ โรคเบาหวานที่คุมได้ไม่ดี ผู้ที่รับประทานยาสเตียรอยด์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน หรือผู้ติดเชื้อเอชไอวี
  • การป้องกันเชื้อราในช่องคลอดที่ดีที่สุดคือ การรักษาความสะอาดจุดซ่อนเร้นและสุขภาพโดยรวมของคุณผู้หญิงทุกคนนั่นเอง ดูแพ็กเกจตรวจภายในได้ที่นี่ 

หากคุณเป็นผู้หญิงแล้วเคยมีอาการคันตรงจุดซ่อนเร้นจนแทบทนไม่ไหว โดยเฉพาะบริเวณปากช่องคลอด แถมบางครั้งยังตามมาด้วยตกขาวกลิ่นแปลกๆ อีก อาการแบบนี้ให้ตั้งข้อสงสัยไว้ว่า "อาจเกิดจากการติดเชื้อราในช่องคลอดก็เป็นได้"

ความจริงแล้วอาการคันบริเวณช่องคลอดอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือโปรโตซัว ได้เช่นกัน แต่พบไม่บ่อยเท่าการติดเชื้อราที่มีชื่อว่า แคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida albican) โรคเชื้อราในช่องคลอดพบได้ในผู้หญิงทุกเพศทุกวัย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ STD วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 76%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โรคนี้แม้จะไม่ใช่โรคที่มีอันตรายรุนแรง แต่ก็ทำให้รู้สึกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว แถมยังรบกวนการทำกิจวัตรประจำวันของผู้หญิงได้ไม่น้อย 

สาเหตุของเชื้อราในช่องคลอด

บริเวณช่องคลอดโดยปกติแล้วจะมีเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราประจำถิ่นอาศัยอยู่ ซึ่งเชื้อเหล่านี้จะไม่ก่อให้เกิดโรค

แต่หากมีสภาวะกรด-เบสในช่องคลอดไม่สมดุลจนทำให้เชื้อราเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อและมีอาการดังข้างต้นขึ้นได้ สาเหตุที่ทำให้เชื้อราในช่องคลอดที่ก่อโรคเพิ่มจำนวนขึ้นมากกว่าปกติ ได้แก่

  • บริเวณอวัยวะเพศไม่สะอาดและอับชื้น เนื่องจากดูแลไม่ดีพอ เช่น หลังอาบน้ำแล้วไม่เช็ดให้แห้งก่อนสวมเสื้อผ้า สวมกางเกงชั้นในที่อับชื้น ระบายอากาศไม่ดี หรือใส่ผ้าอนามัย แผ่นอนามัยแผ่นเดิมนานๆ โดยไม่ยอมเปลี่ยนแผ่นใหม่
  • สวนล้างช่องคลอดด้วยน้ำสบู่อย่างรุนแรงทำให้ช่องคลอดเสียสมดุล เชื้อประจำถิ่นถูกกำจัดไป เชื้อโรคอื่นๆ จึงฉวยโอกาสรุกรานได้ง่าย
  • ใช้ยาปฏิชีวนะติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้แบคทีเรียบริเวณช่องคลอดถูกทำลาย เชื้อราก่อโรคอื่นๆ จึงเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอลง เช่น อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ หรือเป็นโรคที่ส่งผลให้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • ติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากอวัยวะเพศชายไม่สะอาด

อาการโรคเชื้อราในช่องคลอด

  • คันบริเวณปากช่องคลอดอย่างมาก
  • บางครั้งอาจมีผื่นบวมแดงบริเวณอวัยวะเพศ และมีอาการแสบร้อนระคายเคืองร่วมด้วย
  • รู้สึกแสบเวลาปัสสาวะ หรือมีเพศสัมพันธ์
  • มีตกขาวสีขาวขุ่น จับตัวเป็นก้อนคล้ายแป้งเปียก มีกลิ่นเปรี้ยวเหมือนนมบูด

ใครบ้างที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นเชื้อราในช่องคลอด

  • ภาวะนี้พบได้มากในหญิงตั้งครรภ์
  • ผู้หญิงที่อยู่ในภูมิประเทศเขตร้อนชื้น เช่น ประเทศไทย
  • ผู้ที่มี T-cell ทำหน้าที่เสื่อมลง ได้แก่ โรคเบาหวานที่คุมได้ไม่ดี ผู้ที่รับประทานยาสเตียรอยด์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน  หรือผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี 

นอกจากนั้นการรับประทานอาหารรสหวานที่มากเกินไปก็อาจส่งผลให้เกิดเชื้อราในช่องคลอดได้

การรักษาเชื้อราในช่องคลอด

หากมีอาการรุนแรง แล้วไปพบแพทย์ แพทย์มักรักษาเชื้อราในช่องคลอดด้วยการใช้ยา โดยจะเป็นกลุ่มยาต้านเชื้อราที่มีทั้งรูปแบบยากิน ทายา และยาเหน็บ เช่น ยากินกลุ่ม Clotrimazole  Tioconazole และยาสอดช่องคลอดกลุ่ม Imidazole 

บางคนสงสัยว่า เราสามารถรักษาเชื้อราในช่องคลอดเองได้ไหม? 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ STD วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 76%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

คำตอบคือ ไม่ควรซื้อยามารักษาเองเพราะอาการคันช่องคลอด มีตกขาวผิดปกติ สามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียก็ได้ ดังนั้นทางที่ดีควรไปพบแพทย์ หรือเภสัชกร เล่าอาการของคุณให้ฟัง เพื่อรับยารักษาอย่างถูกต้อง ตรงตามโรคมากที่สุด

นอกจากการรักษาเชื้อราในช่องคลอดด้วยยาแล้ว ผู้หญิงทุกคนยังต้องดูแลรักษาความสะอาดของจุดซ่อนเร้นไม่ให้อับชื้น และแก้ไขปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ให้หมดไป ดังนี้

  • หากมีอาการคันก็ไม่ควรเกาแรงๆ เพราะจะทำให้เกิดแผลได้ 
  • งดการสวนล้างช่องคลอด ให้เปลี่ยนมาใช้สบู่อ่อน หรือน้ำเปล่าแทน
  • ล้างทำความสะอาดเฉพาะภายนอกเท่านั้น 
  • งดการมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างรักษา

หากสงสัยว่า คู่นอนของคุณจะติดเชื้อราด้วยก็ควรให้มารักษาพร้อมกันเลย

การป้องกันเชื้อราในช่องคลอด

เชื้อราในช่องคลอด เมื่อเป็นแล้วจะสร้างความรำคาญและรักษาได้ยากกว่า ฉะนั้นจึงควรป้องกันด้วยวิธีง่ายๆ 4 ข้อ ดังต่อไปนี้

  1. ดูแลจุดซ่อนเร้นไม่ให้สกปรกและอับชื้น หากอาบน้ำ หรือปัสสาวะควรเช็ดให้แห้งก่อนสวมเสื้อผ้า ควรเลือกกางเกงและกางเกงชั้นในที่ระบายอากาศได้ดี ไม่รัดแน่นจนเกินไป
  2. ควรเปลี่ยนมาใช้ผ้าอนามัยแบบแผ่นแทนแบบสอด เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าไปในช่องคลอด และควรเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ
  3. ไม่ควรล้างสวนช่องคลอด โดยเฉพาะงดใช้สบู่มีฤทธิ์แรงๆ ให้ใช้น้ำเปล่า หรือสบู่อ่อนๆ ล้างภายนอกเท่านั้นก็พอแล้ว 
  4. ควรทำความสะอาดจากช่องคลอดไปทางทวารหนัก เพื่อป้องกันเชื้อโรคจากทวารหนัก

เมื่อคุณมีอาการคันบริเวณช่องคลอด ตกขาวมีกลิ่น หรือมีความผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย สาเหตุหนึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อราในช่องคลอด แต่จะใช่ หรือไม่ ควรให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยเท่านั้น 

ไม่แนะนำให้ซื้อยารับประทานเอง บางคนซื้อยาปฏิชีวนะมารับประทานซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะหากติดเชื้อราต้องใช้ยารักษาเชื้อราไม่ใช่ยารักษาแบคทีเรีย (ยาปฏิชีวนะคือ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย) 

นอกจากนั้นยังต้องดูแลรักษาความสะอาดควบคู่ไปด้วยเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษาเชื้อราในช่องคลอด และลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำนั่นเอง

ดูแพ็กเกจตรวจภายใน เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์, เชื้อราในช่องคลอด อย่าปล่อยไว้ให้กวนใจ (Candidiasis)(http://www.siphhospital.com/th/news/article/share/939/Candidiasis).
รศ.พ.ญ.จารุวรรณ แซ่เต็ง, ตกขาว (Leukorrhea) (http://www.med.cmu.ac.th/dept/...), 6 พฤษภาคม 2561
ชัยเลิศ พงษ์นริศร, ภาวะตกขาว (Vaginal Discharge) (http://www.med.cmu.ac.th/dept/...), 21 พฤศจิกายน 2553

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาการคันและแสบในช่องคลอดไม่ใช่เรื่องปกติ
อาการคันและแสบในช่องคลอดไม่ใช่เรื่องปกติ

จุดซ่อนเร้นคือจุดสำคัญ ขอให้หมั่นสังเกตเพื่อแก้ไขก่อนที่อาการจะรุนแรงและยากต่อการรักษา

อ่านเพิ่ม
7 สาเหตุที่ทำให้ช่องคลอดแสบร้อน
7 สาเหตุที่ทำให้ช่องคลอดแสบร้อน

สาเหตุของอาการแสบร้อนช่องคลอดที่คุณอาจไม่เคยรู้ รู้ก่อนเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

อ่านเพิ่ม